นายห้องสมุดชวนดูวีดีโอ Austin Central Library (ห้องสมุดระดับโลกอีกแห่ง)

นายห้องสมุดชวนดูวีดีโอ Austin Central Library (ห้องสมุดระดับโลกอีกแห่ง)

วันนี้เปิด Youtube เพื่อหาแรงบันดาลใจในการทำห้องสมุด ปรากฎว่าเจอวีดีโอนี้ “A Building Shaped by Light Austin Central Library” ซึ่งความน่าสนใจคือ เป็นภาพยนตร์สารคดีแบบสั้นที่ได้รางวัลที่ 3 ของ AIA Film Challenge 2019

อีกความน่าสนใจ คือ

ตัวห้องสมุดแห่งนี้ = 1 ใน 6 ห้องสมุดที่ได้รับรางวัล “AIA/ALA Library Building Awards 2018”
อ่านข่าวได้จาก https://library.austintexas.gov/press-release/austin-central-library-wins-library-2018-aiaala-library-building-award-461312

Read more
ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) ประเทศ/เมืองไหนถูกยืมหนังสือมากที่สุด

ห้องสมุดประชาชน (Public Libraries) ประเทศ/เมืองไหนถูกยืมหนังสือมากที่สุด

วันนี้ขอนำสถิติที่น่าสนใจของวงการห้องสมุดโลกมาให้เพื่อนๆ อ่าน

“ทราบหรือไม่ครับว่า “ห้องสมุดประชาชน หรือ Publib library เมืองไหนที่มีจำนวนการยืมหนังสือสูงที่สุดในโลก ข้อมูลจาก World Economic Forum”

วันนี้ผมไปเจอข้อมูลนี้ที่เว็บไซต์ของ World Economic Forum ในเรื่อง “Where do libraries loan out the most books?” ซึ่งที่มาของข้อมูลก็มาจากเว็บไซต์ statista ซึ่งทาง World Economic Forum ก็รวบรวมและดึงเฉพาะการยืมหนังสือในห้องสมุดของประเทศต่างๆ (ข้อมูลบางประเทศอัพเดทถึงปี 2018 แต่บางประเทศยังอัพเดทไม่ถึงปี 2018 และหนักกว่านั้นคือไม่อัพเดทตั้งแต่ปี 2013 ก็มี) แต่เพื่อให้เห็นภาพรวมจึงได้ทำข้อมูลออกมาตามภาพด้านล่างนี้

Read more
Food for Thought : สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดกันเถอะ

Food for Thought : สร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดกันเถอะ

เช้านี้ได้มีโอกาสมานั่งจิบกาแฟ อ่านนิตยสารแจกฟรี (Free Magazine) ในร้านกาแฟ เลยหยิบมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “MICE Spotlight” ที่เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับวงการ MICE ในบ้านเรา (MICE ย่อมาจาก Meetings, incentives, conferencing, exhibitions — กล่าวง่ายๆ ว่าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัด Event)

ซึ่งภายในนิตยสารฉบับนี้ ผมได้เจอคอลัมน์หนึ่งที่ทำให้ต้องหยุดและอ่าน นั่นคือ “MICE SPOTLIGHT” ซึ่งในฉบับนี้ได้นำเสนอเรื่อง “Fulfill the moment : Playing with feeling…a list of techniques to create immersive experiences” หรือ แปลเป็นไทยว่า “เล่นกับความรู้สึก เทคนิคสร้างประสบการณ์ตราตรึงใจ

Read more
อัพเดท! แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2019

อัพเดท! แนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด 2019

หากกล่าวถึง Trend ด้านเทคโนโลยีที่น่าสนใจกับงานห้องสมุด หนึ่งในบรรณารักษ์ที่ผมตามอ่าน คือ “David Lee King” ซึ่งเขาจะอัพเดทและทำสไลด์เรื่องนี้ทุกปี (และผมก็ชอบนำมาใช้ประกอบการบรรยายบ่อยครั้ง) ปีก่อนๆ เพื่อนๆ สามารถอ่านในบล็อกของผมย้อนหลังได้ แต่ปีนี้ 2019 มาอ่านในเรื่องนี้กันดีกว่า

ก่อนอื่นผมขอแนะนำ “David Lee King” ให้ทุกท่านได้รู้จักกันก่อน

Read more
บรรณารักษ์กับ 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต

บรรณารักษ์กับ 10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต

วันก่อนได้ไปบรรยายเรื่อง “ความท้าทายของห้องสมุดและวิชาชีพสารสนเทศ” ให้เด็ก ป. โทฟัง หนึ่งในหัวข้อที่ผมต้องพูดถึงก็คือทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต “วันนี้ผมไม่ได้บอกว่าพวกเราไม่มีทักษะหรือความรู้ แต่ทักษะหรือความรู้บางอย่างมันหมดอายุไปแล้ว ตอนนี้ไม่สามารถใช้ได้ 100% เราจำเป็นต้อง Unlearn Relearn และ Learn อะไรใหม่ๆ ตลอดเวลา

อยากให้อ่านบทความของ ดร.สันติธาร เสถียรไทย “ความรู้ของเรามี “ชีวิต” เหลืออีกกี่ปี
https://www.the101.world/how-long-does-skills-last/

กลับมาเข้าเรื่องของเรากันนิดนึง วันนี้บังเอิญไปเจอเรื่องเดียวกับที่ผมบรรยายก็เลยขอนำมาโพสให้อ่านต่อเกี่ยวกับ “10 ทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต” เราลองไปอ่านสรุปกันว่ามีอะไรบ้าง

Read more

นายห้องสมุดชวนฟัง : สิทธิส่วนบุคคลในงานห้องสมุดและจดหมายเหตุ

ค้นเจอใน YouTube เลยอยากเอามาให้เพื่อนๆ ฟังและทำความเข้าใจ

เสียงสัมภาษณ์ รายการ “หยิบมาถก ยกมาคุย” สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย FM 101.5 MHz.
ตอน : สิทธิส่วนบุคคลในงานห้องสมุดและจดหมายเหตุ
วิทยากร : ผศ.ดร.นคร เสรีรักษ์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ก่อตั้ง privacy thailand และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ออกอากาศ : วันที่ 1 สิงหาคม 2562
ผู้ดำเนินรายการ : นายประจักษ์ มะวงสา

Read more
รีวิวหนังสือ “ห้องสมุดเฉพาะในฐานะศูนย์จัดการความรู้ในองค์กร”

รีวิวหนังสือ “ห้องสมุดเฉพาะในฐานะศูนย์จัดการความรู้ในองค์กร”

ห่างหายไปหลายวัน วันนี้พอจะมีเวลามาเขียนบล็อกให้อ่านเลยขอเลือกสิ่งที่ยังค้างคา คือ การรีวิวหนังสือในวงการห้องสมุด (วันก่อนที่ผมเปิดโหวตเล่มนี้มาเป็นอันดับสอง)

eBook เล่มนี้ “Special Libraries as Knowledge Management Centres” หรือแปลเป็นไทยว่า “ห้องสมุดเฉพาะในฐานะศูนย์จัดการความรู้ในองค์กร” เป็นอีกเล่มที่ผมอ่านแล้วก็ทำให้ได้แง่คิดดีๆ หลายเรื่อง และที่สำคัญ คือ ใกล้ตัวผมมากๆ (ในฐานะของคนที่ทำงานในห้องสมุดเฉพาะเหมือนกัน) สาระสำคัญมีอะไรบ้างไปอ่านกันเลยครับ

Read more
3 ผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุด แนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่น่าสนใจ

3 ผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุด แนะนำเทคนิคและเครื่องมือที่น่าสนใจ

ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีการรวมกลุ่มบรรณารักษ์และคนทำงานห้องสมุดเป็นสมาคม หรือที่หลายๆ คนจะรู้จักในนาม ALA และภายในสมาคมใหญ่ก็มีการแบ่งสายตามความสนใจอย่างชัดเจน ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำกลุ่มๆ หนึ่ง นั่นคือ Library and Information Technology Association หรือย่อว่า LITA ซึ่งจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาปรับใช้กับวงการห้องสมุด อีกทั้งสายงานนี้จะทำรายงานเกี่ยวกับข้อมูลการใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติจากทั่วโลกด้วย

ในงานประชุม ALA เมื่อต้นปี 2019 ได้มี session หนึ่ง รวมผู้นำด้านเทคโนโลยีห้องสมุดจำนวน 3 ท่านมาพูดในงานนี้ ซึ่งได้กล่าวถึง Application, อุปกรณ์, ซอฟท์แวร์ และกรณีศึกษาที่น่าสนใจด้านเทคโนโลยีที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้ได้

Read more
เตรียมห้องสมุดโรงเรียนให้พร้อมก่อนเปิดเทอมภายใน 5 วัน

เตรียมห้องสมุดโรงเรียนให้พร้อมก่อนเปิดเทอมภายใน 5 วัน

บทความนี้เหมาะกับครูบรรณารักษ์และบรรณารักษ์ในโรงเรียนมากๆ และผมมั่นใจว่าทุกคนต้องผ่านเหตุการณ์ดังต่อไปนี้มาแล้ว ลองจินตนาการครับว่า “หากคุณมีเวลาเพียง 5 วันทำการก่อนที่โรงเรียนจะเปิดเทอม คุณจะจัดเตรียมห้องสมุดโรงเรียนของคุณให้พร้อมอย่างไร”

https://mrsjinthelibrary.com/2019/08/19/library-setup-day-1/

เรื่องวันนี้ผมนำมาจากประสบการณ์ของบรรณารักษ์ท่านหนึ่งซึ่งเขียนเรื่องราวข้างต้นได้ละเอียดมากๆ ผมจึงอยากนำมาถ่ายทอดต่อ แต่คงสรุปให้อ่านแบบสั้นๆ นะครับ ถ้าอยากอ่านแบบเต็มๆ ดู Link ด้านล่างได้เลยครับ

Read more
Learning Commons คืออะไร (ห้องสมุดเวอร์ชั่นใหม่ ?)

Learning Commons คืออะไร (ห้องสมุดเวอร์ชั่นใหม่ ?)

ช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา… ผมได้ติดตามข่าวสารของมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และสิ่งหนึ่งที่ผมได้เห็นมากขึ้น คือ มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ใหม่ในมหาวิทยาลัย และเรียกมันสั้นๆ ว่า “Learning Commons” ซึ่งบางแห่งก็ให้ห้องสมุดของสถาบันเป็นผู้ดูแล บางแห่งก็เปิดเป็นพื้นที่ส่วนกลางของคณะ … ซึ่งหลายแห่ง “Learning Commons” ก็อยู่ภายในอาคารห้องสมุดนั่นแหละ

แล้วสุดท้าย “Learning Commons” คืออะไร

Read more