ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี

วันนี้ผมขอเปลี่ยนบรรยากาศจาก ภาคเหนือ มายัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กันบ้าง
จากตอนที่แล้วที่ผมได้เล่าเรื่อง ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)
วันนี้ผมขอพาไปทัวร์ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี บ้างแล้วกัน

dscf0024

Read more

คุณเคยไปห้องสมุดไหนบ้าง

นอกเหนือจากห้องสมุดมหาวิทยาลัย และห้องสมุดโรงเรียนแล้ว
ผมอยากรู้ว่าเพื่อนๆ ยังเคยใช้บริการห้องสมุดที่ไหนอีกบ้าง

librarygo

ห้องสมุดตัวเลือกที่ผมนำมาให้เพื่อนๆ เลือก ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ น่าจะรู้จักเกือบหมด
ดังนั้นเลยอยากถามเพื่อนๆ ว่านอกจากรู้จักแล้ว เพื่อนๆ เคยไปห้องสมุดเหล่านี้บ้างหรือปล่าว

อ๋อ ลืมบอกไปอีกนิดว่า ตัวเลือกวันนี้ เพื่อนๆ สามารถเลือกได้หลายๆ ตัวเลือกพร้อมกัน
และที่เคยไปผมขอว่าเป็นการไปแบบใช้บริการนะครับ ไม่ใช่ไปแค่ดูงาน

เอาเป็นว่าไปตอบแบบสอบถามกันเลยนะครับ

[poll id=”5″]

ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนที่ร่วมกันตอบแบบสอบถามนี้นะครับ

เที่ยวท่องห้องสมุดไทย

หลายๆ คนชอบตั้งคำถามว่า “ห้องสมุดในเมืองไทยที่ไหนน่าไป”
เพื่อให้ทุกคนหายข้องใจในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจให้ฟังกัน

cover1

แต่ถ้าจะให้ผมบอกว่าที่ไหนบ้าง
ผมก็คงจะต้องใช้เวลาในการศึกษาสักนิดนะครับ
แต่ถ้าอยากได้แบบรวดเร็ว ผมก็ขอรวบรัดตัดความเลย ว่า ลองอ่านหนังสือเล่มนี้สิครับ

ชื่อหนังสือ : เที่ยวท่องห้องสมุด
ชื่อผู้แต่ง : เจริญขวัญ แพรกทอง
สำนักพิมพ์ : เวลาดี
ISBN : 9789749659014
จำนวนหน้า : 268 หน้า
ราคา : 295 บาท

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แนะนำห้องสมุดที่น่าสนใจมากกว่า 40 แห่งให้เพื่อนๆ ได้อ่าน
รายละเอียดที่ผู้เขียนแนะนำก็คือ ความแตกต่าง ความโดดเด่น และความสวยงามของห้องสมุดทั้งหลายเหล่านั้น
ซึ่งมีทั้งภาพประกอบ สถานที่ตั้ง และเนื้อหาที่น่าติดตามมากๆ

ห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้จะมีการแบ่งกลุ่มตามประเภทและลักษณะของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย เช่น
– ห้องสมุดในหอสมุดแห่งชาติ
– ห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์
– ห้องสมุดด้านสังคม ศิลปะ และวัฒนธรรม
– ห้องสมุดเอกชนและมูลนิธิ
– ห้องสมุดภายในหน่วยงานรัฐบาล
– ห้องสมุดในพระราชวังเดิม
– ห้องสมุดสถาบันการศึกษาและศาสนา
ฯลฯ

ตัวอย่างห้องสมุดที่ในหนังสือแนะนำ เช่น

หอ สมุดแห่งชาติ, หอวชิราวุธานุสรณ์ , ห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร, ห้องสมุดกล้วยไม้ระพี สาคริก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทย, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร, ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์แมลง, ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ห้องสมุดศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, หอสมุดดำรงราชานุภาพ, ห้องสมุดดนตรีเรวัต พุทธินันท์? ฯลฯ

ผมชอบที่เขาเขียนแนะนำหนังสือเล่มนี้อ่ะครับ

?คู่มือท่องเที่ยวฉบับ ห้องสมุด ที่หนอนหนังสือต้องไม่พลาด ! ท่านเชื่อหรือไม่ว่าในโลกนี้ยังมีดินแดนมหัศจรรย์อีกมากมายให้สำรวจและค้นหา ห้องสมุดคือหนึ่งในจำนวนนั้น มีความมหัศจรรย์ซ่อนอยู่ทุกหนทุกแห่ง รอคอยให้ขุดค้นขุมทรัพย์ล้ำค่าห้องสมุดทำให้บางคนบรรลุฝันอันงดงามประสบความ สำเร็จในชีวิต โรงเรียนแห่งจิตวิญญาณ สร้างหลักสูตรเฉพาะตนอย่างไม่รู้จบ ประตูแห่งดินแดนมหัศจรรย์เปิดขึ้นแล้วคุณพร้อมหรือยังสำหรับการผจญภัยครั้ง นี้?

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นการตอบโจทย์เรื่องห้องสมุดที่น่าสนใจในกรุงเทพฯ แบบคร่าวๆ แล้วนะครับ
ยังไงก็ลองไปหาซื้อได้ที่ร้านซีเอ็ด บีทูเอส นายอินทร์ หรือไม่ก็ร้านดอกหญ้าก็ได้ครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของหนังสือ สามารถดูได้ที่
http://thaispecial.com/bookshop/newbookpreview.asp?booklist=9749659015

รู้มั้ยว่า LIBRARY ย่อมาจากอะไร

รู้หรือปล่าวว่าตัวอักษรทุกตัวของคำว่า ?Library? มีความหมาย
(ความหมายของตัวอักษรทุกตัว ผมเป็นคนนิยามให้นะครับ)

library

เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะแยกคำว่า LIBRARY ให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่า
นอกจากคำว่า Library จะมีความหมายว่าห้องสมุดแล้ว
แต่ละตัวอักษรของคำนี้สามารถใช้แทนอะไรได้บ้าง

L-I-B-R-A-R-Y =?

L = Literature ? วรรณกรรม
I = Information ? สารสนเทศ
B = Book ? หนังสือ
R = Reference ? อ้างอิง
A = Advice ? คำแนะนำ
R = Read ? การอ่าน
Y = You / User ? คุณๆ นั่นแหละ ผู้ใช้ทุกคน

จากตัวอักษรต่างๆ ด้านบน หากเพื่อนๆ เอามารวมกัน ก็จะคำว่า

Literature + Information + Book = LIB
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงทรัพยากรต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นบันเทิง หรือสาระความรู้

Reference + Advice + Read = RAR
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงงานบริการต่างๆ ที่มีในห้องสมุด
ทั้งบริการการอ่าน บริการตอบคำถามและอ้างอิง บริการแนะนำสารสนเทศ

You = USER
ตัวอักษรตัวนี้สำคัญกับพวกเรามากที่สุด นั่นคือ ผู้ใช้ทุกคน หรือว่าคุณ นั่นเอง

ดังนั้นหากแยกส่วนต่างๆ ของห้องสมุดแล้วเราจะพบว่า
ส่วนประกอบของความสมบูรณ์ของห้องสมุดมาจาก
Content + Service + User = ความสำเร็จของห้องสมุด

เอาเป็นว่าวันนี้ผมได้ให้ความหมายของทุกตัวอักษรดังนี้
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง เห็นด้วยกับตัวอักษรต่างนี้หรือปล่าว
หรือว่าคิดว่าควรจะแทนด้วยตัวอักษรอื่นๆ ยังไงก็ลองเสนอความคิดเห็นมานะครับ อิอิ

ฟรี ฟรี ฟรี มีที่ห้องสมุด

เพื่อนๆ ชอบของฟรีกันหรือเปล่าครับ

ถ้าเพื่อนๆ ชอบของฟรี ผมขอแนะนำของฟรีๆ แบบนี้
– ซีดี และ ดีวีดี ฟรี!!!!!
– ดูหนัง ฟรี!!!!!
– ฟังเพลง ฟรี!!!!!
– อินเทอร์เน็ต ฟรี!!!!!
– อ่านเรื่องใหม่ๆ ฟรี!!!!!

ของฟรี!!!!! แบบนี้มีที่ห้องสมุดจริงๆ นะ

ไม่เชื่อไปดูการ์ตูนสิครับ

nancy

เป็นไงหล่ะของฟรีมีที่ห้องสมุดจริงๆ ด้วย

เอาหล่ะทีนี้เรามาวิเคราะห์กันว่า
“สิ่งที่การ์ตูนนำเสนอนี้ หากนำมาเทียบกับห้องสมุดเมืองไทยจะฟรีจริงหรือเปล่า”

เริ่มจาก Free CDs & DVD
เขาบอกว่าซีดีและดีวีดีฟรี จริงๆ แล้วมันก็ฟรีจริงๆ หล่ะครับ
เพียงแต่มีระยะเวลากำหนด นั่นคือการยืมคืนสื่อมัลติมีเดียนั่นเอง
จริงๆ แล้วบางที่อาจจะให้ยืม แต่บางที่ก็ให้ใช้แค่ภายในห้องสมุดเท่านั้น
แต่สรุปว่ายังไงก็ถือว่า ฟรี แล้วกัน ไม่เชื่อดูรูปนี้เลย

cd-free

ต่อมา Watch free movies & Listen to free music
ดูหนังฟรี และเพลงฟรีในห้องสมุดจะมีมุมมัลติมีเดีย
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเลือกภาพยนตร์และเพลงที่ถูกใจ แล้วนำมาดูและฟังได้ที่จุดบริการนี้
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าให้บริการดูหนังแบบฟรีๆ และฟังเพลงแบบฟรีๆ แล้วนะครับ

ต่อมา Get free internet
ประเด็นนี้อาจจะเป็นที่ถกเถียงของเพื่อนๆ ว่า อาจจะไม่ฟรีอย่างที่คิด
ห้องสมุดบางที่อาจจะนำแผนธุรกิจเข้ามาใช้ (Internet cafe)
บางที่ก็ให้ใช้ฟรีแต่ต้องลงทะเบียน ประเด็นผมจึงขอบอกได้แค่ว่า “ฟรีเป็นบางที่”

wifi-free

ประเด็นสุดท้าย Read the latest graphic novels free
เรื่องการอ่านหนังสือในห้องสมุด ถ้าต้องเสียเงินอันนี้ก็คงแปลกมากนะครับ
เพราะห้องสมุดเกือบทั้งหมดให้อ่านหนังสือได้ฟรีแน่นอนอยู่แล้ว
ดังนั้นฟันธงไปเลยว่า “ฟรีจริงๆ”

สำหรับเงื่อนไขของห้องสมุดที่ให้บริการแบบฟรีๆ เช่น
– ต้องเป็นสมาชิกของห้องสมุดก่อนถึงจะใช้บริการเหล่านี้ได้ (ค่าสมาชิกอาจจะไม่ฟรี)
– บางห้องสมุดให้ยืมซีดี ดีวีดี หรือหนังสือได้ แต่ต้องวางเงินมัดจำ (อันนี้เข้าข่ายว่าฟรีหรือปล่าว)
– บางครั้งจะใช้ของฟรีอาจจะต้องรอ เพราะว่าต้องมีการจองคิว

ก่อนจากกันวันนี้ขอเชิญชวนว่า “วันนี้คุณใช้บริการฟรีๆ ในห้องสมุดแล้วหรือยัง”

ภาพการ์ตูนจาก http://comics.com/nancy/2009-04-19/

พาชมห้องสมุดประชาชนเชียงใหม่

วันนี้ผมจะพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดประชาชนที่จังหวัดเชียงใหม่กัน
โดยห้องสมุดแห่งนี้ คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ (อยู่ตรงข้ามกาดสวนแก้ว)

Read more