ผู้บริหารห้องสมุดยุคใหม่ต้องทำอะไรบ้าง

เรื่องที่ผมจะนำมาลงให้อ่านในวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ผมจด Lecture มาตั้งแต่สมัยผมเรียน ป.ตรี
แต่พอเอามาอ่านย้อนหลังแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ต่อหลายๆ คน เลยเอามาให้อ่านกันดู
(จริงๆ แล้ว ใน lecture ผมไม่ได้เขียนละเอียดหรอกนะครับ แต่ที่เอามาลงนี่คือการ rewrite ใหม่เท่านั้น)

ceolibrary

?บทบาทและสมรรถภาพของผู้บริหารห้องสมุด? มีดังนี้

– Direction Setter
ผู้บริหารห้องสมุด คือ ผู้กำหนดทิศทางในการบริหารงานห้องสมุด พร้อมใช้เทคนิค และเครื่องมือทางการบริหารนำมาปรับให้เข้ากับห้องสมุด เช่น TQM, BSC, KPI?

– Leader catalyst
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องมีความสามารถในการกระตุ้นการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา และมีภาวะความเป็นผู้นำที่ดี

– Planner
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องรู้จักวางแผนงาน นโยบาย แผนปฏิบัติงาน แผนกลยุทธ์ การจัดลำดับความสำคัญของงาน และการแบ่งงานที่ดี

– Decision Maker
ผู้บริหารห้องสมุดเป็นผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจ และเลือกวิธีในการปฏิบัติงาน ดังนั้นความเฉียบขาดจึงเป็นสิทธิที่พึงมีในตัวผู้บริหารด้วย

– Organizer
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักองค์กรแบบภาพกว้างๆ และมีความสามารถในการจัดการองค์กร เลือกคนให้เข้ากับงาน (put the right man on the right job)

– Change Management
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง? งานบางงานอาจจะผิดแผนไปจากเดิมแต่ผู้บริหารก็ต้องคบคุมให้ได้ด้วย และผู้บริหารห้องสมุดต้องมีการปรับและประยุกต์งานของตนให้เข้ากับสังคม หรือองค์กรอื่นๆ ให้ได้ด้วยเช่นกัน

– Coorinator
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะเป็นผู้ที่อยู่ในระดับสูงขององค์กรแล้ว แต่สิ่งที่จะเป็นแรงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือการที่ผู้บริหารห้องสมุดมีส่วนร่วมในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาดูแล เช่น การจัดกิจกรรมในห้องสมุดผู้บริหารห้องสมุดก็ควรเข้าร่วม (อาจจะไม่ถึงกับต้องทำกิจกรรม แต่ให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำก็ได้เช่นกัน)

– Communicator
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี การสื่อสาร หรือการชี้แจงงานให้ชัดเจน ไม่สร้างความคุมเคลือให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสงสัย

– Conflict Manager
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดในห้องสมุดได้ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่าง คนกับคน หรือ คนกับงาน การที่ผู้บริหารห้องสมุดสามารถไกล่เกลี่ยปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ จะต้องวางใจเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตัดสินด้วยเหตุผล และยุติธรรม

– Problem Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า รู้จัแบ่งความสำคัญของปัญหาว่าสิ่งใดเป็นปัญหาเล็ก สิ่งใดเป็นปัญหาใหญ่ และแก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญได้อย่างดี

– System Manager
ผู้บริหารห้องสมุดจะต้องรู้จักการวิเคราะห์ระบบ วิเคราะห์ปัญหา และควบคุมระบบงานต่างๆ อย่างมีระเบียบและมีขั้นตอน

– Instructional Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีความสามารถทั้งในงานการปฏิบัติงานห้องสมุด และมีความสามารถทางด้านการเรียนการสอนด้วย การสอนที่ว่านี้ไม่ใช่แต่นักเรียน นักศึกษา อย่างเดียวนะครับ แต่หมายรวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

– Personal & Resource Manager
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะต้องควบคุมองค์กรได้แล้ว การควบคุมผูใต้บังคับบัญชา และทรัพยากรต่างๆ ในห้องสมุดก็ถือว่ามีความสำคัญด้วยเช่นกัน และต้องรู้จักการจัดสรรทรัพยากรทั้งคนและสิ่งของให้เข้ากับลักษณะงานด้วย

– Appraiser
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการประเมินผลงานการดำเนินงาน ต่างๆ ในห้องสมุด โดยอาศัยเทคนิค หรือใช้เครื่องมือต่างๆ ในการประเมินก็ได้

จบแล้วครับ?เป็นไงกันบ้าง
งานในฐานะของผู้บริหารห้องสมุดนี่ก็เยอะเหมือนกันนะครับ
ต้องดูแลงานบริหารด้านต่างๆ จัดการกับปัญหาภายในห้องสมุด
แถมต้องพาห้องสมุดไปยังจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของห้องสมุดอีก

เฮ้อ เหนื่อยแทนเลยจริงๆ นะครับ

Top 25 บล็อกบรรณารักษ์จาก onlinedegrees.org

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดทุกท่าน
ผมขอแนะนำสุดยอดบล็อกบรรณารักษ์ 25 แห่งที่ได้รับความนิยมโดยการรายงานของ onlinedegrees.org

top-librarian-blog

onlinedegrees.org เป็นเว็บไซต์ทางการศึกษาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง
ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ได้ประกาศ Top 25 Librarian Blogs
ซึ่งแต่ละบล็อกนี่มีรางวัลการันตีพอสมควร และที่สำคัญเป็นบล็อกในวงการบรรณารักษ์ด้วย

จากการสแกนดูคร่าวๆ ก็มีหลายเว็บที่ผมอ่านประจำด้วยหล่ะครับ
เอาเป็นว่า 25 บล็อกที่สุดยอดในวงการบรรณารักษ์มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. Never Ending Search – http://www.schoollibraryjournal.com/
2. Bright Ideas – http://slav.globalteacher.org.au/
3. Connie Crosby – http://conniecrosby.blogspot.com/
4. The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
5. The Dewey Blog – http://ddc.typepad.com/
6. Annoyed Librarian – http://annoyedlibrarian.blogspot.com/
7. No Shelf Required – http://www.libraries.wright.edu/noshelfrequired/
8. Social Networking in Libraries – http://socialnetworkinglibrarian.com/
9. Peter Scott?s Library Blog – http://xrefer.blogspot.com/
10. Resource Shelf – http://www.resourceshelf.com/
11. What I Learned Today – http://www.web2learning.net/
12. The Travelin? Librarian – http://travelinlibrarian.info/
13. The Law Librarian Blog – http://lawprofessors.typepad.com/law_librarian_blog/
14. The Association for Library Service to Children Blog – http://www.alsc.ala.org/blog/
15. Library Link of the Day – http://www.tk421.net/librarylink/
16. Library Garden – http://librarygarden.net/
17. In the Library with the Leadpipe – http://www.inthelibrarywiththeleadpipe.org/
18. A Librarian?s Guide to Etiquette – http://libetiquette.blogspot.com/
19. Tame the Web – http://tametheweb.com/
20. Librarian By Day – http://librarianbyday.net/
21. TeleRead: Bring the E-Books Home – http://www.teleread.com/
22. The Blah, Blah, Blah Blog – http://neflin.blogspot.com/
23. Closed Stacks – http://closedstacks.wordpress.com/
24. Handheld Librarian – http://handheldlib.blogspot.com/
25. David Lee King – http://www.davidleeking.com/

สำหรับบล็อกบรรณารักษ์ที่ผมเข้าประจำเลยก็มี หมายเลขที่ 5, 6, 9 ,10, 12, 19 ,20, 24, 25 ครับ
เอาเป็นว่าพอเห็นแบบนี้แล้ว ผมคงต้องเข้าไปเยี่ยมชมทุกบล็อกแล้วหล่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็อย่าลืมแวะเข้าไปดูกันบ้างนะครับ
และที่สำคัญห้ามลืมเข้า Libraryhub เด็ดขาด (โปรโมทตัวเองบ้าง)

Update สถานการณ์ล่าสุดของห้องสมุด TK park

ผ่านเหตุการณ์ที่สะเทือนจิตใจคนไทยมาได้ไม่นาน ในช่วงนั้นหลายคนคงได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์
ซึ่งทำให้หลายคนเป็นห่วงห้องสมุดแห่งหนึ่งที่อยู่ที่นั่น ถูกต้องครับ ผมหมายถึง อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park

ctw

ช่วงที่มีข่าวเรื่องการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มีกระแสข่าวที่ไม่ดีของวงการห้องสมุด
นั่นคือ เราอาจจะต้องสูญเสียห้องสมุดที่ดีๆ แห่งนั้นไปแล้ว

แต่หลังจากนั้นไม่นานเมื่อไฟสงบลงก็มีการรายงานความเสียหายของห้างออกมา
และทำให้ทุกคนโล่งใจขึ้นเนื่องจาก “TK Park ไม่ถูกไฟไหม้” นั่นเอง

news

กว่าจะได้ห้องสมุดดีๆ สักแห่งต้องผ่านกระบวนการคิด และสร้างนานมาก
ถ้าต้องเสียหายเพราะเรื่องความขัดแย้งแบบนี้คงไม่ดีแน่

เมื่อไม่โดนไฟไหม้ทุกคนก็คิดว่าห้องสมุด TK Park? ของเราคงจะกลับมาให้บริการได้เร็วๆ นี้

แต่….ทางทีมงาน TK Park? ได้เพิ่งเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ได้วันนี้ และได้เก็บภาพถ่ายมา
ผมจึงขออนุญาตเอาภาพต่างๆ มาลงให้เพื่อนๆ ได้เห็นกัน

ห้องสมุดไม่ถูกไฟไหม้ก็จริง แต่ความเสียหายก็ปรากฎให้พวกเราได้เห็น
จากที่ได้ฟังทีมงานที่เข้าไปได้รู้ว่า สปริงเกอร์น้ำได้ฉีดน้ำลงมาโดนหนังสือจำนวนมาก
และด้วยความร้อนจากไฟไหม้บริเวณห้างก็ทำให้เกิดความชื้นในห้องสมุด
หนังสือต้องเสียหายมากมาย ซึ่งทางทีมงานต้องเร่งเข้าไปคัดเลือกหนังสือที่อยู่ในสภาพดีออกมา

เอาเป็นว่าเราลองดูภาพสักนิดดีกว่านะครับ

after_tk_12_450x300

after_tk_04_450x300

after_tk_06_450x300

after_tk_02_450x300

เป็นยังไงบ้างครับ ถ้าอยากติดตามภาพแบบเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.tkpark.or.th/tk/index.php?option=com_content&view=article&id=1447&Itemid=153&lang=th

สุดท้ายนี้ผมก็ขออวยพรและเป็นกำลังใจให้ TK Park กลับมาให้บริการได้อย่างดีเหมือนเดิมนะครับ

อ๋อ นิดนึงนะครับ ขอประชาสัมพันธ์สำหรับคนที่คิดถึงห้องสมุด TK Park เพื่อนๆ ก็สามารถใช้บริการ TK Mobile Library ได้ ตามจุดต่างๆ ดังนี้
– วันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนจตุจักร (บริเวณสนามเด็กเล่น)
– วันเสาร์ที่ 19 และวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)
– วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 9.00-15.00 น. พบกันที่ เสถียรธรรมสถาน

Website ของ TK Park = http://www.tkpark.or.th
Facebook ของ TK Park = http://www.facebook.com/tkparkclub
Twitter ของ TK Park = http://twitter.com/TKpark_TH

ขอเชิญเพื่อนๆ ร่วมลงชื่อให้กำลังใจ TK Prak ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

ระเบียบการเข้าใช้ห้องสมุดแบบขำขำ…

เรื่องเก่าขอเอามาเล่าใหม่นะ…วันนี้นั่งค้นข้อมูลเรื่องการใช้ห้องสมุดอยู่ดีๆ
ผมก็บังเอิญไปเจอข้อมูลเรื่องมารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุด
(ถ้ามารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุดแบบธรรมดา ผมคงไม่นำมาลงให้อ่านหรอกนะ)

sleep-in-library

หมายเหตุ : ผมขอสงวนในการบอกชื่อห้องสมุดนะครับ
และสิ่งที่ผมเขียนนี้ไม่ได้ตั้งใจจะว่าอะไรห้องสมุดแห่งนี้หรอกนะครับ
เพียงแต่นำมาเขียนเพื่อให้เพื่อนๆ คนอื่นนำไปเป็นแนวทางในการสร้างสีสันในห้องสมุด

มารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุด มีดังนี้
* ไม่นำกระเป๋า? แฟ้ม? หรือถุงย่ามเข้าห้องสมุด
* ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น
* ไม่นอนหลับในห้องสมุด
* ไม่เสริมสวยในห้องสมุด
* ไม่นำน้ำ อาหารมากินในห้องสมุดกลาง
* ไม่ค้นหนังสือกระจุยกระจาย
* ช่วยรักษาความสะอาดของห้องสมุด
* เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องสมุด
* เก็บหนังสือเข้าที่ก่อนออกจากห้องสมุด

เพื่อนๆ สังเกตุเห็นบางข้อมั้ยครับ เช่น

“ไม่เสริมสวยในห้องสมุด”
อันนี้ผมขอเดานะครับว่าผู้ใช้ที่เข้ามาต้องมีผู้หญิงเยอะแน่ๆ
และแต่ละคนคงอาศัยห้องสมุดเป็นห้องแต่งหน้าจนบรรณารักษ์สังเกตุเห็น
ดังนั้นเลยมีการกำหนดมารยาทข้อนี้เอาไว้แน่ๆ

“ไม่ค้นหนังสือกระจุยกระจาย”
ส่วนอันนี้ขอเดานะครับว่าผู้ใช้ที่เข้ามาต้องเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมากๆ เลย
ถึงได้ลื้อหนังสือกระจุยกระจายได้ใจบรรณารักษ์ จึงทำให้เกิดมารยาทในข้อนี้

เอาเป็นว่าแซวเล่นๆ นะครับ เพื่อนๆ คิดเหมือนผมมั้ยว่า
มันก็น่าสนใจเหมือนกันในเรื่องของการออกกฎหรือข้อปฏิบัติในห้องสมุด

เอาเป็นว่าห้องสมุดไหนมีมารยาทจ๊าบๆ กว่านี้ลองส่งมาให้ผมดูบ้างแล้วกันนะครับ

ห้องสมุดควรแนะนำหนังสือใหม่แบบไหนดี

ห้องสมุดของเพื่อนๆ แนะนำหนังสือใหม่กันแบบไหนบ้างครับ วางไว้ในตู้โชว์หรือปล่าว
เอาเป็นว่าไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม วันนี้ผมขอนำเสนอรูปแบบการวางหนังสือแบบแปลกๆ มาให้ดูบ้าง

book-show

ห้องสมุดของคุณแนะนำหนังสือใหม่อย่างไร
– แปะรายชื่อไว้ที่บอร์ด ?
– สแกนหนังสือลงเว็บไซต์ห้องสมุด ?
– ใส่ไว้ในตู้แสดงหนังสือใหม่ที่เปิดไม่ได้ ?

และอีกต่างๆ มากมายที่คุณจะแนะนำหนังสือใหม่ๆ ให้ผู้ใช้บริการได้รับรู้

ไอเดียง่ายๆ ในการนำเสนอหนังสือใหม่เพื่อสร้างสีสันให้กับห้องสมุด เริ่มต้นจาก :-

อุปกรณ์
1. โต๊ะสำหรับวงของ (ใหญ่หน่อยก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็ตัวเล็กหน่อยก็ได้)
2. ผ้าแพรสีๆ แล้วแต่ว่าอยากได้สีไหน
3. หนังสือที่ต้องการแสดง (แนะนำหนังสือปกแข็งเท่านั้น)

อุปกรณ์แค่นี้ก็พอแล้ว หลังจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับการจัดวางของคุณ
แต่ขอแนะนำสักนิดควรดูพื้นที่บนโต๊ะ กับจำนวนหนังสือด้วย
พยายามทำให้ดูสบายตากับผู้ใช้ (ไม่ วางหนังสืออัดแน่นไป)

กางหนังสือพอประมาณแล้วก็ตั้ง ไว้อย่างในรูป
จะตั้งอย่างไรก็ได้เต็มที่ ตามสบายเลยครับ

ขอแนะนำอีกสักนิดเพื่อความสุขของผู้ ใช้
ผู้ใช้สามารถหยิบขึ้นมาอ่านได้ แล้วก็แนะนำว่ากรุณาวางเก็บไว้ที่เดิม อิอิ

เพียงเท่านี้ก็คงช่วยสร้างสีสันให้ห้องสมุดได้บ้างนะครับ

เก็บตกหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดและบรรณารักษ์จากงาน CIL2010

งาน Computers in libraries 2010 หรือ CIL2010 เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา
ซึ่งภายในงานนี้มีหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจมากมาย เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะมาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ

cil2010

อย่างที่เคยบอกแหละครับว่า งานนี้เป็น “งานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด”
แน่นอนครับหัวข้อที่บรรยายในงานนี้จะเกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุดทุกอย่างครับ
รวมถึงจากงานประชุมวิชาการนี้จะทำให้เราได้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในวงการห้องสมุดด้วยครับ

หัวข้อบรรยายในงานนี้ก็ยังคงแบ่งออกเป็น 5 ห้องเช่นเดิม (5 Track)
ซึ่งในแต่ละห้องก็จะมีหัวข้อย่อยๆ อีก ดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– DIGITAL PRACTICES
– CONTENT MANAGEMENT

TRACK B
– WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– NEXT-GEN CATALOGS
– MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES

TRACK C
– MANAGING 2.0
– PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– COOL TOOLS

TRACK D
– COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE

TRACK E
– LITERACIES & FLUENCIES
– TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE

————————————————————————————-

นอกจากนี้ในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Shares : Search Tips Spectacular!
– Trends in Search & Search Engines
– New & Hot : The Best of Resource Shelf
– Innovative Applications of Federated Search Technology
– Discovery Tools : Case Study

DIGITAL PRACTICES
– Crafting Online Personas
– Library Engagement Through Open Data
– Usability & Libraries
– Using Technology, Creativity & Partnerships
– Reference for a Digital World

CONTENT MANAGEMENT
– Content Containers : Tranforming Publishing & Purchasing
– Licensing Content & Creative Common (CC)
– Digitization Practices
– Ebooks : Landscape & Implications
– Ebooks : Experience & Learnings

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– Experience Design Makeover
– Improving Visual Web Experience
– Website Redesign : Two case studies
– Analyzing, Evaluating & Communicating the Value of Web Presence
– Well-Organized Sites & Portals

NEXT-GEN CATALOGS
– From OPAC to SOPAC : Steps to a Social Library
– SOPAC 2.1 : Digital Strategy for the New Library
– Open Source Models : Hybrid ILS & Multiple Sites
– Fluency in OS Systems : Pilots in Different Size Libraries
– Global Library Landscape

MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES
– Mobile Literacy : Competencies for Mobile Tech
– Developing & Designing for Mobile
– Mobile Tips & Practices
– What?s Happening With Mobile in Libraries
– Practices & Search: What?s Hot!

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track C

MANAGING 2.0
– Tips for Fast Tech Project Implementation
– Achieving Org 2.0
– Decision Making & Decisions in a Digital Age
– Gen X Librarians: Leading From the Middle
– Digital Managers Sound Off

PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– Strategic Planning & Encouraging Change
– Critical Thinking : Getting to the Right Decision
– Bridging Community, Research, Skill Building, & Entertainment With World of Warcraft & Libraries
– Planning & Partnerships : Strategic Initiatives
– Feedback & Proving Worth With Library Scorecards

COOL TOOLS
– New & Open Source Tools
– Productivity Tools
– What?s Hot in RSS
– Cloud Computing & Digital Video
– Best Free Web Services for Broke Libraries

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track D

COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– Digital Commons: Building Digital Communities Using Digital Collections
– Real-Time Collaboration Tools
– What Administrators Need to Know About Technology
– Google Wave
– Twitter Tools: Applications & Success Stories

ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES

– Web 2.0 Tools: Innovation, Awareness, & Knowledge-Sharing
– Info Pros & SharePoint: Good Fit
– Drupal Applications & Practices
– Search Enhancements for the Enterprise
– Building Communities & Engaging Clients

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– The 24th Thing: What?s Next?
– Persuasion, Influence, & Innovative Ideas
– Google Gambol
– Information Discovery With Surfaces
– Engaging Communities

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track E

LITERACIES & FLUENCIES
– Information Fluency Strategies & Practices
– Libraries & Transliteracy
– Developing Specific Fluencies: Case Studies
– Information Literacy : Life Cycle & Economic Benefits
– LibGuides: Web Tools to Enhance Information Fluency?

TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LMS: What?s Out There & How to Decide!
– Reaching Reluctant Learners
– Training in the Cloud or Mobile Labs!
– Virtual Learning & Training : From Classrooms to Communities
– Instructional Technology: It?s a Team Thing

LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE
– Staff Development: Soft Skills, Firm Results
– Peer Training for Digital Literacy
– From Podcasts to Blogs and Beyond!
– Ref Desk Adventure : Simulation Game for Training
– 23 Things for an International Audience

———————————————

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมของหัวข้อต่างๆ ก็สามารถดูได้ที่
http://conferences.infotoday.com/documents/84/CIL2010-FinalProgram.pdf

และหากต้องการทราบความเคลื่อนไหวของการประชุม CIL ให้เข้าไปที่
http://www.infotoday.com/cil2010/twitter.asp

ปัญหาที่เกิดในห้องสมุด “คืนหนังสือแล้วยืมต่อไปเรื่อยๆ”

วันนี้ผมขอยกปัญหานึงที่เคยเจอตอนทำงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยมาให้อ่าน
เกี่ยวกับเรื่องการต่ออายุการยืมหนังสือ (Renew Book) นั่นเอง
ดูผิวเผินอาจจะเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเพื่อนๆ เจอการต่ออายุหนังสือเล่มเดิมสัก 10 ครั้ง มันก็คงไม่ปกติแล้ว

renew-book

บรรณารักษ์ในสถาบันอุดมศึกษาน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้
เหตุการณ์ที่อาจารย์ในสถาบันมายืมหนังสือในห้องสมุด แล้วพอถึงเวลาคืนก็มาต่ออายุการยืม
ฟังดูธรรมดา… แต่สิ่งที่เป็นปัญหาก็เกิดขึ้น เมื่อการต่ออายุเกิดอย่างต่อเนื่องจนเสมือนกับจะยืมหนังสือกันตลอดชีวิต

นั่นคือเหมือนครบกำหนดก็มาคืน แล้วก็ยืมต่อ อาจารย์ทำแบบนี้สักสามครั้งนี้ก็เท่ากับหมดหนึ่งเทอมไปเลย
แต่แค่หนึ่งเทอมอาจจะให้อภัยได้ แต่ช่วงปิดเทอมก็ยืม เปิดเทอมใหม่ก็ยืม (หนังสือเล่มเดิม)

คงกะว่าหนังสือเล่นนั้นไม่มีใครจยืมมั้งครับ อาจารย์ก็เลยหวังดีแบบนี้

ถ้าแค่เล่มเดียวหรือสองเล่มก็ยังไม่เท่าไหร่
นี่อาจารย์แกเล่นยืมไปหกเล่ม แล้วดันไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านเขายืมเลย

เพื่อนๆ ว่าปัญหาแบบนี้ บรรณารักษ์อย่างพวกเราควรทำอย่างไร

เอาเป็นว่าผมขอเสนอคำแนะนำนิดนึงแล้วกัน (ผ่านการพิสูจน์และปฏิบัติแล้ว) คือ

1. ประสานงานไปยังฝ่ายวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อหาลือกันถึงแนวทางการแก้ไข ซึ่งได้ความว่า
ฝ่ายวิชาการจะจัดเงินทุนจำนวนหนึ่ง เพื่อซื้อหนังสือที่อาจารย์จำเป็นต้องใช้สอนตลอดทั้งเทอม
โดยอาจารย์สามารถซื้อหนังสือที่ใช้ประกอบการสอนแล้วนำมาเบิกฝ่ายวิชาการ
โดยมีเงื่อนไขว่า หนังสือที่ซื้อจะต้องตรงกับหลักสูตรที่อาจารย์ท่านนั้นสอน
และแต่ละภาควิชาจะได้รับเงินทุนเท่าๆ กัน (ในภาควิชาต้องบริหารการซื้อหนังสือสื่อการสอนกันเอง)

ผลการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ค่อนข้างได้ผลตอบรับที่ดีขึ้น แต่ปัญหาเดิมก็ยังมีอยู่แต่น้อยลง
อาจจะเกิดจากการบริหารเงินในภาควิชา ทำให้อาจารย์บางคนไม่ได้รับการจัดสรรเงิน
ดังนั้นอาจารย์ก็จะใช้วิธียืมแบบต่ออายุเหมือนเดิม

2. ห้องสมุดกำหนดนโยบายการยืมหนังสือแบบต่อเนื่อง
โดยกำหนดว่าไม่ให้ต่ออายุเกิน 2 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นได้ยืมหนังสือเล่มนั้นบ้าง
และหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สอนกับนักศึกษาด้วย ให้แจ้งห้องสมุดทำเป็นหนังสือจองทันที
แต่ต้องแจ้งตั้งแต่ช่วงเปิดภาคการศึกษาใหม่ๆ นะครับ

ผลการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
จากการชี้แจงให้อาจารย์ทุกท่าน และผู้ใช้ทราบถึงนโยบายใหม่
ทำให้ผลตอบรับดีขึ้นมีการหมุนเวียนในการใช้สารสนเทศ หรือหนังสือดีขึ้น
หนังสือไม่ถูกเป็นเจ้าของเพียงคนๆ เดียว แต่เป็นของคนทุกคนครับ

ขอสรุปข้อคิดสักนิดนะครับ สำหรับพวกที่ชอบยืมหนังสือแบบเห็นแก่ตัว
กรุณาคิดกันสักนิดว่า หนังสือในห้องสมุดมิได้เป็นของคุณคนเดียว
ให้ชาวบ้านเขาได้ใช้หนังสือกันบ้าง อย่าเก็บไว้คนเดียวเลยนะครับ?

แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับมีไอเดียที่จะเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาแบบนี้อย่างไร
ส่งความคิดเห็นมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

อ่านหนังสือแบบสามมิติได้แล้วใน Google Books

วันนี้ดีเดย์ Google เปิด Service ใหม่ใน Google books
โดย Service ใหม่ที่ว่านี้คือ การเพิ่มฟีเจอร์หนังสือให้ดูแบบสามมิติได้

google-3d-view-in-april-fools-day

วันนี้ผมเลยขอเข้าไปทดสอบแล้วนำมาให้เพื่อนๆ ดูกัน
เริ่มจากการเข้าไปที่หน้า Google bookshttp://books.google.co.th

googlebooks

จากนั้นผมได้ค้นคำว่า “Library” ซึ่งได้ผลการสืบค้นดังภาพ

librarybook-google

จากนั้นลองเข้าไปดูหนังสือสักเล่มนึง เมนูด้านบนเพื่อนๆ จะเห็นคำว่า “ดูในแบบ 3 มิติ

cover-book

เห็นแค่หน้าปกอาจจะดูว่าไม่แตกต่างมาก เอาเป็นว่าให้ดูเนื้อหาบ้างดีกว่า

detail-view

เอาเป็นว่า แนะนำให้ไปหาแว่นสามมิติมาใส่อ่านกันดูนะครับ แล้วจะได้รู้สึกว่าเป็นสามมิติ
นับว่า Google ช่างพัฒนารูปแบบการอ่านหนังสือได้เปลี่ยนไปจากเดิมมากๆ
ก็ขอปรบมือให้กับความตั้งใจในการพัฒนา อนาคตเราคงอาจจะได้เห็นอะไรที่เหนือจินตนาการอีกมากนะครับ

ปล. นี่คือการเล่น April Fool day ของ Google

ภาพหมู่เอกบรรณารักษ์รุ่นสุดท้ายแห่ง มอ.

อันนี้ไม่ขอเขียนอะไรมากมาย แค่อยากเอารูปเก่าๆ มาให้เพื่อนๆ ดู
ซึ่งเป็นรูปถ่ายของเอกบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์แห่ง มอ.

lib-info-sci-psu

รุ่นของผมคือรุ่นสุดท้ายที่มีการใช้คำว่า “บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์” นะครับ
หลังจากรุ่นผมเป็นต้นไปที่ภาควิชาก็เปลี่ยนชื่อหลักสูตรเป็น “การจัดการสารสนเทศ” แล้วครับ

เนื้อหารายวิชาบางส่วนก็ยังคงเป็นวิชาของบรรณารักษ์ แต่ก็ได้มีการเน้นวิชาด้านไอทีมากขึ้นด้วย
ซึ่งเน้นไปในเรื่องการจัดการสารสนเทศในทุกรูปแบบนั่นเอง

ดูในรูปแล้วก็ทำเอาคิดถึงเพื่อนๆ เอกเลยนะครับ
ในรุ่นของผมเป็นรุ่นประวัติศาสตร์ที่มีผู้ชายมากถึง 6 คน ส่วนผู้หญิงก็มีทั้งหมด 16 คนครับ

เอามาให้ดูอย่างนั่นแหละครับ ไม่รู้จะอธิบายยังไง
แต่สังเกตจากภาพที่ทุกคนมีความสุขกับวิชาที่เรียน แค่นี้ก็ทำให้รู้สึกดีใจแล้วครับ
แม้ว่าบางคนจบมาก็เป็นบรรณารักษ์ หรือบางคนก็ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์
แต่อย่างน้อยทุกคนก็ใช้วิชาที่เรียนมาสร้างความสำเร็จในชีวิตได้
ผมว่าแค่นี้ก็ดีที่สุดแล้ว?

คิดถึงเพื่อนๆ นะ

[nggallery id=23]

7 อย่างที่ห้องสมุดจะช่วยคุณยามเศรษฐกิจตกต่ำ

ในยามที่เศรษฐกิจกำลังมีปัญหา ห้องสมุดก็มีวิธีที่ทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้
โดยบทความที่ผมนำมาแปลและเรียบเรียงนี้ มาจากเว็บไซต์ consumerist ชื่อบทความว่า
7 Ways Your Public Library Can Help You During A Bad Economy

ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/
ภาพประกอบจาก http://www.gettyimages.com/

7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณได้ในยามเศรษฐกิจตกต่ำ มีดังนี้

1. You can get pretty much any book at the library
คุณสามารถหยิบยืมหนังสือที่คุณต้องการอ่านได้จากที่ห้องสมุด
ซึ่งหนังสือก็มีให้เลือกมากมาย หลายหมวดหมู่ หลายประเภท
และหากจะยืมข้ามห้องสมุด ก็สามารถใช้บริการยืมระหว่างห้องสมุด (Inter Library loan) ได้ด้วย

2. Yes, we have movies
ห้องสมุดเรามีกิจกรรมฉายภาพยนตร์ทุกสัปดาห์นะครับ
นั่นเท่ากับว่าคุณไม่ต้องไปเปลืองเงินที่โรงภาพยนตร์เลยครับ

3. Kids Activities
ห้องสมุดมีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ มากมาย
ดังนั้นพวกคุณสามารถนำลูกหลานมาทำกิจกรรมได้
นอกจากจะเป็นการเสริมทักษะมห้ลูกหลานของคุณแล้ว
ยังสร้างความสัมพันธ์ให้กับครอบครัวของคุณได้อีกด้วย

4. Save Money and maybe your life
มาห้องสมุดทำให้คุณมีเงินเก็บมากขึ้นด้วย เพราะในห้องสมุดคุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรมากมาย

5. Make new friends
มาห้องสมุดคุณอาจจะได้เพื่อนใหม่เลยก็ได้
มันก็ไม่แน่นะครับเพราะว่า คุณอาจจะเจอเพื่อนที่ชอบอ่านหนังสือแนวเดียวกันก็ได้

6. Find a new job
ห้องสมุดหลายๆ แห่งมีบริการอินเทอร์เน็ตบริการผู้ใช้อยู่แล้ว
คุณก็ลองใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหางานดูสิครับ
ไม่แน่นะครับ คุณอาจจะเจองานที่ถูกใจก็ได้

7. Libraries listen to consumers
ในขณะที่คนอื่นๆ อาจจะไม่ฟังคุณ แต่ขอให้จงระลึกไว้เสมอว่าห้องสมุดจะฟังคุณเอง

เอาเป็นว่านี่ก็คือ 7 วิธีที่ห้องสมุดประชาชนจะช่วยคุณในยามเศรษฐกิจตกต่ำได้นั่นเอง
ผมก็อยากให้เพื่อนๆ เข้าห้องสมุดกันมากๆ นะครับ
อย่างน้อยคุณก็สามารถที่จะใช้ชีวิตผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้ด้วยตัวเอง