คลิปวีดีโอห้องสมุดไทยในแอลเอ (ลอสแองเจลลิส)

วันนี้วันจันทร์เชื่อว่าหลายๆ คนคงยุ่งเหมือนกับผม ดังนั้นวันนี้ผมขอนำคลิปวีดีโอมาให้ดูแทนการเขียนแบบเยอะๆ แล้วกัน ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดแน่นอนครับ

คลิปวีดีโอได้กล่าวถึงการมีห้องสมุดไทยในต่างประเทศอย่างมีระบบเพื่อให้คนไทยใช้เป็นที่อ่านหนังสือ และคนต่างชาติก็สามารถเข้ามาใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนภาษาไทยได้ด้วย

เราไปดูคลิปวีดีโอนี้กันก่อนดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=0spOaEybyrU&feature=share[/youtube]

คลิปที่เพื่อนๆ ได้ดูไปเป็นคลิปวีดีโอในช่วงข่าวภาคค่ำของช่องทีไอทีวีนะครับ
ซึ่งอยู่ในช่วงไทยบันเทิง เสนอเรื่องห้องสมุดไทยในแอลเอ (ลอสแองเจลลิส)

เอาเป็นว่ารายละเอียดเพื่อนๆ คงฟังได้จากคลิปวีดีโอนะครับ ผมคงไม่ต้องเขียนขึ้นมาซ้ำหรอก

เอาเป็นว่าที่เอามาโพสเพื่อให้เพื่อนๆ ได้รับรู้เกี่ยวกับวงการห้องสมุดไทยในต่างประเทศ
และที่สำคัญกว่านั้นผมอยากชื่นชมทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างและจัดระบบห้องสมุดแห่งนี้

ขอบคุณจริงๆ ครับ

ไอเดียมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด

วันนี้แค่หัวข้อก็อาจจะดูแปลกๆ ใช่มั้ยครับ เอ๊ะ หรือผมพิมพ์ผิดหรือปล่าว
ไม่ผิดหรอกครับ วันนี้ผมขอนำไอเดียมาขายให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ สักหน่อย
เกี่ยวกับมุมแสดงหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่านในห้องสมุด หรือ 20 อันดับหนังสือที่ไม่เคยมีใครหยิบอ่าน

ปกติในห้องสมุดก็มักจะมีมุมที่ใช้ในการแสดงหนังสือยอดนิยมใช่มั้ยครับ แน่นอนครับ เกือบทุกแห่งมีมุมนี้แน่นอน
ซึ่งโดยหลักของเศรษฐศาสตร์แบบหางยาว (Longtails) แล้วหนังสือยอดนิยมมักจะถูกหยิบอ่านหรือยืมกลับบ้านมากในห้องสมุด
ส่วนหนังสืออื่นๆ ก็มีมากมายที่อาจจะไม่เคยถูกหยิบเลย หรือไม่มีใครยืมกลับบ้านเลยก็เป็นไปได้

สมมุติว่าในห้องสมุดมีหนังสือ 100 เล่ม หากเราแนะนำหนังสือยอดนิยมจำนวน 20 เล่ม แล้วปล่อยให้ 80 เล่มอยู่บนชั้นหนังสือโดยไม่ทำอะไรเลย
ผู้ใช้บริการก็มักจะสนใจหนังสือยอดนิยมจำนวน 20 เล่มนั้น แล้วก็ไม่ค่อยสนใจ 80 เล่มที่เหลือ
ประเด็นมันอยู่ที่ว่า บางที 80 เล่มที่เหลืออาจจะมีข้อมูลดีๆ อยู่ก็ได้แต่เมื่อผู้ใช้ไม่สนใจหนังสือเล่มนั้นก็น่าเสียดายจริงๆ


เอาเป็นว่าวิธีที่ผมอยากแนะนำแบบประหลาดๆ ก็คือ น่าจะมีการจัดชั้นหนังสือที่ไม่มีใครเคยหยิบในห้องสมุดบ้าง
และอาจจะเน้นชั้นหนังสือนั้นให้เด่นขึ้นมาอีกสักหน่อย เผื่อว่าผู้ใช้จะเดินไปดูบ้าง
ผู้ใช้บริการคงสนใจน่าดูเลยนะครับว่า เอ๊ะ “หนังสือเล่มไหนที่ไม่มีใครเคยหยิบนะ
และเมื่อผู้ใช้บริการค้นพบหนังสือเหล่านั้นก็อาจจะหยิบมาเปิดดูและบางส่วนอาจจะเจอในสิ่งที่ตนเองสนใจก็ได้

เอาเป็นว่าหนังสือบางเล่มเนื้อหาน่าสนใจแต่ไม่มีใครเคยหยิบ มันน่าเสียดายมาก (เหมือนว่าผมเคยเขียนบล็อกไปแล้ว)
ลองอ่านตัวอย่างหนังสือที่น่าสนใจแต่ไม่มีใครหยิบอ่านดูได้ที่ “หนังสือดีๆ ยังมีอีกมากในห้องสมุดแต่ผู้ใช้หาไม่เจอ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงกับไอเดียนี้ ลองแสดงความคิดเห็นมาได้ด้านล่างนี้นะครับ
ช่วยๆ กันเสนอไอเดีย ห้องสมุดของเราจะได้มีการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ก่อนจากกันวันนี้ผมขอแนะนำข้อความของบรรณารักษ์คนนึง (@montserratlj) ที่ tweet วันนี้ คือ

?Every librarian’s dream — every book is checked out !!? (SierraGold’s caption…:-)): http://momentile.com/montserratlj/11-13-2010

ประโยคนี้ผมชอบมากและถ้าเป็นไปได้ก็อยากเห็นในสังคมไทยจริงๆ (ยืมไปอ่านนะครับ ไม่ใช่ทำลายหนังสือในห้องสมุดหมด)

นายบรรณารักษ์พาเที่ยวห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์

หลังจากที่ป่วยมาหนึ่งวัน พอฟื้นปุ๊บก็เกิดอารมณ์อยากเที่ยวทันที ดังนั้นอย่ารอช้าหาที่เที่ยวกันเลยดีกว่า
แต่เที่ยวตามสไตล์นายห้องสมุดทั้งทีมันก็ต้องเกี่ยวกับห้องสมุดสักหน่อย วันนี้ผมจึงพาเที่ยวห้องสมุดเช่นเดิม

ห้องสมุดที่ผมพาไปวันนี้อยู่ที่ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่น่าสนใจมากจริงๆ ครับ
ห้องสมุดแห่งนี้ชื่อว่า “ห้องสมุดนิทรรศน์รัตนโกสินทร์” (NitasRattanakosin Library)
เอาเป็นว่าผมขอแนะนำห้องสมุดแห่งนี้ตามสไตล์บรรณารักษ์พาเที่ยวนะครับ (ข้อมูลอาจจะออกไปทางห้องสมุดหน่อย)

โปรแกรมห้องสมุดที่ใช้ (โปรแกรมที่ใช้ในการสืบค้นและการจัดเก็บข้อมูลสื่อสารสนเทศ) คือ Alice for window
ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ และใช้แถบสี (Spine Label) ในการแบ่ง collection ของสื่อสารสนเทศ

Collection ของสื่อสารสนเทศที่มีในห้องสมุดแห่งนี้

– พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
– สัพเพเหระ
– ศิลปะรัตนโกสินทร์
– สังคมรัตนโกสินทร์
– หนังสือแนะนำ
– วรรณคดี นวนิยาย
– กิน เที่ยว
– นิตยสารที่นี่บอกรับไว้ประมาณ 16 ชื่อเรื่องครับ (อันนี้เดินไปนับเลย)
– หนังสือพิมพ์
– พระราชพิธี
– ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
– พระราชประวัติ พระบรมวงศานุวงศ์
– พระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์
– เกร็ดความรู้
– ประวัติและผลงานบุคคลสำคัญ
– สื่อมัลติมีเดีย

ห้องสมุดแห่งนี้ไม่มีบริการให้ยืมหนังสือออกนอกห้องสมุดนะครับ
ดังนั้นจึงมีบริการเสริมจำพวกถ่ายเอกสารหรือสแกน ซึ่งมีอัตราค่าบริการต่างๆ ดังนี้
– ถ่ายเอกสาร แผ่นละ 2 บาท
– สแกนแต่ไม่พิมพ์ 10 บาท
– สแกนและพิมพ์ขาวดำ 15 บาท
– สแกนและพิมพ์สี 20 บาท
– พิมพ์งานจากไฟล์อินเทอร์เน็ต 5 บาท

ภายในห้องสมุดบรรยากาศดีมากๆ มีที่นั่งแบบสบายๆ ให้เลือกหลายสไตล์
เช่น แบบเบาะนุ่มๆ นั่งอ่านชิวๆ หรือแบบนั่งกับไม่กระดาน แบบเท่ห์ๆ หรือแบบโต๊ะกลุ่ม แบบคนทำงาน ฯลฯ

นอกจากเรื่องที่นั่งแล้ว ชั้นหนังสือก็สวยงามมากมายครับ ดีไซน์ได้ดูดีมากๆ

หนังสือในห้องสมุดอาจจะดูน้อยไปสักนิดแต่ผมเชื่อว่าเป็นหนังสือที่เลือกแล้วว่าดีจริงๆ
หนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์หลายเล่มหาอ่านได้ยากที่นี่ก็มีบริการ แบบว่าทึ้งจริงๆ

สมาชิกของห้องสมุดก็ปีละ 100 บาทเท่านั้น (สำหรับประชาชนทั่วไป) ส่วนเด็กๆ ก็นำบัตรนักเรียนมาเข้าฟรีนะ
หรือถ้าใครมาชมนิทรรศการแล้วมีบัตรเข้าชมนิทรรศการก็สามารถเข้าห้องสมุดฟรีครับ
ถ้าใครแค่อยากแวะเข้ามาชมห้องสมุดอย่างเดียวก็เสียค่าเข้าชม 20 บาท (1 day pass) ครับ
แต่ 20 บาทก็ไม่ได้ไปไหนหรอกนะครับ ได้เข้าชมห้องสมุดแถมด้วยชั่วโมงอินเทอร์เน็ตอีก 1 ชั่วโมงครับ

แค่วันนี้ผมแวะมา ผมก็สมัครสมาชิกแล้วครับ 1 ปี สิทธิประโยชน์ก็คือ เข้าห้องสมุดได้ตลอดแล้วก็อินเทอร์เน็ตอีก 1.5 ชั่วโมงครับ
ยิ่งไปกว่านั้น บัตรใบนี้เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ครับ คือแตะที่ประตูเข้าห้องสมุดแล้วประตูก็เปิดออกเองอัตโนมัติด้วยครับ
แบบว่ามันไฮเทคมากๆ เลยครับ ผมชอบมากๆ เลย

ที่นี่มีบริการให้เช่าห้องประชุมด้วยนะครับ ซึ่งห้องประชุมก็เพียบพร้อมด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมากมาย
แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่ามีค่าใช้บริการ (จะบอกว่าแอบแพงนิดนึง แต่ผมว่าถ้าจัดกิจกรรมก็คงคุ้มอ่ะ)
ค่าบริการของห้องประชุมไม่เกิน 4 ชั่วโมง คิด 2000 บาท ถ้า 4-8 ชั่วโมง คิด 4000 บาท
และถ้าเกินกว่า 8 ชั่วโมงคิดอัตราชั่วโมงละ 500 บาท
(จริงๆ ค่าใช้งานห้องประชุมเฉลี่ยชั่วโมงบละ 500 บาทอยู่แล้ว)

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ขอแนะนำห้องสมุดแห่งนี้แบบคร่าวๆ ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
อยากให้เพื่อนๆ ลองมาใช้บริการกันดู แล้ววันหลังผมจะมาเล่าให้ฟังใหม่หลังจากไปที่นี่บ่อยๆ แล้ว
ห้องสมุดดีๆ แบบนี้ ผมก็อยากแนะนำให้เพื่อนๆ มากันมากๆ เลยครับ นายห้องสมุดคอนเฟิมว่าดีจริงๆ


เว็บไซต์นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ : http://www.nitasrattanakosin.com/index.php

แอบโฆษณากิจกรรมที่น่าสนใจของห้องสมุดแห่งนี้นิดนึงนะครับ ห้องสมุดจะมีกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์? (ทุกวันศุกร์ 16.00-18.00)
วันที่ 5 และ 12 พ.ย. –> พวงกุญแจ “ดนตรีเริงรมย์”
วันที่ 19 พ.ย. –> กระทงแก้วเก้า
วันที่ 26 พ.ย. –> ที่คั่นหนังสือ “ดนตรีในดวงใจ”

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่าง หรืออยู่ใกล้ๆ แล้วอยากร่วมก็ขอเชิญนะครับ

ปล. ห้องสมุดแห่งนี้ภายในไม่อนุญาติให้ถ่ายภาพนะครับ ผมเลยเก็บรูปมาได้ไม่มาก เอาไว้จะแอบถ่ายมาเรื่อยๆ แล้วกัน 555

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เวอร์ชั่น 3.2.0 ออกแล้ว

โปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha ฉบับ opensource ประกาศการอัพเดทโปรแกรมเป็นเวอร์ชั่น 3.2.0 แล้วจ้า
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดาวน์โหลดและอัพเกรดโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha 3.2.0 ได้เลย

ดาวน์โหลด Koha 3.2.0 ได้ที่? http://koha-community.org/koha-3-2-0/

รายละเอียดของโปรแกรมในส่วนที่อัพเดทเพื่อนๆ ลองอ่านในเว็บ koha ดูนะครับ หลักๆ จะอยู่ที่โมดูลการจัดหาเกี่ยวกับการเพิ่มความสามารถในการแบ่งงบประมาณในการจัดหา ส่วนที่เพิ่มหลักๆ อีกอันคือ การอัพเดทตารางในฐานข้อมูลใหม่นิดหน่อย

ข้อมูลการอัพเดทโปรแกรมอ่านได้ที่ http://files.ptfs.com/koha/Koha%20Release%20Notes%203.2.txt

การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน

งานประชุมประจำปีของสมาคมห้องสมุดฯ จัดทุกปีในช่วงเดือนธันวาคม
วันนี้ผมเลยขอนำมาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันหน่อยนะครับ

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมวิชาการครั้งนี้
ชื่อการประชุมภาษาไทย : การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ: สรรค์สร้างสังคมไทยเป็นสังคมการอ่าน
ชื่อการประชุมภาษาอังกฤษ : A Decade of National Reading Agenda : Create Reading Thai Society
วันและเวลา : 20-23 ธันวาคม 2553
สถานที่จัดการอบรม : โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพมหานคร
ผู้จัดการประชุม : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้อย่างที่เพื่อนๆ รู้แหละครับว่าเป็นทศวรรษแห่งการอ่าน ดังนั้นทางสมาคมห้องสมุดก็เลยพลักดันเรื่องนี้อยู่เช่นกัน
การอ่านกับเรื่องห้องสมุดย่อมไปในแนวทางเดียวกัน “กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในห้องสมุด” ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
งานประชุมครั้งนี้ได้เชิญวิทยากรจากหลายสาขาวิชาชีพมาบรรยายเพื่อแนะนำบรรณารักษ์ให้มีเทคนิคในการจัดกิจกรรมใหม่ๆ

หัวข้อที่น่าสนใจในการประชุมครั้งนี้
1. การดำเนินงานทศวรรษแห่งการอ่านของรัฐบาล
2. ต้นแบบความสำเร็จที่ได้จากการอ่านของนักเรียน และนักศึกษา
3. การจัดศึกษาดูงานห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และการส่งเสริมการอ่านภายในประเทศและต่างประเทศ
4. การบริหารจัดการการอ่านของเด็กปัญญาเลิศ
5. ไขปัญหาชีวิตด้วยการอ่าน
6. การเสนอผลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการอ่าน และผลงานที่เกี่ยวข้อง
7. อ่านเพื่อเสริมสร้างปัญญา
8. กิจกรรมของชมรมต่าง ๆ และการระดมความคิด: การบริหารจัดการการอ่าน
9. รายงานผลการดำเนินงานกิจการของสมาคมฯประจำปี พ.ศ.2553 และการประกาศผลการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2554-2555
10. การพัฒนาการอ่านของสถานศึกษาตามนโยบายแนวทางทศวรรษแห่งการอ่าน

ใครที่สนใจจะเข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ ผมแนะนำว่าลองติดต่อไปที่สมาคมห้องสมุดกันดูนะครับ
ที่เบอร์โทรดังนี้ โทร. 0-2734-9022-23, 0-2736-7838

ปล.หมายเหตุในเว็บไซต์สมาคมห้องสมุดผมไม่สามารถเปิดเอกสารในการลงทะเบียนได้
ไฟล์ที่ไม่สามารถเปิดดูได้
(แบบลงทะเบียน , ใบตอบรับเข้าร่วมกิจกรรม)

ส่วนรายละเอียดเพื่อนๆ สามารถเปิดดูได้ตามปกตินะครับ ที่
http://www.tla.or.th/pdf/prjectsi2010.pdf

จะเกิดอะไรขึ้น…สงครามห้องสมุด (Library War)

“สงครามห้องสมุด” ชื่อเรื่องอาจจะดูรุนแรงเกินไปหน่อยนะ แต่ไม่ใช่สงครามจริงๆ หรอกครับ
มันเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ที่มีชื่อเรื่องว่า Toshokan sensou หรือที่แปลว่า “สงครามห้องสมุด” นั่นเอง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้
ชื่อเรื่องภาษาไทย : สงครามห้องสมุด
ชื่อเรื่องภาษาญี่ปุ่น : Toshoukan Sensou
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : Library war
ชื่อผู้แต่ง : Hiro Arikawa (คนคิดเรื่อง)
ชื่อคนวาดการ์ตูน : Sukumo Adabana, Kiiro Yumi, Yayoi Furudori
ถูกตีพิมพ์ในหนังสือ : การ์ตูน, นิตยสาร LaLa, นิตยสาร Dengeki Daioh
การ์ตูนแนว : Action, Comedy, Social sci-fi

สำหรับรายละเอียดอื่นๆ เพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านในเว็บที่ผมทำ link ไว้ด้านล่างดูนะครับ
เพราะว่าจะได้ข้อมูลและรายละเอียดแบบครบสมบูรณ์เลย

อ่านเรื่องราวของสงครามห้องสมุดในวิกีพีเดีย(อย่างละเอียด)
ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Toshokan_Sens%C5%8D

เว็บไซต์ทางการของการ์ตูนเรื่องนี้ http://www.toshokan-sensou.com
ดูตัวอย่างการ์ตูนที่ http://www.toshokan-sensou.com/gallery_pv1.html

บทความรีวิวการ์ตูนเรื่องนี้ http://bekung.exteen.com/20080605/toshokan-sensou

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ เห็นหรือยังครับอย่างน้อย
มุมมองของห้องสมุดในรูปแบบบันเทิงก็มี (การ์ตูนที่เกี่ยวกับห้องสมุด)
แม้ว่าจะดูดุเดือดไปหน่อยแต่ก็มองในรูปแบบบันเทิงก็ดีครับ

มาตรฐานห้องสมุดสามดี (How to 3Dee Library)

วันนี้ในระหว่างที่ค้นหาข้อมูลบนโลกอินเทอร์เน็ตก็บังเอิญไปเจอหนังสือคู่มือเล่มนึงน่าสนใจมาก
เป็นคู่มือ “กรอบแนวทางการดำเนินงานห้องสมุด 3 ดี” จึงขอเอามาแชร์ให้เพื่อนได้อ่านกัน

รายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : กรอบแนวทางการดำเนินงานห้องสมุด 3 ดี
จัดทำโดย : สำนักงาน กศน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ISBN : 9789742323502

หนังสือเล่มนี้แจกฟรีนะครับ ไม่มีขายตามท้องตลาดหรอกครับ
ถ้าใครอยากได้ให้ไปดาวน์โหลดได้ที่ http://dnfe5.nfe.go.th/download/3Dbook.pdf

เนื้อหาในคู่มือเล่มนี้แบ่งออกเป็นหลายส่วน เช่น
– ความสำคัญและความเป็นมา
– เป้าประสงค์ตามนโยบาย “ห้องสมุด 3 ดี”
– วิสัยทัศน์
– พันธกิจ
– แนวทางการดำเนินงาน
– มาตรฐาน “ห้องสมุด 3 ดี”
– การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ

เอาเป็นว่าผมขอยกมาสักส่วนนึงให้อ่านนะครับ
เรื่องที่ผมจะยกมานี้ คือ มาตรฐาน “ห้องสมุด 3 ดี”
ซึ่งมีเพื่อนๆ หลายคนถามผมมาบ่อยมากๆ จึงขอเอาเรื่องนี้มาเล่านะครับ

ห้องสมุด 3 ดี มีอะไรบ้าง (หนังสือดี บรรยากาศดี บรรณารักษ์ดี)
แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีคำจำกัดความว่าอย่างไรกันบ้าง อะไรคือมาตรฐาน ???

หนังสือดี —> หนังสือ หรือ สื่อการเรียนรู้ที่งในรูปของสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อมัลติมีเดีย หรือสื่ออื่นๆ ต้องมีเนื้อหาที่ดี มีคุณภาพ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสังคม

บรรยากาศดี —> บรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่านหนังสือ บริการในห้องสมุดอย่างเป็นกันเอง สะดวก สบาย ที่สำคัญต้องประหยัดพลังงาน และสะท้อนเอกลักษณ์ของชุมชน

บรรณารักษ์ดี —> บรรณารักษ์มีความรู้ และมีความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน

มาตรฐานของห้องสมุด 3 ดี
1. หนังสือดี มาตรฐานอยู่ที่

1.1 หนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– เนื้อหามีสาระ ส่งเสริมจินตนาการ คุณธรรม จริยธรรม
– ความถูกต้องของข้อมูล เชื่อถือได้ มีการอ้างอิงถูกต้อง
– มีภาพและลายเส้นประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหา
– ใช้คำที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย
– มีรายการบรรณานุกรมที่หอสมุดแห่งชาติออกให้ (CIP)

1.2 การจัดหาหนังสือหรือสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีนโยบายการจัดหา
– มีคณะกรรมการคัดเลือก
– มีคณะกรรมการจัดซื้อ
– มีการจัดทำประกาศรายชื่อหนังสือที่จะซื้อ
– มีมุมแนะนำหนังสือดี
– มีการหมุนเวียนหนังสือเรื่อยๆ
– มีการจัดทำฐานข้อมูลหนังสือ
– มีการสนับสนุนสื่ออิเล็กทรอนิกส์

2. บรรยากาศดี มาตรฐานอยู่ที่

2.1 บรรยากาศภายในห้องสมุดดี ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– บรรยากาศทั่วไปดี เช่น สะอาด โล่ง โปร่ง สบาย แสงสว่างเพียงพอ ต้นไม้ร่มรื่น
– การจัดพื้นที่ทำให้น่าสนใจ เช่น มีมุมหนังสือที่หลากหลาย ไม่มีมุมอับ เฟอร์นิเจอร์สบาย ป้ายบอกทางชัดเจน
– การจัดส่วนส่วนการวางหนังสือ เช่น จัดวางหนังสืออย่างเหมาะสม เข้าถึงง่าย ใช้สะดวก

2.2 บรรยากาศภายนอกห้องสมุดดี ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– สถานที่เป็นเอกเทศ
– ชุมชนเข้าถึงสะดวก
– มีสิ่งอำนวยความสะดวก
– อาคารน่าสนใจดึงดูดผู้ใช้บริการ เช่น ใช้สี
– พื้นที่ไม่คับแคบ จัดสัดส่วนให้เหมาะต่อการใช้บริการ
– ไม่มี dead zone พื้นที่ปรับได้ตามการใช้งาน

3. บรรณารักษ์ดี มาตรฐานอยู่ที่

3.1 บรรณารักษ์มีคุณภาพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการห้องสมุด
– มีทักษะในการปฏิบัติงานในห้องสมุดดี เช่น ด้านไอที ด้านการบริการ ด้านการจัดกิจกรรม

3.2 บรรณารักษ์มีความเป็นมืออาชีพ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีกระบวนการและขั้นตอนในการทำงานในห้องสมุด
– เป็นนักจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างต่อเนื่อง
– บริหารจัดการความรู้ในรูปแบบใหม่
– เป็นนักคิด นักพัฒนา และนักวางแผนในการใช้ไอทีเพื่อการปฏิบัติงาน
– เป็นผู้ประสานเครือข่าย
– เป็นผู้นำด้านบริการใหม่ๆ
– มีความภูมิใจในอาชีพ

3.3 บรรณารักษ์มีจิตบริการ ต้องอาศัยสิ่งบ่งชี้ดังนี้
– มีทัศนคติเชิงบวก
– ติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ตลอด
– มีความคิดสร้างสรรค์
– บุคลิกภาพดี และมีความสุขในการทำงาน

เป็นยังไงกันบ้างครับ ที่อ่านมาผมรู้สึกว่าประเด็นเรื่อง “บรรณารักษ์ดี” จะมีเนื้อหาเยอะกว่าอย่างอื่น
โดยเฉพาะในเรื่อง มาตรฐานของการเป็น “บรรณารักษ์มืออาชีพ” ยิ่งมีรายละเอียดเยอะ
และข้อที่ถูกใจผมมากๆ คือ “บรรณารักษ์มืออาชีพ” ต้องมีความภูมิใจในอาชีพ

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอฝากแง่คิดไว้เท่านี้ก่อนนะครับ
สำหรับใครที่อยากอ่านต่อก็ดาวน์โหลดเล่มนี้มาอ่านได้ครับ
http://dnfe5.nfe.go.th/download/3Dbook.pdf

ปล. เนื้อหาที่ผมเขียนด้านบนนี้ผมอ่านแล้วสรุปใจความมานะครับ ไม่ได้ copy มาทั้งดุ้น
ดังนั้นใครก็ตามที่นำบทความนี้ไปอ้างก็กรุณาอ่าน สรุป และแสดงความคิดเห็นด้วยนะครับ

นายบรรณารักษ์พาทัวร์ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง

ไม่ได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวห้องสมุดซะนาน วันนี้ผมจึงขอจัดทริปเล็กๆ ในการไปเที่ยวห้องสมุดบ้างแล้วกันนะครับ
ห้องสมุดที่ผมจะพาไปวันนี้คือ ห้องสมุดที่อยู่ในกรุงเทพฯ ครับ นั่นคือ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง


นั่นเองห้องสมุดแห่งนี้อยู่ใกล้ๆ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิครับ เพื่อนๆ จะมารถเมล์ หรือลงรถไฟฟ้าแล้วเดินมาก็ได้นะครับ
พูดง่ายๆ ว่ามาที่นี่สะดวกมากๆ ครับ

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นต้นแบบในการพัฒนาห้องสมุดของกรุงเทพฯ อีกแห่งหนึ่งนะครับ
โครงสร้างอาคารแบ่งออกเป็นสองอาคารใหญ่ๆ แต่เชื่อมถึงกันนะครับ

ภายในอาคารแต่ละหลังมีบริการดังนี้
อาคาร 1 ชั้น 1? – เคาน์เตอร์บริการยืมคืน ฝากของ หนังสือพิมพ์ วารสาร มุมสืบค้น
อาคาร 1 ชั้น 2? – บริการที่นั่งอ่านหนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง หนังสือวิชาการ
อาคาร 1 ชั้น 3 – บริการที่นั่งอ่านหนังสือ นวนิยบาย เรื่องสั้น เรื่องแปล
อาคาร 2 ชั้น 1 – ห้องสมุดสำหรับเด็ก
อาคาร 2 ชั้น 2 – ห้องทำการบ้าน
อาคาร 2 ชั้น 3 – ห้องมินิเธียร์เตอร์ (ดูหนัง)

บริเวณลานกว้างด้านหน้าห้องสมุดมีไว้จัดกิจกรรมต่างๆ ด้วยนะ
เพื่อนๆ คนไหนอยากจัดกิจกรรมกลางแจ้งก็ลองมาขอพื้นที่ดูนะครับ (ทำเรื่องไปที่ กทม เลย)
รับรองว่าที่นี่จัดกิจกรรมได้สะดวกมากๆ แถมอยู่ใจกลางเมืองด้วย


ห้องสมุดแห่งนี้ปิดวันจันทร์วันเดียวนะครับ วันอื่นๆ สามารถมาใช้บริการได้ตามปกติ
ห้องสมุดแห่งนี้ผมก็ใช้บริการบ่อยๆ แหละครับ เพราะว่าห้องสมุดปิดบริการ 2 ทุ่ม
ผมมักจะมายืมหนังสือช่วงทุ่มกว่าๆ ประจำเพราะเป็นทางกลับบ้านผมด้วย

ที่นี่สมัครสมาชิกถูกมากครับ ปีนึง 10 บาท และค่ามัดจำหนังสือ 40 บาทเอง
รวมๆ แล้ว 50 บาทผมว่าคุ้มค่ามากๆ ยืมหนังสือได้ 2 เล่ม 1 สัปดาห์ หากคืนเกินก็เล่มละ 1 บาทครับ

หนังสือที่เพิ่งยืมล่าสุดพฤหัสที่แล้ว

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำให้มาใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้แห่งนี้นะครับ
สำหรับอาทิตย์หน้าผมจะพาไปห้องสมุดของ กทม อีกแห่งหนึ่ง นั่นคือ ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินีครับ
อย่าลืมติดตามด้วยนะครับ สำหรับวันนี้ผมคงจบทริปนี้ก่อนนะครับ

ชมภาพบรรยากาศภาพในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนางได้เลยครับ

[nggallery id=30]

ใครอยากมีอีเมล์ที่ยาวที่สุดในโลกบ้างครับ มาสมัครกันเลย

วันนี้ขอแนะนำบริการฟรีอีเมล์นึงที่แปลกมากๆ นั่นคือ ชื่ออีเมล์ยาวมากๆ เลย
ใครอยากมีอีเมล์ที่ยาวทีสุดในโลกก็ลองไปสมัครกันดูนะครับ

อีเมล์นี้ต้องสมัครที่เว็บไซต์นี้ครับ
http://www.abcdefghijklmnopqrstuvwxyzabcdefghijklmnopqrstuvwxyzabcdefghijk.com/

เป็นไงบ้างครับนี่แค่ชื่อเว็บไซต์นี้เองนะครับ
สโลแกนของเว็บนี้มีว่า The World?s Longest Alphabetical Email Address

ในเว็บนี้มีคำเตือนของการใช้อีเมล์นี้ว่า
– เว็บไซต์บางแห่งไม่สามารถอ่านอีเมล์นี้ได้
– โปรแกรมอ่านเมล์บางตัวก็ไม่สามารถใช้กับอีเมล์นี้ได้
– คนอื่นๆ พิมพ์อีเมล์ได้ยากเพราะชื่อยาวมาก
– บริษัทบางแห่งอาจคิดว่าเป็นเมล์ปลอม
– อีเมล์นี้ชื่อยาวที่สุดในโลกจริงๆ

สุดท้ายสำคัญมากที่สุด คือ เมล์นี้ฟรี

เอาเป็นว่าอีเมล์นี้ขายควาแปลกและความพิเศษในแง่ขงอีเมล์ยาวเพียงอย่างเดียว
ไปลองสมัครเล่นๆ ขำๆ ผมว่าก็โอนะ เอาเป็นว่าลองไปสมัครดูแล้วกันครับ

Flickr Fight ยกที่หนึ่ง : เมื่อห้องสมุดเจอกับ search engine

เว็บไซต์ Flickr Fight คือ เว็บไซต์ที่ใช้ Flickr Api ร่วมกับการค้นหาของ Google
ซึ่งในเว็บไซต์นี้จะใช้ในการเปรียบเทียบจำนวนของรูปภาพ ของคำที่เราต้องการสืบค้นจำนวน 2 คำ

หลักการง่ายๆ ครับ นำคำที่เราต้องการเปรียบเทียบทั้งสองคำใส่ลงไปในช่องช่าง
ซึ่งในยกแรกวันนี้ผมขอใช้ 2 คำ คือ Library กับ Search engine ดูซิว่าใครจะชนะ

เอาเป็นว่าไปดูผลกันเลยดีกว่า

วันนี้ก็เป็นวันของชาวห้องสมุดครับ เมื่อ Library ชนะ Search Engine
ผลออกมาน่าพอใจมากครับเมื่อ Library มี result = 2388533 images!
ส่วนผลของ Search engine มี result = 35036 images!

เห็นหรือยังครับ ว่าห้องสมุดต้องยิ่งใหญ่กว่า Search Engine แน่นอนครับ 5555

เพื่อนๆ ลองเอาไปเล่นดูกันนะครับ ที่ http://flickrfight.net

ปล. อย่าสนใจโฆษณาด้านบนของเว็บไซต์นะ มันไม่เหมาะสม อิอิ