คู่มือเพื่อเตรียมสอบบรรณารักษ์อาชีพ

วันนี้ผมขอแนะนำหนังสือคู่มือเตรียมสอบบรรณารักษ์แล้วกันนะครับ
ผมเชื่อว่ามีหลายคนกำลังตามหาหนังสือเล่มนี้อยู่เหมือนกัน

librarianbook Read more

แนะนำแหล่งสารสนเทศออนไลน์

แหล่งสารสนเทศออนไลน์ที่ให้บริการสารสนเทศฟรีมีมากมาย
วันนี้ผมจะนำมาแนะนำให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
เพื่อว่า เพื่อนๆ จะสามารถนำไปใช้ในเรื่องบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าได้

onlineinformation

แหล่งสารสนเทศออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตมีหลายรูปแบบ เช่น
– สารานุกรมออนไลน์
– ฐานข้อมูลออนไลน์
– เว็บไซต์บริการตอบคำถาม (FAQ)
– วารสารวิชาการออนไลน์
– สารสนเทศชี้แหล่ง
– เว็บไซต์สารสนเทศเฉพาะด้านออนไลน์
– เว็บไซต์องค์กรวิชาชีพ

และอื่นๆ อีกมากมายแล้วแต่องค์ความรู้

ลองไปดูกันนะครับ ว่าผมแนะนำเว็บไหนบ้าง

1 Encyclopedia Britannica – http://www.britannica.com

2 Encarta – http://www.encarta.msn.com

3 First Monday – http://firstmonday.org

4 IBM Technical Journals – http://www.almaden.ibm.com/journal

5 Chicago Journal of Theoretical Computer Science – http://www.cs.uchicago.edu/research/publications/cjtcs

6 FreePatentsOnline.com – http://www.freepatentsonline.com

7 HighWire — Free Online Full-text Articles – http://highwire.stanford.edu/lists/freeart.dtl

8 BUBL Information Service – http://bubl.ac.uk

9 ERIC – Education Resources Information Center – http://www.eric.ed.gov

10 W3Schools – http://www.w3schools.com

11 NECTEC Courseware – http://www.nectec.or.th/courseware

12 LearnSquare Thailand Opensource e-Learning Management System – http://www.learnsquare.com/index.php?mod=Message&op=aboutus

13 IEEE / IEE Electronic Library (IEL) – http://ieeexplore.ieee.org/Xplore/guesthome.jsp

14 Blackwell – http://www.blackwell-synergy.com/servlet/useragent?func=showHome

15 Institute of Physics – http://www.iop.org

16 Aardvark – http://www.aardvarknet.info/user/aardvarkwelcome

17 Agricola – http://www.nal.usda.gov

18 Arxiv.org E-Print Archive – http://arxiv.org

19 DOAJ= Directory of Open Access Journals – http://www.doaj.org

20 Issues in science & Technology Librarianship – http://www.library.ucsb.edu/istl/?

21 iToc – http://dbonline.igroupnet.com/itoc

22 Librarian’s Index – http://lii.org/search

23 National Human Genome Research Institute – http://www.genome.gov

24 National Science Foundation – http://www.nsf.gov

25 scirus – http://www.scirus.com/srsapp

26 Thai Patents – http://www.ipic.moc.go.th

27 Computers in Libraries – http://www.infotoday.com/cilmag/default.shtml

28 D-Lib Magazine – http://www.dlib.org

29 ฐานข้อมูล NetLibrary – http://www.netlibrary.com

30 Cambridge Journals Online (CJO) – http://journals.cambridge.org/action/login

31 Energy Citations Database (ECD) – http://www.osti.gov/energycitations

32 FreeFullText.com – http://www.freefulltext.com

33 HIV/AIDS Information – http://sis.nlm.nih.gov/hiv.html

34 POPLINE – http://db.jhuccp.org/ics-wpd/popweb

35 J-STAGE? – http://www.jstage.jst.go.jp/browse

36 NASA Astrophysics Data System (ADS) – http://adswww.harvard.edu

37 Scitation – http://scitation.aip.org

38 Windows Live Academic – http://academic.live.com

39 Answers.com – http://www.answers.com

40 Infoplease – http://www.infoplease.com

41 Database Dev Zone – http://www.devx.com/dbzone

42 Religion Online – http://www.religion-online.org

43 UNESCO Documentation Resources – http://unesdoc.unesco.org/ulis/index.html

44 Free online periodicals in social and human sciences – Full text specialized articles? – http://www.unesco.org/shs/shsdc/journals/shsjournals.html

45 EContentMag.com – http://www.ecmag.net

46 International Monetary Fund (IMF) Publications – http://www.imf.org/external/pubind.htm

47 Documents & Reports – All Documents? World Bank – http://www-wds.worldbank.org

48 world bank e-Library – http://www.worldbank.catchword.org

เป็นยังไงกันบ้างครับกับรายชื่อเว็บไซต์ทั้ง 48 รายชื่อ
ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ จะนำเว็บไซต์เหล่านี้ไปใช้ในการทำงานได้นะครับ

ถ้ามีเว็บไหนที่น่าสนใจเพิ่มเติมผมจะนำมาเพิ่มให้วันหลังนะครับ
และถ้าเพื่อนๆ อยากจะแนะนำก็สามารถโพสลงในคอมเม้นต์ด้านล่างนี้ได้นะครับ

บรรณารักษ์ยุคใหม่สไตล์ Cybrarian

วันนี้ผมขอแนะนำคำศัพท์ใหม่ในวงการบรรณารักษ์หน่อยนะครับ
จริงๆ จะบอกว่าใหม่ก็อาจจะไม่ถูกซะทีเดียว คำศัพท์นี้เพื่อนๆ คงอาจจะคุ้นๆ บ้างนั่นแหละ

cybrarian

คำศัพท์ที่จะแนะนำวันนี้ คือ “Cybrarian”

ที่มาของ Cybrarian = Cyber + Librarian

คำว่า Cyber เป็นคำที่ใช้แสดงความเป็นโลกยุคใหม่ โลกสารสนเทศ โลกคอมพิวเตอร์
คำว่า Librarian ตรงตัวเลยครับ คือ บรรณารักษ์

ดังนั้นการนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “Cybrarian” ย่อมมีความหมายว่า
– บรรณารักษ์แห่งโลกคอมพิวเตอร์
– บรรณารักษ์แห่งโลกดิจิตอล
– บรรณารักษ์ยุคใหม่
– บรรณารักษ์แห่งโลกออนไลน์

ซึ่งอยากได้ความหมายแบบไหนเพื่อนๆ ก็นิยามกันได้เลยนะครับ

จริงๆ แล้วนอกจาก Cybrarian
เพื่อนๆ อาจะได้ยินคำว่า Cybrary อีกก็ได้ นั่นคือ Cyber + Library นั่นเอง
หรือที่หลายๆ คนจินตนาการว่า เป็นห้องสมุดแห่งโลกคอมพิวเตอร์ หรือ ห้องสมุดแห่งโลกออนไลน์

แล้ว Cybrarian กับ Librarian มีอะไรที่ต่างกันบ้างหรือปล่าว
หลังจากที่ผมนั่งคิด และพิจารณาถึงความหมายต่างๆ เหล่านี้แล้ว
ผมว่าลักษณะการทำงาน และความรู้ต่างๆ Cybrarian คงมีเหมือนกับ Librarian นั่นแหละ
เพียงแต่จะเพิ่มในเรื่องของความเป็นโลกสมัยใหม่ลงไป เช่น
– ความรู้ด้านไอที หรือความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
– ความรู้ด้านการจัดการและบริหารงานสมัยใหม่
– มีทักษะและเข้าใจหลักในการสืบค้นข้อมูลออนไลน์
– รู้จักสื่อในยุคใหม่ๆ (New Media)
– รู้จักและเข้าใจการใช้งานของเว็บไซต์ 2.0

เป็นไงกันบ้างครับ ทักษะต่างๆ ที่เพิ่มเติมขึ้นมา
หวังว่าคงไม่ยากเกินกำลังของบรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างพวกเรานะครับ
ค่อยๆ เรียนรู้ ค่อยๆ ฝึกกันไป สักวันพวกเราก็จะกลายเป็น Cybrarian อย่างเต็มตัว

บรรณารักษ์สุดเซ็กซี่ก็มีนะครับ

หลายคนบอกผมว่า “บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้หญิงเรียบร้อยๆ ใส่แว่น แถมยังดุอีกต่างหาก”
วันนี้ผมจะขอปรับทัศนคติเหล่านี้ เพราะเรื่องดังกล่าวมันก็ไม่จริงเสมอหรอกนะครับ

sexy-librarian

บางครั้งการมองภาพบรรณารักษ์เรียบร้อยมากๆ
ก็อาจจะทำให้ภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ดูเป็นเช่นนั้น

วันนี้ผมเลยขอนำภาพบรรณารักษ์ในแนวสวยๆ งามๆ มาให้เพื่อนๆ ดูกันบ้าง
เผื่อว่าอาจจะลบภาพลักษณ์เดิมๆ ของบรรณารักษ์ลงได้บ้าง

ไปดูรูปกันก่อนเลยดีกว่า

sexy-librarian-1 sexy-librarian-2

sexy-librarian-3 sexy-librarian-4 sexy-librarian-5

เป็นไงบ้างครับรูปบรรณารักษ์สวยๆ งามๆ แบบนี้
พอจะลบภาพลักษณ์เดิมๆ ของบรรณารักษ์ได้หรือปล่าวครับ

รูปเหล่านี้ผมสืบค้นจากเว็บไซต์แชร์ไฟล์รูปอย่าง Flickr ครับ
ผมใช้คำสืบค้น ว่า “Sexy Librarian
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ออกมา ปรากฎว่าพบรูป “Sexy Librarian” จำนวน 676 ภาพ
ยังไงก็ลองเข้าไปดูกันนะครับที่ http://flickr.com/search/?q=sexy+librarian&m=text

หมายเหตุขอการเขียนบล็อกเรื่องนี้ ผมคงต้องประกาศเจตนารมณ์ไว้ก่อนนะครับว่า
– สิ่งที่นำมาให้ดูเพื่อให้เกิดความบันเทิง (ดูแบบว่าขำขำนะ)
– สิ่งที่นำมาให้ดูมิได้เป็นการยั่วยุกิเลสของใครหลายๆ คน
– สิ่งที่นำมาให้ดูเป็นเพียงภาพซึ่งจริง หรือไม่จริงคงต้องไปพิสูจน์กันเอง
– สิ่งที่นำมาให้ดูไม่ได้ต้องการสร้างความแตกแยกในหมู่บรรณารักษ์
– สิ่งที่นำมาให้ดูเพียงแค่ต้องการ ลบภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ลงบ้าง

ก็จากกันวันนี้ ผมก็ขอบอกกับเพื่อนๆ หลายคนว่า
“บรรณารักษ์แอบเซ็กซี่” ก็พอจะมีให้เห็นบ้างนะครับ อิอิ

เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) คือใคร

ช่วงนี้ในบล็อกผมมีคนค้นคำๆ นึงเยอะมากๆ
คำนั้นคือ คำว่า “Melvil Dewey คือใคร”
จึงเป็นเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมต้องเขียนบล็อกในวันนี้

melvil

เมลวิล ดิวอี้ เป็นบุคคลที่สำคัญต่อวงการห้องสมุด และบรรณารักษ์
วันนี้ผมจะขอเล่าประวัติ และผลงานของบุคคลสำคัญท่านนี้

ประวัติส่วนตัวของ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)

ชื่อเต็ม : Meville Louis Kossuth Deway
เกิดวันที่ : 10 ธันวาคม ค.ศ.1851
สถานที่เกิด : Jefferson County, New York

ประวัติการทำงานของ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
1874 –> ผู้ช่วยบรรณารักษ์ที่ Amherst College (ปริญญาตรี)
1883-1888 –> หัวหน้าบรรณารักษ์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
1888-1906 –> ผู้อำนวยการห้องสมุดมลรัฐนิวยอร์ค
1890-1892 –> ประธานสมาคมห้องสมุดรัฐนิวยอร์ค (NYLA)
1888-1900 –> ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ค

ผลงานสำคัญของเมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
– ผู้คิดค้นระบบการจัดหมวดหมู่แบบทศนิยม หรือ ระบบการจัดหมวดหมู่ดิวอี้
– ผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกัน (ALA : American Library Association)
– ผู้จัดตั้งโรงเรียนบรรณารักษศาสตร์แห่งแรก (มหาวิทยาลัยโคลัมเบียนิวยอร์ก)
– ออกวารสาร Library Journal ซึ่งเป็นวารสารทางบรรณารักษศาสตร์ฉบับแรก
– ผู้จัดตั้งสมาคมห้องสมุดแห่งนิวยอร์ค (New York Library Association)
และกิจกรรมอื่นๆ ของวิชาชีพบรรณศาสตร์

เป็นยังไงกันบ้างครับผลงานแค่นี้บ่งบอกความยิ่งใหญ่ของบุคคลท่านนี้หรือเปล่า
ผมเองพอได้เขียนบทความเรื่องนี้ ทำให้ผมได้รู้จักผลงานในวงการบรรณารักษ์ของท่านมากขึ้น
นับว่าเป็นบุคคลที่ผมต้องขอคารวะแด่บุคคลท่านนี้เลย

ก่อนจากกันวันนี้ หวังว่าคงตอบคำถามเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนนะครับ
“Melvil Dewey คือใคร”
“Melvil Dewey คือ บุคคลที่วงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ถือว่าเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ครับ”

รวมเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
– American Library Association -? http://www.ala.org
– Library Journa – http://www.libraryjournal.com
– New York Library Association – http://www.nyla.org

รวมเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)
http://guru.sanook.com/pedia/topic/เมลวิล_ดิวอี้
http://www.w-nikro.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=381255&Ntype=5
http://en.wikipedia.org/wiki/Melvil_Dewey

ฝึกงาน 4 : ฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิต

วันนี้ผมขอแนะนำการฝึกงานในอีกรูปแบบหนึ่ง
นั่นคือ การฝึกงานเพื่อเรียนรู้การทำงานองค์กร

training-library4

จริงๆ แล้วการฝึกงานชนิดนี้ ผมคิดว่าก็สำคัญไม่แพ้การฝึกงานแบบอื่นๆ เลยนะครับ
เนื่องจากเป็นการฝึกงานเพื่อเรียนรู้การทำงานในองค์กร การสร้างมนุษยสัมพันธ์ การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ
การฝึกงานในลักษณะนี้ไม่ต้องอาศัยเนื้อหาที่เรียนมากนัก หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่ได้ใช้ความรู้ในตำรา

สรุปใจความสำคัญของการฝึกงานในลักษณะนี้คือ “ฝึกการใช้ชีวิตร่วมกับคนอื่นในองค์กร”

พอกล่าวแบบนี้ เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเกิดคำถามว่า แล้วฝึกแบบนี้เราจะได้อะไร

งั้นผมขอยกตัวอย่างสักกรณีให้เพื่อนๆ คิดแล้วกัน (บางคนอาจจะเจอกับตัวก็ได้)

“มีนักศึกษาจบใหม่มา เรียนเก่งมาก ฝึกงานในห้องสมุดก็ทำงานได้ดีมาก
แต่วันที่เขาจบออกมาแล้ว มีบริษัทแห่งหนึ่งรับเด็กคนนี้ไปทำงาน
ปรากฎว่า เด็กคนนี้ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้
เช่น ชอบทำงานคนเดียว ตัดสินใจคนเดียว ไม่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ฯลฯ
ทำให้เพื่อนร่วมงานเกิดความอึดอัด และงานที่ได้รับมอบหมายก็ทำได้ไม่เต็มที่”

เป็นไงบ้างหล่ะครับ พอเห็นภาพ หรือ เคยเจอบ้างมั้ย

ตอนนี้เท่าที่รู้มา หลายมหาวิทยาลัย ก็มีนโยบายให้เด็กไปฝึกงานเพื่อเรียนรู้งานเหมือนกัน
เป็นการฝึกงานตามความต้องการของนักศึกษา ไม่จำเป็นต้องฝึกในสายที่เรียน
แบบนี้แหละครับที่ผมจะขอแนะนำว่า “ฝึกงานเพื่อเรียนรู้ชีวิตการทำงาน”

การฝึกงานในลักษณะนี้ ปกติเขาฝึกเพื่ออะไร
– กระบวนการในการติดต่อสื่อสาร
– การทำงานร่วมกันเป็นทีม
– การเสนอความคิดเห็น
– การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า
– รู้จักการทำงานในองค์กรทั่วไป
– ฝึกระเบียบวินัยในการทำงาน
– การจัดการตารางเวลาของตนเอง

และอื่นๆ แล้วแต่เพื่อนๆ จะคิดได้อีก

โดยสรุปแล้ว การฝึกงานแบบนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องฝึกงานในองค์กรที่เกี่ยวกับวิชาเรียน
เช่น เด็กเอกบรรณารักษ์ไปฝึกงานการโรงแรมก็ได้ หรือ เด็กวิศวะแต่ไปฝึกบริษัทที่เกี่ยวกับสถาปัตย์ ก็ได้
เพราะว่าเราไม่ได้เอาวิชาที่เรียนไปใช้ในการฝึก แต่เราเอาชีวิตไปฝึกเพื่อสร้างประสบการณ์มากกว่า

สถานที่ที่ผมแนะนำ คือ :-
1. บริษัทเอกชนใหญ่ๆ เช่น เครือซีพี, ปูนซีเมนต์ไทย,?
2. บริษัทที่มีผู้บริหารเป็นคนต่างชาติ
3. สำนักงานใหญ่ขององค์กร เช่น ธนาคารกสิกรสาขาใหญ่,?

การฝึกงานในสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ อาจจะไม่ใช่สายงานของเรา
แต่เราก็สามารถเรียนรู้หลักการ และนำสิ่งที่ได้จากการฝึกงานไปประยุกต์ใช้
มีคำกล่าวว่า ?ถ้าเราทำตัวเป็นน้ำ เราก็จะเข้ากับภาชนะได้ทุกรูปแบบ?
หรือ ?จงทำตัวเป็นแก้วน้ำ คอยรองรับน้ำ และอย่าทำให้แก้วของเราเต็ม?
ผมเชื่อว่านอกจากความรู้ในวิชาชีพแล้ว ประสบการณ์ในการใช้ชีวิตก็เป็นอีกตัวแปรของความสำเร็จ เช่นกัน

ฝึกงาน 3 : ไม่อยากฝึกงานในห้องสมุด

สองตอนที่แล้วผมเน้นการฝึกงานในห้องสมุด และการฝึกเป็นบรรณารักษ์
ตอนนี้ผมจะแนะนำสถานที่ หรือ หน่วยงานด้านสารสนเทศที่ไม่มีคำว่า ?ห้องสมุด? บ้าง
เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับเด็กเอกบรรณฯ ที่อยากได้ประสบการณ์ใหม่ๆ …..

training-library3

ก่อนอื่นผมคงต้องเกริ่นสักนิดก่อนนะครับว่า
คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ พอจบมาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานในห้องสมุดหรอกนะครับ
คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ ก็ไม่ได้เรียนวิชาทางห้องสมุดอย่างเดียว
คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ มีงานมากมายให้ทำมากกว่าการเป็นบรรณารักษ์

จากความเข้าใจที่ผิดๆ ของคนอื่นๆ ที่บอกว่า
เรียนบรรณารักษ์จบมาก็ต้องทำงานในห้องสมุด ประโยคนี้ไม่จริงเลยนะครับ

คนที่เรียนเอกบรรณารักษ์ เวลาเรียนวิชาบางส่วนก็เป็นเรื่องของห้องสมุดจริง
แต่อีกส่วนหนึ่งคือเรื่องของหลักการในการดูแลสารสนเทศ ค้นหาสารสนเทศ จัดเก็บสารสนเทศ ด้วย
ซึ่งแนวคิดด้านการจัดการสารสนเทศ การสืบค้น การจัดเก็บ
นอกจากห้องสมุดแล้ว ยังมีอีกหลายสถานที่ หลายหน่วยงานที่ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน

ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้น ทำใหู้้รู้ว่าการฝึกงานไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องสมุดอย่างเดียว
นักศึกษาบรรณารักษ์สามารถที่จะเลือกฝึกในหน่วยงานที่มีการใช้สารสนเทศในองค์กรก็ได้เช่นกัน

ซึ่งในลักษณะการทำงานในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ก็มีการใช้สารสนเทศที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน
องค์กรเหล่านี้ก็ต้องการคนที่รู้จักการจัดการสารสนเทศมากขึ้น (อันเป็นที่มาของหลักสูตรการจัดการสารสนเทศ)
ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งที่องค์กรเหล่านี้ต้องการ ก็คือ คนที่เรียนด้านสารสนเทศ ซึ่งก็ไม่พ้นบรรณารักษ์นั่นแหละครับ

การฝึกงานในลักษณะนี้เพื่อนๆ อาจจะไม่ต้องใช้ความรู้ทางด้านบรรณารักษ์อย่างเต็มขั้น
แต่สิ่งที่ต้องใช้แน่ๆ คือ ความรู้และทักษะการประยุกต์ใช้ในสิ่งที่เรียนมามากกว่า
การแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ด้วยเช่นกัน
และเหนือไปกว่านั้น คือ การฝึกตนเองในเรื่องของ Service mind
เนื่องจากงานทางด้านสารสนเทศมักเกี่ยวกับงานบริการอยู่เสมอๆ ดังนั้นการรู้จักการบริการด้วยใจจะเป็นสิ่งดี

สถานที่ที่ผมแนะนำ คือ :-
1. สำนักพิมพ์ต่างๆ เช่น se-ed, amarin, ?
2. เว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูล เช่น sanook, kapook, mthai, ?
3. สื่อมวลชนแขนงต่างๆ เช่น อสมท, สำนักข่าว, ?
4. บริษัทที่ผลิตฐานข้อมูล เช่น Infoquest

การฝึกงานในลักษณะนี้จะเป็นการเปิดมุมมองให้เพื่อนๆ เอกบรรณารักษ์มากกว่าฝึกในห้องสมุด
ดังนั้นถ้าอาจารย์ที่ปรึกษาไม่จำกัดว่า จะต้องฝึกห้องสมุดด้านนอก ผมก็ขอแนะนำให้หาหน่วยงานในลักษณะนี้แทน
ซึ่งจะทำให้เพื่อนๆ มองอนาคตในการทำงานได้ด้วย ยกเว้นแต่อยากเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดแบบจริงๆ

ฝึกงาน 2 : ฝึกงานห้องสมุดเฉพาะ

จากเมื่อวานที่ผมแนะนำให้ไปฝึกงานห้องสมุดทั่วไป
วันนี้ผมขอแนะนำการฝึกงานในห้องสมุดอีกรูปแบบหนึ่ง นั่นคือ ห้องสมุดเฉพาะ

training-library2

กล่าวคือ นอกจากน้องๆ จะได้ฝึกในวิชาทางด้านบรรณารักษ์แล้ว
น้องๆ จะได้รู้จักการใช้ศาสตร์ความรู้เฉพาะทางในห้องสมุดนั้นๆ ด้วย

จากประสบการณ์ส่วนตัวของผม การฝึกงานในห้องสมุดแบบปกติ
จะทำให้ผมเข้าใจการทำงานในลักษณะของห้องสมุดทั่วไป
แต่ผมเริ่มรู้สึกว่าอยากได้อะไรที่มากกว่าการฝึกงานในห้องสมุดทั่วไปอีก

คำแนะนำของอาจารย์หลายๆ คนจึงบอกกับผมว่า
ลองไปดูพวกห้องสมุดเฉพาะทางดีมั้ย เผื่อว่าจะได้พบกับประสบการณ์ใหม่ๆ อีกรูปแบบนึง

นั่นจึงเป็นที่มาของการแนะนำการฝึกงานในสถานที่แบบนี้

สถานที่สำหรับฝึกงานที่ผมจะแนะนำ
คือ :-
1. ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
2. ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ
3. ห้องสมุดมารวย
4. ห้องสมุดเพื่อการออกแบบ (TCDC)
5. ห้องสมุดแฟชั่น


ความรู้ทางด้านห้องสมุด + ความรู้เฉพาะทาง
เช่น
ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่น
ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
ห้องสมุดมารวย = ความรู้ด้านห้องสมุด + ความรู้ด้านการเงิน และการลงทุน

การฝึกงานในรูปแบบนี้ เหมาะสำคัญคนที่ชอบงานห้องสมุดในรูปแบบของการประยุกต์ใช้
เพราะการทำงานห้องสมุดเฉพาะเราจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ในความรู้เฉพาะด้านด้วย
และก็ต้องให้บริการผู้ใช้ในรูปแบบของผู้เชียวชาญองค์ความรู้ด้านนั้นๆ ด้วย

เอาเป็นว่าการฝึกงานในรูปแบบนี้ผมก็แนะนำให้ไปฝึกงานเช่นกัน

ฝึกงาน 1 : ฝึกงานในห้องสมุด

เมื่อวานผมได้แนะนำการฝึกงานแบบกว้างๆ ของนักศึกษาเอกบรรณฯ ไปแล้วนะครับ
วันนี้ผมจะขอเสนอเรื่องการฝึกงานแบบตรงสายงาน (ฝึกงานในห้องสมุดเต็มรูปแบบ)

training-library1

จากที่ผมเคยบอกเกี่ยวกับการฝึกงานในประเภทนี้ ว่า:-
1. เด็กเอกบรรณฯ ทุกคน จะต้องเคยผ่านการฝึกงานที่ห้องสมุดสถาบันการศึกษาของตัวเอง
2. เป็นการฝึกงานในรูปแบบที่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการจะเป็นบรรณารักษ์แบบจริงๆ
3. เป็นการฝึกงานในรูปแบบที่เหมาะสำหรับคนที่อาจเป็นบรรณารักษ์ในวงการราชการ หรือสถานศึกษา
4. เป็นการฝึกงานที่เน้นการฝึกงานทุกส่วนในห้องสมุด

นี่ก็เป็นเพียงคุณสมบัติแบบคร่าวๆ ของการฝึกงานประเภทนี้

สถานที่สำหรับฝึกงานที่ผมจะแนะนำ คือ :-
1. ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (เลือกได้มากมายในประเทศ)
2. ห้องสมุดของหน่วยงานราชการ
3. ห้องสมุดประชาชน
4. หอสมุดแห่งชาติ

สิ่งที่น้องๆ จะได้ฝึกจากสถานที่ดังกล่าวนี้
เช่น
– งานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ
– งานทำตัวเล่มทรัพยากรสารสนเทศ เช่น ประทับตรา, ติดสัน, ห่อปก ฯลฯ
– งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
– งานจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ
– งานบริการต่างๆ ในห้องสมุด เช่น ยืมคืน สมัครสมาชิก
– งานอื่นๆ ที่มีในห้องสมุด

โดยรวมการฝึกงานในลักษณะนี้ น้องๆ จะได้รับการฝึกงานในสายงานบรรณารักษ์ครบทุกรูปแบบเลย
ซึ่งผมว่าถ้าน้องๆ อยากทำงานในสายงานของห้องสมุด หรือบรรณารักษ์
การฝึกงานในลักษณะนี้จะช่วยให้น้องๆ เข้าใจงานห้องสมุดมากขึ้น
ซึ่งถือว่าเป็นการปูพื้นฐานความรู้ด้านห้องสมุดสำหรับอนาคตเลยก็ว่าได้

ยังไงก็ลองเอาไปคิดดูนะครับ แต่ผมก็แอบเชียร์ให้น้องๆ เลือกสายนี้เหมือนกัน อิอิ

แนะนำนักศึกษาบรรณารักษ์เรื่องฝึกงาน

ช่วงนี้ใกล้เปิดเทอมใหม่ก็จริง แต่ก็มีนักศึกษาหลายคนฝากคำถามให้ผมมากมาย
คำถามที่ว่า นั่นคือ “นักศึกษาเอกบรรณารักษ์ควรฝึกงานที่ไหนดี ช่วยแนะนำหน่อย”

training-library

ในฐานะที่ผมเป็นรุ่นพี่เอกบรรณารักษ์ (คงไม่เกิน 7 ปีหล่ะมั้ง)
วันนี้ผมก็เลยขอเขียนเรื่องนี้เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกที่ฝึกงานให้น้องๆ นะครับ

ก่อนอื่น ผมขอแนะนำประเภทของการฝึกงานบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ หลายๆ คนรู้จักกันก่อนดีกว่า
ซึ่งตามความคิดของผม และจากประสบการณ์ ผมขอแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
1. ฝึกตรงสายงานห้องสมุดแบบเต็มรูปแบบ
2. ฝึกในลักษณะทางด้านวิชาเฉพาะทาง + ห้องสมุด
3. ฝึกงานในแบบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ แต่ไม่ใช่ห้องสมุด
4. ฝึกงานแบบเอาวิธีทำงาน ไม่มีความเป็นห้องสมุดเลย และไม่เกี่ยวกับที่เรียน

การฝึกงานในแต่ละแบบมีข้อแตกต่างกันในด้านรายละเอียด
รวมถึงใช้ในการตัดสินใจเรื่องการเลือกสถานที่ฝึกงานด้วย

ทีนี้เรา ลองมาดูกันทีละแบบเลยดีกว่าครับ

1. ฝึกตรงสายงานห้องสมุดแบบเต็มรูปแบบ

นั่นหมายถึง การฝึกงานในแบบที่ต้องใช้ความรู้ และความสามารถทางด้านบรรณารักษ์เต็มรูปแบบเลย
โดยทั่วไปคนที่เรียนเอกบรรณารักษศาสตร์จะต้องเจอการฝึกงานแบบนี้อยู่แล้ว
นั่นก็คือ ?ห้องสมุดของสถาบันตัวเอง? เป็นด่านแรก
และหากคิกจะเอาดีทางบรรณารักษ์และอยากได้พื้นฐานแบบแน่นๆ


ผมขอแนะนำว่า ให้เลือกห้องสมุดประเภทสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ
เช่น ธรรมศาสตร์, เกษตรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์, ศิลปากร ฯลฯ

2. ฝึกในลักษณะทางด้านวิชาเฉพาะทาง + ห้องสมุด
นั่นหมายถึง การฝึกงานในห้องสมุดเฉพาะทางนั่นแหละครับ
นอกจากความรู้ทางด้านบรรณารักษ์แล้ว สิ่งที่จะได้เพิ่มจากการฝึกงานคือ
ความรู้เฉพาะทางอีกด้วย สำหรับคนที่มีพื้นฐานแบบแข็งแกร่งแล้ว
อยากลองอะไรแบบแปลกๆ และรักการเรียนรู้ ผมว่าเลือกฝึกแบบนี้ก็ดีนะครับ

ผมขอแนะนำตัวอย่างห้องสมุดเฉพาะทางที่น่าสนใจ
เช่น ห้องสมุดญี่ปุ่น ห้องสมุดมารวย ห้องสมุดการออกแบบ ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์บริการ ฯลฯ


3. ฝึกงานในแบบที่เกี่ยวกับสารสนเทศ แต่ไม่ใช่ห้องสมุด

นั่นหมายถึง เป็นการฝึกที่ไม่ได้อยู่ในห้องสมุดนะครับ อาจจะเป็นศูนย์สารสนเทศ ศูนย์ข้อมูลต่างๆ
โดยทั่วไปจะเน้นในรูปแบบองค์กรเอกชน บริษัทเว็บไซต์ บริษัทสื่อ สำนักพิมพ์ต่างๆ
ซึ่งความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดอาจจะไม่ได้ใช้ แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้ คืองานทางด้านสารสนเทศนั่นเอง
และอย่างน้อยก็ทำให้ลบภาพเอกบรรณฯ ได้ว่า ?บรรณารักษ์พอจบก็ต้องทำห้องสมุด? ได้อีก


ผมขอแนะนำตัวอย่างศูนย์ข้อมูล และสถานที่ฝึกงานที่น่าสนใจ
เช่น ศูนย์ข้อมูลทางการเกษตร มติชน เนชั่น เว็บไซต์ต่างๆ ฯลฯ

4. ฝึกงานแบบเอาวิธีทำงาน ไม่มีความเป็นห้องสมุดเลย และไม่เกี่ยวกับที่เรียน
นั่นหมายถึง การฝึกงานในแบบที่ไม่ต้องใช้ความรู้ที่เรียนเลย
เพียงแต่ต้องการฝึกแค่เข้าไปเรียนรู้วิธีการทำงาน รู้จักกฎระเบียบองค์กร
หรือทำความคุ้นเคยกับการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ
ถ้าจะให้ผมแนะนำ ผมจะขอเน้นให้หาที่ฝึกงานในลักษณะที่เป็นองค์กรของต่างประเทศ
เพราะเมื่อคุณที่ฝึกงานในองค์กรต่างชาติคุณจะรู้ว่า องค์กรมีระเบียบและแนวทางปฏิบัติแบบสุดๆ
น่าท้าทายดีครับ องค์กรในแบบของไทยผมก็ไม่ได้ห้ามแต่ควรเลือกดีๆ ครับ

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเกริ่นเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
แล้ววันหลังผมจะแนะนำการฝึกงานในแต่ละรูปแบบอย่างละเอียดต่อไป