บทสรุป เรื่อง ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

เมื่อวานผมเกริ่นไปแล้วว่าผมไปบรรยายในงานประชุมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน (รุ่นที่4) แล้วก็ทิ้งท้ายว่าผมจะสรุปการบรรยายของผมให้อ่าน วันนี้เลยขอทำหน้าที่ในส่วนนี้ต่อ เรื่องที่ผมบรรยายในงานนี้ คือ “ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

เอกสารประกอบการบรรยายเพื่อนๆ สามารถชมได้จาก

หรือเปิดได้จาก http://www.slideshare.net/projectlib/ict-for-living-library-at-school

ดูสไลด์แล้วอาจจะงงๆ หน่อย งั้นอ่านคำอธิบายและบทสรุปของเรื่องนี้ต่อเลยครับ

บทสรุป ICT กับงานห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน

เริ่มต้นจากการบรรยายถึงความหมายและบทบาทของบรรณารักษ์ยุคใหม่ หรือที่ผมชอบเรียกว่า cybrarian ซึ่งหลักๆ ต้องมีความรู้ด้านบรรณารักษ์และความรู้ที่เกี่ยวกับไอที

จากนั้นผมจึงเปรียบเทียบว่าทำไมบรรณารักษ์ต้องรู้ไอที ซึ่งหลายๆ คนชอบมองว่าเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ผมจึงขอย้ำอีกครั้งว่า บรรณารักษ์ ไม่ใช่ โปรแกรมเมอร์ เราไม่ต้องรู้ว่าเขียนโปรแกรมอย่างไรหรอก แต่เราต้องรู้จัก เข้าใจ และนำโปรแกรมไปใช้ให้ถูกต้อง

ทักษะด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ (สำหรับห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน) ผมขอแยกเรื่องหลักๆ ออกเป็น 7 กลุ่ม คือ
1. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำนักงาน
2. ความรู้และทักษะในกลุ่มโปรแกรมสำหรับสื่อ
3. ความรู้และทักษะด้านการใช้งานระบบเครือข่าย
4. ความรู้และทักษะในกลุ่มพื้นฐานคอมพิวเตอร์
5. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวกับอุปกรณ์อื่นๆ
6. ความรู้และทักษะในกลุ่มการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. ความรู้และทักษะการใช้งานเว็บไซต์ 2.0


เมื่อเห็นทักษะไอทีที่ผมนำเสนอไปแล้ว เพื่อนๆ อาจจะบอกว่าง่ายจะตาย ไม่ต้องทำงานซับซ้อนด้วย
แต่เชื่อหรือไม่ว่า เรื่องง่ายๆ ของบรรณารักษ์ บางครั้งมันก็ส่งผลอันใหญ่หลวงอีกเช่นกัน

จากนั้นผมก็ให้ชมวีดีโอเรื่อง social revolution (คลิปนี้ถูกลบไปจาก youtube แล้ว โชคดีที่ผมยังเก็บต้นฉบับไว้)

จากนั้นผมก็ได้พูดถึง social media tool ว่ามีมากมายที่ห้องสมุดสามารถนำมาใช้ได้
เช่น Blog email msn facebook twitter youtube slideshare Flickr

ซึ่งผมขอเน้น 3 ตัวหลักๆ คือ blog, facebook, twitter โดยเอาตัวอย่างของจริงๆ มาให้ดู
Blog – Libraryhub.in.th
Facebook – Facebook.com/kindaiproject / Facebook.com/Thlibrary
twitter – twitter.com/kindaiproject

จากนั้นผมก็ฝากข้อคิดดีๆ เกี่ยวกับเรื่องการดูแล้วสื่อสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ห้องสมุด 6 ข้อ ดังนี้
1. อัพเดทอย่างสม่ำเสมอ
2. สามารถให้บริการผ่านสื่อออนไลน์
3. ใส่ใจกับความคิดเห็นหรือคำถามของผู้ใช้บริการ
4. ไม่นำเรื่องแย่ๆ ของผู้ใช้บริการมาลง
5. พูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ใช้บริการ
6. จัดกิจกรรมทุกครั้งควรนำมาลงให้ผู้ใช้บริการเข้ามาชม

ก่อนจบผมได้แนะนำให้เพื่อนๆ ตามอ่านเรื่องราวห้องสมุด บรรณารักษ์ และหนังสือจากบล็อกต่างๆ ด้วย
ถ้าไม่รู้จะเริ่มจากไหนให้เข้าไปที่ http://blogsearch.google.co.th
แล้วค้นคำว่า ห้องสมุด บรรณารักษ์ หนังสือ จะทำให้เจอเรื่องที่น่าอ่านมากมาย

เอาเป็นว่าสไลด์นี้ก็จบแต่เพียงเท่านี้ครับ ไว้วันหลังผมจะถยอยนำสไลด์มาขึ้นเรื่อยๆ นะครับ
จริงๆ ไปบรรยายมาเยอะแต่เพิ่งจะได้เริ่มเขียนเรื่องเล่าเล็กๆ น้อยๆ ให้เพื่อนๆ อ่าน

วันนี้ก็ขอลาไปก่อนครับ


About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*