7 อย่างที่ห้องสมุดจะช่วยคุณยามเศรษฐกิจตกต่ำ

ในยามที่เศรษฐกิจกำลังมีปัญหา ห้องสมุดก็มีวิธีที่ทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
โดยบทความที่ผมนำมาแปลและเรียบเรียงนี้ มาจากเว็บไซต์ consumerist ชื่อบทความว่า
7 Ways Your Public Library Can Help You During A Bad Economy

ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/
ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/

7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณได้ในยามเศรษฐกิจตกต่ำ มีดังนี้

1. You can get pretty much any book at the library
คุณสามารถหยิบยืมหนังสือที่คุณต้องการอ่านได้จากที่ห้องสมุด
ซึ่งหนังสือก็มีให้เลือกมากมาย หลายหมวดหมู่ หลายประเภท
และหากจะยืมข้ามห้องสมุด ก็สามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library loan) ได้ด้วย

2. Yes, we have movies
ห้องสมุดเรามีกิจกรรมฉายภาพยนตร์ทุกสัปดาห์นะครับ
นั่นเท่ากับว่าคุณไม่ต้องไปเปลืองเงินที่โรงภาพยนตร์เลยครับ

3. Kids Activities
ห้องสมุดมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ มากมาย
ดังนั้นพวกคุณสามารถนำลูกหลานมาทำกิจกรรมได้
นอกจากจะเป็นการเสริมทักษะมห้ลูกหลานของคุณแล้ว
ยังสร้างความสัมพันธ์ให้กับครอบครัวของคุณได้อีกด้วย

4. Save Money and maybe your life
มาห้องสมุดทำให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้นด้วย เพราะในห้องสมุดคุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรมากมาย

5. Make new friends
มาห้องสมุดคุณอาจจะได้เพื่อนใหม่เลยก็ได้
มันก็ไม่แน่นะครับเพราะว่า คุณอาจจะเจอเพื่อนที่ชอบอ่านหนังสือแนวเดียวกันก็ได้

6. Find a new job
ห้องสมุดหลายๆ แห่งมีบริการอินเทอร์เน็ตบริการผู้ใช้อยู่แล้ว
คุณก็ลองใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหางานดูสิครับ
ไม่แน่นะครับ คุณอาจจะเจองานที่ถูกใจก็ได้

7. Libraries listen to consumers
ในขณะที่คนอื่นๆ อาจจะไม่ฟังคุณ แต่ขอให้จงระลึกไว้เสมอว่าห้องสมุดจะฟังคุณเอง

เอาเป็นว่านี่ก็คือ 7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณในยามเศรษฐกิจตกต่ำได้นั่นเอง
ผมก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าห้องสมุดกันมากๆ นะครับ
อย่างน้อยคุณก็สามารถที่จะใช้ชีวิตผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ด้วยตัวเอง

หนึ่งตำบลหนึ่งห้องสมุด (One Tumbon One Library)

วันนี้ขอเขียนบล็อกแนวแปลกให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันสักหน่อย
ว่าแต่ว่าเพื่อนๆ เคยได้ยินคำนี้มั้ยครับ คำว่า OTOL(One Tumbon One Library)
หรือเรียกแบบง่ายๆ ว่า “หนึ่งตำบลหนึ่งห้องสมุด” นั่นแหละ

library-country

จริงๆ คำนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมากหรอกครับ แค่ผมฟังคำว่า OTOP OTOP OTOP บ่อยมากเกินไป
เลยขอแหวกแนวมาเป็น OTOL สำหรับวงการบรรณารักษ์บ้าง

ทำไมต้องมี 1 ตำบล 1 ห้องสมุดหล่ะ
เพื่อนๆ ก็ลองคิดดูว่าถ้ามีช่องทางในการเข้าถึงความรู้ได้มากๆ คนก็จะเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ง่ายขึ้น

แนวความคิดที่อยากเห็นคนไทยทุกคนเข้าถึงสารสนเทศได้ง่ายขึ้น

?แล้วทำไมต้องเป็นห้องสมุดหล่ะ เดี๋ยวนี้มีอินเทอร์เน็ตแล้ว ห้องสมุดคงเป็นสิ่งที่อาจจะไม่จำเป็นแล้วก็ได้?

คำพูดนี้ผมอาจจะไม่เถียงเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ตทำให้เราเข้าถึงสารสนเทศได้เร็วขึ้น
แต่เพื่อนๆ เคยคิดถึงคนส่วนใหญ่ของประเทศมั้ยครับที่ยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ดังนั้นผมจึงบอกว่าห้องสมุดเป็นสิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้มากกว่า
โดยที่ห้องสมุดในแต่ละชุมชนไม่ต้องใหญ่โตมากหรอกครับ ขอแค่มีหนังสือที่มีประโยชน์ให้อ่านก็ดีพอแล้ว
ผมว่าก็จะช่วยเพื่อนในชนบทของเราได้แล้ว

โครงการห้องสมุดที่ผมเห็นมากมาย เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่, ชมรมอาสาที่ไปสร้างห้องสมุด
สิ่งเหล่านี้ผมอยากให้เมืองไทยมีมากๆ เพราะว่าการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนในชาติเหมือนกัน
ถ้าคนในชาติมีคุณภาพ ประเทศชาติก็จะเจริญตามไปด้วย

อย่าเพิ่งเครียดกันนะครับ
ผมเพียงแค่อยากให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดก็เท่านั้น
ช่วยๆ กันทำให้เกิดขึ้นนะครับ 1 ตำบล 1 ห้องสมุด

ปล. รูปที่ให้ดูเป็นห้องสมุดของวัดแห่งหนึ่งที่ผมกับเพื่อนๆ ไปช่วยจัด หนังสือไม่เยอะแต่คุณค่าทางใจมีค่ามากที่สุด

ถ้าห้องสมุดเป็นเหมือนคลิปวีดีโอนี้ ผมจะเข้าห้องสมุดทุกวัน

แบบว่าวันนี้เพื่อนผมมันส่งคลิปวีดีโอเพลงนี้มาให้ดู แล้วมันก็บอกผมว่า
“ถ้าห้องสมุดมีบรรยากาศเหมือนในคลิปวีดีโอนี้ มันจะยอมเข้าห้องสมุดทุกวัน”

clipvideo

ผมเลยไม่รอช้าเปิดดูคลิปวีดีโอที่ว่า บอกได้คำเดียวเลยว่า อึ้ง ทึ้ง เสียว จริงๆ
คลิปวีดีโอนี้เป็นการนำเพลงของ Christina Aguilera ชื่อเพลงว่า Candyman
มาทำใหม่ในเวอร์ชั่นของบรรณารักษ์ในห้องสมุด (ทำเล่นๆ กันเองนะครับ)

ไปชมคลิปวีดีโอนี้กันเลย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=V9CKXrhBffA[/youtube]

เอาเป็นว่าคลิปวีดีโอนี้ผมอยากให้เพื่อนๆ ได้ดูกัน แก้เครียดนะครับ
เพราะถ้าเอาไปใช้กับห้องสมุดจริงๆ ผมเกรงว่าจะไม่เหมาะสมอ่ะครับ

เอาเป็นว่าขอแถมด้วยมิวสิควีดีโอของเพลงนี้จริงๆ เลย ดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=9UMU30wHuTE[/youtube]

ปล.ชื่อที่ปรากฎใน youtube คือ??? Orianthi – According To You
ผมลองเข้าไปดูเพลงนี้จริงๆ แล้วไม่ใช่นะครับ น่าจะพิมพ์ผิดอ่ะครับ

แนะนำห้องอ่านหนังสือชุมชนของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

วันนี้ผมขอแนะนำห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งใหม่เพื่อให้เพื่อนๆ รู้จักดีกว่า
ห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งนี้จัดสร้างและบริหารงานโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) นั่นเอง

sac-reading-room

ห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งนี้ให้บริการด้านใดบ้าง
– หนังสือ
– วารสาร
– หนังสือพิมพ์
– วีดีโอ
– อินเทอร์เน็ต
– ข้อมูลตลิ่งชันศึกษา
– หนังสือด้านคุณธรรม

ใครๆ ก็สามารถเข้าใช้บริการที่นี่ได้ครับ และไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย
บรรยากาศที่เย็นสบาย สื่อที่ทันสมัย บริการที่น่าประทับใจ แบบนี้ต้องมาลองครับ
กิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านที่นี่ก็จัดเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องอีก เยี่ยมไปเลยใช่มั้ยครับ

ห้องอ่านหนังสือชุมชนแห่งนี้เปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552
โดยให้บริการในวันจันทร์ ? ศุกร์ เวลา 7.00 ? 18.00 น. และวันเสาร์ เวลา 8.00 -17.00 น.

เอาเป็นว่าใครที่สนใจหรือว่างๆ อยากอ่านหนังสือก็สามารถแวะไปได้ที่
ห้องอ่านหนังสือชุมชนหน้าศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรแถวๆ ตลิ่งชันนะครับ

ใครที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมก็สามารถติดต่อได้ที่ 02-8809429 ต่อ 3101

ปล.เรื่องนี้ผมได้ดองไว้มาหลายเดือนแล้วไม่ว่างที่จะเขียนแนะนำ ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งครับ

ไปดูรูปภาพสวยๆ ของห้องอ่านหนังสือชุมชนกันหน่อยดีกว่า

[nggallery id=22]

ห้องสมุดควรมีของที่ระลึกหรือไม่

เวลาผมไปเที่ยวไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม ผมก็มักจะหาของที่ระลึกของสถานที่นั้นกลับมาฝากเพื่อนๆ เสมอ
ด้วยเหตุนี้ผมจึงมองย้อนกลับมาสู่ห้องสมุดต่างๆ บ้างว่า …
“ถ้าผมไปห้องสมุดต่างๆ แล้วพบว่ามีของที่ระลึกของห้องสมุด … มันจะดีแค่ไหนน้า”

ภาพจาก The Library Store at Central Library
ภาพจาก The Library Store at Central Library

แบบสอบถามวันนี้ผมจึงขอตั้งคำถามเกี่ยวกับของที่ระลึกในห้องสมุด
ลองเข้ามาตอบกันดูนะครับ

[poll id=”16″]

หลักๆ แล้วของที่ระลึกที่ผมเห็นมีอยู่สองรูปแบบใหญ่ๆ ก็คือ

1. ของที่ระลึกที่แจกฟรี เช่น ที่คั่นหนังสือ, ปฏิทิน, โปสการ์ดห้องสมุด ฯลฯ
ของที่ระลึกประเภทนี้ห้องสมุดทำขึ้นเพื่อแจกให้ผู้ใช้ทั่วไปของห้องสมุด
บางที่วางไว้ที่โต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ บางที่วางไว้ที่เคาน์เตอร์
ซึ่งผู้ที่เข้ามาใช้ก็สามารถนำของเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างสะดวก

2. ของที่ระลึกที่มีไว้จำหน่าย เช่น เสื้อยืดห้องสมุด, ปากกา, แว่นตา, กระเป๋าสะพาย ฯลฯ
ของที่ระลึกประเภทนี้มักเป็นที่นิยมสำหรับนักท่องเที่ยวหรือไม่ก็แฟนพันธุ์แท้ของห้องสมุดนั้นๆ
ห้องสมุดบางแห่งเปิดเป็นร้านจำหน่ายของที่ระลึกด้านหน้าของห้องสมุดเลย
ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ของห้องสมุดอีกช่องทางหนึ่ง แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่าแล้วแต่นโยบายของห้องสมุด

calendars2009

บางแห่งไม่สนับสนุนให้มีของที่ระลึกเนื่องจากเป็นภาระของห้องสมุดเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ
นอกจากนี้อาจจะมองในเรื่องของการจัดการที่ค่อนข้างยุ่งยากด้วย เกี่ยวกับการเคลียร์เงินให้ฝ่ายบัญชี

การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ห้องสมุดในต่างประเทศหลายๆ แห่งมีวิธีจัดการโดย
มอบหมายหน้าที่ในเรื่องการจัดทำของที่ระลึกและการจำหน่ายให้เครือข่ายของห้องสมุดเป็นคนจัดการ
เพื่อเป็นเป็นการลดภาระเรื่องการจัดการและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายคนรักห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่าที่เกริ่นมาเยอะๆ แบบนี้เพียงแค่อยากจะรู้ว่า
ห้องสมุดเมืองไทยสมควรมีของที่ระลึกบ้างหรือปล่าว ถ้ามีต้องการของที่ระลึกแบบไหน

เอาเป็นว่าช่วยๆ กันตอบนะครับ

ปล.ภาพประกอบจาก http://www.lfla.org/store/

คลิปวีดีโอ 3D ความหวังห้องสมุดไทย

วันนี้ผมขอนำคลิปวีดีโอบน youtube มาให้เพื่อนๆ ดูสักตอนนึงนะครับ
ซึ่งเนื้อหาในคลิปวีดีโอนี้เกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดสามดีซึ่งเป็นความหวังในการพัฒนาห้องสมุดเมืองไทย

3d-library

เราไปดูคลิปกันก่อนดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ydt4OsdgUok[/youtube]

คลิปนี้จัดทำโดย VOICE News (Voice of the New generation)

เนื้อหาในคลิปวีดีโอได้กล่าวถึง
– ความหมายของห้องสมุดสามดี
– จำนวนห้องสมุดที่มีในประเทศไทย
– จำนวนห้องสมุดที่มีเยอะแต่ไม่ทำให้สถิติการอ่านของคนไทยเพิ่มขึ้น
– คนภาคตะวันออกเฉียงเหนืออ่านหนังสือน้อยกว่าคนกรุงเทพฯ
– ระบบหนังสือหมุนเวียน
– สถาบันหนังสือแห่งชาติ
– โครงการที่เกี่ยวกับการรักการอ่าน

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองจับใจความกันดูนะครับ

ห้องสมุดกับเทศกาลวันวาเลนไทน์

สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนในวันแห่งความรัก (วันวาเลนไทน์) นะครับ
วันนี้ผมมีเรื่องการจัดห้องสมุดให้เข้ากับวันวาเลนไทน์มาให้เพื่อนๆ ดูครับ

valentine-library
ภาพจาก http://www.centralwesterndaily.com.au

หลังจากที่ผมไปสำรวจข้อมูลเรื่องการจัดงานวันวาเลนไทน์ในห้องสมุดต่างๆ จากทั่วโลก
ผมก็พบกับห้องสมุดแห่งหนึ่งที่จัดงานและรูปแบบห้องสมุดได้เข้ากับธีมงานวันวาเลนไทน์มากๆ
ห้องสมุดแห่งนี้ คือ Gloucestershire College Library, New Jersey, USA

ด้วยธีมหลักของงาน คือ การส่งความรักและความหวังดีให้กับผู้ใช้บริการห้องสมุด
การตกแต่งห้องสมุดทำให้ภาพห้องสมุดที่ดูทางการกลายเป็นห้องสมุดสุดโรแมนติก

เราไปดูกันนี้กว่าว่าห้องสมุดแห่งนี้จัดห้องสมุดยังไง

1. แจกของที่ระลึกเป็นรูปหัวใจ

valentine-lib-0

2. ผนังห้องสมุดติดโปสการ์ดรูปหัวใจ และบริเวณห้องโถ่งนำลูกโป่งหัวใจมาวางไว้

valentine-lib-1

3. วางแจกันที่ใส่ดอกกุหลาบไว้ตามโต๊ะอ่านหนังสือ

valentine-lib-2

เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างไอเดียสวยๆ งามในห้องสมุดนะครับ
ซึ่งไอเดียเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ สามารถจัดเองเล็กๆ ในห้องสมุดได้
ไม่จำเป็นต้องจัดทั้งห้องสมุดนะครับ แค่มุมเล็กๆ สักมุมผมก็ว่าน่านั่งแล้ว

สุดท้ายนี้ก็สุขสันต์วันวาเลนไทน์นะครับ

ถ้าไม่มีห้องสมุดแล้ว…

คำถามนี้น่าสนใจมากครับ ถ้าไม่มีห้องสมุดแล้ว…พวกเราจะเป็นยังไง
ผมขอนำภาพๆ นึงมาอธิบายในเรื่องนี้นะครับ ซึ่งภาพๆ นี้เป็นภาพรณรงค์ให้ห้องสมุดยังคงมีต่อไป

ad-no-library

ข้อความในโปสเตอร์แผ่นนี้ คือ

“No libraries, No memory, No history, No future.”

ถ้าไม่มีห้องสมุด ก็จะไม่มีความทรงจำ ไม่มีประวัติศาสตร์ และไม่มีอนาคต

เอาเป็นว่าประโยคนี้ผมเห็นด้วยครับ เพราะว่าห้องสมุดได้จัดเก็บหนังสือมากมาย
ซึ่งรวมไปถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นไว้ด้วย

ส่วนที่บอกว่าไม่มีอนาคต ก็เพราะว่าเราจะไม่มีแหล่งให้ค้นคว้าหาความรู้เลย

ประโยคสุดท้ายก่อนจบเป็นการรณรงค์ให้ช่วยรักษาห้องสมุดต่อไปครับ

ดังนั้นขอให้เพื่อนๆ จงให้ความสำคัญกับ ห้องสมุดในวันนี้นะครับ ก่อนที่จะสายเกินไป

ปล. ภาพๆ นี้เป็นผลงานของ http://www.aaronlouie.com/LibPosters/

askalibrarian askalibrarian3

ลองเข้าไปดูกันนะครับ ในเว็บนี้ยังมีภาพโปสเตอร์ทำนองนี้ให้ดาวน์โหลดอีกเยอะเลย
และทุกภาพติด Creative Commons License. ไว้
ดังนั้นกรุณาทำตามข้อตกลงด้วยนะครับ หากต้องการนำภาพพวกนี้ไปใช้

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 3

หลังจากที่ผมเคยสรุปหนังสือเรื่อง ?Planning the modern public library building? บทที่ 1 และ 2 นานแล้ว
วันนี้ผมขอสรุปบทที่ 3 และ 4 ต่อเลยดีกว่า ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุดที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังแถมด้วยเรื่องของการให้บริการที่ควรจะมีในห้องสมุดประชาชน

planning-public-library-part-3

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 3 : Greening the Library : An Overview of Sustainable Design
เป็นบทที่ว่าด้วยการออกแบบห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เรื่องที่น่าสนใจของห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกกันในนาม “Green Library” นั่นเอง มีดังนี้
Building Site (ที่ตั้งของตัวอาคาร) มีข้อแนะนำคือควรเน้นการปรับปรุงโครงสร้างเดิมของห้องสมุดที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก รวมไปถึงการนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวอาคาร นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านนอกของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย

Building Design (การออกแบบอาคาร) การออกแบบห้องสมุดโดยคำนึงถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมองเรื่องใกล้ๆ ตัว เช่น การดูทิศทางลม การส่องสว่างของแสงจากธรรมชาติ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังทางเลือก ฯลฯ นอกจากออกแบบด้านในห้องสมุดแล้ว เรายังต้องมองการออกแบบภายนอกอาคารด้วย

Interior Design (การออกแบบและตกแต่งภายใน) ให้เน้นเรื่องเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากธรรมชาติเป็นหลัก และปรับสภาพทั่วๆ ไปให้กลมกลืนกันทั่วห้องสมุด

Engineering System (ระบบต่างๆ ในอาคาร) เช่น เรื่องไฟฟ้า แสงสว่าง เครื่องปรับอากาศ ระบบบำบัดน้ำ ฯลฯ

ห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติให้โลก รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนของห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่านี่ก็คือเนื้อหาคร่าวๆ ของบทที่ 3 เรื่องห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ต่อไปผมจะขอกล่าวถึง บทที่ 4 ด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบริการต่างๆ ที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

Chapter 4 : An ounce of prevention : Library directors and the designing of public library
เป็นบทที่ว่าด้วยบริการที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

ไปดูกันเลยครับว่าห้องสมุดประชาชน (ในต่างประเทศ) เขามีบริการอะไรบ้าง

– ชั้นหนังสือทั่วไป
– พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ
– มุมหนังสือเด็ก
– มุมเรียนรู้ตามอัธยาศัย (ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างกลุ่ม)
– มุมสื่อมัลติมีเดีย
– มุมแนะนำหนังสือใหม่ และหนังสือยอดนิยม
– มุมประวัติศาสตร์ หรือ หอจดหมายเหตุ
– มุมสารสนเทศท้องถิ่น
– มุมวรรณกรรม นวนิยาย เรื่องสั้น
– มุมบริการอ้างอิง
– มุมบริการตอบคำถาม
– มุมแสดงนิทรรศการ
– มุมเงียบ หรือพื้นที่อ่านหนังสือแบบเงียบๆ
– มุมบริการเครือข่ายห้องสมุด
– มุมทำงานและนำเสนองานสำหรับหน่วยงานอื่นๆ
– ห้องปฏิบัติการ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบริการต่างๆ ในห้องสมุดประชาชนแบบคร่าวๆ
ในเรื่องรายละเอียดเพื่อนๆ ลองเข้าไปหาอ่านได้จากเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนทั่วไป (ในต่างประเทศ) เองนะครับ

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

การ์ตูนเรื่องนี้จะสอนให้รู้ว่า หากทำหนังสือห้องสมุดหายควรทำยังไง

ผมเป็นคนที่ชอบอ่านการ์ตูน 4 ช่องของต่างประเทศครับ วันนี้ขอนำมาให้เพื่อนๆ อ่านเล่นสักตอนนึง
ซึ่งผมขอเลือกการ์ตูนที่เกี่ยวกับห้องสมุดนะครับ จะได้สอดคล้องกับเนื้อหาในบล็อกผมสักหน่อย

peanut-library-cartoon

เนื้อหาก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับ แค่เป็นการ์ตูนที่เกี่ยวกับเด็กคนนึงที่ทำหนังสือของห้องสมุดหายเท่านั้นเอง
เพื่อนๆ อยากรู้มั้ยครับว่าเด็กคนนี้จะแก้สถานการณ์ยังไง เอาเป็นว่าลองอ่านไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าครับ

peanuts

ปล. การ์ตูนที่ผมนำมาให้ดูวันนี้ ผมนำมาจากเว็บไซต์ของ OCLC เป็นการ์ตูนที่ชื่อว่า “Peanuts”

ข้อความในการ์ตูนมีดังนี้
กรอบที่ 1 ? Dear Library, I have lost your book (ถึงห้องสมุด, ฉันทำหนังสือของคุณหาย)
กรอบที่ 2 ? I can not find it anywhere (หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ)
กรอบที 3 ? I will come to the library and turn myself in (
ผมจะไปที่ห้องสมุดและมอบตัว)
กรอบที่ 4 ? Please do not harm my mother and father (
กรุณาอย่าทำร้ายพ่อและแม่ของผม)

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับการ์ตูนน่ารักๆ นี้
ผมว่านะ “ขนาดเด็กๆ ยังมีความคิดที่ดีและสร้างสรรค์มากๆ เลย”

ช่างเป็นข้อคิดที่ดีมากๆ เลยนะครับ เพราะว่าขนาดเด็กยังมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำเลย
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ทำหนังสือของห้องสมุดหายก็อย่ากังวลมากครับ ให้แจ้งกับห้องสมุดตามตรง
แล้วจะชดใช้ให้ห้องสมุดวิธีใดก็แล้วแต่ท่านสะดวกเลย เช่น ไปหาหนังสือแบบเดียวกันมาใช้คืน หรือ จ่ายค่าปรับให้ห้องสมุด ก็ได้

การ์ตูนแบบนี้ดูสนุกๆ แถมสอดแทรกข้อคิดที่ดีด้วย ไว้วันหลังผมจะหามาให้ดูอีกนะครับ