บทบาทของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (ที่สนับสนุนงานวิจัย)

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาต้องสนับสนุนการทำงานวิจัยทั้งของนักศึกษาและอาจารย์อยู่เสมอๆ ซึ่งคำว่า “สนับสนุน” อาจมาได้หลายแบบ เช่น บริการตอบคำถาม บริการช่วยค้นคว้า บริการรวบรวมรายการบรรณานุกรม ฯลฯ ซึ่งมันจะดีกว่ามั้ย ถ้าห้องสมุดมีเว็บไซต์ที่ช่วยตอบคำถาม หรือ รวบรวมเทคนิคที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำวิจัย วันนี้ผมขอนำตัวอย่างจากห้องสมุด Auraria Library มาให้ชมครับ ซึ่ง Session หนึ่งผมได้เข้าไปที่ Auraria Library’s Research Guides! – https://guides.auraria.edu/?b=s

สัมมนาวิชาการ “บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย”

วันนี้มีกิจกรรมดีๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วนะครับ วันนี้มาแบบวิชาการนิดนึง คือ งานสัมมนาวิชาการที่จัดโดยนักศึกษาบรรณารักษ์ระดับบัณฑิตศึกษา ม.รามคำแหง เอาเป็นว่าไปอ่านรายละเอียดกันเลยครับ รายละเอียดการสัมมนาวิชาการเบื้องต้น ชื่องานภาษาไทย : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมพวงแสด ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง วันและเวลาที่จัด : วันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 เวลา 8.00-16.30 น. ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม : ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เท่าที่อ่านรายละเอียดของโครงการฯ คาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ดังนั้นจากหัวข้องานสัมมนาและหน่วยงานที่จัดงานย่อมเต็มไปด้วยวิชาการล้วนๆ แน่นอนครับ กำหนดการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้าจะเป็นหัวข้อ : บทบาทของบรรณารักษ์กับการวิจัย ช่วงบ่ายจะเป็นการนำเสนอวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา วิทยากรที่มาบรรยาในช่วงเช้า คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล และรองศาสตราจารย์ ดร. พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์ เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจในแวดวงงานวิจัย หรือสนใจที่จะเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ก็ควรเข้าฟังนะครับ เพราะคงได้หลักการ และสาระความรู้ที่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้ดีทีเดียว รีบหน่อยนะครับ เพราะว่าต้องสมัครก่อนวันที่ 20 เมษายน 2555 นะครับ (ในแบบฟอร์มที่ส่งบอกว่าให้ส่งก่อนวันอบรม 3 วันทำการ) สุดท้ายนี้ใครที่สนใจงานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ กรุณาอ่านรายละเอียดที่ http://www.webblog.rmutt.ac.th/yaowaluk/2012/04/07/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87/ หรือจะติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่คุณเสาวณีย์ ไตรวิทยาศิลป์ โทร. 081-453-3394 ,  Mail: lisru-ram@hotmail.com เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจ วิทยากรก็น่าสนใจ ไปกันเยอะๆ นะครับ

บรรณารักษ์การแพทย์กับการสนับสนุนงานวิจัย

หัวข้อที่สี่ที่ผมจะสรุปจากงานอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเพิ่มมูลค่าบรรณารักษ์การแพทย์” คือ บรรณารักษ์การแพทย์กับการสนับสนุนงานวิจัย วิทยากรโดย นายแพทย์วุฒิชัย จตุทอง หัวหน้ากลุ่มงานสนับสนุนวิชาการ โรงพยาบาลเลิศสิน กรมการแพทย์ หัวข้อนี้ผมได้อยู่ฟังนิดเดียวเอง เนื่องจากถูกเรียกไปคุยเรื่องการจัดตั้งชมรมบรรณารักษ์การแพทย์ ผมจึงขออนุญาติสรุปจากสไลด์ของท่านวิทยากรแล้วกันนะครับ ซึ่งก็อ่านแล้วพอได้สาระอยู่บ้าง บรรณารักษ์เกี่ยวข้องอย่างไรกับการสนับสนุนการวิจัย เกี่ยวเพราะว่าเป็นตัวการในการค้นหาข้อมูลให้กับผู้ใช้บริการ (คล้ายที่อาจารย์ทวีทองบอกครับ) เมื่อนายแพทย์จะทำงานวิจัยสักชิ้นก็จะมาหาข้อมูลที่ห้องสมุด บรรณารักษ์ก็จะช่วยค้นหาข้อมูลต่างๆ ให้ ถือว่าเป็นการสนับสนุนงานวิจัยได้แล้ว ในโลกปัจจุบันที่มีสภาวะการแข่งขันสูง ท่านวิทยากรจึงนำรูปภาพมาเปรียบเทียบว่าถ้าเราอยากอยู่รอดในทะเล เราต้องเป็นฉลาม หรือไม่ก็เหาฉลาม ถึงจะอยู่รอดได้ เพราะถ้าเป็นปลาชนิดอื่นก็คงเป็นเหยื่อของปลาฉลามอยู่ดี นักวิจัยต้องการอะไรจากห้องสมุด (บรรณารักษ์) – หัวข้องานวิจัย / โจทย์งานวิจัย – Review Literature – การอภิปรายย่อยเป็นกลุ่มๆ – ฐานข้อมูลสืบค้นออนไลน์ – ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานวิจัย (สำหรับผู้เริ่มต้นทำงานวิจัย) นักวิจัยคิดอย่างไรกับห้องสมุด – ห้องสมุดมีความสำคัญ และจะให้ประโยชน์กับนักวิจัยอย่างไร – ห้องสมุดของหน่วยงานตัวเองดีกว่าห้องสมุดของหน่วยงานอื่นหรือไม่ อย่างไร – ห้องสมุดมีเครือข่ายหรือไม่ – ห้องสมุดมีฐานข้อมูลอะไรบ้าง แหล่งข้อมูลสำหรับงานวิจัยในห้องสมุด แบ่งออกเป็น 1. ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต : แหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่น่าสนใจ เช่น – http://www.google.com – http://www.webmedlit.com – http://www.medmatrix.org – http://www.tripdatabase.com 2. เอกสารที่ไม่ได้มีการตีพิมพ์โดยทั่วไป – Grey Literature Report – Netprints – SIGLE – CPG 3. ฐานข้อมูลการแพทย์ออนไลน์ ที่ควรรู้จัก เช่น – Medline – EMBASE –…

ไอเดียสำหรับคนที่ต้องการทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

มีเพื่อนๆ หลายๆ คนชอบมาปรึกษาผมเกี่ยวกับเรื่องหัวข้อในการวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องนี้เพื่อให้ไอเดียในการเลือกหัวข้อเพื่อทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์นะครับ