LibCampUbon#2 : มุมสารสนเทศท้องถิ่นในห้องสมุดประชาชน

ก่อนจบงานสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่สัญจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี (Libcampubon#2)
วิทยากรได้เชิญผู้ที่กำลังจัดทำมุมสารสนเทศท้องถิ่นในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี (คุณดาหวัน ธงศรี)
มาแนะนำมุมสารสนเทศท้องถิ่นแบบเบื้องต้นและอธิบายถึงขอบเขตงานในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น

การจัดทำมุมสารสนเทศท้องถิ่นในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นมุมสารสนเทศที่มีความสำคัญ สำหรับให้ศึกษาค้นคว้า ความรู้ ภูมิประวัติศาสตร์เมืองอุบล และภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อสร้างเป็นต้นแบบและทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวคิดการจัดทำมุมสารสนเทศท้องถิ่นในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี  มีดังนี้ ซึ่งจะแบ่งการจัดเก็บรวบรวมออกเป็น

– หนังสือเกี่ยวกับเมืองอุบล  อาทิเช่น ประวัติเมืองอุบลราชธานี  ประมวลภาพอุบลราชธานี 200 ปี  เป็นต้น
– หนังสือที่นักปราชญ์และบุคคลสำคัญในจังหวัดอุบล เป็นคนเขียนหนังสือด้านต่างๆ อาทิเช่น  ผญา อักษรธรรม อักษรไทน้อย อักษรขอม ที่แปลจากใบลาน เพื่อเล่าเรื่องราว สืบสาน วรรณกรรม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี ของเมืองอุบล และสื่อจากการสัมภาษณ์ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาต่างๆ
– ภาพเก่าเล่าเรื่องสถานที่สำคัญต่างๆ ของเมืองอุบล จัดทำเป็นรูปเล่ม สำหรับเผยแพร่
– รวมถึงสื่อมัลติมีเดียต่างๆ อาทิเช่น บุคคลสำคัญ และบุคคลมีชื่อเสียง ด้านศิลปิน นักร้อง หมอร้อง หมอลำ อาทิเช่น สลา คุณวุฒิ  ต่าย อรทัย และหมอลำพื้นบ้าน ด้านอื่นๆ เป็นต้น

เพื่อให้บริการและเผยแพร่ให้กับประชาชน เด็กรุ่นใหม่ ที่สนใจและต้องการศึกษาค้นคว้า ทำวิจัย และจะทำให้ได้รู้ได้เข้าใจทราบถึงประวัติความเป็นมาของเมืองอุบลมากขึ้น

เป็นไงกันบ้างครับ นี่ก็เป็นเพียงบทสรุปของการจัดทำมุมสารสนเทศท้องถิ่นในห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีเท่านั้น
ความคืบหน้าในการจัดทำผมจะนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้ทราบในโอกาสต่อไปนะครับ

อ๋อ และก่อนจบงาน libcampubon#2 ผมก็ถือโอกาสสอบถามถึงความต้องการของผู้ที่เข้าฟังว่า
ต้องการให้จัดหัวข้ออะไรในงาน libcampubon ครั้งต่อไป ซึ่งได้ผล คือ

หัวข้อที่ได้รับการเสนอเพื่อใช้จัดในงาน LibcampUbon ครั้งต่อไป เช่น
– ศูนย์ความรู้กินได้ระดับตำบล
– แนวคิดในการนำศูนย์ความรู้กินได้มาใช้กับห้องสมุดขนาดเล็ก (แบบงบประมาณน้อย)
– การทำ workshop การถ่ายภาพเพื่อนำมาจัดทำสารสนเทศท้องถิ่น (คล้ายกับภาพเก่าเล่าเรื่อง)
– การจัดทำเว็บไซต์เพื่อรวบรวมสารสนเทศท้องถิ่น
– การจัดทำมุมความรู้กินได้ในห้องสมุด ตั้งแต่แนวคิดจนถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับหัวข้อต่างๆ เหล่านี้ เอาเป็นว่าทีมงานทุกคนจะนำข้อเสนอตรงนี้ไปทำการบ้านและสรุปออกมาให้เร็วที่สุดนะครับ เพราะเราอยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับการพัฒนาห้องสมุดและบรรณารักษ์ยุคใหม่ “เพราะเราคือทีมเดียวกัน เครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ในจังหวัดอุบลราชธานี LibcampUbon

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*