สรุปเรื่องการเผาห้องสมุดโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ในขณะที่ผมกำลังกินข้าวและอ่านข่าวในตอนเช้าวันนี้
ผมก็พบกับข่าวที่น่าเศร้าใจอย่างยิ่งต่อวงการห้องสมุดอีกครั้ง
นั่นคือ “ไฟไหม้ห้องสมุดวอด ร.ร.มหิดลฯ อาคาร 3 ชั้นพังยับ

ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์
ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์

เพื่อนๆ ที่ยังไม่รู้ข่าวสามารถอ่านได้ที่
ไฟไหม้ห้องสมุดวอด ร.ร.มหิดลฯ อาคาร3ชั้นพังยับ จาก ไทยรัฐ
ไฟไหม้หอสมุดรร.มหิดล วิทยานุสรณ์เผาวอด 2 ชั้น จาก เนชั่น

ในช่วงบ่ายวันนี้ความจริงและสาเหตุต่างๆ ก็ถูกไขออกมา
เมื่อมีนักเรียน ชั้น ม.5 ออกมายอมรับว่าเป็นคนเผาอาคารดังกล่าว
โดยให้เหตุผลว่า เครียด และ อยากกลับบ้าน จึงเผาอาคารเพื่อให้โรงเรียนสั่งหยุดการเรียนการสอน

เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวได้จาก
ม.5 รร.ดังศาลายามอบตัวรับเผาอาคารห้องสมุด จาก โพสต์ทูเดย์
จับเด็ก ม.5 วางเพลิงโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จาก เดลินิวส์
ม.5วางเพลิงห้องสมุด”มหิดลวิทยานุสรณ์”เครียด เรียนไม่ทันเพื่อน รับเลียนแบบ”พฤติกรรมเผา”ร.ร.จะได้ปิด จาก มติชน
ม.5มหิดลฯเผารร.อ้างไม่อยากเรียน จาก คมชัดลึก

ความเสียหายที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ผมว่านอกจากทรัพย์สินต่างๆ หนังสือ อุปกรณ์ต่างๆ แล้ว
ผมว่าความรู้สึกก็เสียหายไม่แพ้กันเลย คุณค่าของความรู้ต่างๆ เสียหายไปมากมาย

สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้เหล่าบรรณารักษ์ คุณครูในโรงเรียน น้องๆ นักเรียนทุกคน
ขอให้ห้องสมุดปรับปรุงเสร็จเร็วๆ นะครับ และหากต้องการความช่วยเหลือบอกมาได้
พวกเราวงการบรรณารักษ์ไม่ทิ้งกันอยู่แล้วครับ

ผู้บริหารห้องสมุดยุคใหม่ต้องทำอะไรบ้าง

เรื่องที่ผมจะนำมาลงให้อ่านในวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ผมจด Lecture มาตั้งแต่สมัยผมเรียน ป.ตรี
แต่พอเอามาอ่านย้อนหลังแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ต่อหลายๆ คน เลยเอามาให้อ่านกันดู
(จริงๆ แล้ว ใน lecture ผมไม่ได้เขียนละเอียดหรอกนะครับ แต่ที่เอามาลงนี่คือการ rewrite ใหม่เท่านั้น)

ceolibrary

?บทบาทและสมรรถภาพของผู้บริหารห้องสมุด? มีดังนี้

– Direction Setter
ผู้บริหารห้องสมุด คือ ผู้กำหนดทิศทางในการบริหารงานห้องสมุด พร้อมใช้เทคนิค และเครื่องมือทางการบริหารนำมาปรับให้เข้ากับห้องสมุด เช่น TQM, BSC, KPI?

– Leader catalyst
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องมีความสามารถในการกระตุ้นการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา และมีภาวะความเป็นผู้นำที่ดี

– Planner
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องรู้จักวางแผนงาน นโยบาย แผนปฏิบัติงาน แผนกลยุทธ์ การจัดลำดับความสำคัญของงาน และการแบ่งงานที่ดี

– Decision Maker
ผู้บริหารห้องสมุดเป็นผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจ และเลือกวิธีในการปฏิบัติงาน ดังนั้นความเฉียบขาดจึงเป็นสิทธิที่พึงมีในตัวผู้บริหารด้วย

– Organizer
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักองค์กรแบบภาพกว้างๆ และมีความสามารถในการจัดการองค์กร เลือกคนให้เข้ากับงาน (put the right man on the right job)

– Change Management
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง? งานบางงานอาจจะผิดแผนไปจากเดิมแต่ผู้บริหารก็ต้องคบคุมให้ได้ด้วย และผู้บริหารห้องสมุดต้องมีการปรับและประยุกต์งานของตนให้เข้ากับสังคม หรือองค์กรอื่นๆ ให้ได้ด้วยเช่นกัน

– Coorinator
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะเป็นผู้ที่อยู่ในระดับสูงขององค์กรแล้ว แต่สิ่งที่จะเป็นแรงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือการที่ผู้บริหารห้องสมุดมีส่วนร่วมในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาดูแล เช่น การจัดกิจกรรมในห้องสมุดผู้บริหารห้องสมุดก็ควรเข้าร่วม (อาจจะไม่ถึงกับต้องทำกิจกรรม แต่ให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำก็ได้เช่นกัน)

– Communicator
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี การสื่อสาร หรือการชี้แจงงานให้ชัดเจน ไม่สร้างความคุมเคลือให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสงสัย

– Conflict Manager
ผู้บริหารห้องสมุด ต้องเป็นผู้แก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดในห้องสมุดได้ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่าง คนกับคน หรือ คนกับงาน การที่ผู้บริหารห้องสมุดสามารถไกล่เกลี่ยปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้ จะต้องวางใจเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ตัดสินด้วยเหตุผล และยุติธรรม

– Problem Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการแก้ไขปัญหาล่วงหน้า รู้จัแบ่งความสำคัญของปัญหาว่าสิ่งใดเป็นปัญหาเล็ก สิ่งใดเป็นปัญหาใหญ่ และแก้ไขปัญหาตามลำดับความสำคัญได้อย่างดี

– System Manager
ผู้บริหารห้องสมุดจะต้องรู้จักการวิเคราะห์ระบบ วิเคราะห์ปัญหา และควบคุมระบบงานต่างๆ อย่างมีระเบียบและมีขั้นตอน

– Instructional Manager
ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีความสามารถทั้งในงานการปฏิบัติงานห้องสมุด และมีความสามารถทางด้านการเรียนการสอนด้วย การสอนที่ว่านี้ไม่ใช่แต่นักเรียน นักศึกษา อย่างเดียวนะครับ แต่หมายรวมถึงผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย

– Personal & Resource Manager
ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะต้องควบคุมองค์กรได้แล้ว การควบคุมผูใต้บังคับบัญชา และทรัพยากรต่างๆ ในห้องสมุดก็ถือว่ามีความสำคัญด้วยเช่นกัน และต้องรู้จักการจัดสรรทรัพยากรทั้งคนและสิ่งของให้เข้ากับลักษณะงานด้วย

– Appraiser
ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักการประเมินผลงานการดำเนินงาน ต่างๆ ในห้องสมุด โดยอาศัยเทคนิค หรือใช้เครื่องมือต่างๆ ในการประเมินก็ได้

จบแล้วครับ?เป็นไงกันบ้าง
งานในฐานะของผู้บริหารห้องสมุดนี่ก็เยอะเหมือนกันนะครับ
ต้องดูแลงานบริหารด้านต่างๆ จัดการกับปัญหาภายในห้องสมุด
แถมต้องพาห้องสมุดไปยังจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของห้องสมุดอีก

เฮ้อ เหนื่อยแทนเลยจริงๆ นะครับ

ภาพความทรงจำดีๆ ณ ห้องสมุด TK park

หลังจากที่เมื่อวานผมได้อัพเดท ข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ของห้องสมุด TK park ให้เพื่อนรู้กันแล้ว
วันนี้ผมขอนำภาพถ่ายความประทับใจและความทรงจำดีๆ ในห้องสมุด TK park มาลงให้เพื่อนๆ ดูนะครับ

memorial-in-tkpark

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ชื่อห้องสมุด : อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK park
ชื่อภาษาอังกฤษ : Thailand Knowledge Park
ที่อยู่ : ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวิลด์ ชั้น 8 Dazzle Zone
เว็บไซต์ : http://www.tkpark.or.th

ประวัติความเป็นมาของอุทยานการเรียนรู้ผมคงไม่เล่านะครับ เนื่องจากเพื่อนๆ สามารถอ่านได้ที่
http://www.tkpark.or.th/tk/index.php?option=com_content&view=article&id=81&Itemid=165&lang=th

แต่ผมขอเราเรื่องราวที่ผมเข้าใช้บริการแทนแล้วกันนะครับ

ก่อนหน้าที่จะมี TK park ผมก็เพิ่งพาห้องสมุดอื่นๆ เช่น หอสมุดแห่งชาติ หรือ ไม่ก็ห้องสมุดประชาชน นั่นแหละครับ
ซึ่งพอมี TK park เข้ามาทำให้ผมค่อนข้างตื่นเต้นกับการมีห้องสมุดใหม่ๆ ในบ้านเรามากๆ เลยครับ

บรรยากาศที่ดี หนังสือที่ดี เทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ผมเริ่มติดใจในห้องสมุดแห่งนี้มากขึ้น
ผมสมัครสมาชิกเพื่อยืมหนังสือไปอ่านที่บ้านบ้าง เอาโน้ตบุ๊คมาเล่นที่นี่บ้าง

ผมเคยพาเพื่อนจากต่างประเทศมาเที่ยวห้องสมุดที่นี่ด้วย
ซึ่งเขาก็ประทับใจมากๆ เลยถึงขั้นว่ายอมสมัครสมาชิกเลยด้วยซ้ำ

แม้ในช่วงหลังที่ผมทำงานหนักมากขึ้น ไม่ค่อยได้ใช้เวลาในห้องสมุดแห่งนี้นาน
แต่ผมก็จะมายืมหนังสือจากที่นี่แล้วก็นำกลับไปอ่านที่บ้านตลอด

Text book ด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์ดีๆ ก็มีให้เลือกอ่านสมควรเลย
ตัวอย่างเช่น 2 เล่มด้านล่างนี้นะครับ มีทั้งเรื่อง การวางแผนกลยุทธ์ และการควบคุมคุณภาพในงานห้องสมุด

book

เอาเป็นว่าเรื่องราวดีๆ เกิดขึ้นที่นี่มากมาย สุดท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้ห้องสมุดแห่งนี้ด้วยนะครับ

ไปชมภาพบรรยากาศดีๆ ในห้องสมุดแห่งนี้กันนะครับ

[nggallery id=24]

ปล. ภาพที่นำมาให้ชมเป็นภาพที่ถ่ายเมื่อปีที่แล้วนะครับ

Update สถานการณ์ล่าสุดของห้องสมุด TK park

ผ่านเหตุการณ์ที่สะเทือนจิตใจคนไทยมาได้ไม่นาน ในช่วงนั้นหลายคนคงได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์
ซึ่งทำให้หลายคนเป็นห่วงห้องสมุดแห่งหนึ่งที่อยู่ที่นั่น ถูกต้องครับ ผมหมายถึง อุทยานการเรียนรู้ หรือ TK Park

ctw

ช่วงที่มีข่าวเรื่องการเผาห้างเซ็นทรัลเวิลด์ มีกระแสข่าวที่ไม่ดีของวงการห้องสมุด
นั่นคือ เราอาจจะต้องสูญเสียห้องสมุดที่ดีๆ แห่งนั้นไปแล้ว

แต่หลังจากนั้นไม่นานเมื่อไฟสงบลงก็มีการรายงานความเสียหายของห้างออกมา
และทำให้ทุกคนโล่งใจขึ้นเนื่องจาก “TK Park ไม่ถูกไฟไหม้” นั่นเอง

news

กว่าจะได้ห้องสมุดดีๆ สักแห่งต้องผ่านกระบวนการคิด และสร้างนานมาก
ถ้าต้องเสียหายเพราะเรื่องความขัดแย้งแบบนี้คงไม่ดีแน่

เมื่อไม่โดนไฟไหม้ทุกคนก็คิดว่าห้องสมุด TK Park? ของเราคงจะกลับมาให้บริการได้เร็วๆ นี้

แต่….ทางทีมงาน TK Park? ได้เพิ่งเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ได้วันนี้ และได้เก็บภาพถ่ายมา
ผมจึงขออนุญาตเอาภาพต่างๆ มาลงให้เพื่อนๆ ได้เห็นกัน

ห้องสมุดไม่ถูกไฟไหม้ก็จริง แต่ความเสียหายก็ปรากฎให้พวกเราได้เห็น
จากที่ได้ฟังทีมงานที่เข้าไปได้รู้ว่า สปริงเกอร์น้ำได้ฉีดน้ำลงมาโดนหนังสือจำนวนมาก
และด้วยความร้อนจากไฟไหม้บริเวณห้างก็ทำให้เกิดความชื้นในห้องสมุด
หนังสือต้องเสียหายมากมาย ซึ่งทางทีมงานต้องเร่งเข้าไปคัดเลือกหนังสือที่อยู่ในสภาพดีออกมา

เอาเป็นว่าเราลองดูภาพสักนิดดีกว่านะครับ

after_tk_12_450x300

after_tk_04_450x300

after_tk_06_450x300

after_tk_02_450x300

เป็นยังไงบ้างครับ ถ้าอยากติดตามภาพแบบเต็มๆ เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.tkpark.or.th/tk/index.php?option=com_content&view=article&id=1447&Itemid=153&lang=th

สุดท้ายนี้ผมก็ขออวยพรและเป็นกำลังใจให้ TK Park กลับมาให้บริการได้อย่างดีเหมือนเดิมนะครับ

อ๋อ นิดนึงนะครับ ขอประชาสัมพันธ์สำหรับคนที่คิดถึงห้องสมุด TK Park เพื่อนๆ ก็สามารถใช้บริการ TK Mobile Library ได้ ตามจุดต่างๆ ดังนี้
– วันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนจตุจักร (บริเวณสนามเด็กเล่น)
– วันเสาร์ที่ 19 และวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. ณ สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)
– วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2553 ตั้งแต่เวลา 9.00-15.00 น. พบกันที่ เสถียรธรรมสถาน

Website ของ TK Park = http://www.tkpark.or.th
Facebook ของ TK Park = http://www.facebook.com/tkparkclub
Twitter ของ TK Park = http://twitter.com/TKpark_TH

ขอเชิญเพื่อนๆ ร่วมลงชื่อให้กำลังใจ TK Prak ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

ห้องสมุดจุฬาฯ ทำให้ผมอยากเป็นนิสิตของจุฬาฯ เลย…

ช่วงนี้วันๆ ผมก็นั่ง catalog ทั้งวันแหละครับ อาจจะดูเหมือนยุ่งๆ นะครับ
และในขณะที่ catalog อยู่ ผมก็บังเอิญได้เข้าไปที่เว็บไซต์ของห้องสมุดจุฬาฯ มา
ทำให้เจอกิจกรรมนึงของห้องสมุดที่น่าอิจฉาเหล่านิสิตมากๆ เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ากิจกรรมอะไร

ภาพโปสเตอร์งาน Chulalinet day
ภาพโปสเตอร์งาน Chulalinet day

กิจกรรมนี้ใช้ชื่อว่า “Chulalinet Day” ซึ่งจะจัดงานในวันที่ 23 มิถุนายน 2553
เวลาตั้งแต่ 10.30 – 16.00 น. ณ จามจุรีสแควร์ นั่นเอง

ในงานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น
– ยอดนักยืม
– พบนักเขียนซีไรต์และนักเขียนในดวงใจ
– สนทนาประสาคนชอบอ่านหนังสือ (ในห้องสมุด)

Hilight ของงานนี้ผมว่าอยู่ที่ของรางวัลในงานนี้แน่ๆ เลย
นั่นก็คือ “การลุ้นรางวัลตั๋วเครื่องบินและแพ๊คเกจทัวร์ กรุงเทพ – กระบี่”

แบบว่าอยากไปร่วมด้วยนะ แต่คงหมดสิทธิ์ในการลุ้นรางวัลแน่ๆ เลย

แต่สำหรับน้องๆ นิสิตที่ได้รับรางวัลแล้วไม่อยากได้
น้องจะเอามาแบ่งพี่ก็ได้นะ พี่ยอมไปเที่ยวแทน อิอิ

นอกจากนี้ยังมีรางวัลและกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกนะครับ
ซึ่งสามารถเข้าไปดูรายละเอียดและติดตามได้ที่ ห้องสมุดทุกแห่งในจุฬาฯ เลย
ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม – 19 มิถุนายน 2553 นะครับ

เอาเป็นว่าก็ขอแอบอิจฉาเล็กๆ แล้วกันนะครับ
น้องๆ คนไหนที่ไปร่วมงานนี้แล้วอยากเล่าเรื่องราวก็ส่ง Mail มาเล่าให้พี่ฟังได้นะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.car.chula.ac.th/news/223/

เอาเป็นว่ากิจกรรมดีๆ แบบนี้ ผมขอบอกต่อครับ
ปล. ห้องสมุดไหนแจกรางวัลแพ๊คเกจไปเที่ยวอีกบอกผมได้นะ จะได้ไปขอร่วมลุ้นรางวัลบ้าง อิอิ

ระเบียบการเข้าใช้ห้องสมุดแบบขำขำ…

เรื่องเก่าขอเอามาเล่าใหม่นะ…วันนี้นั่งค้นข้อมูลเรื่องการใช้ห้องสมุดอยู่ดีๆ
ผมก็บังเอิญไปเจอข้อมูลเรื่องมารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุด
(ถ้ามารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุดแบบธรรมดา ผมคงไม่นำมาลงให้อ่านหรอกนะ)

sleep-in-library

หมายเหตุ : ผมขอสงวนในการบอกชื่อห้องสมุดนะครับ
และสิ่งที่ผมเขียนนี้ไม่ได้ตั้งใจจะว่าอะไรห้องสมุดแห่งนี้หรอกนะครับ
เพียงแต่นำมาเขียนเพื่อให้เพื่อนๆ คนอื่นนำไปเป็นแนวทางในการสร้างสีสันในห้องสมุด

มารยาทในการเข้าใช้ห้องสมุด มีดังนี้
* ไม่นำกระเป๋า? แฟ้ม? หรือถุงย่ามเข้าห้องสมุด
* ไม่ส่งเสียงรบกวนผู้อื่น
* ไม่นอนหลับในห้องสมุด
* ไม่เสริมสวยในห้องสมุด
* ไม่นำน้ำ อาหารมากินในห้องสมุดกลาง
* ไม่ค้นหนังสือกระจุยกระจาย
* ช่วยรักษาความสะอาดของห้องสมุด
* เก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องสมุด
* เก็บหนังสือเข้าที่ก่อนออกจากห้องสมุด

เพื่อนๆ สังเกตุเห็นบางข้อมั้ยครับ เช่น

“ไม่เสริมสวยในห้องสมุด”
อันนี้ผมขอเดานะครับว่าผู้ใช้ที่เข้ามาต้องมีผู้หญิงเยอะแน่ๆ
และแต่ละคนคงอาศัยห้องสมุดเป็นห้องแต่งหน้าจนบรรณารักษ์สังเกตุเห็น
ดังนั้นเลยมีการกำหนดมารยาทข้อนี้เอาไว้แน่ๆ

“ไม่ค้นหนังสือกระจุยกระจาย”
ส่วนอันนี้ขอเดานะครับว่าผู้ใช้ที่เข้ามาต้องเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือมากๆ เลย
ถึงได้ลื้อหนังสือกระจุยกระจายได้ใจบรรณารักษ์ จึงทำให้เกิดมารยาทในข้อนี้

เอาเป็นว่าแซวเล่นๆ นะครับ เพื่อนๆ คิดเหมือนผมมั้ยว่า
มันก็น่าสนใจเหมือนกันในเรื่องของการออกกฎหรือข้อปฏิบัติในห้องสมุด

เอาเป็นว่าห้องสมุดไหนมีมารยาทจ๊าบๆ กว่านี้ลองส่งมาให้ผมดูบ้างแล้วกันนะครับ

ห้องสมุดควรแนะนำหนังสือใหม่แบบไหนดี

ห้องสมุดของเพื่อนๆ แนะนำหนังสือใหม่กันแบบไหนบ้างครับ วางไว้ในตู้โชว์หรือปล่าว
เอาเป็นว่าไม่ว่าจะแบบไหนก็ตาม วันนี้ผมขอนำเสนอรูปแบบการวางหนังสือแบบแปลกๆ มาให้ดูบ้าง

book-show

ห้องสมุดของคุณแนะนำหนังสือใหม่อย่างไร
– แปะรายชื่อไว้ที่บอร์ด ?
– สแกนหนังสือลงเว็บไซต์ห้องสมุด ?
– ใส่ไว้ในตู้แสดงหนังสือใหม่ที่เปิดไม่ได้ ?

และอีกต่างๆ มากมายที่คุณจะแนะนำหนังสือใหม่ๆ ให้ผู้ใช้บริการได้รับรู้

ไอเดียง่ายๆ ในการนำเสนอหนังสือใหม่เพื่อสร้างสีสันให้กับห้องสมุด เริ่มต้นจาก :-

อุปกรณ์
1. โต๊ะสำหรับวงของ (ใหญ่หน่อยก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็ตัวเล็กหน่อยก็ได้)
2. ผ้าแพรสีๆ แล้วแต่ว่าอยากได้สีไหน
3. หนังสือที่ต้องการแสดง (แนะนำหนังสือปกแข็งเท่านั้น)

อุปกรณ์แค่นี้ก็พอแล้ว หลังจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับการจัดวางของคุณ
แต่ขอแนะนำสักนิดควรดูพื้นที่บนโต๊ะ กับจำนวนหนังสือด้วย
พยายามทำให้ดูสบายตากับผู้ใช้ (ไม่ วางหนังสืออัดแน่นไป)

กางหนังสือพอประมาณแล้วก็ตั้ง ไว้อย่างในรูป
จะตั้งอย่างไรก็ได้เต็มที่ ตามสบายเลยครับ

ขอแนะนำอีกสักนิดเพื่อความสุขของผู้ ใช้
ผู้ใช้สามารถหยิบขึ้นมาอ่านได้ แล้วก็แนะนำว่ากรุณาวางเก็บไว้ที่เดิม อิอิ

เพียงเท่านี้ก็คงช่วยสร้างสีสันให้ห้องสมุดได้บ้างนะครับ

เก็บตกหัวข้อที่น่าสนใจสำหรับห้องสมุดและบรรณารักษ์จากงาน CIL2010

งาน Computers in libraries 2010 หรือ CIL2010 เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา
ซึ่งภายในงานนี้มีหัวข้อการบรรยายที่น่าสนใจมากมาย เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะมาสรุปให้เพื่อนๆ ได้อ่านนะครับ

cil2010

อย่างที่เคยบอกแหละครับว่า งานนี้เป็น “งานประชุมวิชาการครั้งใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุด”
แน่นอนครับหัวข้อที่บรรยายในงานนี้จะเกี่ยวกับเทคโนโลยีในห้องสมุดทุกอย่างครับ
รวมถึงจากงานประชุมวิชาการนี้จะทำให้เราได้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในวงการห้องสมุดด้วยครับ

หัวข้อบรรยายในงานนี้ก็ยังคงแบ่งออกเป็น 5 ห้องเช่นเดิม (5 Track)
ซึ่งในแต่ละห้องก็จะมีหัวข้อย่อยๆ อีก ดังนี้

TRACK A
– INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– DIGITAL PRACTICES
– CONTENT MANAGEMENT

TRACK B
– WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– NEXT-GEN CATALOGS
– MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES

TRACK C
– MANAGING 2.0
– PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– COOL TOOLS

TRACK D
– COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES
– CULTIVATING INNOVATION & CHANGE

TRACK E
– LITERACIES & FLUENCIES
– TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE

————————————————————————————-

นอกจากนี้ในแต่ละหัวข้อของ Track ต่างๆ ก็จะมีผู้บรรยายมาพูดในหัวข้อที่เกี่ยวกับ Track ดังนี้

สำหรับหัวข้อใน Track A

INFORMATION DISCOVERY & SEARCH
– Super Searcher Shares : Search Tips Spectacular!
– Trends in Search & Search Engines
– New & Hot : The Best of Resource Shelf
– Innovative Applications of Federated Search Technology
– Discovery Tools : Case Study

DIGITAL PRACTICES
– Crafting Online Personas
– Library Engagement Through Open Data
– Usability & Libraries
– Using Technology, Creativity & Partnerships
– Reference for a Digital World

CONTENT MANAGEMENT
– Content Containers : Tranforming Publishing & Purchasing
– Licensing Content & Creative Common (CC)
– Digitization Practices
– Ebooks : Landscape & Implications
– Ebooks : Experience & Learnings

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track B

WEB PRESENCE & EXPERIENCE
– Experience Design Makeover
– Improving Visual Web Experience
– Website Redesign : Two case studies
– Analyzing, Evaluating & Communicating the Value of Web Presence
– Well-Organized Sites & Portals

NEXT-GEN CATALOGS
– From OPAC to SOPAC : Steps to a Social Library
– SOPAC 2.1 : Digital Strategy for the New Library
– Open Source Models : Hybrid ILS & Multiple Sites
– Fluency in OS Systems : Pilots in Different Size Libraries
– Global Library Landscape

MOBILE TRENDS, STRATEGIES & PRACTICES
– Mobile Literacy : Competencies for Mobile Tech
– Developing & Designing for Mobile
– Mobile Tips & Practices
– What?s Happening With Mobile in Libraries
– Practices & Search: What?s Hot!

———————————————

สำหรับหัวข้อใน Track C

MANAGING 2.0
– Tips for Fast Tech Project Implementation
– Achieving Org 2.0
– Decision Making & Decisions in a Digital Age
– Gen X Librarians: Leading From the Middle
– Digital Managers Sound Off

PLANNING & FOCUSING ON THE FUTURE
– Strategic Planning & Encouraging Change
– Critical Thinking : Getting to the Right Decision
– Bridging Community, Research, Skill Building, & Entertainment With World of Warcraft & Libraries
– Planning & Partnerships : Strategic Initiatives
– Feedback & Proving Worth With Library Scorecards

COOL TOOLS
– New & Open Source Tools
– Productivity Tools
– What?s Hot in RSS
– Cloud Computing & Digital Video
– Best Free Web Services for Broke Libraries

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track D

COLLABORATION STRATEGIES & TOOLS
– Digital Commons: Building Digital Communities Using Digital Collections
– Real-Time Collaboration Tools
– What Administrators Need to Know About Technology
– Google Wave
– Twitter Tools: Applications & Success Stories

ENTERPRISE TRENDS & PRACTICES

– Web 2.0 Tools: Innovation, Awareness, & Knowledge-Sharing
– Info Pros & SharePoint: Good Fit
– Drupal Applications & Practices
– Search Enhancements for the Enterprise
– Building Communities & Engaging Clients

CULTIVATING INNOVATION & CHANGE
– The 24th Thing: What?s Next?
– Persuasion, Influence, & Innovative Ideas
– Google Gambol
– Information Discovery With Surfaces
– Engaging Communities

———————————————

สำหรับ หัวข้อใน Track E

LITERACIES & FLUENCIES
– Information Fluency Strategies & Practices
– Libraries & Transliteracy
– Developing Specific Fluencies: Case Studies
– Information Literacy : Life Cycle & Economic Benefits
– LibGuides: Web Tools to Enhance Information Fluency?

TEACHING : TECHNOLOGIES & APPROACHES
– LMS: What?s Out There & How to Decide!
– Reaching Reluctant Learners
– Training in the Cloud or Mobile Labs!
– Virtual Learning & Training : From Classrooms to Communities
– Instructional Technology: It?s a Team Thing

LEARNING : EXPANDING OUR KNOWLEDGE
– Staff Development: Soft Skills, Firm Results
– Peer Training for Digital Literacy
– From Podcasts to Blogs and Beyond!
– Ref Desk Adventure : Simulation Game for Training
– 23 Things for an International Audience

———————————————

เป็นยังไงกันบ้างครับกับงานประชุมวิชาการของวงการบรรณารักษ์ในต่างประเทศ
ในเมืองไทยผมก็จะพยายามจัดให้ได้ถ้ามีโอกาสนะครับ

หากเพื่อนๆ ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมของหัวข้อต่างๆ ก็สามารถดูได้ที่
http://conferences.infotoday.com/documents/84/CIL2010-FinalProgram.pdf

และหากต้องการทราบความเคลื่อนไหวของการประชุม CIL ให้เข้าไปที่
http://www.infotoday.com/cil2010/twitter.asp

การฝึกอบรมเรื่อง “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

วันนี้ผมขอประชาสัมพันธ์งานฝึกอบรมนึงที่น่าสนใจมากๆ สำหรับนักสารสนเทศในยุคนี้
โดยงานนี้ใช้ชื่อว่า “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”

ภาพจาก http://www.gcecs2009.com/tag/global-creative-economy-convergence-summit/
ภาพจาก http://www.gcecs2009.com

รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้
ชื่อการฝึกอบรมภาษาไทย : “บทบาทนักสารสนเทศในวาระเศรษฐกิจสร้างสรรค์”
ชื่อการฝึกอบรมภาษาอังกฤษ : The Roles of Information Professional in the Creative Economy
วันและเวลาที่อบรม : วันที่ 28 เมษายน 2553 เวลา 08.30-16.00 น.
สถานที่อบรม : ห้องประชุม 4 อาคาร 1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บางเขน)
จัดโดย : ศูนย์ความรู้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ในช่วงนี้เพื่อนๆ คงได้ยินคำว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ “Creative Economy” บ่อยๆ
ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ในสังคมไทย และกำลังจะมีบทบาทมากมายต่อวงการธุรกิจ

ความหมายของ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ “Creative Economy” เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก
http://www.creativethailand.org/th/

ในแนวทางดังกล่าวก็ทำให้วงการของห้องสมุดและสารสนเทศมีบทบาทขึ้นเป็นอย่างมาก
ดังนั้นการอบรมในเรื่องนี้ ผมจึงขอแนะนำให้เพื่อนๆ เข้าร่วมกันมากๆ ก็จะดี

วัตถุประสงค์ของการจัดการอบรมในครั้งนี้ผมว่าน่าสนใจมาก
– เสริมสร้างความรู้ของนักวิชาชีพสารสนเทศเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ใน ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้และบทบาทในการให้บริการสารสนเทศ
– กำหนดบทบาทของนักวิชาชีพสารสนเทศตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์
– แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น และประสบการณ์ในหมู่นักวิชาชีพสารสนเทศ

ซึ่งวิทยากรที่จะมาให้ความรู้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย
รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน และ ผศ.ดร.มงคลชัย วิริยะพานิช

แต่ต้องขอบอกก่อนนะครับว่าการอบรมในครั้งนี้ไม่ได้ฟรี
ซึ่งค่าลงทะเบียนในการอบรมราคา 1200 บาทนะครับ
รับจำนวนจำกัด เพียงแค่ 50 คนเท่านั้น (ดังนั้นต้องรีบตัดสินใจกันหน่อยนะครับ)

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ดาวน์โหลดใบลงทะเบียนได้ที่
http://klc.tistr.or.th/include/download/KLCseminar_creative-econ.pdf
หรือลงทะเบียนทางโทรศัพท์ ติดต่อคุณเพ็ญศรี โทร.025791121-30 ต่อ 1229

สำหรับผมติดภาระกิจพอดีเลยในช่วงเวลาดังกล่าว
ดังนั้นใครที่ไปอบรมก็อย่าลืมมาเล่าให้ผมฟังด้วยนะครับ

ปัญหาที่เกิดในห้องสมุด “คืนหนังสือแล้วยืมต่อไปเรื่อยๆ”

วันนี้ผมขอยกปัญหานึงที่เคยเจอตอนทำงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยมาให้อ่าน
เกี่ยวกับเรื่องการต่ออายุการยืมหนังสือ (Renew Book) นั่นเอง
ดูผิวเผินอาจจะเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเพื่อนๆ เจอการต่ออายุหนังสือเล่มเดิมสัก 10 ครั้ง มันก็คงไม่ปกติแล้ว

renew-book

บรรณารักษ์ในสถาบันอุดมศึกษาน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้
เหตุการณ์ที่อาจารย์ในสถาบันมายืมหนังสือในห้องสมุด แล้วพอถึงเวลาคืนก็มาต่ออายุการยืม
ฟังดูธรรมดา… แต่สิ่งที่เป็นปัญหาก็เกิดขึ้น เมื่อการต่ออายุเกิดอย่างต่อเนื่องจนเสมือนกับจะยืมหนังสือกันตลอดชีวิต

นั่นคือเหมือนครบกำหนดก็มาคืน แล้วก็ยืมต่อ อาจารย์ทำแบบนี้สักสามครั้งนี้ก็เท่ากับหมดหนึ่งเทอมไปเลย
แต่แค่หนึ่งเทอมอาจจะให้อภัยได้ แต่ช่วงปิดเทอมก็ยืม เปิดเทอมใหม่ก็ยืม (หนังสือเล่มเดิม)

คงกะว่าหนังสือเล่นนั้นไม่มีใครจยืมมั้งครับ อาจารย์ก็เลยหวังดีแบบนี้

ถ้าแค่เล่มเดียวหรือสองเล่มก็ยังไม่เท่าไหร่
นี่อาจารย์แกเล่นยืมไปหกเล่ม แล้วดันไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านเขายืมเลย

เพื่อนๆ ว่าปัญหาแบบนี้ บรรณารักษ์อย่างพวกเราควรทำอย่างไร

เอาเป็นว่าผมขอเสนอคำแนะนำนิดนึงแล้วกัน (ผ่านการพิสูจน์และปฏิบัติแล้ว) คือ

1. ประสานงานไปยังฝ่ายวิชาการของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อหาลือกันถึงแนวทางการแก้ไข ซึ่งได้ความว่า
ฝ่ายวิชาการจะจัดเงินทุนจำนวนหนึ่ง เพื่อซื้อหนังสือที่อาจารย์จำเป็นต้องใช้สอนตลอดทั้งเทอม
โดยอาจารย์สามารถซื้อหนังสือที่ใช้ประกอบการสอนแล้วนำมาเบิกฝ่ายวิชาการ
โดยมีเงื่อนไขว่า หนังสือที่ซื้อจะต้องตรงกับหลักสูตรที่อาจารย์ท่านนั้นสอน
และแต่ละภาควิชาจะได้รับเงินทุนเท่าๆ กัน (ในภาควิชาต้องบริหารการซื้อหนังสือสื่อการสอนกันเอง)

ผลการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ค่อนข้างได้ผลตอบรับที่ดีขึ้น แต่ปัญหาเดิมก็ยังมีอยู่แต่น้อยลง
อาจจะเกิดจากการบริหารเงินในภาควิชา ทำให้อาจารย์บางคนไม่ได้รับการจัดสรรเงิน
ดังนั้นอาจารย์ก็จะใช้วิธียืมแบบต่ออายุเหมือนเดิม

2. ห้องสมุดกำหนดนโยบายการยืมหนังสือแบบต่อเนื่อง
โดยกำหนดว่าไม่ให้ต่ออายุเกิน 2 ครั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นได้ยืมหนังสือเล่มนั้นบ้าง
และหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้สอนกับนักศึกษาด้วย ให้แจ้งห้องสมุดทำเป็นหนังสือจองทันที
แต่ต้องแจ้งตั้งแต่ช่วงเปิดภาคการศึกษาใหม่ๆ นะครับ

ผลการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
จากการชี้แจงให้อาจารย์ทุกท่าน และผู้ใช้ทราบถึงนโยบายใหม่
ทำให้ผลตอบรับดีขึ้นมีการหมุนเวียนในการใช้สารสนเทศ หรือหนังสือดีขึ้น
หนังสือไม่ถูกเป็นเจ้าของเพียงคนๆ เดียว แต่เป็นของคนทุกคนครับ

ขอสรุปข้อคิดสักนิดนะครับ สำหรับพวกที่ชอบยืมหนังสือแบบเห็นแก่ตัว
กรุณาคิดกันสักนิดว่า หนังสือในห้องสมุดมิได้เป็นของคุณคนเดียว
ให้ชาวบ้านเขาได้ใช้หนังสือกันบ้าง อย่าเก็บไว้คนเดียวเลยนะครับ?

แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับมีไอเดียที่จะเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาแบบนี้อย่างไร
ส่งความคิดเห็นมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ