สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11

ไม่ได้เข้าไปอ่านข่าวห้องสมุดและบรรณารักษ์หลายวัน วันนี้ได้ฤกษ์เข้า Lisnews.org
ก็เจอสิ่งแปลกๆ นิดหน่อยนั่น คือ “LISNews : This Site Goes To 11

เว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แถมด้วยบล็อกที่มีบรรณารักษ์ร่วมกันเขียนเยอะที่สุดในโลก
อย่าง LISNews ครบรอบ 11 ปีแล้ว

ผมอาจจะมาอวยพรช้ากว่าชาวบ้านนิดนึง แต่ก็อยากอวยพรให้
LISNews จงอยู่คู่กับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของโลกไปนานนาน

สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่รู้จัก LISNews.com ผมก็ขอแนะนำอย่างยิ่งครับ
เพราะเขามีเรื่องใหม่ๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาให้อ่านทุกวัน
แถมเรื่องที่ลงในเว็บนี้มาจากการร่วมกันเขียนของเหล่าบรรณารักษ์จากทั่วโลกด้วย

สำหรับคนที่เข้ามาที่เว็บนี้อยู่แล้ว ก็เข้ามาอ่านได้เรื่อยๆ นะครับ
ผมชอบที่เว็บนี้มี podcast ให้ฟังด้วย ลองเข้าไปดูได้ที่ http://lisnews.org/topic/lisnews_podcast

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ

เว็บไซต์ Lisnews.org = http://lisnews.org/

บรรณารักษ์ระดับ 3, 4, 5, 6, 7 แตกต่างกันตรงไหน

เพื่อนๆ นอกวิชาชีพหลายๆ คนสงสัยและถามผมมาว่า บรรณารักษ์ 3 ที่สอบในราชการนี่คืออะไร
แล้วมันยังมีตำแหน่งบรรณารักษ์ระดับอื่นๆ อีกหรือไม่ วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องตำแหน่งบรรณารักษ์ในระดับต่างๆ

สายงานบรรณารักษ์ในวงการราชการก็มีระดับของตำแหน่งเหมือนวิชาชีพอื่นๆ แหละครับ
นอกจากบรรณารักษ์ 3 แล้ว ในวงการราชการอาจจะพบคำว่า บรรณารักษ์ 4,5,6,7 อีก
ซึ่งตำแหน่งต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามานี้มาจากการสอบซึ่งดูที่ความสามารถและประสบการณ์ทำงานเช่นกัน

เรามาดูความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ระดับต่างๆ กันดีกว่า

บรรณารักษ์ระดับ 3
1. มีความรู้ในวิชาการบรรณารักษ์ศาสตร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าในในกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล


บรรณารักษ์ระดับ 4 (ทำงานระดับ 3 แล้ว 2 ปี)

1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำและ เสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน

บรรณารักษ์ระดับ 5 (ทำงานระดับ 4 แล้ว 2 ปี, ทำงานระดับ 3 แล้ว 4 ปี, ปริญญาเอกบรรณารักษ์)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 6 (ทำงานระดับ 5 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 7 (ทำงานระดับ 6 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์

จะสังเกตได้ว่า ในบรรณารักษ์ระดับที่ 6 กับ 7 จะคล้ายๆ กัน แต่การที่จะวัดระดับชั้นกันนั้นอยู่ที่ประสบการณ์ทำงานต่างหาก
และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าทุกๆ 2 ปี จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นก็ทำงานเก็บประสบการณ์กันไปเรื่อยๆ นะครับ

อ๋อเรื่องตำแหน่งที่สูงขึ้น แน่นอนครับเงินก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ผมคงไม่ทราบหรอกนะครับว่าตำแหน่งไหนได้เงินเท่าไหร่
ใครรู้ก็ช่วยนำมาแชร์ให้ผมรู้บ้างนะครับ จะขอบคุณมากๆ อิอิ วันนี้ก็อ่านเล่นๆ กันดูนะครับ อย่างน้อยก็เพื่อพัฒนาตัวเอง

ห้องสมุดควรจัดเก็บสถิติอะไรบ้าง (มาวัดผลห้องสมุดกันเถอะ)

เพื่อนๆ หลายคนส่งเมล์มาถามผมว่า “เปิดห้องสมุดมาได้สักพักแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเก็บข้อมูลห้องสมุดอย่างไร
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขต่าง ๆที่อยู่ในห้องสมุด เพื่อให้เพื่อนๆ ใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล

ตัวเลขต่างๆ ที่จัดเก็บในห้องสมุด หรือข้อมูลสถิติต่างๆ ที่เก็บในห้องสมุดเป็นตัวเลขที่แสดงให้เราเห็นว่าห้องสมุดมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มีประโยชน์ในแง่ของการเขียนรายงานประจำเดือน ประจำปี เพื่อให้เราเป็นความต้องการของผู้ใช้บริการในห้องสมุด รวมถึงนำเสนอผู้บริหารให้ทราบถึงการดำเนินการต่างๆ ของห้องสมุด

ตัวเลขอะไรบ้างหล่ะที่น่าสนใจต่อการเก็บข้อมูล

– จำนวนสื่อสารสนเทศในห้องสมุด เช่น หนังสือ สื่อมัลติมีเดีย วารสาร ….
– จำนวนผู้เข้าใช้บริการในห้องสมุดในแต่ละวัน (แบบบุคคลและกลุ่มบุคคล)
– จำนวนผู้ที่มาสมัครสมาชิกกับห้องสมุด
– จำนวนการยืมคืนในแต่ละวัน
– จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน
– จำนวนครั้งที่มีการแสดงนิทรรศการ หรือ จัดบอร์ด
– จำนวนครั้งในการให้บริการตอบคำถาม
– จำนวนครั้งในการใช้บริการอุปกรณ์ต่างๆ ที่ห้องสมุดจัดเตรียม เช่น คอมพิวเตอร์ สื่อการเรียนการสอน
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่มีการแยกหมวดหมู่
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่สูญหาย
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่ได้รับการอภินันทนาการ
– จำนวนวารสารเย็บเล่ม
– จำนวนอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยงานห้องสมุด
– จำนวนในการสร้างความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับหน่วยงานภายนอก
– ปริมาณค่าใช้จ่ายและรายรับต่างๆ ของห้องสมุด

เอาเป็นว่านี่ก็คือตัวอย่างการจัดเก็บจำนวนตัวเลขต่างๆ แบบคร่าวๆ นะครับ
และตัวเลขเหล่านี้ผมว่าไม่ยากเกินไปถ้าเพื่อนๆ จะนำไปจัดเก็บบ้าง
จริงๆ แล้วขอเสนอว่าถ้ามีแบบฟอร์มในการบันทึกรายการต่างๆ ก็จะดีมากด้วยครับ

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการจัดเก็บข้อมูลสถิติ
– เข้าใจและรู้จักความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น หนังสือหมวดไหนที่คนชอบอ่าน
– จัดสรรงบประมาณเพื่อเสริมความต้องการให้ผู้ใช้บริการ
– ขอเสนองบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด

ซึ่งเอาเป็นว่าเมื่อเข้าใจถึงตัวเลขต่างๆ เหล่านี้แล้ว ผมก็อยากให้ทุกคนทำความรู้จักและรู้จักการนำตัวเลขเหล่านี้มาใช้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่ว่าเอาตัวเลขมาดูเพียงเพราะว่ามันเป็นแค่ตัวเลขเท่านั้นนะครับ

ปล. เดี๋ยววันละหลังจะมาเขียนเรื่องการประยุกต์ในการเก็บสถิติเพื่อสร้างความน่าสนใจในห้องสมุดนะครับ

วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010

วารสาร IFLA Journal ประจำเดือนตุลาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

โดยปกติ วารสาร IFLA Journal จะออกทุกๆ 3 เดือนนะครับ
ซึ่งจะออกมาในรูปแบบ pdf ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและสั่งพิมพ์ออกมาอ่านได้ครับ

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ
– Bringing the benefits of information technology to underserved populations: An introduction to ICTD for the library community
– Symbiotic partnerships: The global library community and the ICTD stakeholders
– Main factors affecting the preservation of Chinese paper documents: A review and recommendations
– Arab online book clubs: A survey
– System migration from Horizon to Symphony at King Fahd University of Petroleum and Minerals

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
งั้นไปดาวน์โหลดกันเลยครับที่ “IFLA Journal Volume 36 Number 3 October 2010

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ

นายห้องสมุดกับการแนะนำหนังสือน่าอ่านแบบง่ายๆ (How to…)

วันนี้ใครที่เขามาที่ Libraryhub แล้วเห็นกรอบด้านล่างขวาเพิ่มก็ขอว่าอย่าตกใจนะครับ
เพราะนั้นคือกล่องสำหรับแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ หรือ กล่อง Bookrc ของผมนั้นเอง

แล้ว Bookrc มาจากไหน –> คำตอบคือมันมาจาก Book Recommend นั่นเอง
ผมตั้งใจว่าเวลาไปร้านหนังสือแล้วเจอหนังสือดีๆ ผมก็อยากจะนำเสนอให้เพื่อนๆ รู้จักเช่นกัน

แล้วข้อมูลในกล่อง Bookrc มาจากไหน???
คำตอบ คือ ผมคิด Tag #bookrc เวลาที่ผมอยากจะแนะนำหนังสือสักเล่มให้เพื่อนๆ
เช่น “รวม 7 สุดยอดวิชาหาเงินผ่านเน็ตพร้อมเคล็ดลับทำเงินที่ได้ผลจริง “ผม รวยออนไลน์ได้ยังไง” 195 บาท #bookrc http://twitpic.com/30g1rj

หลักการง่ายๆ ครับ
1. พิมพ์ข้อความแนะนำแบบสั้นๆ
2. พิมพ์ชื่อหนังสือ
3. พิมพ์ราคา (แล้วแต่นะครับ)
4. ถ่ายรูปหนังสือ (อันนี้ก็แล้วแต่นะครับ)
5. อันนี้ห้ามลืมครับ
#bookrc

หนังสือที่ผมแนะนำจริงๆ แล้วมันคละกันไปใน Timeline ของผมแหละ
แต่ผมเน้นแนะนำหนังสือบางกลุ่มเท่านั้นนะครับ ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่ม textbook

ทำไมต้องแนะนำหนังสือเฉพาะกลุ่ม

– กลุ่มท่องเที่ยว เป็นหนังสือที่หลายๆ คนให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องแนะนำการท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก และกิจกรรมในการท่องเที่ยว ซึ่งในกลุ่มนี้ผมยังแถมเรื่องของวัฒนธรรมพื้นเมืองด้วย เช่น วัฒนธรรมของสิงคโปร์ วัฒนธรรมท้องถิ่นสุโขทัย ฯลฯ

– กลุ่มธุรกิจ เป็นหนังสือที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งเช่นกัน โดยเฉพาะอาชีพแนวใหม่ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือธุรกิจออนไลน์ที่กำลังเป็นกระแสในสังคม ซึ่งผมแนะนำหนังสือในกลุ่มเหล่านี้เพื่อให้ผู้ที่อยากทำธุรกิจใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

– กลุ่มคอมพิวเตอร์ อันนี้เป็นความสนใจส่วนตัวจึงต้องแนะนำว่าผมชอบอ่านแนวไหน คอมพิวเตอร์ระดับไหนที่ผมต้องการอ่าน ซึ่งโดยรวมแล้วผมไม่อ่านคอมพิวเตอร์ขั้นสูงมาก เช่น การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์หรอกนะครับ

– กลุ่ม text book หลายๆ คนคิดว่า text book ราคาแพงมาก ซึ่งผมอยากจะบอกว่าหนังสือ text book หลายๆ เล่มที่ผมแนะนำนี้ไม่ได้แพงเกินไปเลย ราคาผมจะพยายามไม่ให้เกิน 1000 บาท ผมคิดว่าการอ่านหนังสือ text book จะช่วยฝึกให้เราเก่งด้านภาษาด้วย

รูปหนังสือที่ผมแนะนำสามารถดูได้จาก http://twitpic.com/search#q=#bookrc&type=recent&page=1

เอาเป็นว่าใครที่กำลังหาหนังสืออ่าน ก็สามารถแวะเข้ามาดู กล่อง Bookrc ของผมได้นะครับ
ส่วนใครที่สนใจอยากจะร่วมแนะนำหนังสือ ก็อย่าลืมใส่ tag #bookrc (ใน twitter only) นะครับ
สำหรับวันนี้ผมคงแนะนำเท่านี้ก่อนนะครับ แล้ววันหลังผมจะหาวิธีแนะนำหนังสือแบบแปลกมาให้เพื่อนอีกนะครับ

นายห้องสมุดพาเดินงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ 2553 (งานสัปดาห์หนังสือ)

วันนี้ผมแวะไปงานมหกรรมหนังสือระดับชาติมา เลยไม่ลืมแวะมาเล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆ อ่าน
นอกจากนี้ผมยังถ่ายรูปบรรยากาศในงานมาพอสมควรเลยเอามาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ดูเช่นกันครับ

งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ หรือ ที่หลายๆ คนก็ยังเรียติดปากว่า “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”
(จริงๆ แล้วงานที่จัดตอนต้นปีต่างหากครับที่เรียกว่างาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”)
แต่เอาเหอะครับยังไงก็ คือ “งานหนังสือ” เหมือนๆ กันนั่นแหละครับ

ปีนี้จัดดีเหมือนกับทุกๆ ปีแหละครับ บรรยากาศโดยรวมเกือบทุกบูทเต็มไปด้วยผู้คนมากมาย
เดินไปทางไหนก็มีแต่ฝูงชนที่สนใจในเรื่องของการอ่าน (หนอนหนังสือ) เต็มไปหมด

กิจกรรมในงานโดยภาพรวมนอกจากการจำหน่ายหนังสือแล้ว
ยังมีส่วนที่แสดงนิทรรศการหนังสือน่าอ่าน และกิจกรรมสัมมนาต่างๆ มากมาย

สิ่งที่วันนี้ผมประทับใจในงานสัปดาห์หนังสือ

– ตุ๊กตามาสค็อตในงานนี้มีมากมายเลย ดึงดูดให้เด็กๆ อยากอ่านหนังสือ
– ยังคงมีบริการส่งหนังสือถึงบ้านโดยไปรษณีย์ไทย
– ป้ายเตือนเรื่อง ระวังกระเป๋า หรือ ระวังทรัพย์สิน มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเตือนผู้เข้าร่วมงาน
– ร้านหนังสือกระหน่ำลดราคากันเพียบเลย
– กิจกรรมแนะนำหนังสือขายดี 10 อันดับของแต่ละร้าน
– ผู้ปกครองพาบุตรหลานมางานหนังสือเพียบเลย ดีจังเด็กๆ จะได้ฝึกการอ่านตั้งแต่เด็ก
– ผู้เข้าร่วมงานมหกรรมหนังสือมีจำนวนมากเหมือนทุกๆ ปี
– กิจกรรมในห้องสัมมนาต่างๆ ได้รับความนิยมและมีผู้เข้าร่วมเหมือนเยอะขึ้น
– หนังสือออกใหม่มีจำนวนมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นนวนิยายเสียมาก แต่หนังสือแปลก็ได้รับความนิยมเช่นกัน
– พื้นที่แสดงหนังสือที่น่าสนใจของส่วนกลางเป็นระเบียบเรียบร้อย
– ให้พิมพ์หนังสือส่วนตัวฟรีไม่เกิน 200 หน้า
– รับบริจาคหนังสือเพื่อห้องสมุดที่ขาดแคลนหนังสือ รวมถึงห้องสมุดที่โดนน้ำท่วม
– ระบบการสืบค้นหนังสือดีขึ้นเยอะเลย ค้นแล้วเจอบอกว่าอยู่บูทไหนด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ขอสรุปแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ แล้วเดี๋ยวภายในอาทิตย์นี้ผมคงได้ไปอีกรอบ
แล้วจะเอามาเล่าเพิ่มเติมนะครับ ยังไงก็อย่าลืมติดตามดูกันได้ที่นี่นะครับ
วันนี้นายห้องสมุดต้องขอตัวก่อน

ชมภาพบรรยากาศในงานได้เลยครับ

[nggallery id=29]

ซูเปอร์บรรณารักษ์ (Super librarian) มาปฏิบัติภาระกิจแล้ว

วันนี้วันเสาร์วันชิวๆ ไม่อยากเอาเรื่องหนักๆ มาเขียน เลยขอนำคลิปวีดีโอมาให้ดูแทนก็แล้วกัน
คลิปวีดีโอวันนี้เป็นคลิปวีดีโอที่แสดงให้เห็นว่าวันๆ นึงบรรณารักษืมีงานเยอะแค่ไหน
แต่บรรณารักษ์ไม่เคยย่อท้อแถมต้องทำงานแบบกระฉับกระเฉง
เหมือนเป็น ซูเปอร์บรรณารักษ์

คลิปนี้เป็นคลิปที่จัดทำขึ้นเพื่อโปรโมทห้องสมุดแห่งหนึ่ง
ผมชอบในแนวความคิดที่นำเสนอ คือ การนำภาระงานของบรรณารักษ์มาแสดง
เนื่องจากทุกวันนี้หลายคนยังคงเข้าใจผิดนึกว่าบรรณารักษ์มีงานแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
แต่จริงๆ แล้วงานบรรณารักษ์เยอะกว่านี้อีก เช่น
– เปิดไฟ เปิดคอม
– catalog หนังสือ
– จัดชั้นหนังสือ
– ช่วยผู้ใช้บริการค้นหาหนังสือ

…..ยังมีอีกมากมาย

ไปดูวีดีโอนี้กันเลยดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g[/youtube]

บรรณารักษ์ต้องทำงานอย่างมีความสุข ถ้าบรรณารักษ์หลายๆ คนคิดแบบนี้แล้ว
ผมเชื่อว่าบรรณารักษ์ที่อยู่ในคลิปวีดีโอนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถเป็น ซุเปอร์บรรณารักษ์ได้ทุกคน

ปล.ที่มาของคลิปวีดีโอนี้คือ http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g

บรรณารักษ์ผู้ชายไม่จำเป็นต้องเป็นเกย์นะ

เรื่องนี้เขียนแล้ว เขียนอีก และเขียนหลายครั้งแล้วด้วย ไม่เข้าใจว่าทำไมยังคงได้ยินอยู่เรื่อยๆ
ประเด็นมันคือเรื่อง ?ปัญหาการมองบรรณารักษ์เพศชายว่าต้องเป็นเกย์หรือกระเทยเท่านั้น?

เรื่องนี้ผมเขียนไปปีที่แล้วนะครับ แต่วันนี้ก็ยังคงมีคน MSN มาถามผมอีกว่า “เป็นผู้ชายแท้หรือปล่าว
เอิ่ม การเป็นผู้ชายแล้วชอบเรื่องห้องสมุดหรือบรรณารักษ์จำเป็นต้องไม่ใช่ชายแท้ด้วยหรอครับ

ไม่รู้ว่าจะต้องให้ผมพูดย้ำกันอีกสักกี่ครั้งว่า…
ทุกๆ อาชีพในปัจจุบันเขาก็เท่าเทียมกันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม
ดูอย่างทหาร หรือตำรวจสิ ยังมีผู้หญิงเป็นเลย แล้วคนเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นทอมด้วยซ้ำ
แต่พอผู้ชายทำอาชีพบรรณารักษ์ทำไมต้องมองว่าเป็นชายไม่แท้ เป็นเกย์ หรือเป็นกระเทยด้วยหรอ
เฮ้อออออ!!!! อยากจะจับไอ้พวกเข้าใจผิดเรื่องแบบนี้ มานั่งฟังอบรมจิงๆ มันน่านัก?

บทความที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์กับผู้ชาย เขาคงไม่เคยอ่านมั้งครับ
งั้นแนะนำให้ไปอ่านเรื่อง “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?”

แล้วก็ขออธิบายอีกสักเรื่องด้วยว่า การที่คนเหล่านั้นมีอยากเป็นเพศอื่น
เช่น เป็นเกย์ กระเทย ทอม ดี้ ตุ๊ด แต๋ว หรือจะเรียกอะไรก็เรียก
พวกเขาก็ไม่ได้มีความผิดอะไรหรอก เขาก็เป็นคนเหมือนกัน

ทุกคนก็ มีมือ มีเท้า มีจิตใจ มีสมองทำงานได้ก็เหมือนทุกคนนั่นแหละ
ดังนั้นอย่าพยายามไปกีดกั้นสิทธิเสรีภาพของพวกเขาเลยครับ
บางทีเราต้องให้เขาพิสูจน์ในความสามารถในการทำงานน่าจะดีกว่า

เอาเป็นว่าเรื่องมันไม่เป็นเรื่องเลยนะครับ….

ปล. เรื่องบรรณารักษ์กับเพศชายผมเคยเขียนไปแล้ว ลองอ่านได้ที่ “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?” ดูนะครับ
แล้วจะรู้ว่าไม่ว่าจะเพศอะไรก็สามารถทำงานบรรณารักษ์หรือห้องสมุดได้แหละ

ข้อสอบบรรณารักษ์ : จงกล่าวถึงผลงานทางด้านห้องสมุดของบุคคลต่อไปนี้

อยากเอาแนวข้อสอบบรรณารักษ์มาเขียนถึงหลายรอบแล้ว
วันนี้ขอเอาแนวข้อสอบบรรณารักษ์ ภาค ก อัตนัยมาให้เพื่อนๆ ดูสักข้อนึง พร้อมเฉลย (ผมเฉลยเอง)

ข้อสอบ : จงกล่าวถึงผลงานทางด้านห้องสมุดของบุคคลต่อไปนี้
– สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
– ดร.ฟรานซีส แลนเดอร์ สเปน
– เมลวิล ดิวอี้

คำตอบ (ผมช่วยหามาให้อ่านนะ)
– สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ – ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘? พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานพระองค์แรก ราชบัณพิตยสถานมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานหอสมุด พระนคร และพิพิธภัณฑสถาน (ข้อมูลจาก http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=492)

– ดร.ฟรานซีส แลนเดอร์ สเปน? (Frances Lander Spain) – เขียนหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทสไทยในปี 1954 ในปี 1960 ได้รับตำแหน่งประธาน ALA (อ่านต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Frances_Lander_Spain)

– เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)บรรณารักษ์ชาวอเมริกันเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมขึ้น ดิวอี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในวงการห้องสมุดและบรรรณารักษศาสตร์ เพราะนอกจากจะเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่แบบระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) แล้ว ยังเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่ม ก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกันซึ่งเป็นสมาคมอาชีพบรรณารักษ์แห่งแรกในโลก (ข้อมูลจาก http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5_%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%89/)
(อ่านต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Melvil_Dewey)

ข้อสอบบรรณารักษ์ใน ภาค ก มีหลายข้อที่ดูแล้วผมก็อึ้งเหมือนกัน แต่ผมจะไม่วิจารณ์นะครับ
เอาเป็นว่าไว้วันหลังผมจะนำข้ออื่นๆ มาเฉลยเรื่อยๆ เลยนะครับ อิอิ
เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากสอบ ภาค ก ด้านบรรณารักษ์

หนังสือที่ใช้ตัวอักษร A-Z เป็นชื่อเรื่อง (ชื่อสั้นจริงๆ)

ปัจจุบันเว็บไซต์แนะนำหนังสือมีเยอะมากๆ ดังนั้นเว็บไซต์เหล่านี้จะต้องหาสิ่งแปลกมาลงบ้าง
ตัวอย่างเช่นเว็บที่ผมจะแนะนำวันนี้ เขาจะแนะนำเฉพาะหนังสือที่มีชื่อเรื่องสั้นที่สุด

แล้วหนังสือแบบไหนที่เรียกว่า “ชื่อเรื่องสั้นที่สุด
นั่นก็หมายถึงหนังสือที่มีแค่ตัวอักษรเดียวไงครับ A B C D ….. Z

เอาเป็นว่าลองดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ

หนังสือที่มีชื่อเรื่องเพียงแค่ อักษรตัวเดียว A - Z

เป็นยังไงกันบ้าง สั้นได้ใจมั้ยครับ
จริงๆ แล้วนอกจากหนังสือที่มีตัวอักษรเดียวแล้ว ยังมีหนังสืออื่นๆ ที่มีพยางค์เดียวด้วย

หนังสือที่มีชื่อเรื่องพยางค์เดียว

เป็นเว็บแนะนำหนังสือที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์ดีจริงๆ ห้องสมุดอย่างเราก็น่าจะเอาไอเดียแปลกๆ แบบนี้ไปเล่นบ้างนะ
ตัวอย่าง : แนะนำหนังสือที่มีชื่อเรื่องสั้นที่สุด (เวอร์ชั่นภาษาไทย)

วันนี้ขอเสนอแค่นี้แล้วกัน ยังไงใครนึกอะไรดีๆ ก็แบ่งปันความคิดกันได้ที่นี่เลยนะครับ
สำหรับคนที่อยากเข้าไปดูเว็บไซต์นี้ ลองเข้าไปที่ http://www.abebooks.com/books/single-letter-title-shortest-mccarthy/warhol-updike.shtml