Top 25 บล็อกบรรณารักษ์จาก onlinedegrees.org

สวัสดีครับเพื่อนๆ ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดทุกท่าน
ผมขอแนะนำสุดยอดบล็อกบรรณารักษ์ 25 แห่งที่ได้รับความนิยมโดยการรายงานของ onlinedegrees.org

top-librarian-blog

onlinedegrees.org เป็นเว็บไซต์ทางการศึกษาออนไลน์ที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่ง
ซึ่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ได้ประกาศ Top 25 Librarian Blogs
ซึ่งแต่ละบล็อกนี่มีรางวัลการันตีพอสมควร และที่สำคัญเป็นบล็อกในวงการบรรณารักษ์ด้วย

จากการสแกนดูคร่าวๆ ก็มีหลายเว็บที่ผมอ่านประจำด้วยหล่ะครับ
เอาเป็นว่า 25 บล็อกที่สุดยอดในวงการบรรณารักษ์มีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. Never Ending Search – http://www.schoollibraryjournal.com/
2. Bright Ideas – http://slav.globalteacher.org.au/
3. Connie Crosby – http://conniecrosby.blogspot.com/
4. The Daring Librarian – http://www.thedaringlibrarian.com/
5. The Dewey Blog – http://ddc.typepad.com/
6. Annoyed Librarian – http://annoyedlibrarian.blogspot.com/
7. No Shelf Required – http://www.libraries.wright.edu/noshelfrequired/
8. Social Networking in Libraries – http://socialnetworkinglibrarian.com/
9. Peter Scott?s Library Blog – http://xrefer.blogspot.com/
10. Resource Shelf – http://www.resourceshelf.com/
11. What I Learned Today – http://www.web2learning.net/
12. The Travelin? Librarian – http://travelinlibrarian.info/
13. The Law Librarian Blog – http://lawprofessors.typepad.com/law_librarian_blog/
14. The Association for Library Service to Children Blog – http://www.alsc.ala.org/blog/
15. Library Link of the Day – http://www.tk421.net/librarylink/
16. Library Garden – http://librarygarden.net/
17. In the Library with the Leadpipe – http://www.inthelibrarywiththeleadpipe.org/
18. A Librarian?s Guide to Etiquette – http://libetiquette.blogspot.com/
19. Tame the Web – http://tametheweb.com/
20. Librarian By Day – http://librarianbyday.net/
21. TeleRead: Bring the E-Books Home – http://www.teleread.com/
22. The Blah, Blah, Blah Blog – http://neflin.blogspot.com/
23. Closed Stacks – http://closedstacks.wordpress.com/
24. Handheld Librarian – http://handheldlib.blogspot.com/
25. David Lee King – http://www.davidleeking.com/

สำหรับบล็อกบรรณารักษ์ที่ผมเข้าประจำเลยก็มี หมายเลขที่ 5, 6, 9 ,10, 12, 19 ,20, 24, 25 ครับ
เอาเป็นว่าพอเห็นแบบนี้แล้ว ผมคงต้องเข้าไปเยี่ยมชมทุกบล็อกแล้วหล่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็อย่าลืมแวะเข้าไปดูกันบ้างนะครับ
และที่สำคัญห้ามลืมเข้า Libraryhub เด็ดขาด (โปรโมทตัวเองบ้าง)

หอสมุดและคลังความรู้ ม.มหิดล รับสมัครงาน 7 ตำแหน่ง

ช่วงนี้ห้องสมุดหลายแห่งกำลังรับสมัครบรรณารักษ์ จึงมีคนฝากข่าวให้ผมช่วยประชาสัมพันธ์มากมาย
วันนี้เป็นคิวของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลครับ ซึ่งรับสมัครตั้ง 7 ตำแหน่ง ใครสนใจก็อ่านได้เลยครับ

mahidol-job-librarian

7 ตำแหน่งที่ผมได้เกริ่นไว้ด้านบน อาจจะไม่ใช่บรรณารักษ์ทั้งหมดนะครับ
แต่ขอบอกว่า 7 ตำแหน่งนี้ได้ทำงานอยู่ในห้องสมุดชัวร์ๆ แน่นอนครับ

เราไปดูกันก่อนดีกว่าว่า 7 ตำแหน่งนี้แบ่งเป็นงานอะไรกันบ้าง
– นักเอกสารสนเทศ 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
– บรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง (ป.ตรี) ปฏิบัติงานที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
– บรรณารักษ์ 1 ตำแหน่ง (ป.โท) ปฏิบัติงานที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
– นักวิชาการและบัญชี 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
– ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ปวส.) 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท
– ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ปวส.) 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ ห้องสมุดสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ศาลายา
– ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด (ปวส.) 1 ตำแหน่ง ปฏิบัติงานที่ ห้องสมุดวิทยาลัยราชสุดา

เอาเป็นว่ารายละเอียดของงานต่างๆ และใบสมัคร เพื่อนๆ สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่
http://www.li.mahidol.ac.th/service/job_mulkc.pdf

กำหนดการในการรับสมัคร

รับสมัครวันที่ 31 พฤษภาคม – 11 มิถุนายน 2553
โดยยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานการสมัครได้ที่ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
หรือไม่ก็ส่งเข้าเมล์ litcl@mahidol.ac.th นะครับ

หลักฐานในการรับสมัครมีอะไรบ้าง เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่เอกสารที่ผมให้เข้าไปโหลดนะ
http://www.li.mahidol.ac.th/service/job_mulkc.pdf

ทางหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลจะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบในวันที่ 15 มิถุนายน 2553 นะครับ

เอาเป็นว่าเหลือเวลาอีก 1 สัปดาห์นะครับ รีบคิด รีบตัดสินใจกันได้แล้ว
และขอให้ทุกคนโชคดีในการสอบนะครับ

มทร.รัตนโกสินทร์ ประกาศรับบรรณารักษ์ลูกจ้างชั่วคราว

ข่าวคราวเรื่องงานบรรณารักษ์ช่วงนี้เริ่มกลับมาคึกคักนะครับ
วันนี้ผมขอนำเสนอตำแหน่งงานบรรณารักษ์ลูกจ้างชั่วคราวสักหน่อยแล้วกัน

job-rmutr-librarian

โดยสถาบันที่เปิดรับสมัครงานก็คือ “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์”
โดยตำแหน่งที่รับคือ “บรรณารักษ์” จำนวน 1 ตำแหน่งนะครับ เงินเดือนก็ 7,940 บาท

ผมต้องขอย้ำก่อนนะครับว่า ได้บรรจุเป็น “ลูกจ้างชั่วคราว” เท่านั้นนะครับ
ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ที่ต้องการงานแบบถาวรเปิดโอกาสให้กับเพื่อนๆ ที่ต้องการงานเร่งด่วนก่อนนะครับ

คุณสมบัติของตำแหน่งนี้ ง่ายๆ ครับ ขอแค่จบปริญญาตรีสาขาบรรณารักษ์มาก็พอ

เมื่อมีคุณสมบัติแล้วทางหน่วยงานก็ต้องมีการทดสอบความสามารถกันสักนิดนะครับ
โดยทางมหาวิทยาลัยก็จะทดสอบด้วยข้อสอบข้อเขียน และสอบสัมภาษณ์ด้วย
เอาเป็นว่าก็เตรียมตัวกันให้ดีๆ แล้วกันนะครับสำหรับคนที่สมัคร

กำหนดการในการรับสมัคร
1 – 23 มิถุนายน ขอและยื่นใบสมัคร
24 มิถุนายน สอบข้อเขียน (ภาคปฏิบัติ) ช่วงเช้า และสอบสัมภาษณ์ ช่วงบ่าย
28 มิถุนายน ประกาศผล
1 กรกฎาคม มาทำงานได้เลย

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ มีความสนใจในตำแหน่งงานนี้ก็ลองติดต่อสอบถามดูได้ที่
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.รัตนโกสินทร์ โทร. 028894585 ต่อ 2232

หรือหากต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้ามาดูได้ที่
http://www.rmutr.ac.th/images/stories/pdf_file/scan0424.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีกันทุกคนนะครับ

เรื่องไหนที่ทำให้คุณหงุดหงิดบ้างครับ…คุณบรรณารักษ์

เมื่อวานผมเขียนเรื่องเกี่ยวกับผู้หญิงหงุดหงิดเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย
ทำให้ผมนึกได้ว่า เราน่าจะสำรวจบรรณารักษ์กันบ้างนะครับว่า หงุดหงิดเรื่องอะไรบ้างหรือปล่าว

library-stress

คำถามง่ายๆ แต่อาจจะตอบยากนิดนึง คือ
“เรื่องในห้องสมุดเรื่องไหนที่เห็นแล้วทำให้หงุดหงิดที่สุด”

[poll id=”17″]

เอาเป็นว่าขอเก็บข้อมูลดูหน่อยแล้วกันนะครับ
เผื่อว่าผมจะหาวิธีมาช่วยให้คุณไม่หงุดหงิดกับเรื่องต่างๆ เหล่านั้นได้
และเหนือสิ่งอื่นใดข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เพื่อนๆ ในวงการรู้จุดที่ต้องปรับปรุงตัวเองด้วย

เอาเป็นว่าก็ตอบกันเยอะๆ นะ สำหรับผมขอประเดิมให้คนแรกเลย (ผมเองก็มีเรื่องบางอย่างที่หงุดหงิดเช่นกัน)

“หงุดหงิดกับสถานะของหนังสือที่ avilable แต่บนชั้นหนังสือกลับไม่มีตัวตน”

แบบว่าระบบค้นหาดี แต่พฤติกรรมการจัดเก็บทั้งผู้ใช้และบรรณารักษ์อาจจะมีปัญหาอ่ะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดยังไงก็ลองโหวตมากันดูแล้วกันนะครับ อันไหนผลโหวตมากๆ
ผมจะมาเขียนบล็อกหาทางช่วยแก้ไขครับ

ผู้หญิงส่วนใหญ่หงุดหงิดกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย

เพื่อนๆ หลายๆ คนคงเข้าใจความอาร์ทของผู้หญิงดี
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องราวอาร์ทๆ ของผู้หญิงในแง่ของโลกไอทีกันบ้าง

ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care
ภาพประกอบจาก www.disaboom.com/womens-health-care

ก่อนอื่นต้องขอนำผลการสำรวจจากนิตยสารไอทีฉบับหนึ่งมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายทั้งชายและหญิงวัยทำงานจำนวน 3,812 คน
ซึ่งผลการสำรวจนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า “ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะหงุดหงิดเกี่ยวกับเรื่องไอทีมากกว่าผู้ชาย”

เราลองไปดูตัวอย่างคำถามในและผลการสำรวจกันหน่อยดีกว่า

1. Frustrated by slow load times for web pages
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับความช้าของการโหลดเว็บไซต์)
ผู้ชายมีจำนวน 56 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 66 %

2. Frustrated by ads on the Internet
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต)

ผู้ชายมีจำนวน 47 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 52 %

3. Frustrated by keeping track of multiple passwords
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการใส่รหัสผ่านมากๆ)

ผู้ชายมีจำนวน 32 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 34 %

4. Frustrated when their computer crashes
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการผิดพลาดของคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 77 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 85 %

5. Frustrated if their broadband connection doesn?t reach the promised speed
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับการ เชื่อมต่อไม่เป็นไปตามความเร็วที่กำหนดไว้)

ผู้ชายมีจำนวน 48 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 56 %

6. Frustrated by (interacting with) computer support
(ความหงุดหงิดเกี่ยวกับฝ่ายเทคนิคในการดูแลคอมพิวเตอร์)

ผู้ชายมีจำนวน 38 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 42 %

ดังนั้นจากการสรุปผลทั้งหมด เราจะพบว่าอัตราความหงุดหงิดของผู้หญิงชนะไปที่
ผู้ชายมีจำนวน 49.7 % แต่ผู้หญิงมีจำนวน 55.8 % นะครับ

เป็นไงกันบ้างครับ คุณผู้หญิงทั้ง หลายเมื่ออ่านจบก็อย่าเพิ่งหงุดหงิดนะครับ
ข้อมูลดังกล่าวเป็นเพียงแค่ผลสำรวจในสวีเดน แต่ผมเชื่อว่าของคนไทยอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงก็ได้

ว่าแต่คุณผู้หญิง และคุณผู้ชายทั้งหลายคิดว่า ข้อมูลนี้ถูกหรือปล่าว?

ข้อมูลสนับสนุนจาก http://royal.pingdom.com/2008/07/09/women-more-frustrated-by-the-web/

ภาพความทรงจำดีๆ ณ ห้องสมุด TK park

หลังจากที่เมื่อวานผมได้อัพเดท ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของห้องสมุด TK park ให้เพื่อนรู้กันแล้ว
วันนี้ผมขอนำภาพถ่ายความประทับใจและความทรงจำดีๆ ในห้องสมุด TK park มาลงให้เพื่อนๆ ดูนะครับ

memorial-in-tkpark

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ชื่อห้องสมุด : อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park
ชื่อภาษาอังกฤษ : Thailand Knowledge Park
ที่อยู่ : ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ ชั้น 8 Dazzle Zone
เว็บไซต์ : http://www.tkpark.or.th

ประวัติความเป็นมาของอุทยานการเรียนรู้ผมคงไม่เล่านะครับ เนื่องจากเพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://www.tkpark.or.th/tk/index.php?option=com_content&view=article&id=81&Itemid=165&lang=th

แต่ผมขอเราเรื่องราวที่ผมเข้าใช้บริการแทนแล้วกันนะครับ

ก่อนหน้าที่จะมี TK park ผมก็เพิ่งพาห้องสมุดอื่นๆ เช่น หอสมุดแห่งชาติ หรือ ไม่ก็ห้องสมุดประชาชน นั่นแหละครับ
ซึ่งพอมี TK park เข้ามาทำให้ผมค่อนข้างตื่นเต้นกับการมีห้องสมุดใหม่ๆ ในบ้านเรามากๆ เลยครับ

บรรยากาศที่ดี หนังสือที่ดี เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ผมเริ่มติดใจในห้องสมุดแห่งนี้มากขึ้น
ผมสมัครสมาชิกเพื่อยืมหนังสือไปอ่านที่บ้านบ้าง เอาโน้ตบุ๊คมาเล่นที่นี่บ้าง

ผมเคยพาเพื่อนจากต่างประเทศมาเที่ยวห้องสมุดที่นี่ด้วย
ซึ่งเขาก็ประทับใจมากๆ เลยถึงขั้นว่ายอมสมัครสมาชิกเลยด้วยซ้ำ

แม้ในช่วงหลังที่ผมทำงานหนักมากขึ้น ไม่ค่อยได้ใช้เวลาในห้องสมุดแห่งนี้นาน
แต่ผมก็จะมายืมหนังสือจากที่นี่แล้วก็นำกลับไปอ่านที่บ้านตลอด

Text book ด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ดีๆ ก็มีให้เลือกอ่านสมควรเลย
ตัวอย่างเช่น 2 เล่มด้านล่างนี้นะครับ มีทั้งเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ และการควบคุมคุณภาพในงานห้องสมุด

book

เอาเป็นว่าเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นที่นี่มากมาย สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้ห้องสมุดแห่งนี้ด้วยนะครับ

ไปชมภาพบรรยากาศดีๆ ในห้องสมุดแห่งนี้กันนะครับ

[nggallery id=24]

ปล. ภาพที่นำมาให้ชมเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อปีที่แล้วนะครับ

การสัมมนา PULINET วิชาการ 1/2553 เรื่อง Creative Library

ช่วงนี้กระแสการตื่นตัวเรื่องความคิดสร้างสรรค์ได้ผ่านเข้ามาถึงวงการห้องสมุดแล้วนะครับ
ดังนั้นการสัมมนาของ Pulinet ในปีนี้ จึงต้องพูดเรื่องนี้กันหน่อย “Creative Library” หรือ “ห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์”

ภาพจาก http://www.gcecs2009.com
ภาพจาก http://www.gcecs2009.com

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่องานสัมมนาภาษาไทย? : “ห้องสมุดแห่งการสร้างสรรค์”
ชื่องานสัมมนาภาษาอังกฤษ : “Creative Library”
ภายใต้งาน : โครงการสัมมนา Pulinet วิชาการ
วันและเวลาที่จัด : วันที่ 24-25 มิถุนายน 2553 เวลา 08.30-21.00 น.
สถานที่อบรม : โรงแรมเมธาวลัย ชะอำ

งานสัมมนาในครั้งนี้เป็นงานที่น่าสนใจอีกงานหนึ่งของวงการห้องสมุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งรูปแบบของงานสัมมนาในครั้งนี้
คือ เปิดโอกาสให้บรรณารักษ์ที่สังกัด Pulinet นำเสนอผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ในห้องสมุด นั่นเอง

แนวทางในการนำเสนอก็ง่ายๆ มีสองแบบให้เลือกคือ
1. ปากเปล่า 30 นาที (ขึ้นมาพูดบนเวที)
2. จัดทำเป็นโปสเตอร์แล้วนำมาติดในส่วนนิทรรศการรอบๆ งาน

โดยหัวข้อนั้นจะต้องอยู่ในขอบข่ายของเนื้อหาดังนี้
– งานบริการสารสนเทศ
– งานข้อมูลท้องถิ่น
– งานบริการวารสาร
– งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
– งานมาตรฐานห้องสมุด
– งานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการห้องสมุด

ซึ่งหากผลงานเข้าตากรรมการ ก็จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน pulinet ชิ้นละไม่เกิน 3,000 บาท

เอาเป็นว่าน่าสนใจใช่มั้ยละครับ เพื่อนๆ ลองดาวน์โหลดแบบฟอร์มเสนอผลงานไปก่อนก็ได้ครับ
แบบฟอร์มขอเสนอผลงาน http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/presentation1form.pdf

ารสัมมนาในครั้งนี้ผมว่าเพื่อนๆ คงจะได้เห็นไอเดียมากมายเลยหล่ะครับ
ค่าลงทะเบียนของงาน (สมาชิก pulinet = 500 บาท ถ้าไม่ใช่สมาชิก = 1,000 บาท)

เอาเป็นว่าถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปอ่านได้ที่
http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/PULINET1stcirculation.pdf

สำหรับใบสมัครลงทะเบียนดาวน์โหลดได้ที่
http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/register-PULINET.pdf

เอกสารข้อกำหนดในการนำเสนอผลงานดูได้ที่
http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/assets/Downloads/presentation2form.pdf

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอแนะนำแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ

เว็บไซต์ของงานนี้ : http://www.snc.lib.su.ac.th/pulinet-seminar/

Update สถานการณ์ล่าสุดของห้องสมุด TK park

ผ่านเหตุการณ์ที่สะเทือนจิตใจคนไทยมาได้ไม่นาน ในช่วงนั้นหลายคนคงได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์
ซึ่งทำให้หลายคนเป็นห่วงห้องสมุดแห่งหนึ่งที่อยู่ที่นั่น ถูกต้องครับ ผมหมายถึง อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park

ctw

ช่วงที่มีข่าวเรื่องการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มีกระแสข่าวที่ไม่ดีของวงการห้องสมุด
นั่นคือ เราอาจจะต้องสูญเสียห้องสมุดที่ดีๆ แห่งนั้นไปแล้ว

แต่หลังจากนั้นไม่นานเมื่อไฟสงบลงก็มีการรายงานความเสียหายของห้างออกมา
และทำให้ทุกคนโล่งใจขึ้นเนื่องจาก “TK Park ไม่ถูกไฟไหม้” นั่นเอง

news

กว่าจะได้ห้องสมุดดีๆ สักแห่งต้องผ่านกระบวนการคิด และสร้างนานมาก
ถ้าต้องเสียหายเพราะเรื่องความขัดแย้งแบบนี้คงไม่ดีแน่

เมื่อไม่โดนไฟไหม้ทุกคนก็คิดว่าห้องสมุด TK Park? ของเราคงจะกลับมาให้บริการได้เร็วๆ นี้

แต่….ทางทีมงาน TK Park? ได้เพิ่งเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ได้วันนี้ และได้เก็บภาพถ่ายมา
ผมจึงขออนุญาตเอาภาพต่างๆ มาลงให้เพื่อนๆ ได้เห็นกัน

ห้องสมุดไม่ถูกไฟไหม้ก็จริง แต่ความเสียหายก็ปรากฎให้พวกเราได้เห็น
จากที่ได้ฟังทีมงานที่เข้าไปได้รู้ว่า สปริงเกอร์น้ำได้ฉีดน้ำลงมาโดนหนังสือจำนวนมาก
และด้วยความร้อนจากไฟไหม้บริเวณห้างก็ทำให้เกิดความชื้นในห้องสมุด
หนังสือต้องเสียหายมากมาย ซึ่งทางทีมงานต้องเร่งเข้าไปคัดเลือกหนังสือที่อยู่ในสภาพดีออกมา

เอาเป็นว่าเราลองดูภาพสักนิดดีกว่านะครับ

after_tk_12_450x300

after_tk_04_450x300

after_tk_06_450x300

after_tk_02_450x300

เป็นยังไงบ้างครับ ถ้าอยากติดตามภาพแบบเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.tkpark.or.th/tk/index.php?option=com_content&view=article&id=1447&Itemid=153&lang=th

สุดท้ายนี้ผมก็ขออวยพรและเป็นกำลังใจให้ TK Park กลับมาให้บริการได้อย่างดีเหมือนเดิมนะครับ

อ๋อ นิดนึงนะครับ ขอประชาสัมพันธ์สำหรับคนที่คิดถึงห้องสมุด TK Park เพื่อนๆ ก็สามารถใช้บริการ TK Mobile Library ได้ ตามจุดต่างๆ ดังนี้
– วันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนจตุจักร (บริเวณสนามเด็กเล่น)
– วันเสาร์ที่ 19 และวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)
– วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 9.00-15.00 น. พบกันที่ เสถียรธรรมสถาน

Website ของ TK Park = http://www.tkpark.or.th
Facebook ของ TK Park = http://www.facebook.com/tkparkclub
Twitter ของ TK Park = http://twitter.com/TKpark_TH

ขอเชิญเพื่อนๆ ร่วมลงชื่อให้กำลังใจ TK Prak ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

ห้องสมุดจุฬาฯ ทำให้ผมอยากเป็นนิสิตของจุฬาฯ เลย…

ช่วงนี้วันๆ ผมก็นั่ง catalog ทั้งวันแหละครับ อาจจะดูเหมือนยุ่งๆ นะครับ
และในขณะที่ catalog อยู่ ผมก็บังเอิญได้เข้าไปที่เว็บไซต์ของห้องสมุดจุฬาฯ มา
ทำให้เจอกิจกรรมนึงของห้องสมุดที่น่าอิจฉาเหล่านิสิตมากๆ เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ากิจกรรมอะไร

ภาพโปสเตอร์งาน Chulalinet day
ภาพโปสเตอร์งาน Chulalinet day

กิจกรรมนี้ใช้ชื่อว่า “Chulalinet Day” ซึ่งจะจัดงานในวันที่ 23 มิถุนายน 2553
เวลาตั้งแต่ 10.30 – 16.00 น. ณ จามจุรีสแควร์ นั่นเอง

ในงานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น
– ยอดนักยืม
– พบนักเขียนซีไรต์และนักเขียนในดวงใจ
– สนทนาประสาคนชอบอ่านหนังสือ (ในห้องสมุด)

Hilight ของงานนี้ผมว่าอยู่ที่ของรางวัลในงานนี้แน่ๆ เลย
นั่นก็คือ “การลุ้นรางวัลตั๋วเครื่องบินและแพ๊คเกจทัวร์ กรุงเทพ – กระบี่”

แบบว่าอยากไปร่วมด้วยนะ แต่คงหมดสิทธิ์ในการลุ้นรางวัลแน่ๆ เลย

แต่สำหรับน้องๆ นิสิตที่ได้รับรางวัลแล้วไม่อยากได้
น้องจะเอามาแบ่งพี่ก็ได้นะ พี่ยอมไปเที่ยวแทน อิอิ

นอกจากนี้ยังมีรางวัลและกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกนะครับ
ซึ่งสามารถเข้าไปดูรายละเอียดและติดตามได้ที่ ห้องสมุดทุกแห่งในจุฬาฯ เลย
ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม – 19 มิถุนายน 2553 นะครับ

เอาเป็นว่าก็ขอแอบอิจฉาเล็กๆ แล้วกันนะครับ
น้องๆ คนไหนที่ไปร่วมงานนี้แล้วอยากเล่าเรื่องราวก็ส่ง Mail มาเล่าให้พี่ฟังได้นะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/news/223/

เอาเป็นว่ากิจกรรมดีๆ แบบนี้ ผมขอบอกต่อครับ
ปล. ห้องสมุดไหนแจกรางวัลแพ๊คเกจไปเที่ยวอีกบอกผมได้นะ จะได้ไปขอร่วมลุ้นรางวัลบ้าง อิอิ

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 2

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 2
ออกในเดือนเมษายน 2553

librarianmagazine-vol3-no2

แนะนำนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ ผมมาล่าช้าไปหน่อย
ต้องขออภัยด้วยนะครับ แต่ไม่ได้ลืมนิตยสารเล่มนี้เลยจริงๆ

หลังจากที่ยุ่งๆ มาตลอดเกือบเดือนวันนี้พอมีเวลานิดหน่อยเลยขอเข้าไปอ่านบ้าง
ฉบับนี้มีเรื่องที่น่าสนใจเช่นเคย โดยเฉพาะการบริการแบบ one stop service
เอาเป็นว่าเข้าไปดูกันเลยดีกว่าว่าเล่มนี้มีอะไรน่าอ่านบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก : The Information Commons เป็นศูนย์บริการการเรียนรู้แบบรวมศูนย์ (one stop service)

งานวิจัย : การรู้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

พาเที่ยว : ห้องสมุด…Never Died

พาเที่ยว : ท่องเที่ยวห้องสมุดในเมืองเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ (1)

พาเที่ยว : ห้องสมุดอนาคตในอาบู ดาบี

พาเที่ยว : เยือนเมืองลาว

บทความ/สาระน่ารู้ : Hot a lot : ประเทสไทยมีกี่ฤดู

บทความ/สาระน่ารู้ : ดิจิสุ้ก – ดิจิสุข

เรื่องแปล : ทักษะการอ่านของเด็กได้มาจากไหน

เป็นยังไงกันบ้างครับ ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ
อย่างน้อยช่วงนี้ในบล็อกผมก็ไม่ค่อยมีเรื่องให้อ่าน
เอาเป็นว่าเข้าไปอ่านนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์แทนก่อนแล้วกัน

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 2 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO2/