เด็กเอกบรรณารักษ์กับการลองขายหนังสือ

วันนี้ผมขอเล่าประสบการณ์สมัยที่ผมยังเรียนปริญญาตรี เอกบรรณฯให้ฟังหน่อยแล้วกัน
เป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ครั้งนึงเลยก็ว่าได้ นั่นคือ “การทำธุรกิจขายหนังสือในงาน มอ.วิชาการ”
ซึ่งนอกจากขายหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ แล้ว ยังมีนิทรรศการหนังสือทำมือที่พวกเราได้ร่วมกันทำด้วย

book-business

ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเรามีแรงกระตุ้นคือ เงินและคะแนนเป็นเดิมพัน
เนื่องจากการจัดกิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา Publishing business ซึ่งผมเรียนในปี 3 เทอม 1 นั่นเอง

ในการทำธุรกิจขายหนังสือครั้งนี้ พวกเราชาวเอกบรรณารักษ์ได้ฝึกอะไรบ้าง
– การติดต่อ และการเจรจากับสำนักพิมพ์ต่างๆ
– การทำการประชาสัมพันธ์การขายหนังสือของพวกเรา
– การดูแล และจัดการสต็อกหนังสือ เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ซื้อ
– การกำหนดราคา และการตั้งเป้าหมายของธุรกิจ (กำไรเท่าไหร่ดีนะ)
– การจัดร้าน และแบ่งเวลากันในเอกเพื่อเฝ้าร้านของพวกเรา
– การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น หนังสือหมด หรือ หนังสือหาย ?
– การคัดเลือกหนังสือ และการศึกษากลุ่มผู้ซื้อ
– ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และกำไร ขาดทุน
และอีกหลายๆ อย่างที่ได้เรียนรู้ และได้ประสบการณ์จริงๆ

book-business1

นอกจากส่วนที่เป็นการทำธุรกิจขายหนังสือแล้ว อีกงานหนึ่งที่น่าสนใจในงานนี้คือ
การจัดนิทรรศการหนังสือทำมือ ซึ่งหนังสือทำมือที่แสดงในงานแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. ทำกันเองในภาควิชาบรรณฯ
2. ติดต่อขอตัวอย่างหนังสือจากสำนักพิมพ์ใต้ดินหลายๆ กลุ่ม
3. ขอรับจากร้านหนังสือใต้ดิน มาเพื่อจำหน่ายด้วย

กิจกรรมในครั้งนี้ ใช้เวลา 5 วัน ซึ่งนับว่าเป็นวันที่เหนื่อยเอาการเลยครับ
แต่สิ่งที่ได้กลับมาช่างคุ้มค่ามากมาย และทำให้พวกเรารู้ว่า

?อย่างน้อยจบบรรณารักษ์ก็ไม่จำเป็นต้องทำงานที่ห้องสมุดอย่างเดียว?

คลิปวีดีโอ 3D ความหวังห้องสมุดไทย

วันนี้ผมขอนำคลิปวีดีโอบน youtube มาให้เพื่อนๆ ดูสักตอนนึงนะครับ
ซึ่งเนื้อหาในคลิปวีดีโอนี้เกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดสามดีซึ่งเป็นความหวังในการพัฒนาห้องสมุดเมืองไทย

3d-library

เราไปดูคลิปกันก่อนดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=ydt4OsdgUok[/youtube]

คลิปนี้จัดทำโดย VOICE News (Voice of the New generation)

เนื้อหาในคลิปวีดีโอได้กล่าวถึง
– ความหมายของห้องสมุดสามดี
– จำนวนห้องสมุดที่มีในประเทศไทย
– จำนวนห้องสมุดที่มีเยอะแต่ไม่ทำให้สถิติการอ่านของคนไทยเพิ่มขึ้น
– คนภาคตะวันออกเฉียงเหนืออ่านหนังสือน้อยกว่าคนกรุงเทพฯ
– ระบบหนังสือหมุนเวียน
– สถาบันหนังสือแห่งชาติ
– โครงการที่เกี่ยวกับการรักการอ่าน

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองจับใจความกันดูนะครับ

OMG : บล็อกบรรณารักษ์ของผมโดนลอกหรือนี่

อ่านข่าววงการบรรณารักษ์ไปเรื่อยๆ แล้วบังเอิญเจอบทความของตัวเองในบล็อกของคนอื่น
แถมอ่านไปอ่านมาก็ไม่พบข้อความอ้างอิงเลยสักนิด แบบว่าแอบเซ็งนิดนึงนะครับ

libraryhub-copy

เรื่องของเรื่องจริงๆ แล้วก็ไม่อยากจะบ่นหรอกครับ
แต่เหตุการณ์เรื่องลอกบทความแล้วไม่อ้างอิงมันเกิดขึ้นบ่อยมากๆ
แล้วที่สำคัญเป็นบล็อกของวงการห้องสมุดด้วยกันเนี้ยสิ —> ทำกันได้ลง (เสียความรู้สึกมาก)

ผมลองเข้าไปดูบล็อกห้องสมุดแห่งนี้อย่างจริงจังปรากฎว่า
1. ไม่ได้ลอกแค่บทความเดียว (มีหลายบทความ)
2. เอาเนื้อความในบล็อกของผมมาเปลี่ยนจาก “ครับ” เป็น “คะ”
3. เอารูปที่อยู่ในบล็อกของผมมาลงด้วย
4. ไม่พบข้อความที่บอกว่ามาจากบล็อกของผม

เอาเป็นว่าแค่นี้ผมก็เสียความรู้สึกมากมายแล้วครับ

ไม่ได้งกบทความตัวเองหรอกนะครับ
ไม่ได้อยากดังหรือทวงสิทธิอะไรมากมายหรอก
ไม่ได้อยากต้องการคำขอโทษอะไรเลย

แค่ขอให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าวก็เท่านั้นเอง

cc-by-nc-sa_340x340

ในบล็อกห้องสมุดแห่งนี้มีการใช้อนุสัญญา creative common ด้วย
แต่ผมไม่แน่ใจว่าเขาจะเข้าใจเรื่องนี้จริงหรือปล่าว หรือแค่ติดเพื่อตามกระแสก็ไม่รู้
เอาเป็นว่าอยากให้ลองศึกษาเรื่องสัญลักษณ์ใน Creative common ให้ดี โดยเฉพาะ “BY” นะครับ

เอาเป็นว่าผมคงไม่เจอเรื่องราวเช่นนี้อีกนะครับ ขอบคุณมากมาย

ปล. ผมไม่บอกนะครับว่าห้องสมุดไหน เอาเป็นว่าถ้ายังมีเหตุการณ์เช่นนี้อีกผมจะเอามาลงอีกแน่ๆ

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 1

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่มที่ 1
ออกในเดือนกุมภาพันธ์ 2553

librarian-magazine

ฉบับแรกของปี 2010 ต้อนรับด้วยเทศกาลวันแห่งความรัก
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้จึงมีธีมหลักเป็นเรื่องของความรัก
โดยเน้นไปในเรื่องของรักในการทำงาน รักในการอ่าน รัก….ตามสไตล์บรรณารักษ์นั่นเอง

เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เราไปดูในเล่มกันดีกว่าว่ามีเรื่องอะไรที่น่าสนใจบ้าง

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก : เพราะรักจึงสมัครใจ

พาเที่ยว : Rarebook @mycafe thelibrary

พาเที่ยว : อะไรคือ TCDC

พาเที่ยว : แนะนำห้องสมุดมหาวิทยาลัยอุสมาเนีย

พาเที่ยว : Auckland museum และห้องสมุดในพิพิธภัณฑ์

บทความและเรื่องแปล : การใช้ Facebook ในห้องสมุดแพทย์

บทความและเรื่องแปล : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกับการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน ตชด.

บทความและเรื่องแปล : TDC : ThaiLIS Digital Collection

เรื่องสั้นและเรื่องเล่า : หนัง / หนังสือ / เพลง / ความรัก

เรื่องสั้นและเรื่องเล่า : อิ่มบุญที่สิบสองปันนา

เรื่องสั้นและเรื่องเล่า : ความสุ้ก ความสุข

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเนื้อหาฉบับนี้
ห้องสมุด บรรณารักษ์ และความรัก ผมว่ามันเป็นอะไรที่ลงตัวมากๆ ครับ
งั้นผมขอตัวไปอ่านก่อนนะครับ สุขสันต์วันวาเลนไทน์ครับ

เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 3 เล่ม 1 : http://www.librarianmagazine.com/VOL3/NO1/

ห้องสมุดกับเทศกาลวันวาเลนไทน์

สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนในวันแห่งความรัก (วันวาเลนไทน์) นะครับ
วันนี้ผมมีเรื่องการจัดห้องสมุดให้เข้ากับวันวาเลนไทน์มาให้เพื่อนๆ ดูครับ

valentine-library
ภาพจาก http://www.centralwesterndaily.com.au

หลังจากที่ผมไปสำรวจข้อมูลเรื่องการจัดงานวันวาเลนไทน์ในห้องสมุดต่างๆ จากทั่วโลก
ผมก็พบกับห้องสมุดแห่งหนึ่งที่จัดงานและรูปแบบห้องสมุดได้เข้ากับธีมงานวันวาเลนไทน์มากๆ
ห้องสมุดแห่งนี้ คือ Gloucestershire College Library, New Jersey, USA

ด้วยธีมหลักของงาน คือ การส่งความรักและความหวังดีให้กับผู้ใช้บริการห้องสมุด
การตกแต่งห้องสมุดทำให้ภาพห้องสมุดที่ดูทางการกลายเป็นห้องสมุดสุดโรแมนติก

เราไปดูกันนี้กว่าว่าห้องสมุดแห่งนี้จัดห้องสมุดยังไง

1. แจกของที่ระลึกเป็นรูปหัวใจ

valentine-lib-0

2. ผนังห้องสมุดติดโปสการ์ดรูปหัวใจ และบริเวณห้องโถ่งนำลูกโป่งหัวใจมาวางไว้

valentine-lib-1

3. วางแจกันที่ใส่ดอกกุหลาบไว้ตามโต๊ะอ่านหนังสือ

valentine-lib-2

เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างไอเดียสวยๆ งามในห้องสมุดนะครับ
ซึ่งไอเดียเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ สามารถจัดเองเล็กๆ ในห้องสมุดได้
ไม่จำเป็นต้องจัดทั้งห้องสมุดนะครับ แค่มุมเล็กๆ สักมุมผมก็ว่าน่านั่งแล้ว

สุดท้ายนี้ก็สุขสันต์วันวาเลนไทน์นะครับ

เรื่องที่ควรและเรื่องที่ไม่ควรพูดกับเจ้านายของคุณ

วันนี้ไปคุยงานกับเพื่อนๆ ในวงการบรรณารักษ์หลายคนมา แต่ละคนก็พูดถึงงานตัวเองมากมาย
และที่สำคัญคือเรื่องของผู้บริหารห้องสมุดหรือเจ้านายของทุกๆ คน ซึ่งทำให้ได้ข้อคิดต่างๆ มากมาย

tell-to-library-boss

ผมเลยขอเอาเรื่องเก่ามาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกสักครั้งนะครับ นั่นคือ “เรื่องที่ควรและเรื่องที่ไม่ควรพูดกับเจ้านายของคุณ”
ซึ่งบทความนี้ผมได้แปลมาจากบทความสองเรื่องใน computerworld.com คือ

Five things you should never tell your boss
Five things you should always tell your boss

เนื้อเรื่องในวันนี้เพื่อนๆ อาจจะบอกว่าดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์เลย
แต่ผมอยากจะบอกว่าเรื่องที่นำมาลงในวันนี้จริงๆ แล้วใช้ได้ทุกอาชีพนั่นแหละครับ
รวมถึงบรรณารักษ์ด้วยนะครับ ทำไมนะหรอ ก็เพราะว่า “บรรณารักษ์ก็สามารถนำไปปฏิบัติต่อผู้บริหารห้องสมุดได้เช่นกัน”

เรื่องแบบไหนที่ไม่ควรพูดกับเจ้านาย Five things you should never tell your boss

1. All about the technology ? and nothing about the business.
เรื่องที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆ แต่เทคโนโลยีเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวกับธุรกิจขององค์กร – เรื่องเทคโนโลยีที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน ถ้าเราพูดไปมากๆ มันก็ไม่เกิดประโยชน์เกี่ยวกับการทำงานหรอก เช่น บรรณารักษ์พูดเรื่องเทคโนโลยีทางอวกาศในห้องสมุด

2. There?s only one solution.

มีวิธีแก้ปัญหาเพียงทางเดียว ไม่มีตัวเลือก ? ถ้าเรามีแนวทางการแก้ปัญหาเพียงแค่ข้อเดียว นั่นก็หมายความว่าคุณไม่มีทางเลือกให้เจ้านาย ซึ่งก็ดูเหมือนว่าเรามัดมือชกเจ้านาย

3. Bad opinions about your colleagues
ความคิดเห็นแย่ๆ เกี่ยวกับเพื่อนร่วมงาน ? ความคิดเหล่านี้จะทำให้เห็นว่าเราทำงานกับคนอื่นไม่ได้

4. There?s no way
“มันไม่มีทางทำได้หรอก” ? คำตอบแบบนี้ห้ามตอบเด็ดขาดนะครับ เมื่อเจ้านายสั่งงานคุณแล้ว และถามความเห็นว่าควรทำหรือไม่ ห้ามคุณตอบแบบนี้ เพราะว่าคุณเองก็ยังไม่ได้ลองทำมันเลย จะมาตัดสินว่า “มันทำไม่ได้” ไม่ได้นะครับ ทางที่ดีลองก่อนแล้วถ้าทำไม่ได้จริงๆ ก็ค่อยบอกครับและหาแนวทางการแก้ปัญหาครับ

5. A surprise
น่าประหลาดใจ ? อันนี้พอๆ กับข้อเมื่อกี้ แต่คำนี้จะแสดงถึงความไม่เชื่อมั่นในตัวเจ้านายของคุณ ดังนั้นประโยคนี้ก็ห้ามเด็ดขาดเช่นกัน

เอาหล่ะครับ 5 ข้อที่ผ่านมาเพื่อนๆ ต้องจำเอาไว้เลยนะครับว่าไม่ควรพูดให้เจ้านายหรือผู้บริหารฟัง

5 ข้อที่ควรพูดกับเจ้านายบ้างว่ามีอะไร Five things you should always tell your boss

1. The real story
พูดเรื่องจริง และเรื่องที่เป็นไปได้ ? เวลาเกิดปัญหาอะไรในการทำงาน เมื่อเจ้านายถามคุณควรจะบอกเรื่องจริง ไม่ใช่คำแก้ตัว หรือคำใส่ร้ายคนอื่น

2. Your ideas
ควรเสนอไอเดียของคุณเพื่อพัฒนาธุรกิจหรือองค์กรของคุณบ้าง

3. What you want
บอกถึงความต้องการของคุณอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นความต้องการในหน้าที่ หรือความต้องการในการวัดผลงานของตัวเอง

4. No.
ไม่ ? คำว่า ?ไม่? คำนี้แตกต่างจากคำว่า ?มันไม่มีทางทำได้หรอก? นะครับ เพราะว่า ?ไม่? คำนี้หมายถึง หากโครงการหรือแผนงานที่หัวหน้าคุณสั่งมาแล้วคุณไม่เข้าใจจริงๆ ให้ถาม ด้วยคำว่า ?ไม่ใช่อย่างนี้หรือครับ? เพื่อให้เจ้านายได้ชี้แจงให้เราเข้าใจในงานยิ่งขึ้น

5. Your successes
ความสำเร็จของคุณ ? วันๆ ผู้บริหารก็ได้รับข่าวสารขององค์กรมามากอยู่แล้ว เพื่อนๆ ลองคิดสิครับว่าทั้งวันมีแต่ข่าวร้าย ข่าวล้มเหลวถ้าผู้บริหารฟังมากๆ จะรู้สึกเช่นไร ถ้าเรามองในทางทที่กลับกันว่า ถ้าทั้งวันมีแต่ข่าวดี ข่าวประสบความสำเร็จผมว่าผู้บริหารคงอยากจะฟังมากกว่านะครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับ ผมก็หวังว่าเพื่อนๆ คงจะนำไปใช้ในที่ทำงานของเพื่อนๆ นะครับ

ถ้าไม่มีห้องสมุดแล้ว…

คำถามนี้น่าสนใจมากครับ ถ้าไม่มีห้องสมุดแล้ว…พวกเราจะเป็นยังไง
ผมขอนำภาพๆ นึงมาอธิบายในเรื่องนี้นะครับ ซึ่งภาพๆ นี้เป็นภาพรณรงค์ให้ห้องสมุดยังคงมีต่อไป

ad-no-library

ข้อความในโปสเตอร์แผ่นนี้ คือ

“No libraries, No memory, No history, No future.”

ถ้าไม่มีห้องสมุด ก็จะไม่มีความทรงจำ ไม่มีประวัติศาสตร์ และไม่มีอนาคต

เอาเป็นว่าประโยคนี้ผมเห็นด้วยครับ เพราะว่าห้องสมุดได้จัดเก็บหนังสือมากมาย
ซึ่งรวมไปถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นไว้ด้วย

ส่วนที่บอกว่าไม่มีอนาคต ก็เพราะว่าเราจะไม่มีแหล่งให้ค้นคว้าหาความรู้เลย

ประโยคสุดท้ายก่อนจบเป็นการรณรงค์ให้ช่วยรักษาห้องสมุดต่อไปครับ

ดังนั้นขอให้เพื่อนๆ จงให้ความสำคัญกับ ห้องสมุดในวันนี้นะครับ ก่อนที่จะสายเกินไป

ปล. ภาพๆ นี้เป็นผลงานของ http://www.aaronlouie.com/LibPosters/

askalibrarian askalibrarian3

ลองเข้าไปดูกันนะครับ ในเว็บนี้ยังมีภาพโปสเตอร์ทำนองนี้ให้ดาวน์โหลดอีกเยอะเลย
และทุกภาพติด Creative Commons License. ไว้
ดังนั้นกรุณาทำตามข้อตกลงด้วยนะครับ หากต้องการนำภาพพวกนี้ไปใช้

การวางแผนสำหรับอาคารห้องสมุดสมัยใหม่ ตอนที่ 3

หลังจากที่ผมเคยสรุปหนังสือเรื่อง ?Planning the modern public library building? บทที่ 1 และ 2 นานแล้ว
วันนี้ผมขอสรุปบทที่ 3 และ 4 ต่อเลยดีกว่า ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกแบบห้องสมุดที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ยังแถมด้วยเรื่องของการให้บริการที่ควรจะมีในห้องสมุดประชาชน

planning-public-library-part-3

ขอแจ้งรายละเอียดทั่วไปของหนังสือเล่มนี้อีกที

ชื่อหนังสือ : Planning the modern public library building
แก้ไขและเรียบเรียงโดย : Gerard B. McCabe, James R. Kennedy
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited

Chapter 3 : Greening the Library : An Overview of Sustainable Design
เป็นบทที่ว่าด้วยการออกแบบห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เรื่องที่น่าสนใจของห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกกันในนาม “Green Library” นั่นเอง มีดังนี้
Building Site (ที่ตั้งของตัวอาคาร) มีข้อแนะนำคือควรเน้นการปรับปรุงโครงสร้างเดิมของห้องสมุดที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก รวมไปถึงการนำสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวอาคาร นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านนอกของห้องสมุดนั้นๆ ด้วย

Building Design (การออกแบบอาคาร) การออกแบบห้องสมุดโดยคำนึงถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยมองเรื่องใกล้ๆ ตัว เช่น การดูทิศทางลม การส่องสว่างของแสงจากธรรมชาติ การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังทางเลือก ฯลฯ นอกจากออกแบบด้านในห้องสมุดแล้ว เรายังต้องมองการออกแบบภายนอกอาคารด้วย

Interior Design (การออกแบบและตกแต่งภายใน) ให้เน้นเรื่องเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากธรรมชาติเป็นหลัก และปรับสภาพทั่วๆ ไปให้กลมกลืนกันทั่วห้องสมุด

Engineering System (ระบบต่างๆ ในอาคาร) เช่น เรื่องไฟฟ้า แสงสว่าง เครื่องปรับอากาศ ระบบบำบัดน้ำ ฯลฯ

ห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติให้โลก รวมไปถึงช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนของห้องสมุดด้วย

เอาเป็นว่านี่ก็คือเนื้อหาคร่าวๆ ของบทที่ 3 เรื่องห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ต่อไปผมจะขอกล่าวถึง บทที่ 4 ด้วยซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบริการต่างๆ ที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

Chapter 4 : An ounce of prevention : Library directors and the designing of public library
เป็นบทที่ว่าด้วยบริการที่ควรมีในห้องสมุดประชาชน

ไปดูกันเลยครับว่าห้องสมุดประชาชน (ในต่างประเทศ) เขามีบริการอะไรบ้าง

– ชั้นหนังสือทั่วไป
– พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือ
– มุมหนังสือเด็ก
– มุมเรียนรู้ตามอัธยาศัย (ทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างกลุ่ม)
– มุมสื่อมัลติมีเดีย
– มุมแนะนำหนังสือใหม่ และหนังสือยอดนิยม
– มุมประวัติศาสตร์ หรือ หอจดหมายเหตุ
– มุมสารสนเทศท้องถิ่น
– มุมวรรณกรรม นวนิยาย เรื่องสั้น
– มุมบริการอ้างอิง
– มุมบริการตอบคำถาม
– มุมแสดงนิทรรศการ
– มุมเงียบ หรือพื้นที่อ่านหนังสือแบบเงียบๆ
– มุมบริการเครือข่ายห้องสมุด
– มุมทำงานและนำเสนองานสำหรับหน่วยงานอื่นๆ
– ห้องปฏิบัติการ

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงบริการต่างๆ ในห้องสมุดประชาชนแบบคร่าวๆ
ในเรื่องรายละเอียดเพื่อนๆ ลองเข้าไปหาอ่านได้จากเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนทั่วไป (ในต่างประเทศ) เองนะครับ

อ๋อ สำหรับคนที่อยากอ่านตัวอย่างบางส่วนของหนังสือ
ทาง google book search ได้สแกนไว้ให้อ่านแบบเล่นๆ 300 หน้า ลองไปอ่านที่
http://books.google.com/books?id=NUplCIv1KRYC&dq=Planning+the+modern+public+library+building&printsec=frontcover&source=bn&hl=th&sa=X&oi=book_result&resnum=4&ct=result

การ์ตูนเรื่องนี้จะสอนให้รู้ว่า หากทำหนังสือห้องสมุดหายควรทำยังไง

ผมเป็นคนที่ชอบอ่านการ์ตูน 4 ช่องของต่างประเทศครับ วันนี้ขอนำมาให้เพื่อนๆ อ่านเล่นสักตอนนึง
ซึ่งผมขอเลือกการ์ตูนที่เกี่ยวกับห้องสมุดนะครับ จะได้สอดคล้องกับเนื้อหาในบล็อกผมสักหน่อย

peanut-library-cartoon

เนื้อหาก็ไม่มีอะไรมากหรอกครับ แค่เป็นการ์ตูนที่เกี่ยวกับเด็กคนนึงที่ทำหนังสือของห้องสมุดหายเท่านั้นเอง
เพื่อนๆ อยากรู้มั้ยครับว่าเด็กคนนี้จะแก้สถานการณ์ยังไง เอาเป็นว่าลองอ่านไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าครับ

peanuts

ปล. การ์ตูนที่ผมนำมาให้ดูวันนี้ ผมนำมาจากเว็บไซต์ของ OCLC เป็นการ์ตูนที่ชื่อว่า “Peanuts”

ข้อความในการ์ตูนมีดังนี้
กรอบที่ 1 ? Dear Library, I have lost your book (ถึงห้องสมุด, ฉันทำหนังสือของคุณหาย)
กรอบที่ 2 ? I can not find it anywhere (หาเท่าไหร่ก็หาไม่เจอ)
กรอบที 3 ? I will come to the library and turn myself in (
ผมจะไปที่ห้องสมุดและมอบตัว)
กรอบที่ 4 ? Please do not harm my mother and father (
กรุณาอย่าทำร้ายพ่อและแม่ของผม)

เป็นยังไงกันบ้างครับ กับการ์ตูนน่ารักๆ นี้
ผมว่านะ “ขนาดเด็กๆ ยังมีความคิดที่ดีและสร้างสรรค์มากๆ เลย”

ช่างเป็นข้อคิดที่ดีมากๆ เลยนะครับ เพราะว่าขนาดเด็กยังมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำเลย
ดังนั้นหากเพื่อนๆ ทำหนังสือของห้องสมุดหายก็อย่ากังวลมากครับ ให้แจ้งกับห้องสมุดตามตรง
แล้วจะชดใช้ให้ห้องสมุดวิธีใดก็แล้วแต่ท่านสะดวกเลย เช่น ไปหาหนังสือแบบเดียวกันมาใช้คืน หรือ จ่ายค่าปรับให้ห้องสมุด ก็ได้

การ์ตูนแบบนี้ดูสนุกๆ แถมสอดแทรกข้อคิดที่ดีด้วย ไว้วันหลังผมจะหามาให้ดูอีกนะครับ

วีดีโองานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์

คลิปวีดีโอที่ทางเครือข่ายจิตอาสาได้ถ่ายวันที่อบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ส่งมาถึงมือผมเรียบร้อย
วันนี้ผมจึงขอนำขึ้นมาให้เพื่อนๆ ได้ชมกัน สำหรับผู้ที่ไม่ได้มาอบรมคลิปวีดีโอนี้เป็นโอกาสของคุณแล้ว

แอบเสียดายนิดๆ ที่ผมไม่ได้นำกล้องถ่ายรูปไปในวันนั้น
เลยไม่ได้เก็บภาพบรรยากาศในวันนั้นมาให้เพื่อนๆ ดูเลย
มีก็เพียงวีดีโอที่ได้จากเครือข่ายจิตอาสาก็เท่านั้นเอง

virtual-library

การอบรมในวันนั้นใช้เวลาไป 3 ชั่วโมงก่าๆ แต่คลิปนี้มีความยาว 30 นาที
ซึ่งใน 30 นาทีที่ท่านกำลังจะได้ชมนั้น ผมว่ามันอัดข้อมูลในวันนั้นได้ครบถ้วนเลยทีเดียว

ไปชมวีดีโองานวันนั้นเลยครับ (ผมแบ่งเป็น 4 ตอนนะครับ)

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 1

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=5H592XIFeAY[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 2

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=kHFjshCWIRc[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 3

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=r9opbOzw58Q[/youtube]

คลิปวีดีโอจากงานอบรมการจัดการห้องสมุดเสมือนออนไลน์ ตอนที่ 4

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=2O3Qg5tDpLI[/youtube]

เป็นยังไงกันบ้างครับ ได้รับความรู้มากน้อยเพียงใด ก็อย่าลืมเอามาเล่าให้ฟังกันบ้าง
ใครที่นำไปลองใช้ก็ส่งความคิดเห็นมาด้วยเช่นกันนะครับ

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณช่างกล้อง (ไม่รู้จักชื่ออ่ะ ก็เลยไม่ลงชื่อให้นะ)
และเครือข่ายจิตอาสาที่ได้จัดงานอบรมดีๆ แบบนี้ให้คนไทยได้รู้จักคำว่ารักการอ่านมากขึ้น

ปล. วีดีโอนี้เป็นของเครือข่ายจิตอาสานะครับ