CTWphotocamp รอบสองยังสนุกเหมือนเดิม

หลังจากที่มีการจัด #CTWphotocamp รอบแรกไปแล้ว (อ่านได้ที่ CTWphotocamp งานถ่ายรูปที่ไม่มีทางเหงา)
ก็มีเสียงเรียกร้องให้จัด #CTWphotocamp ขึ้นอีกรอบ ดังนั้นงาน #CTWphotocamp จึงกลับมาอีกครั้ง

ctwphotocamp1

งาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 นี้จัดในวันที่ 12 ธันวาคม 2552
โดยยังคง concept เหมือนเดิมครับ คือ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว และไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า

ctwphotocamp209 ctwphotocamp202

วันนั้นพวกเรานัดเจอกันตอน 1 ทุ่มที่หน้า CTW ครับ
ก็เริ่มถ่ายรูปเล่นไปเรื่อยๆ โดยนางแบบหลักเห็นทีว่าคงจะไม่พ้น @jaaja
ถ่ายไปเรื่อยๆ คนก็เพิ่มเข้ามาเรื่อยๆ ครับ และที่สำคัญ hilight เด็ด คือ มีคนพาสุนัขมาเดินด้วย ไปไปมามา สุนัขเด่นกว่าคน

ctwphotocamp219 ctwphotocamp220

พอถ่ายกันจนเหนื่อย พวกเราก็เริ่มหาของกินกันที่ Food hall ของ CTW ครับ
และก็มีสมาชิกมาเพิ่มอีก 3 คน ก็นั่งกินกันจนท้องตึง เราก็มีพลังในการถ่ายรูปต่อ
พอลงมาถึงสมาชิกใหม่ก็เดินทางมาเติมกันต่อครับ

ctwphotocamp244 ctwphotocamp258

ครั้งนี้นอกจากวิวหน้า CTW แล้วพวกเราก็ยังเดินถ่ายไปจนถึงหน้า Gaysorn Plaza แนะ
และไปจบกันที่ Amarin Plaza ครับ นับว่าเป็นการถ่ายรูปที่สนุกมากๆ อีกครั้งหนึ่งเลย

ctwphotocamp266 ctwphotocamp260 ctwphotocamp251 ctwphotocamp239

สรุปรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 มีจำนวน 21 คน ดังนี้
@ylibraryhub @junesis @neokain @rawitat @Rujji @bankkung @zetsuboublogger @eCybermania @KimhunCPE @jaaja @jazzanovalerm @nauticalmiles @tanseven @ladynile @izeyizey @iwhale @dekunderkover @ubyi @kajeaw @WizardPunchZz @yashimaexteen

ctwphotocamp276 ctwphotocamp278

ผมก็ขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่มาแจมถ่ายรูปกันในครั้งนี้ด้วยนะครับ
นี่แหละครับคือพลังแห่งความสร้างสรรค์บน Social Network ครับ

รวมภาพถ่ายในงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2

ภาพงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 โดย ylibraryhub (multiply)

ภาพงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 โดย ylibraryhub (Facebook)

ภาพงาน #CTWphotocamp ครั้งที่ 2 โดย kimhuncpe

บรรณารักษ์และผู้บริหารห้องสมุดต้องพูดคุยกันบ้าง…

การพัฒนาห้องสมุดจะเป็นไปในทิศทางใดขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย
เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสำคัญ นั่นก็คือ ผู้บริหารห้องสมุดหรือผู้บริหารองค์กร นั่นเอง

admin-library

คุณเห็นด้วยกับประโยคที่ผมกำลังจะกล่าวหรือไม่

“ตราบใดที่บรรณารักษ์เสนอโครงการมากมายแต่ถ้าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญ
ก็มักจะทำให้ห้องสมุดถูกปล่อยปล่ะละเลยอยู่เสมอๆ ไม่ได้รับการพัฒนา”

เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าความสำคัญของห้องสมุดในแง่ความคิดระหว่างบรรณารักษ์ กับ ผู้บริหาร ซึ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาห้องสมุด
ลองคิดดูนะครับว่า ถ้าหากสอดคล้องกัน คือ ผู้บริหารกับบรรณารักษ์เข้าใจในกระบวนงานของห้องสมุดเหมือนกัน และทิศทางเดียวกัน
ผมคิดว่าห้องสมุดนั้นคงจะทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะว่าผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงานต่างเข้าใจในกระบวนงาน และกระบวนการทำงานนั่นเอง
แต่ถ้าสมมุติว่า หากเกิดความไม่เข้าใจในเรื่องของการทำงานหรือการให้ความสำคัญหล่ะ มันก็อาจจะส่งผลในทางตรงข้ามได้เช่นกัน

ตัวอย่างเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ผู้บริหารก็มักจะถามว่าจำเป็นด้วยหรอ บรรณารักษ์ก็จะตอบว่าจำเป็น ผู้บริหารก็บอกว่าพัฒนาเองไม่ได้หรอ ทำไมต้องซื้อราคาแพงๆ บรรณารักษ์ก็บอกว่าพัฒนาเองได้ แต่คงไม่มีความเสถียรพอหรือใช้ไปอาจจะไม่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากบรรณารักษ์ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ ผู้บริหารก็บอกต่อว่างั้นก็ให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนออกแบบสิ โปรแกรมเมอร์ก็ออกแบบมาให้ บรรณารักษ์ใช้ไม่ได้เนื่องจากโปรแกรมเมอร์ก็ไม่เข้าใจกระบวนงานของ บรรณารักษ์ ที่แน่ๆ โปรแกรมเมอร์คงไม่รู้จัก MARC Format พอออกแบบเสร็จก็เลยเกิดปัญหาตามมาต่างๆ แทนที่จะได้ใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติก็เลย ต้องรอต่อไปครับ?..นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ

ปัญหาต่างๆ เหล่านี้คงแก้ได้ไม่ยาก หากผู้บริหารและบรรณารักษ์ปรับความคิดให้เข้าใจซึ่งกันและกัน
เนื่องจากห้อง สมุดก็เป็นแหล่งเรียนรู้ของทุกๆ คน ไม่มีใครที่สำคัญกว่าผู้ใช้บริการของพวกเราถูกมั้ยครับ

ทีนี้เลยอยากทราบว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการของเราเคยเจอปัญหานี้บ้างมั้ย
มีอะไรแนะนำกันบ้างนะครับ เพื่อวงการบรรณารักษ์และการพัฒนาห้องสมุดอย่างยั้งยืน?

ปล. ผมขอส่งท้ายด้วยบทความเรื่อง การจัดตั้งห้องสมุดอุดมศึกษา โดย Chelie M. harn Cooper
ลองอ่านดูนะครับเป็นบทความของเว็บวิชาการ 2 หน้า
ที่พูดถึงเรื่อง การการดำเนินงานห้องสมุดในระดับสากล และ วิสัยทัศน์ ของผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับห้องสมุด

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

วันนี้ผมขอแนะนำโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนให้เพื่อนๆ รู้จักกันหน่อยนะครับ
จริงๆ ผมเองก็ไม่ค่อยรู้จักหรอก อาศัยแต่การค้นหาข้อมูลบนเว็บแล้วนำมาเรียบเรียงให้อ่านแล้วกันนะ

encyclopedia-library-thai

ข่าวการเปิดโครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ทำให้ผมรู้จักโครงการนี้มากขึ้น

พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ (องคมนตรี) ซึ่งเป็นประธานโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
ได้กล่าวข้อความบทหนึ่งในงานเปิดตัวห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนแห่งที่ 2 ว่า

“การหาความรู้ไม่ใช่มีแต่ในห้องเรียน แต่นักเรียนยังสามารถหาความรู้ได้จากห้องสมุด โดยเฉพาะห้องสมุดสารานุกรมไทยฯนั้น จะหาความรู้ได้ทั้งเรื่องฟ้าร้อง สึนามิ หรือโรคภัยต่าง ๆ ซึ่งการที่เยาวชนไทยรู้จักหาความรู้จากห้องสมุด จะเป็นการปลูกฝังพื้นฐานให้เยาวชนได้ศึกษาหาความรู้จนกระทั่งเติบโตเป็น ผู้ใหญ่ และควรใช้ห้องสมุดให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่”

โครงการห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน จะดำเนินการ 10 แห่ง ดังนี้
– หอสมุดแห่งชาติ จังหวัดนครราชสีมา
โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม จังหวัดกรุงเทพฯ
– โรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
– โรงเรียนโยธินบูรณะ จังหวัดเพชรบุรี
– ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์
– โรงเรียนในจังหวัดตรัง 2 แห่ง
– โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย
– โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพฯ อีก 2 แห่ง

โดยมี collection หลักๆ ในห้องสมุดแห่งนี้ ก็ก็คือหนังสือสารานุกรมทุกฉบับ
ไม่ว่าจะเป็นสารานุกรมแบบธรรมดา หรือ สารานุกรมฉบับส่งเสริมความรู้

นอกจากจะดำเนินพัฒนาด้านสถานที่แล้ว โครงการนี้ยังได้จัดสร้างรถตู้ห้องสมุดสารานุกรมไทยฯ อีก 1 คัน
เพื่อนำหนังสือสารานุกรมไทยฯ ไปเผยแพร่ให้แก่เยาวชนและประชาชนในทุกพื้นที่ของประเทศไทยอีกด้วย

—————————————-
ขอประชาสัมพันธ์อีกรอบนะครับ (เพื่อนผมฝากมา @gnret)

ประกาศห้องสมุดประชาชนนครสวรรค์

ห้องสมุดประชาชนฯ จะหยุดให้บริการเป็นเวลา 60 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2552 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2553 โดยปรับปรุงพื้นที่ชั้นล่าง ห้องสมุดใหม่ โดยการสนับสนุนจากสโมสรไลออนส์ในจังหวัดนครสวรรค์ 4 สโมสร คือ นครสวรรค์ สี่แควนครสวรรค์ เมืองพระบางนครสวรรค์ ปากน้ำโพนครสวรรค์

และเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น ห้องสมุดสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์ (ตึกปรีดา)

ในเร็วๆ นี้ กับรูปโฉมใหม่ โอ่งโถง สะอาด สงบ และ งามตา
—————————————-

เป็นไงกันบ้างครับ โครงการที่มีประโยชน์แบบนี้ผมก็ขอประชาสัมพันธ์เต็มร้อยเลยนะครับ

สำหรับรายละเอียดของโครงการ หากเพื่อนๆ มีข้อมูลเพิ่มเติม
หรือผูที่ดำเนินการในส่วนนี้ได้ผ่านมาเห็นบล็อกนี้ ผมก็ขอให้ส่งรายละเอียดเพิ่มเติมมาให้ผมด้วย
อยากจะช่วยประชาสัมพันธ์จริงๆ ครับ ส่งมาได้ที่ dcy_4430323@hotmail.com

IBSN – Internet Blog Serial Number

เลขมาตรฐานที่คนในวงการบรรณารักษ์ต้องรู้ เช่น ISBN, ISSN
แต่วันนี้ผมขอนำเสนอเลขมาตรฐานอีกอย่างนึงให้เพื่อนๆ รู้จัก นั่นก็คือ IBSN

libraryhub

IBSN คืออะไร

“The IBSN (Internet Blog Serial Number) is created on February 2, 2006 in answer to a denial from current administration to assign ISSN numbers to Internet blogs.”

แปลให้อ่านง่ายๆ ครับ IBSN คือ
เลขมาตรฐานสำหรับบล็อกบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2006
เพื่อเป็นเลขที่ใช้ชี้หรืออ้างอิงบล็อกบนอินเทอร์เน็ต

การสมัครก็ง่ายๆ ครับ ไปที่หน้า http://ibsn.org/register.php ได้เลย

แล้วกรอกตัวเลขในช่องที่ปรากฎซึ่งต้องเป็นเลข 10 หลัก และจะขีดขั้น (-) ตรงไหนก็ได้ 4 ขีด

register

จากนั้นก็ให้กรอกข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกตามภาพเลยนะครับ

blogggg

URL del blog : ใส่ URL ของบล็อกคุณในช่องนี้
Nombre del blog : ใส่ชื่อของ blog คุณในช่องนี้
e-mail : กรอกอีเมล์ของคุณ
Comentario : ใส่รายละเอียดและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบล็อกของคุณในช่องนี้

จากนั้นให้กดตรงปุ่ม Solicitar แล้วก็จะได้เลข IBSN ครับ

Libraryhub ของผมก็ไปจดเลข IBSN มาแล้วนะ ไม่เชื่อดูดิ

libraryhub_ibsn

เลข IBSN ของผม คือ 0-29-09-19820

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมลองเข้าไปดูที่
http://ibsn.org

เมื่อบรรณารักษ์บางกลุ่มพูดว่า “ห้องสมุดของเราไม่มีทางเจ๊งหรอก”

มีหลายเรื่องที่ผมวิตกและกังวลเกี่ยวกับทัศนคติของบรรณารักษ์บางกลุ่มในประเทศไทย
ซึ่งผมกำลังหาทางออกและวิธีแก้ปัญหาอยู่ เลยอยากเล่าให้เพื่อนๆ ฟังเพื่อว่าจะมีใครเสนอแนวทางดีๆ ให้ผมบ้าง

question

เรื่องที่ผมจะยกมาให้อ่านในวันนี้อาจจะดูแรงไปสักหน่อยแต่มันเกิดขึ้นจริงนะครับ
เป็นเรื่องที่มีเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงโทรมาปรึกษาผมเกี่ยวกับการทำงานบรรณารักษ์ของเขา
เอาเป็นว่าผมขอแทนชื่อเขาว่า “นายบัน” ก็แล้วกันนะครับ

ห้องสมุดที่ “นายบัน” ทำงานอยู่มีบรรณารักษ์กลุ่มหนึ่งที่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม (ไม่ได้หมายถึงรัฐบาลอย่างเดียวนะ)
วันๆ บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรอคอยเวลาเลิกงานในแต่ละวัน พอใกล้จะถึงเวลาเลิกงานก็จะรีบเก็บของโดยไม่สนใจผู้ใช้บริการ

“นายบัน” ก็รู้สึกว่าห้องสมุดไม่มีอะไรใหม่ๆ เลย ดังนั้นเขาก็เสนอโครงการใหม่ๆ ขึ้นไปให้หัวหน้า
ซึ่งหัวหน้าก็ค่อนข้างชอบโครงการใหม่ๆ นี้ และคิดว่าจะนำมาใช้กับห้องสมุด

แต่โครงการใหม่ๆ ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาครับ เพราะว่ากลุ่มบรรณารักษ์กลุ่มนี้ไม่พอใจ
เนื่องจากเป็นการสร้างภาระงานใหม่ๆ ในห้องสมุด และต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้น (อินเทอร์เน็ต)
ดังนั้น “นายบัน” ก็เลยโดยเรียกไปต่อว่า “หาว่าชอบหาเรื่องใส่ตัว” “งานสบายๆ ไม่ชอบหรือไง”
“นายบัน” พยายามจะบอกว่า “บรรณารักษ์อย่างพวกเราต้องเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ให้เข้ากับยุคปัจจุบันนะ”

แต่บรรณารักษ์กลุ่มนี้กลับนิ่งเงียบ แล้วย้อนคำถามมาว่า
“แล้วเราต้องเปลี่ยนด้วยหรอ ในเมื่อห้องสมุดของเรายังไงนักศึกษาก็ต้องใช้บริการอยู่แล้ว ห้องสมุดของเราไม่มีทางเจ๊งหรอก”

พอผมฟังจบก็รู้สึกอารมณ์ขึ้นมากๆ เลยครับ และวิตกกังวลถึงอนาคตบรรณารักษ์เมืองไทยจัง
“ปลาเน่าเพียงตัวเดียวก็ทำให้ทั้งคอกเหม็นได้แล้ว” ประโยคนี้คงจะจริง

สุดท้ายผมก็ได้แค่ปลอบเพื่อนผมไปว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้มันต้องค่อยๆ ปรับกันไป
ถ้าเราไปคล้อยตามประโยคแบบนี้แล้วไม่ทำงาน วงการบรรณารักษ์เราก็จะจบลงแบบเน่าๆ ต่อไป
ดังนั้นถ้าคิดว่าอะไรที่ดีต่อห้องสมุดทำไปเถอะอย่าสนใจเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องเลย

ผมก็หวังว่าเรื่องนี้คงเป็นเพียงส่วนน้อยของวงการบรรณารักษ์นะครับ
เพื่อนๆ อ่านจบแล้ว คิดยังไงกันบ้าง มีไอเดียจะเสนอผมบ้างหรือปล่าวครับ….

CTWphotocamp งานถ่ายรูปที่ไม่มีทางเหงา

เหตุการณ์นี้คงเกิดที่หน้าห้าง Central world บ่อยๆ นะครับ
“เดินมาคนเดียวจะถ่ายรูปก็รู้สึกไม่สนุก”
“มากันเป็นคู่ๆ แต่เวลาถ่ายคู่ต้องขอให้คนอื่นช่วยถ่าย หรือไม่ก็ถ่ายเองแต่ไม่ถนัด”

june01

ดังนั้นจากอุปสรรคดังกล่าว จึงทำให้ผมเกิดความคิดว่า
“แล้วทำไมเราไม่ชวนเพื่อนๆ กลุ่มใหญ่ๆ มาถ่ายหล่ะ”

จากการรวมตัวของเพื่อนสนิทใน Twitter
@Ylibraryhub @junesis @maeyingzine @ladynile
จึงเกิดการชวนกัน โดย Tweet ชวนเพื่อนๆ และกระแส Tweet ก็ได้ผล
เมื่อเพื่อนๆ จำนวนหนึ่งได้สนใจ และเข้าร่วมกับกิจกรรมการถ่ายรูปของพวกเรา

กำเนิด Tag #CTWphotocamp
CTW = Central World
Photo = การถ่ายรูป
Camp = การเข้าร่วม (คนไอทีอย่างพวกเรารู้จัก Camp มากมาย เลยขอใช้คำนี้พ่วงด้วย)

เมื่อรวมคำต่างๆ ก็ได้ความหมายว่า การรวมตัวกันเพื่อถ่ายรูปหน้า Central World นั่นเอง

งานนี้ไม่มีกำหนดการ ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ไม่ต้องลงทะเบียน ไม่มีค่าใช้จ่าย
จะมากี่โมงกลับกี่โมงก็ได้ จะพาใครมาเพิ่มก็ได้ จะไปต่อที่ไหนก็ได้

บางคนถามว่าต้องมาถ่ายรูปอย่างเดียวหรอ ถ้าไม่มีกล้องก็ถ่ายไม่ได้สิ
ผมขอบอกว่างานนี้ไม่จำเป็นต้องถ่ายรูปเองครับ มาเป็นนางแบบ นายแบบก็ได้ แล้วแต่ใจชอบ
บางคนอาจจะถนัดถ่ายก็ถ่ายไป บางคนถนัดโพสก็โพสไป

จะกล้องรุ่นไหนเราไม่สน กล้องมือถือ กล้องดิจิตอล กล้องเทพ ใช้ได้หมดเลยครับ

เอาหล่ะเกริ่นมาเยอะแล้ว ทีนี้เราไปดูรูปภาพที่ผมถ่ายในงานนี้ดีกว่า #CTWphotocamp

[nggallery id=17]

รวม Link Gallery ของผู้ที่ไปร่วมงาน #CTWphotocamp

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย godzeelus

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย Tomorn

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย Thangman22

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย notingcpe

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย kimhuncpe

ภาพงาน #CTWphotocamp โดย Pimoooo

เครื่องปรับอากาศในห้องสมุดก็เสียงดังไม่ได้เด็ดขาด

เสียงรบกวนในห้องสมุดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การพูดคุยกัน การไม่ปิดโทรศัพท์ แต่นั้นคือปัญหาที่เกิดกับผู้ใช้
แต่เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าสาเหตุของเสียงรบกวนในห้องสมุดที่เกิดจากห้องสมุดเองก็มีเหมือนกัน

air

ปัญหาง่ายๆ ที่หลายๆ คนนึกไม่ถึงคือ เสียงของเครื่องปรับอากาศที่ดังออกมารบกวนคนอื่นๆ
แต่ผมอยากจะโฆษณาว่า ปัญหานี้จะหมดไปถ้าเพื่อนๆ ใช้เครื่องปรับอากาศยี่ห้อนี้

เป็นไงครับ เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้องสมุดโดยเฉพาะ
จุดประสงค์ของการติดป้ายแบบนี้อาจจะเป็นเพราะว่าต้องการเน้นว่ามันเหมาะกับห้องสมุด

จริงๆ ผมไม่ได้เป็นเซลล์แมนหรอกนะครับ แต่ที่นำมาให้ดูก็เพราะว่ามันน่าสนใจมากเลย
คิดดูสิครับธุรกิจต่างๆ สามารถเชื่อมโยงให้เข้ากับห้องสมุดได้ทุกรูปแบบจริงๆ ไม่เว้นแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า

เครื่องปรับอากาศในรูปๆ ดังกล่าวมีเสียงดังเพียง 38 Db เท่านั้น
ซึ่งถือว่าเงียบมากและไม่รบกวนผู้ใช้บริการคนอื่นๆ แน่นอน

คุณสมบัติของเครื่องปรับอากาศรุ่นนี้
– Library Quiet เสียงดังเพียง 38 Db
– ขนาด 10,000 BTU
– สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก
– ทำงานได้ 4 ฟังก์ชั่น คือ cool, dehumidify, ventilate, fan
– รวดเร็วและติดตั้งง่าย
– ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ
– มีรีโมทสำหรับควบคุมด้วย

ไม่รู้ว่าเว่อร์ไปปล่าว แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่า
ห้องสมุดต้องเงียบจริงๆ ไม่ใช่แค่เสียงคน แต่ต้องเป็นทุกเสียงเลยต่างหากที่เงียบ
ว่าแต่ว่า เมืองไทยเรามีขายเครื่องปรับอากาศแบบนี้หรือปล่าว

แนะนำ Journallink เพื่อใช้ค้นหาบทความวิชาการ

วันนี้ผมขอออกแนววิชาการบ้างนะครับ หลังจากเขียนเรื่องสบายๆ มาหลายวัน
โดยวันนี้ผมจะขอนำเสนอเกี่ยวกับ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)

journallink

ทำไมผมถึงต้องเขียนเรื่องนี้นะหรอครับ เอาเป็นว่าสาเหตุมาจาก
มีเพื่อนบรรณารักษ์คนนึงใน Hi5 กลุ่ม Librarian in Thailand มาตั้งคำถามว่า

?ผู้ใช้ ต้องการวารสารเล่มนี้อ่ะคับ ทีไหนมี รบกวนบอกด้วยนะคับ รบกวน จิงๆ นะคับ American Journal of Enology and Viticulture?

ผมจึงขอนำเสนอวิธีการค้นหาวารสาร และบทความวารสารเล่มนี้มาฝากนะครับ
เผื่อว่าถ้าเพื่อนๆ บรรณารักษ์ เจอคำถามประมาณนี้จะตอบผู้ใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง

journal-link

ทางออกของการค้นหาวารสารสักเล่มว่าอยู่ที่ห้องสมุดไหน
โดยทั่วไปผมจะใช้ ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย หรือ Journallink
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.journallink.or.th/

———————————————————————————

ฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย จะเป็นฐานข้อมูลเพื่อค้นหาว่าวารสารเล่มที่เราค้น อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง
ที่มาของฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
เกิดจากการร่วมมือกันของห้องสมุดภายในประเทศจำนวน 211 แห่ง

ในการใช้งานแบ่งออกเป็น 2 สถานะ คือ :-
1. ห้องสมุดที่ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิก
2. ผู้ใช้ทั่วไป (อันนี้แหละครับที่ผมจะแนะนำให้ค้น)

แต่การค้นแบบผู้ใช้ทั่วไป เพื่อนๆ จะต้องกรอกข้อมูลลงทะเบียนดังนี้
– ที่พัก (เลือกจังหวัดที่เราอยู่)
– อาชีพ (เลือกอาชีพของเรา)
– สังกัด (รัฐ / เอกชน / สถานศึกษา)

พอลงทะเบียนเสร็จก็จะเข้าสู่เมนูการสืบค้น เพื่อนๆ สามารถเลือกสืบค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น
– ตามลำดับอักษร คือ เรียงชื่อวารสารตามลำดับอักษร A ? Z และ ก ? ฮ
– ชื่อวารสาร
– ISSN คือ หมายเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number)
– องค์กรหรือสถาบัน/Institution
– หัวเรื่อง/keyword

———————————————————————————

นี่ก็เป็นการแนะนำแบบคร่าวๆ นะครับ สำหรับฐานข้อมูลชี้แหล่งวารสารในประเทศไทย (Journallink)
คราวนี้เรามาดูโจทย์ของเราดีกว่า (อันนี้ยกกรณีของคำถามมาแสดงให้ดู)
ผมต้องการหาว่า ?American Journal of Enology and Viticulture? อยู่ที่ห้องสมุดไหนบ้าง

ขั้นตอนในการค้นหา

1. ผมก็เลือกการค้นแบบ ชื่อวารสาร จากนั้นผมก็กรอกรายชื่อวารสารในช่องสืบค้น

example-search1

2. ผลลัพธ์จากการสืบค้น คือ ผมพบวารสารเล่มนี้

result-search1

3. เข้าไปดูรายละเอียด ของวารสารที่สืบค้น

result-search2

เป็นอันจบกระบวนการสืบค้นวารสารนะครับ

สรุปจากการสืบค้นวารสาร ชื่อ American Journal of Enology and Viticulture
ผมพบว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีวารสารเล่มนี้อยู่ที่ ห้องสมุดกลาง (Main Library)
ผมก็จะทำการติดต่อไป เพื่อขอทำสำเนาบทความ หรือสืบค้นชื่อบทความในวารสารเล่มนั้นต่อได้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการใช้งาน และตอบคำถามของผม
ไม่รู้ว่าเจ้าของคำถามจะงงอีกหรือปล่าว หรือว่าผมตอบผิดประเด็นหรือปล่าว
ยังไงถ้าได้อ่านก็แสดงความคิดเห็นมาได้นะครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ Journallink มากกว่านี้ สามารถดูได้ที่

http://www.car.chula.ac.th/gotoweb/guides_journal2.pdf

http://tanee.oas.psu.ac.th/images/tutorial/new/db-jour.pdf

สร้างภาพศิลปะจาก twitter แบบง่ายๆ

วันนี้ผมมีของเล่นใหม่มาให้เพื่อนๆ ได้เล่นกัน นั่นก็คือ Twitter Mosaic
หลักการก็ง่ายๆ ครับ คือ การนำรูปเพื่อนๆ ของคุณใน twitter มาเรียงต่อกันเป็นภาพ Mosaic

twittermosaic

วิธีเล่นก็ง่ายๆ ครับ แค่คุณพิมพ์ชื่อ twitter ของคุณในช่อง Username
เช่น ผมพิมพ์ชื่อของผมในช่อง ?ylibraryhub?

จากนั้นก็เลือกรูปเพื่อนๆ ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้
– Show Twitter followers
– Show Twitter friends

จากนั้นก็กดตกลงได้เลยครับ (ตัวอย่างที่ผมโชว์ด้านล่างเป็นแบบ follower นะครับ)

Get your twitter mosaic here.

เพื่อนๆ สามารถเอารูปที่โชว์แบบนี้ไปลงและผลิตเป็นสินค้าที่ระลึกได้นะครับ เช่น

twittermosaicproduct

เพื่อนๆ ว่าโอเคมั้ยครับ ยังไงก็ลองเล่นและอัพเดทบล็อกของเพื่อนๆ มาให้ผมดูบ้างหล่ะ

วันนี้ก็ขอตัวไปหาของเล่นอื่นๆ ก่อนนะครับ

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 2

วันนี้ผมขอสรุปหนังสือเรื่อง “Planning the modern public library building” ต่อเลยนะครับ
ซึ่งวันนี้ผมจะพูดในบทที่สอง ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

planning-public-library-part-2

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 2 : Before Sizing Your Building
เป็นบทที่ว่าด้วยการกำหนดขนาดของอาคารห้องสมุด

ในบทนี้จะเน้นในเรื่องของการปรับเปลี่ยนแนวคิดของห้องสมุดสองแบบคือ
– ห้องสมุดสถานศึกษา – ต้องดูจาก need, collection, equipment
– ห้องสมุดสาธารณะ – ต้องดูจาก collection, need, equipment

เท่าที่อ่านมาจะสรุปได้ว่า

?ห้องสมุดสถานศึกษาจะเลือกเนื้อหาของทรัพยากรเพื่อให้สอดคล้องกับการเรียนการสอนก่อน
แล้วค่อยตัดสิ่งใจในการเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศทีหลัง
เมื่อได้รูปแบบแล้วจึงจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อรองรับการให้บริการนั้นๆ?


?ห้องสมุดสาธารณะไม่จำเป็นต้องเลือกที่เนื้อหาเพราะว่า ผู้ใช้บริการคือคนทั่วไป
แต่สิ่งที่สำคัญในการให้บริการคือ การเลือกรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศมากกว่า?

ส่วนในเรื่องของการกำหนดขนาดอาคารห้องสมุด และสถานที่กันดีกว่า
โดยเพื่อนๆ จะต้องตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้ซะก่อน จึงจะกำหนดขนาดของห้องสมุดได้
– กลุ่มผู้ใช้บริการของห้องสมุดเป็นใคร มีปริมาณมากน้อยแค่ไหน
– คุณให้คำจำกัดความของคำว่า ?บริการที่ดี? ว่าอะไร
– ทรัพยากรสารสนเทศมีรูปแบบใดบ้าง
– งบประมาณที่ใช้สร้าง และต่อเติมมีมากน้อยเพียงใด
– ระบุที่นั่งสำหรับให้บริการไว้เท่าไหร่ และจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดมีจำนวนเท่าไหร่
– เฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งในห้องสมุดมีอะไรบ้าง เช่น โทรทัศน์ เคาน์เตอร์ ฯลฯ
– ให้บริการคอมพิวเตอร์มากน้อยเพียงใด มีแบบไร้สายหรือไม่
– มี partnership ที่จะช่วยในการพัฒนาห้องสมุดหรือเปล่า
– แผนการในการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในอนาคต
– การประมาณการจำนวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มขึ้น

ถ้าเพื่อนๆ ตอบได้หมดนี่เลย จะช่วยให้สถาปนิกที่รับงานออกแบบเข้าใจรูปแบบงานมากขึ้นครับ
และจะช่วยให้เรากำหนดขนาดได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

บทสรุป สิ่งที่มีผลต่อการกำหนดขนาดพื้นที่ของอาคารห้องสมุด ได้แก่
– Service, Collection, Tasks, Technology (การบริการทั่วไปของห้องสมุด)
– Human being work (การทำงานของคนในห้องสมุด)
– Facility in the library (สาธารณูปโภคต่างๆ ในห้องสมุด)
?.

ครับ บทนี้ก็จบเพียงเท่านี้ หวังว่าเพื่อนๆ จะคำนวณขนาดของห้องสมุดตัวเองได้แล้วนะครับ
?คุณคิดว่าพื้นที่ที่มีอยู่ในห้องสมุดตอนนี้ใช้งานคุ้มค่าแล้วหรือยัง?

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result