ผลสำรวจความคาดหวังของบรรณารักษ์และแนวทางการพัฒนาห้องสมุด 2020

ผลสำรวจความคาดหวังของบรรณารักษ์และแนวทางการพัฒนาห้องสมุด 2020

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายคนคงใช้เวลาในช่วงนี้ทำงานจากที่บ้าน (Work form home) และผมเชื่อว่ามีบรรณารักษ์หลายท่านที่ใช้โอกาสนี้ในการอัพเดทความรู้ต่างๆ รอบตัว เผื่อว่าหลังสถานการณ์นี้ผ่านไปองค์กรของท่านหรือห้องสมุดของท่านจะเปลี่ยนแนวทางการทำงานและให้บริการผู้ใช้ที่ดีมากกว่าที่เราเคยทำ…

เพื่อให้เกิดการวางแผนและพัฒนาห้องสมุด วันนี้ผมขอนำผลสำรวจที่ Wiley จัดทำเป็นประจำทุกปีมาแชร์ให้เพื่อนๆ อ่าน ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านรายงาน “Librarian Survey 2020 : Aspirations and Career Development Findings for Library Professionals” ได้ที่ https://www.wiley.com/network/librarians/library-impact/library-survey-report-2020

หรือ ถ้าไม่มีเวลามาก อ่านบทสรุปของผมได้ ด้านล่างนี้เลยครับ

Read more

ผลสำรวจ : ผู้ใช้บริการห้องสมุดต้องการทั้งหนังสือและเทคโนโลยี

วันนี้ผมขอนำเสนอรายงานฉบับนึงที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับความต้องการของผู้ใช้บริการในห้องสมุด รายงานฉบับนี้จัดทำโดย Pew Research Center ซึ่งชี้ให้เห็นว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยีแบบฟรีมีความสำคัญกับกลุ่มผู้ใช้บริการของห้องสมุด พอๆ กับหนังสือแบบฉบับพิมพ์และบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า

Library Services in the Digital Age

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “Library Services in the Digital Age” ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://libraries.pewinternet.org/files/legacy-pdf/PIP_Library%20services_Report.pdf

การสำรวจข้อมูลเริ่มต้นในช่วงวันที่ 15 ตุลาคม – 10 พฤศจิกายน 2555 สำรวจผ่านโทรศัพท์มือถือ
และผู้ที่ให้ทุนในการสำรวจข้อมูลครั้งนี้ คือ มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation)

สรุปข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลผู้ใช้บริการเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีกับห้องสมุด
1. ผู้ใช้บริการใช้บริการอะไรบ้าง…

– บริการตอบคำถามจากบรรณารักษ์ออนไลน์
– เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในห้องสมุด
– ลองใช้เครื่องมือใหม่ๆ
– เมื่อต้องการเดินทางมาห้องสมุดจะใช้ GPS นำทางมาได้
– ใช้บริการเครื่องยืมคืนหนังสือ / เครื่องเช่าหนังสืออัตโนมัติ ตามจุดที่ให้บริการต่างๆ ในชุมชน
– อ่าน review หนังสือ และดูหนังสือแนะนำที่เหมาะกับตัวเอง (Amazon)

2. ผู้ที่ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ (53%) ไปห้องสมุดหรือเข้าเว็บไซต์ห้องสมุดหรือใช้ app ห้องสมุดเพื่อ…

– 73% ค้นหาข้อมูลหนังสือและสื่อ
– 73% ยืมหนังสือฉบับพิมพ์
– 54% ค้นหาข้อมูลงานวิจัยหรือค้นหาข้อมูลในเรื่องที่ตนเองสนใจ
– 50% ขอความช่วยเหลือจากบรรณารักษ์
– 49% นั่ง อ่าน และเรียนในห้องสมุด
– 46% ใช้ฐานข้อมูลงานวิจัย
– 41% เข้าร่วมหรือพาเด็กๆ มาร่วมกิจกรรม การอบรม และงานอีเวนท์
– 40% ยืม DVD ภาพยนตร์
– 31% อ่านและยืมนิตยสารหรือหนังสือพิมพ์
– 23% มาประชุมกลุ่ม
– 21% เข้าร่วมกิจกรรมผู้ใหญ่
– 17% ยืมหรือดาวน์โหลดหนังสือเสียง
– 16% ยืม CD เพลง

จากข้อมูลรายงานฉบับนี้ทำให้เราได้เห็นว่าความสำคัญของห้องสมุดที่เป็นสถานที่ และการเข้าถึงห้องสมุดจากภายนอกด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะฉะนั้นหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานเพื่อการพัฒนาห้องสมุดในปีต่อไปได้นะครับ

ยังไงก็อย่าลืมไปดาวน์โหลดมาอ่านกันนะ

รายงานฉบับนี้มีชื่อว่า “Library Services in the Digital Age” ซึ่งเพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่
http://libraries.pewinternet.org/files/legacy-pdf/PIP_Library%20services_Report.pdf

รายงานเรื่องการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง

เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่ผมเขียนตั้งแต่ปี 2008 วันนี้กลับมานั่งอ่านรายงานที่ทำแล้วคิดถึง
ก็เลยขอนำข้อมูล “รายงานเรื่องการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง” มาเล่าใหม่

ในปี 2008 ช่วงนั้นผมเรียน ป โท เทอมที่สี่ครับ หนึ่งในวิชาที่เรียน คือ “IT Project”
ซึ่งรายงานของวิชานี้เป็นรายงานกลุ่ม ให้เราศึกษาระบบงานของหน่วยงานที่ไหนก็ได้แล้วนำมาวิเคราะห์
นอกจากนี้ให้คิดโครงการใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับไอทีไปเสนอหน่วยงานแห่งนั้นๆ ด้วย

หน่วยงานที่ผมเลือก คือ สวนหนังสือเจริญกรุง
โครงการที่ผมทำชื่อ “การพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติสวนหนังสือเจริญกรุง”
เนื่องจากการพัฒนาระบบห้องสมุดเป็นงานที่คนไอทีหลายๆ คนอยากจะทำ

การทำรายงานก็เริ่มจากการศึกษาข้อมูลทั่วๆ ไปของห้องสมุดก่อนซึ่งจากการอ่านในเว็บไซต์เราได้ข้อมูลไม่เพียงพอต่อการนำมาวิเคราะห์ ดังนั้นจึงต้องลงพื้นที่เพื่อไปศึกษาถึงสถานที่จริง

วันนั้นผมกับเพื่อนๆ ก็เดินทางไปที่ สวนหนังสือเจริญกรุง
และเริ่มแบ่งงานกันทำ บางส่วนสัมภาษณ์บรรณารักษ์ บางส่วนสำรวจห้องสมุด บางส่วนก็จำลองเป็นผู้ใช้บริการ

การเก็บข้อมูลวันนั้นที่ไปสวนหนังสือเจริญกรุงก็นับว่าได้ข้อมูลที่ดี และเพียงพอต่อการวิเคราะห์ระบบเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าจะเป็น นโยบาย, ปัญหา, กิจกรรม, การจัดหา, และความต้องการด้านไอที

เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ใจดีตอบให้ทุกข้อ โดยไม่มีบ่นเลย เลยต้องขอขอบคุณ ณ ที่นี้อีกครั้ง

เมื่อได้ข้อมูลแล้วผมก็นำข้อมูลมาทำรายงานและเตรียมนำเสนอ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดมีดังนี้
– รายละเอียดทั่วไปขององค์กร
– การวิเคราะห์ปัญหาของระบบการทำงานในปัจจุบัน (Cause and Effect Diagram)
– ที่มาของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไป (SWOT Analysis)
– วัตถุประสงค์โครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ขอบเขตของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ข้อกำหนดในการเลือกใช้เทคโนโลยี
– งบประมาณที่จัดเตรียมไว้
– Context Diagram ของระบบสารสนเทศ
– แผนการดำเนินงาน
– Work Breakdown Structure
– Hardware และ Software Specifications
– ข้อมูลทั่วไปของ Software
– การส่งมอบงาน
– เงื่อนไขการรับประกันระบบ
– การควบคุมคุณภาพของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– การจัดการความเสี่ยงของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม
– บทเรียนที่ได้รับจากโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ
– บทสรุปของโครงการห้องสมุดอัตโนมัติ ฯ

ในส่วนเนื้อหาผมไม่ขอนำมาลงในบล็อกนะครับเนื่องจากมันยาวมาก เดี๋ยวบล็อกผมจะยาวเป็นกิโลไปซะก่อน

หลังจากที่นำเสนอข้อมูลในชั้น เพื่อนๆ หลายๆ คนมาสอบถามเรื่องระบบห้องสมุดกันนอกรอบมากมาย
ซึ่งผมเองก็แปลกใจและไม่คิดว่าจะมีคนสนใจเยอะขนาดนี้ ได้ความมาว่า
“ใครพัฒนาระบบห้องสมุดได้ก็สามารถพัฒนาระบบงานอื่นๆ ได้ด้วย เพราะระบบห้องสมุดมีเรื่อองที่ซับซ้อนมากมาย”

เอาเป็นว่าต้องขอบอกเลยว่า “ผลเกินคาดครับงานนี้”