ข่าว “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” ออกมาค่อนข้างมากก็จริง แต่ก็ยังมีอีกหลายๆ คนไม่ทราบว่าปีนี้เป็นปีที่ “กรุงเทพฯ ถูกประกาศให้เป็นเมืองหนังสือโลก” “มหานครแห่งการอ่าน” จึงเป็นวาระที่ผมต้องนำมาเขียนถึงในวันนี้ เพื่อนๆ หลายคนคงได้มีโอกาสไปเดินงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติกันมาแล้ว ผมเองก็ได้มีโอกาสไปเดินดูอะไรต่ออะไรในงานสัปดาห์หนังสือเช่นกัน บูทหนึ่งที่ผมตั้งใจไปดูก็คือ บูทของ “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” นั่นเอง ในบูท “กรุงเทพฯ เมืองหนังสือโลก” มีอะไรบ้าง แน่นอนครับว่าต้องมีการพูดถึงที่มาของการได้เป็น “เมืองหนังสือโลก” หรือ “World Book Capital 2013” นอกจากนี้ยังมีการยกโครงการสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอ่านใน กทม มากมาย ประเด็นที่ผมสนใจ คือ ทำไม “กรุงเทพฯ ถึงได้รับการประกาศเป็นเมืองหนังสือโลก” (ในบอร์ดนิทรรศการกล่าวว่า) “กรุงเทพมหานคร มีความมุ่งมั่นที่จะนำผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในวงการหนังสือทุกส่วน รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ เข้ามาร่วมกันพัฒนาการอ่าน โดยได้นำเสนอแผนโครงการที่มีความหลากหลาย มุ่งเน้นชุมชน และแสดงออกถึงการมีพันธะสัญญาในระดับสูง ที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาการอ่านและหนังสืออย่างจริงจัง” แนวคิด Bangkok Read for Life – อ่านเพื่อรัก – อ่านเพื่อรู้ – รักและรู้ ยุทธศาสตร์เพื่อการขับเคลื่อน และเตรียมการสู่การสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างยั่งยืน 5 ยุทธศาสตร์ 1. การสื่อสารสาธารณะเพื่อเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางสังคม 2. การกำหนดนโยบายอย่างชัดเจนต่อเนื่อง 3. การสร้างความมีส่วนร่วมของเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน 4. การพัฒนาและขยายพื้นที่ส่งเสริมการอ่าน 5. การสร้างกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย จากยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ที่คิดออกมาทำให้เกิดโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมการเป็นเมืองหนังสือโลก โดยในบูทก็ยก 9 กิจกรรมที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมการอ่านออกมา เอาเป็นว่าใน 9 โครงการนั้นมีอะไรบ้าง ผมขอนำไปเล่าวันพรุ่งนี้แล้วกันครับ ในบูทนี้ก็มีของแจกมากมาย อาทิเช่น ที่คั่นหนังสือ สมุดโน้ต “กรุงเทพฯ…
Tag: รักการอ่าน
Infographic สมาชิกบล็อกห้องสมุดกับพฤติกรรมการอ่านหนังสือ
เพื่อนๆ จำกันได้หรือปล่าว ว่าเมื่อเดือนที่แล้วผมทำแบบสำรวจเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ (ลองอ่านดูย้อนหลังได้ที่ Libraryhub ขอสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของท่าน) ในบทความนั้นผมสัญญาไว้ว่าจะนำผลการสำรวจมาทำเป็น Infographic ให้ชม ไปดูกันเลยครับ เป็นยังไงกันบ้างครับ ผมขอสรุปจากแบบสำรวจเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ อีกครั้งแล้วกัน ซึ่งมีข้อมูลดังนี้ – ผู้ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 125 คน ซึ่งแบ่งเป็นเพศหญิง 96 คนและเพศชาย 29 คน – หนังสือในกลุ่มบันเทิงคดี เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น การ์ตูน ได้รับความนิยมในการอ่านมากที่สุด รองลงมาเป็นหนังสืออื่นๆ ทั่วไป และนิตยสาร ส่วนหนังสือในกลุ่มหนังสือพิมพ์และตำราเรียนได้รับความนิยมในการอ่านน้อย (สาเหตุอาจจะมาจากการติดตามข่าวสารผ่านเว็บไซต์รวดเร็วกว่าการติดตามผ่านสื่อสิ่งพิมพ์) – ช่วงเวลาที่ผู้อ่านชอบอ่านมากที่สุด คือ ช่วงเวลากลางคืน (ไม่ได้หมายความว่าอ่านหลังเที่ยงคืนนะครับ แต่เป็นการอ่านหลังจากการทำงานหรือเรียนแล้วกลับมาถึงบ้านตั้งแต่หัวค่ำเป็นต้นไป) – นักอ่านก็ยังคงชอบการอ่านผ่านสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ เอาเป็นว่าผมก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ตอบแบบสำรวจในครั้งนี้นะครับ ไว้วันหลังจะหาข้อมูลอะไรดีๆ แบบดีมาทำเป็น Infographic ให้ดูเล่นกันอีก ปล. ภาพขยายได้นะครับถ้าคลิ๊กที่รูป นำภาพไปแล้วก็เครดิตให้ด้วยนะครับ ข้อมูลตั้งต้นสามารถดูได้ที่ http://www.libraryhub.in.th/2011/11/14/poll-libraryhub-reading-for-make-infographic/
Infographic กราฟฟิกดีไซเนอร์กับพฤติกรรมการอ่านหนังสือ
Inforgraphic ที่นำเสนอวันนี้ เป็น Infographic ที่นำเสนอเรื่องพฤติกรรมการอ่านหนังสือของนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC (ว่าที่ graphic designer) (อาชีพที่ค่อนข้างยุ่งแต่มีเวลาอ่านหนังสือด้วยหรอ) ภาพๆ นี้จัดทำโดยนักเรียนออกแบบกราฟิก MHCC คนนึง ที่รวบรวมข้อมูลการอ่านหนังสือของเพื่อนๆ ในชั้นเรียนด้วยกัน (Graphic Designer เช่นกัน) ไปดูภาพกันเลยครับ เป็นยังไงบ้าง ว่าที่ Graphic designer ทำ Infographic จากข้อมูลใกล้ตัว (ผมว่ามันเยี่ยมมากจริงๆ นะ) บทสรุปง่ายของภาพนี้ มีดังนี้ – Graphic Designer อ่านหนังสือเฉลี่ย 4.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยผู้หญิงใช้เวลาในการอ่านมากกว่าผู้ชาย – หนังสือในกลุ่มเรื่องแฟนตาซีถือว่าเป็นหนังสือที่ Graphic Designer ชอบอ่านมากที่สุด – ช่วงเวลาที่ Graphic Designer อ่านหนังสือมากที่สุด คือ ช่วงกลางคืน – Graphic Designer อ่านหนังสือจากตัวเล่มมากกว่าอ่านในสื่อดิจิตอล – 44% ของ Graphic Designer ในชั้นเรียนนี้อ่านหนังสือมากกว่าดูทีวี – สถานที่ที่ชอบอ่านที่สุด คือ ที่บ้าน โดยเฉพาะบนเตียงนอน เห็นข้อมูลแล้วก็ตกใจจริงๆ นะครับว่า Graphic Designer ยังคงชอบอ่านหนังสืออยู่ เรื่องที่ไม่แปลกใจคือเรื่องสื่อที่อ่านครับ แน่นอน Graphic Designer คงทำงานคอมมาเยอะแล้วจึงขออ่านจากตัวเล่มหนังสือดีกว่าอ่านบนหน้าจอ ไว้ว่างๆ ผมจะลองทำแบบสอบถามคล้ายๆ แบบนี้แล้วส่งให้เพื่อนๆ ทำดีกว่า ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่าบรรณารักษ์จะมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เป็นหนอนหนังสือ ที่มาของภาพ Infographic จาก http://elisabethwdesign.blogspot.com/2011/05/infographic.html
งานสัมมนา “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน”
วันนี้ผมมีกิจกรรมดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันอีกแล้ว กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดประจำปีนี้ด้วย รายละเอียดเบื้องต้นของงานนี้ ชื่องานสัมมนาภาษาไทย? : ?การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน? ภายใต้งาน : ประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานสัปดาห์ห้องสมุด ครั้งที่ 34 วันและเวลาที่จัด : วันที่ 23 กรกฏาคม 2553 เวลา 07.30-16.45 น. สถานที่อบรม : ห้องประชุม สำนักหอสมุดแห่งชาติ การจัดงานสัปดาห์ห้องสมุดจะมีการจัดขึ้นทุกปีในเดือนสิงหาคม ซึ่งหากเพื่อนๆ จำได้ ปีที่แล้วจะมีธีมงานหลักว่า “การอ่านเพื่อพัฒนาตนและพัฒนาชาติ” ส่วนในปีนี้อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นนั่นก็คือธีมงานหลักของปีนี้นั่นเอง ธีมงานหลักของงานสัปดาห์ห้องสมุด “การสร้างความเข้มแข็งโดยพัฒนานิสัยรักการอ่าน” ในงานสัมมนาในครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิมากมายด้วย ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานสัมมนา เช่น – กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็ก – กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับวัยรุ่น – กลยุทธ์การสร้างนิสัยรักการอ่านสำหรับผู้ใหญ่ – การสร้างสาระอิเล็กทรอนิกส์ในห้องสมุดเพื่อส่งเสริมการอ่าน งานนี้ผมเชื่อว่าคนที่ได้เข้าร่วมจะได้รู้จักเทคนิคในการสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับคนในชุมชนได้แน่นอน ดังนั้นบรรณารักษ์จึงไม่ควรจะพลาดงานนี้นะครับ งานนี้มีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยครับ สำหรับสมาชิกสมาคมฯ ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 500 บาท? และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 700 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป ชำระเงินก่อนวันที่ 20/7/53 คนละ 600 บาท และถ้าชำระเงินหลังวันที่ 20/7/53 คนละ 800 บาท เอาเป็นว่าใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้ามาดูได้ที่ http://www.tla.or.th/pdf/libraryweek34.pdf สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ