ในช่วงนี้ได้ใช้บริการซื้อหนังสือจาก Amazon บ่อยขึ้น เนื่องจากหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ค่อนข้างหายากในท้องตลาด ล่าสุดผมสั่งหนังสือไปอีก 2 เล่ม ดังนี้ 1. What Every Library Director Should Know 2. The Public Library: A Photographic Essay เอาเป็นว่า วันนี้ผมขอเกริ่นถึงหนังสือเล่มแรกก่อนแล้วกัน นั่นคือ What Every Library Director Should Know หรือแปลตรงๆ ว่า “ทุกอย่างที่ผู้บริหารห้องสมุดควรรู้”
Tag: ผู้บริหาร
10 ขั้นตอนสู่การก้าวเป็นผู้นำของห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่
บทความนี้มาจากบทความ เรื่อง Leadership Qualities for Future Library Leaders : Carol’s 10 Steps to Being a Great Library Leader โดย คุณ Carol A. Brey-Casiano ซึ่งเป็น Director of Libraries ของ El Paso Public Library 10 ขั้นตอนสู่การก้าวเป็นผู้นำของห้องสมุดที่ยิ่งใหญ่ ขั้นที่ 1 หาที่ปรึกษาที่ชาญฉลาดและไว้ใจได้ หรือ ไม่ก็เป็นที่ปรึกษาที่ชาญฉลาดและไว้ใจได้ซะเองเลย ขั้นที่ 2 เรียนรู้วิธีการและการทำงานของผู้ตามคุณเป็นสิ่งแรก ขั้นที่ 3 เป็นคนที่จะทำให้วิสัยทัศน์ขององค์กรประสบผลสำเร็จ (นั่นคือคุณต้องรู้จักและเข้าใจวิสัยทัศน์ของห้องสมุดที่คุณดูแลเสียก่อน) ขั้นที่ 4 เป็นผู้ให้บริการที่ดี ขั้นที่ 5 ยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นให้ได้ ขั้นที่ 6 ดูแลทุกสิ่งอย่างด้วยตัวเอง ขั้นที่ 7 มองโลกในแง่ดี ขั้นที่ 8 พยามยามรักษาตำแหล่งและภาวะความเป็นผู้นำของคุณ ไม่ปัดความรับผิดชอบ ขั้นที่ 9 เรียนรู้และกระตุ้นให้ผู้ตามมีประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้น ขั้นที่ 10 อย่าทำตัวซีเรียสตลอดเวลา มีอารมณ์ขันได้บ้างแต่พองาม ขั้นตอนทั้ง 10 นี้จะช่วยพัฒนาทักษะและความสามารถของคุณให้กลายเป็นผู้นำในห้องสมุดได้ดี อยากให้ทุกท่านลองนำไปคิดและลองปฏิบัติกันดูนะครับ ข้อคิดดีๆ จากการอ่านหนังสือ “50 ก้าว สู่การเป็น ผู้นำ ที่ทุกคนยอมรับอย่างจริงใจ” เมื่อวันก่อนของผม คือ ก้าวแรก “ผู้นำ” มาก่อน “ตำแหน่ง” บางทีคนเราสามารถเป็นผู้นำได้โดยไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่สูงเสมอไปก็ตาม ขอเพียงแค่มีคนยอมรับ และคุณมีการเตรียมพร้อมตัวเองที่ดี สักวันหนึ่งคุณก็จะขึ้นไปอยู่ในตำแหน่งของผู้นำได้โดยคุณเองอาจไม่รู้ตัว…
คำคมจาก 3 ผู้นำด้านระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
วันนี้ผมขอนำเสนอบทความที่ผมเคยเขียนไปแล้ว ใน projectlib แต่พอย้อนกลับไปอ่านผมก็รู้สึกว่า คำคมต่างๆ เหล่านี้ยังคงอญุ่ในใจของใครหลายๆ คนอยู่ เลยเอามาให้อ่านอีกรอบครับ ที่มาของคำคมนี้ผมอ่านเจอจาก “Great quotes from Bill Gates, Steve Jobs and Linus Torvalds” หากคุณไม่รู้จักชื่อของบุคคลทั้งสามนี้ ผมว่าคุณคงจะตกยุคจากคอมพิวเตอร์ไปซะแล้ว เพราะว่าบุคคลทั้งสามเป็นบุคคลตัวแทนแห่งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System ? OS) Bill Gates ? Microsoft Steve Jobs ? Apple Linus Torvalds ? Linux เรื่องที่ผมนำมาเสนอ ก็คือการนำตัวอย่างประโยคสุดเด็ดของทั้งสามคนมาลงให้อ่านครับ เริ่มจาก ??????????????????????- ประโยคสุดเด็ด จาก? Bill Gates ? Microsoft – 1993 : The Internet? We are not interested in it. (ตอนนั้นคงไม่มีคนพูดเรื่องอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง) – 2001 : Microsoft has had clear competitors in the past. It?s a good thing we have museums to document that. (ทำห้องสมุดให้ด้วยนะ) – 2004 : Spam will be a thing…
ผู้บริหารห้องสมุดยุคใหม่ต้องทำอะไรบ้าง
เรื่องที่ผมจะนำมาลงให้อ่านในวันนี้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ผมจด Lecture มาตั้งแต่สมัยผมเรียน ป.ตรี แต่พอเอามาอ่านย้อนหลังแล้วรู้สึกว่ามีประโยชน์ต่อหลายๆ คน เลยเอามาให้อ่านกันดู (จริงๆ แล้ว ใน lecture ผมไม่ได้เขียนละเอียดหรอกนะครับ แต่ที่เอามาลงนี่คือการ rewrite ใหม่เท่านั้น) ?บทบาทและสมรรถภาพของผู้บริหารห้องสมุด? มีดังนี้ – Direction Setter ผู้บริหารห้องสมุด คือ ผู้กำหนดทิศทางในการบริหารงานห้องสมุด พร้อมใช้เทคนิค และเครื่องมือทางการบริหารนำมาปรับให้เข้ากับห้องสมุด เช่น TQM, BSC, KPI? – Leader catalyst ผู้บริหารห้องสมุด ต้องมีความสามารถในการกระตุ้นการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา และมีภาวะความเป็นผู้นำที่ดี – Planner ผู้บริหารห้องสมุด ต้องรู้จักวางแผนงาน นโยบาย แผนปฏิบัติงาน แผนกลยุทธ์ การจัดลำดับความสำคัญของงาน และการแบ่งงานที่ดี – Decision Maker ผู้บริหารห้องสมุดเป็นผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจ และเลือกวิธีในการปฏิบัติงาน ดังนั้นความเฉียบขาดจึงเป็นสิทธิที่พึงมีในตัวผู้บริหารด้วย – Organizer ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักองค์กรแบบภาพกว้างๆ และมีความสามารถในการจัดการองค์กร เลือกคนให้เข้ากับงาน (put the right man on the right job) – Change Management ผู้บริหารห้องสมุดต้องรู้จักบริหารการเปลี่ยนแปลง? งานบางงานอาจจะผิดแผนไปจากเดิมแต่ผู้บริหารก็ต้องคบคุมให้ได้ด้วย และผู้บริหารห้องสมุดต้องมีการปรับและประยุกต์งานของตนให้เข้ากับสังคม หรือองค์กรอื่นๆ ให้ได้ด้วยเช่นกัน – Coorinator ผู้บริหารห้องสมุดนอกจากจะเป็นผู้ที่อยู่ในระดับสูงขององค์กรแล้ว แต่สิ่งที่จะเป็นแรงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ก็คือการที่ผู้บริหารห้องสมุดมีส่วนร่วมในงานที่ผู้ใต้บังคับบัญชาดูแล เช่น การจัดกิจกรรมในห้องสมุดผู้บริหารห้องสมุดก็ควรเข้าร่วม (อาจจะไม่ถึงกับต้องทำกิจกรรม แต่ให้การสนับสนุน ให้คำแนะนำก็ได้เช่นกัน) – Communicator ผู้บริหารห้องสมุดต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี การสื่อสาร หรือการชี้แจงงานให้ชัดเจน ไม่สร้างความคุมเคลือให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสงสัย –…
เรื่องที่ควรและเรื่องที่ไม่ควรพูดกับเจ้านายของคุณ
วันนี้ไปคุยงานกับเพื่อนๆ ในวงการบรรณารักษ์หลายคนมา แต่ละคนก็พูดถึงงานตัวเองมากมาย และที่สำคัญคือเรื่องของผู้บริหารห้องสมุดหรือเจ้านายของทุกๆ คน ซึ่งทำให้ได้ข้อคิดต่างๆ มากมาย ผมเลยขอเอาเรื่องเก่ามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกสักครั้งนะครับ นั่นคือ “เรื่องที่ควรและเรื่องที่ไม่ควรพูดกับเจ้านายของคุณ” ซึ่งบทความนี้ผมได้แปลมาจากบทความสองเรื่องใน computerworld.com คือ – Five things you should never tell your boss – Five things you should always tell your boss เนื้อเรื่องในวันนี้เพื่อนๆ อาจจะบอกว่าดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์เลย แต่ผมอยากจะบอกว่าเรื่องที่นำมาลงในวันนี้จริงๆ แล้วใช้ได้ทุกอาชีพนั่นแหละครับ รวมถึงบรรณารักษ์ด้วยนะครับ ทำไมนะหรอ ก็เพราะว่า “บรรณารักษ์ก็สามารถนำไปปฏิบัติต่อผู้บริหารห้องสมุดได้เช่นกัน” เรื่องแบบไหนที่ไม่ควรพูดกับเจ้านาย Five things you should never tell your boss 1. All about the technology ? and nothing about the business. เรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ แต่เทคโนโลยีเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจขององค์กร – เรื่องเทคโนโลยีที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน ถ้าเราพูดไปมากๆ มันก็ไม่เกิดประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานหรอก เช่น บรรณารักษ์พูดเรื่องเทคโนโลยีทางอวกาศในห้องสมุด 2. There?s only one solution. มีวิธีแก้ปัญหาเพียงทางเดียว ไม่มีตัวเลือก ? ถ้าเรามีแนวทางการแก้ปัญหาเพียงแค่ข้อเดียว นั่นก็หมายความว่าคุณไม่มีทางเลือกให้เจ้านาย ซึ่งก็ดูเหมือนว่าเรามัดมือชกเจ้านาย 3. Bad opinions about your colleagues ความคิดเห็นแย่ๆ เกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน ? ความคิดเหล่านี้จะทำให้เห็นว่าเราทำงานกับคนอื่นไม่ได้…
ปัญหามากมายที่รอการแก้ไข จากห้องสมุดแห่งหนึ่ง
หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดหลายคน ก็รู้ว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งมีปัญหาที่ต้องแก้อีกมากมาย ซึ่งบางปัญหาก็เกิดจากผู้บริหาร หรือบางปัญหาก็เกิดจากผู้ใช้บริการ และบางปัญหาก็เกิดจากตัวบรรณารักษ์เอง วันนี้ผมมีกรณีตัวอย่างมานำเสนอ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับห้องสมุดแห่งนี้ให้เพื่อนๆ ช่วยวิเคราะห์นะครับ ปัญหาของห้องสมุดนี้ มีดังนี้ครับ 1. ชั้นหนังสือเต็มจนหนังสือไม่มีที่เก็บอีกแล้ว (พื้นที่มีเยอะแต่ชั้นหนังสือมีน้อย) บรรณารักษ์ทำเรื่องขออนุมัติในการจัดหาครุภัณฑ์ไป 1 ปีกว่าๆ แล้วยังไม่ได้ 2. สื่อประเภทซีดีมีมากมายในห้องสมุด แต่ไม่มีที่จัดเก็บ แม้แต่เครื่องเล่นซีดี คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีในห้องสมุด 3. ในห้องสมุดไม่มีคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น เวลาผู้ใช้ต้องการหาหนังสืออะไร ก็จะเดินมาถามบรรณารักษ์อย่างเดียว หรือไม่ก็ใช้ความเคยชินเดินหาตามชั้นเอาเอง 4. บุคลากรในห้องสมุดไม่เคยถูกส่งไปเข้าร่วมงานสัมมนา อบรม ประชุมวิชาการต่างๆ เลย จนบุคลากรบางส่วนต้องลางานเพื่อไปเข้าร่วมงานต่างๆ เอง 5. บุคลากรของห้องสมุด (บรรณารักษ์) มักจะถูกขอให้ไปช่วยงานอื่นๆ ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการเงิน ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา ฯลฯ 6. นักเรียนเอาโน้ตบุ๊คมาใช้ในห้องสมุดแต่ไม่สามารถต่อ internet ได้ เนื่องจาก wireless มีไว้ให้พนักงานในองค์กรเล่นได้อย่างเดียว 7. เวลาองค์กรจัดงานนิทรรศการ หรืองานกิจกรรมต่างๆ จะมายืมครุภัณฑ์จากห้องสมุดเป็นหลัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ทำให้ห้องสมุดไม่มีที่นั่งเพื่อให้บริการผู้ใช้ ฟังปัญหาของห้องสมุดนี้แล้วก็แอบเหนื่อยใจแทนนะครับ แต่ผมก็ขอนำเสนอวิธีใการจัดการกับเรื่องเหล่านี้นะครับ 1. ทำงานเท่าที่หน้าที่ของตนรับผิดชอบ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น เราจะฝืนทำมากกว่าที่เป็นอยู่แล้วเดือดร้อนถึงเราไม่ได้ แต่ขอให้ดูว่าผู้ใช้ต้องไม่เดือดร้อนด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ถึงไม่มีคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้สืบค้น แต่เราก็สามารถที่จะค้นให้ผู้ใช้ได้มิใช่หรือครับ เท่านี้นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้แล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบรรณารักษ์และผู้ใช้อีกด้วย 2. บางอย่างก็อย่าคาดหวังหากหวังมาก เช่น คาดว่าจะได้ชั้นหนังสือเดือนหน้า เราก็จะรอคอยในสิ่งที่จะทำให้ผิดหวังได้ ให้คิดซะว่าถ้ามันมีก็ดีนะ แต่ถ้าขาดมันก็ไม่เห็นเป็นไรเลย เท่านี้ก็สบายใจทั้งเรา ทั้งผู้บริหารแล้ว 3. บางอย่างเราก็คอยติดตามสอบถาม/ทวงถามบ้าง เช่น หากชั้นหนังสือล้นออกมาเยอะมากแล้วเราก็ควรเริ่มกระตุ้นผู้บริหารได้แล้ว ไม่ใช่ปล่อยให้มันล้นต่อไปเรื่อยๆ แล้วไปคาดหวังว่าสักวันผู้บริหารจะเห็นอันนั้นมันคงเป็นไปไม่ได้กระมั้ง 4. ปล่อยวางบ้างเถอะ บางครั้งการที่องค์กรขาดอุปกรณ์บางอย่างแล้วมาขอยืมไปจากห้องสมุดเช่น…
ห้องสมุดแห่งนี้อเนกประสงค์เกินไปหรือปล่าว
เพื่อนๆ หลายคนชอบบอกผมว่า อยากให้ห้องสมุดบริการทุกๆ อย่าง หรือ ประมาณว่าอเนกประสงค์เลยก็ดี วันนี้ผมก็เลยขอเอาประเด็นห้องสมุดอเนกประสงค์ มาเล่าให้ฟังอีกที (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงๆ นะครับ) สมมตินะครับ…สมมติ หากว่าห้องสมุดของเพื่อนๆ อเนกประสงค์แบบนี้ เพื่อนๆ ว่ามันดีหรือปล่าว 1. ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นห้องเรียนได้ อาจารย์สามารถขอใช้วัสดุจากจากห้องสมุดได้ เช่น หนังสือพิมพ์เก่าๆ วารสารเก่าๆ และก็ตัดกันอย่างสนุกสนานในห้องสมุด 2. ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บรวบรวมข้อสอบได้ โดยที่บรรณารักษ์เป็นผู้ตรวจสอบและเก็บให้ พออาจารย์หาข้อสอบเก่าๆ ไม่เจอก็มาโทษบรรณารักษ์และห้องสมุด 3. ห้องสมุดทำหน้าที่จัดกรรมการคุมสอบได้อีก อาจารย์ที่คุมสอบต้องมาลงชื่อที่ห้องสมุดในช่วงสอบ ส่วนอาจารย์สำรองก็ต้องมานั่งรอในห้องสมุด สรุปว่าห้องสมุดทำหน้าที่ได้เหมือนหน่วยคุมสอบ 4. เวลาจัดกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร สามารถมายืมโต๊ะ เก้าอี้ที่ห้องสมุดได้ ส่วนผู้ที่ใช้ห้องสมุดคนอื่นก็นั่งพื้น หรือ ยืนอ่านแล้วกันนะครับ 5. เวลาปิดเทอมห้องสมุดต้องเตรียมสถานที่ไว้เพื่อใช้ในงานอื่นโดย ต้องเก็บหนังสือออกจากชั้นและทำการจัดหนังสือใหม่ทุกครั้งเมื่อเปิดเทอม 6. เวลานักเรียนจะจบก็จะมาถ่ายรูปที่ห้องสมุดโดยใช้ห้องอ้างอิงเพื่อการถ่ายรูป ส่วนนักเรียนที่รอถ่ายรูปก็จะเดินไปเดินมาและคิดว่าห้องสมุดเป็นตลาดซะก็สบายใจ 7. ใช้เป็นที่ลงทะเบียนของนักเรียนทุกๆ เทอม 8. ใช้เป็นสถานที่สัมภาษณ์งานของฝ่ายบุคคลด้วย โดยใช้ห้องโสตฯในการสัมภาษณ์ 9. ห้องนอน ห้องพักผ่อน อยู่ที่ห้องสมุดทั้งนั้นเลย 10. และอื่นๆ อีก ปล. บรรณารักษ์ที่ทำงานที่นี่ ไม่ได้อยากให้ห้องสมุดเป็นแบบนี้ แต่มันเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เอง เนื่องจากนโยบายจากผู้บริหารได้มีคำสั่งออกมาเพื่อใช้ห้องสมุดในการดังกล่าวข้างต้น เพื่อนๆ อยากให้ห้องสมุดแบบนี้แก้ไขอย่างไร เพื่อนๆ อยากให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ เป็นแบบนี้หรือปล่าว สรุปแล้วที่เล่ามา เพื่อนๆ ว่าห้องสมุดอเนกประสงค์อย่างนี้ดีมั้ยครับ
บรรณารักษ์และผู้บริหารห้องสมุดต้องพูดคุยกันบ้าง…
การพัฒนาห้องสมุดจะเป็นไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญ นั่นก็คือ ผู้บริหารห้องสมุดหรือผู้บริหารองค์กร นั่นเอง คุณเห็นด้วยกับประโยคที่ผมกำลังจะกล่าวหรือไม่ “ตราบใดที่บรรณารักษ์เสนอโครงการมากมายแต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ ก็มักจะทำให้ห้องสมุดถูกปล่อยปล่ะละเลยอยู่เสมอๆ ไม่ได้รับการพัฒนา” เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าความสำคัญของห้องสมุดในแง่ความคิดระหว่างบรรณารักษ์ กับ ผู้บริหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาห้องสมุด ลองคิดดูนะครับว่า ถ้าหากสอดคล้องกัน คือ ผู้บริหารกับบรรณารักษ์เข้าใจในกระบวนงานของห้องสมุดเหมือนกัน และทิศทางเดียวกัน ผมคิดว่าห้องสมุดนั้นคงจะทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะว่าผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานต่างเข้าใจในกระบวนงาน และกระบวนการทำงานนั่นเอง แต่ถ้าสมมุติว่า หากเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องของการทำงานหรือการให้ความสำคัญหล่ะ มันก็อาจจะส่งผลในทางตรงข้ามได้เช่นกัน ตัวอย่างเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้บริหารก็มักจะถามว่าจำเป็นด้วยหรอ บรรณารักษ์ก็จะตอบว่าจำเป็น ผู้บริหารก็บอกว่าพัฒนาเองไม่ได้หรอ ทำไมต้องซื้อราคาแพงๆ บรรณารักษ์ก็บอกว่าพัฒนาเองได้ แต่คงไม่มีความเสถียรพอหรือใช้ไปอาจจะไม่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ ผู้บริหารก็บอกต่อว่างั้นก็ให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนออกแบบสิ โปรแกรมเมอร์ก็ออกแบบมาให้ บรรณารักษ์ใช้ไม่ได้เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ก็ไม่เข้าใจกระบวนงานของ บรรณารักษ์ ที่แน่ๆ โปรแกรมเมอร์คงไม่รู้จัก MARC Format พอออกแบบเสร็จก็เลยเกิดปัญหาตามมาต่างๆ แทนที่จะได้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็เลย ต้องรอต่อไปครับ?..นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้คงแก้ได้ไม่ยาก หากผู้บริหารและบรรณารักษ์ปรับความคิดให้เข้าใจซึ่งกันและกัน เนื่องจากห้อง สมุดก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกๆ คน ไม่มีใครที่สำคัญกว่าผู้ใช้บริการของพวกเราถูกมั้ยครับ ทีนี้เลยอยากทราบว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการของเราเคยเจอปัญหานี้บ้างมั้ย มีอะไรแนะนำกันบ้างนะครับ เพื่อวงการบรรณารักษ์และการพัฒนาห้องสมุดอย่างยั้งยืน? ปล. ผมขอส่งท้ายด้วยบทความเรื่อง การจัดตั้งห้องสมุดอุดมศึกษา โดย Chelie M. harn Cooper ลองอ่านดูนะครับเป็นบทความของเว็บวิชาการ 2 หน้า ที่พูดถึงเรื่อง การการดำเนินงานห้องสมุดในระดับสากล และ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด