รวมภาพสาวสวยกับท่าอ่านที่สุดเซ็กซี่

วันนี้วันชิวๆ ผมขอโพสเรื่องชิวๆ และรูปภาพแบบชิวๆ บ้างดีกว่า
ซึ่งเรื่องและรูปที่นำมาลงนี้เป็นรูปที่ผมนำมาจากหลายๆ เว็บไซต์
และเป็นการค้นหารูปจากแหล่งต่างๆ ด้วยตัวเอง (แต่ผมจะอ้างที่มาให้นะครับ)

babes-with-books

วันนี้ผมเข้าไป search ภาพการอ่านหนังสืออยู่ดีๆ ก็ได้พบกับเว็บไซต์นึงเข้า
ซึ่งเว็บไซต์นี้ได้รวบรวมภาพสาวๆ สุดเซ็กซี่ในขณะที่กำลังอ่านหนังสือในท่าต่างๆ อยู่

พอเข้าไปดูแล้วเข้าใจเลยว่า การอ่านแบบสวยๆ เป็นอย่างไร
เว็บนี้ก็เข้าใจเลือกรูปเหมือนกันแหะ วันนี้เลยเอาตัวอย่างมาให้ดูสัก 5 รูปแล้วกัน

ไปดูกันเลยดีกว่า

1. อ่านในที่สาธารณะ ต้องท่านี้ถึงดูดี

readind-1

2. อ่านตามตึกหรืออ่านนอกบ้าน ท่านี้ก็แจ๋วนะ

42-21169891

3. อ่านในห้องนอน หรือ อ่านบนเตียง มันต้องท่านี้เท่านั้น

readind-3

4. ท่านี้แนะนำมากๆ สำหรับสาวๆ ที่ไปห้องสมุด ลองนั่งอ่านแบบนี้ดูสิครับ

readind-4

5. ถ้าไปห้องสมุดแล้วไม่มีเก้าอี้หรือโต๊ะให้นั่งอ่าน ก็ไปอ่านหน้าชั้นหนังสือแบบนี้เลย

readind-5

6. อ่านบนโต๊ะในห้องสมุด ต้องแบบนี้ หนุ่มๆ จะมองตาไม่กระพริบ

42-20620676

ปล. จะเซ็กซี่หรือไม่ขึ้นอยู่กับหน้าตาด้วยนะครับ อิอิ (ล้อเล่นนะ ขำขำ)

ที่มาของรูปทั้งหมด http://picasaweb.google.com/HardleySurton/BabesWithBooks#

ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

เรื่องเก่าเล่าใหม่วันนี้เป็นเรื่องที่มาและที่ไปของการกำเนิดบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แห่งนี้
ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนอยู่ที่ projectlib.wordpress.com เรื่อยมาจนถึง projectlib.in.th และ libraryhub.in.th

10-reason-i-write-blog-library

เหตุผลที่ผมเขียนไม่ได้มาจากการที่ถูกองค์กรบังคับแต่อย่างใด
เพราะจริงๆ แล้ว Projectlib และ Libraryhub ก็ไม่ได้มีสังกัดเหมือนกับบล็อกห้องสมุดที่อื่นๆ

คำถามที่ผมเจอมาบ่อย คือ ?ทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุด ในเมื่อมีเรื่องที่น่าเขียนอย่างอื่นเยอะกว่า?

นั่นสิเนอะ “ทำไม” เอาเป็นว่าไปดูเหตุผลของผมเลยดีกว่า

1. อยากเห็นวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดในประเทศไทยพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่านี้

2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ห้องสมุดในชุมชนก็บริการฟรีนะครับ

3. อยากให้เพื่อนๆ รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพของตัวเอง ซึ่งในบางครั้งเราอาจจะคาดไม่ถึงกับเรื่องบางเรื่อง เช่น การนำ MSN มาใช้ในงานตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ

4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น

5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ (จำไว้นะครับบรรณารักษ์ไม่ได้มีแต่ผู้หญิง อิอิ)

6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย

7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย

8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือก็แล้วกัน

9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ

10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก(ขอบอกว่าเกิดมาเพื่อบรรณารักษ์จะมีใครว่าหรือปล่าว)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเหตุผลดังกล่าว ชัดเจนกันมากขึ้นมั้ยครับ
คำตำหนิ หรือฉายาที่ตั้งให้ผมเรื่อง ?บรรณารักษ์แหกคอก? ผมก็ขอรับไว้ด้วยใจครับ
ไม่ว่าจะถูกด่าว่า ?โง่หรือปล่าวที่เขียนบล็อกแล้วไม่ได้อะไรตอบแทน? หรือ ?เขียนไปแล้วจะมีใครมาอ่านกัน?

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ยังคงอยู่กับเพื่อนๆ ร่วมวงการไปแบบนี้แหละครับ
ยังไงก็ขอให้ช่วยกันติดตามบล็อกนี้กันต่อไปด้วยนะครับ

ปล. ช่วงนี้อัพเดทบล็อกไม่บ่อยต้องขออภัยด้วยนะครับ เนื่องจากภาระงานประจำเยอะไปหน่อย

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีโฉมใหม่

ยังจำกันได้มั้ยครับว่าผมเคยแนะนำ “ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี” ไปแล้ว
ถ้าจำไม่ได้ลองอ่านที่เรื่อง “ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี

ภาพจำลองห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ภาพจำลองห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

เป็นยังไงกันบ้างครับ จำกันได้หรือยัง

หลังจากที่โครงการศูนย์ความรู้กินได้เข้ามาปรับปรุง ออกแบบ และตกแต่งใหม่
วันนี้ห้องสมุดประชาชนแห่งนี้เปลี่ยนไปอย่างที่ว่าเกือบจำไม่ได้เลยก็ว่าได้

ตอนนี้สถานที่พร้อมให้บริการผู้ใช้บริการแล้วนะครับ
และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 24 กรกฎาคม 2553 นี้แล้วด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเอาภาพตัวอย่างมาให้เพื่อนๆ ดูกันก่อน
แล้วเดี๋ยวถ้ามีเวลา ผมจะเขียนแนะนำบริการใหม่ๆ ในห้องสมุดแห่งนี้ให้เพื่อนๆ อ่านนะครับ

ไปดูรูปกันเลย

[nggallery id=25]

ปล. ถ้าอยากรู้ว่าเปลี่ยนแปลงแค่ไหนแนะนำให้ดูในเรื่อง “ทัวร์ห้องสมุดประชาชนอุบลราชธานี” ตามนะครับ

กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ

วันนี้ผมขอแนะนำงานประชุมวิชาการประจำปีของหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะครับ
เพราะว่างานนี้เป็นงานที่น่าสนใจมากๆ เพราะอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาสาระเพื่อการพัฒนาห้องสมุด

tu-seminar-library

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานประชุมวิชาการ
ชื่องานภาษาไทย : กระบวนทัศน์การพัฒนาห้องสมุดสู่ความสำเร็จ
ชื่องานภาษาอังกฤษ : Paradigm of library development for success
จัดวันที่ : 2 – 3 กันยายน 2552
สถานที่จัดงาน : โรงแรมปรินซ์พาเลช กรุงเทพฯ
จัดโดย : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

จากการที่ผมติดตามข่าวสารด้านห้องสมุดมาตลอดสามปี
ผมได้ลองอ่านเอกสารประกอบการประชุมวิชาการนี้มาโดยตลอด
(ต้องขอบคุณพี่ๆ ที่ธรรมศาสตร์ที่ส่งมาให้ผมอ่าน)
ซึ่งต้องขอบอกเลยว่าเป็นงานประชุมทางวิชาการด้านห้องสมุดที่ดีที่สุดในเมืองไทยเลยก็ว่าได้

ดังนั้นปีนี้พอมีงานผมเลยต้องขอบอกต่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพเข้าร่วมกันสักหน่อย
เอาเป็นว่าถ้าใครมีโอกาสไปงานนี้ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ จะได้ไอเดียดีๆ มากมายเพื่อนำมาพัฒนาห้องสมุด

ตัวอย่างหัวข้อการบรรยายในงานนี้
– การบรรยายเรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสู่ยุค Generation G
– การบรรยายเรื่อง คุณภาพบริการ ความพึงพอใจ การวัดและประเมินบริการห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง ศาสตร์แห่งความสำเร็จพิชิตอุปสรรคในงานห้องสมุด
– การบรรยายเชิงปฏิบัติ การเรื่องเทคนิคการทำ Mind Map เพื่อผลสำเร็จของงานห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Libraries – A Framework for Excellence : A Report on Work in Progress at Technische Universit?t M?nchen Library, Germany
– การบรรยายเรื่อง Social Networking, Social Media และ I-Society กับการพัฒนาห้องสมุด
– การบรรยายเรื่อง Seven Habits : หลักการเพื่อสร้างความสำเร็จแก่ตนเองและงาน

เห็นมั้ยครับแค่หัวข้อยังน่าสนใจมากๆ เลยครับ
ถ้าได้ไปฟังจะได้ไอเดียดีๆ กลับมามากแค่ไหน

อ๋อ แต่ก็ต้องบอกก่อนนะครับว่า งานนี้มีค่าใช้จ่ายนะครับ
ค่าลงทะเบียนคนละ 2,500 บาท (ค่าเอกสารและอาหาร)

นอกจากนี้หากเพื่อนๆ สนใจเอกสารประกอบการประชุมวิชาการที่ผ่านมา เพื่อนๆ สามารถดูได้ที่
“ห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน” (2550)
“การพัฒนาศักยภาพห้องสมุดยุคใหม่” (2551)
“การจัดการการเปลี่ยนแปลงห้องสมุดในทศวรรษหน้า” (2552)

ใครที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปดูได้ที่ http://203.131.219.180/conference2010

และถ้าใครสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานก็เข้าไปได้ที่ http://library.tu.ac.th/conference2010/index.asp

โครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553

เริ่มต้นกันแล้วนะครับสำหรับปีนี้ การคัดเลือกห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
ซึ่งเช่นเคยครับงานนี้จัดโดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย (TLA)

library-award

ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี
เป็นที่รู้กันว่าจะเป็นช่วงที่มีการคัดเลือกห้องสมุดดีเด่นในแต่ละปี

ปีนี้ก็เช่นกันครับ ทางสมาคมห้องสมุดฯ ได้ประกาศโครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553 แล้ว
และกำหนดการก็ไม่ได้ต่างอะไรจากเดิมมากมาย (ก.ค-ก.ย = คัดเลือกห้องสมุดดีเด่น)

การประกวดห้องสมุดดีเด่นแบ่งออกเป็นหลายประเภท ดังนี้
1. ห้องสมุดเฉพาะดีเด่น
2. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยดีเด่น
3. ห้องสมุดประชาชนดีเด่น
4. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดเล็กดีเด่น
5. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดกลางดีเด่น
6. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่ดีเด่น
7. ห้องสมุดโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษดีเด่น

ซึ่งกำหนดการของโครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น
พค. 53 สมาคมฯ จัดทำบันทึกแจ้งประธานชมรมฯ เพื่อพิจารณาคัดเลือกห้องสมุดดีเด่น
กค. ? กย. 53 แต่ละชมรมฯ ดำเนินการคัดเลือกห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553
ตค. 53 แต่ละชมรมฯ นำเสนอห้องสมุดดีเด่นแก่สมาคมฯ
พย. 53 สมาคมฯ รวบรวมข้อมูลห้องสมุดดีเด่นเพื่อจัดทำ Presentation
ธค. 53 สมาคมฯ จัดพิธีมอบรางวัลห้องสมุดดีเด่นในการประชุมสามัญประจำปี

ทำไมต้องให้รางวัล แล้วรางวัลนี้มันมีประโยชน์อย่างไร
– ความภูมิใจของหน่วยงานหรือองค์กร
– กำลังใจในการทำงาน และพัฒนาห้องสมุดตนเองต่อไป
– ทำให้ห้องสมุดอื่นๆ มีต้นแบบในการทำงาน

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ให้เข้าไปอ่านได้ที่
เอกสารแนะนำโครงการประกวดห้องสมุดดีเด่น ประจำปี 2553

ไอเดียสำหรับคนที่ต้องการทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

มีเพื่อนๆ หลายๆ คนชอบมาปรึกษาผมเกี่ยวกับเรื่องหัวข้อในการวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์
วันนี้ผมเลยขอนำเสนอเรื่องนี้เพื่อให้ไอเดียในการเลือกหัวข้อเพื่อทำวิจัยด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์นะครับ

idea-library-research Read more

คลิปวีดีโอแนะนำห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้

วันนี้ผมขอแนะนำคลิปวีดีโอเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ทุกคนได้ดู
เพื่อเป็นการโปรโมทห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ในเขตกรุงเทพฯ ให้เพื่อนๆ รู้จักด้วย

clipvideo

ไปชมวีดีโอกันก่อนเลยครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=p7IWKLWaFE0[/youtube]

สถานที่ที่ใช้ถ่าย : ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สะพานสูง ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนาง
จัดทำโดย Voice news

สรุปความจากวีดีโอ

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สะพานสูงจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายกรุงเทพฯ :
“กรุงเทพมหานครเป็นมหานครแห่งการเรียนรู้”

โดยห้องสมุดแห่งนี้เน้นความทันสมัยตอบรับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเมือง
(การเพิ่มพื้นที่และแบ่งโซนอย่างชัดเจนแบ่งพื้นที่)

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สะพานสูงแห่งนี้มี 3 ชั้น และแบ่งโซนดังนี้
ชั้น 1 – โซนอ่านหนังสือทั่วไป, มุมรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม, โซนหนังสือและของเล่นสำหรับเด็ก
ชั้น 2 – มุมหนังสือในหมวดต่างๆ, มุมทำการบ้าน
ชั้น 3 – มุมคอมพิวเตอร์, ห้องฉายภาพยนตร์, มุมวรรณกรรมสำหรับเยาวชน

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สะพานสูงมีผู้เข้าใช้บริการ 500 คนต่อวัน
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ซอยพระนางมีผู้เข้าใช้บริการ 600 คนต่อวัน

คำแนะนำจากผู้ใช้บริการถึงห้องสมุด :-
– ห้องสมุดมีความสว่าง และตกแต่งอย่างสดใส
– ห้องสมุดมีความทันสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต
– ห้องสมุดมีสื่อหลากหลาย

ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ในเขตกรุงเทพฯ ถือเป็นตัวเลือกนึงสำหรับคนที่ต้องการความรู้โดยไม่เสียเงินนะครับ

เอาเป็นว่าพอดูวีดีโอจบเพื่อนๆ คงจะแวะไปเยี่ยมเยี่ยนห้องสมุดเหล่านี้บ้างนะครับ
สำหรับวันนี้ผมไปก่อนดีกว่า และถ้าใครสนใจอยากดูภาพห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้
เอาไว้รอชมได้เร็วๆ นี้ เพราะชมจะแวะไปถ่ายแล้วเอามานำเที่ยวให้เพื่อนๆ เอง อิอิ

กิจกรรมยอดฮิตของเหล่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในช่วงนี้

สัปดาห์นี้มหาวิทยาลัยทุกแห่งคงเปิดเทอมกันหมดเรียบร้อยแล้วใช่มั้ยครับ เปิดเทอมใหม่ ปีการศึกษาใหม่ ภาคการศึกษาใหม่
ซึ่งแน่นอนว่ากิจกรรมยอดฮิตที่ห้องสมุดจะต้องทำในช่วงนี้ก็คือ “การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด” นั่นเอง

library-activity

“การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด” เป็นสิ่งจำเป็นต่อนักศึกษาหรือไม่
จำเป็นสิครับ เพราะนักศึกษาใหม่จะได้รู้จักห้องสมุดของสถาบันการศึกษาตัวเอง
เพื่อที่จะต้องใช้ค้นหาข้อมูลและเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดจนกว่าจะเรียนจบจากมหาวิทยาลัยของตัวเอง

ดังนั้นห้องสมุดจึงมีหน้าที่แนะนำการใช้งานห้องสมุดในด้านต่างๆ เช่น
– แนะนำบริการต่างๆ ที่มีในห้องสมุด
– แนะนำการสืบค้นในรูปแบบต่างๆ ของห้องสมุด
– การเขียนรายงานและการอ้างอิง

ฯลฯ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีกิจกรรมที่คล้ายๆ กันบ้างและมีหลายกิจกรรมที่เพิ่มเติมเข้ามาบ้าง

ซึ่งวันนี้ผมได้ลองเข้าไปดูเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ
ผมจึงขอนำรูปภาพการประชาสัมพันธ์งานปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุดจากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาให้ดู

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย – การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด 2553

liborient53_a4

2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ -ปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด

kulib

3. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ – การอบรม “ทักษะการสืบค้นสารสนเทศของหอสมุด”

psu-lib

เปิดเทอมใหม่แบบนี้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ในห้องสมุดคงเหนื่อยกันแน่ๆ
แต่เอาเป็นว่าสู้ๆ กันนะครับ ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ

บอร์ดกิจกรรมในห้องสมุดของคุณมีตารางการแข่งขันฟุตบอลโลกหรือยัง

อีกไม่กี่วันก็จะถึงเทศกาลบอลโลกแล้วนะครับ ผมก็เป็นอีกคนที่ติดตามเช่นกัน
ดังนั้นผมจึงอยากให้เพื่อนๆ ตามกระแสกันด้วยนะครับ …

2010-fifa-world-cup

สิ่งที่ทุกคนอยากรู้เกี่ยวกับบอลโลก คือ
– วันไหนมีการแข่งขัน
– ประเทศไหนเตะกับประเทศไหน
– เขาเตะกันที่สนามไหน
– ช่องไหนถ่ายทอดสดบ้าง (โดยเฉพาะช่องฟรีทีวี)

เอาเป็นว่าผมขอแนะนำว่าห้องสมุดควรจะมีตารางสรุปเรื่องเหล่านี้แปะไว้ในห้องสมุดบ้างนะครับ
ตารางการถ่ายทอดสด สามารถเข้าไปดูได้ที่
http://www.rs.co.th/FIFA2010/fifa_program.html

fifa-program

และถ้าห้องสมุดไหนมีความสามารถก็จัดนิทรรศการแบบย่อมๆ ก็ได้

ตัวอย่างการจัดนิทรรศการเรื่องฟุตบอลโลก
– (ความรู้) ประวัติความเป็นมาของฟุตบอลโลก
– (ความรู้) ประเทศที่เป็นเจ้าภาพตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน
– (ความรู้) ประเทศที่ได้แชมป์ตั้งแต่ครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน
– (ของประดับ) ประดับห้องสมุดด้วยธงชาติประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน
– (กิจกรรมทายผล) บอร์ดแสดงความคิดเห็นเรื่องฟุตบอลโลก (ให้ผู้ใช้เขียน)

ที่เล่ามาเป็นเพียงตัวอย่างนะครับ จะจัดได้เยอะกว่านี้ก็ตามสะดวก หรือจะจัดแค่แปะข่าวก็ได้

ในแต่ละวันถ้าอยากให้มีสีสันในห้องสมุดผมว่าน่าจะมีบอกว่า วันนี้ใครเตะกับใครนะครับ
อาจจะอยู่ตรงเคาน์เตอร์บรรณารักษ์ก็ได้ หรือหน้าห้องสมุดก็ได้เช่นกัน

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำแค่นี้แล้วกัน
ส่วนเพื่อนๆ จัดอะไรบ้างก็อย่าลืมเอามาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ

ปีนี้ตัวเต็งคือ สเปน รองลงมาคือ บราซิล (ฟังจากข่าวมานะ)
ใครจะเชียร์ทีมไหนก็ได้ แต่ขออย่างเดียวอย่าเอาการพนันเข้าห้องสมุดนะครับ…มันเสียชื่อหมด

Librarian GaGa มิวสิควีดีโอที่บล็อกห้องสมุดต้องพูดถึง

ช่วงนี้บล็อกบรรณารักษ์และบล็อกห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังพูดถึงคลิปวีดีโอนึงอยู่
เอาเป็นว่าผมขอตามกระแสสักนิดแล้วกัน บังเอิญว่าเห็นแล้วถูกใจอ่ะ

librarian-do-gaga

เพื่อนๆ รู้จัก Lady Gaga มั้ย
ถ้าไม่รู้จักผมว่าเพื่อนๆ ก็คงเฉยๆ กับคลิปวีดีโอนี้แหละ
แต่ถ้ารู้จัก เพื่อนๆ คงต้องเคยฟังเพลงนี้ แน่ๆ “Poker Face”

เอาเป็นว่ามีนักศึกษาคณะหนึ่งเขานำเพลงนี้มาแปลงให้เข้ากับห้องสมุด
นอกจากเนื้อร้องแล้ว ยังแถมด้วยมิวสิควีดีโอด้วยนะครับ

เอาเป็นว่าไปดูกันเลย

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=a_uzUh1VT98[/youtube]

เป็นไงบ้างครับ ชอบกันหรือปล่าว
ผมว่ามันก็เจ๋งดีนะ ทำเอาอึ้งไปเลยอ่า…

เอาเป็นว่าไปดูเนื้อเพลงนี้กันนะครับ

เนื้อเพลง Librarian Do Gaga

You got a question that is causing you some pain
Typin? keywords into the search engine again.
Look your na?ve searching just ain?t gonna get it done
Cause when it comes to search if it?s not tough it isn?t fun (fun)

Oh, oh, oh, oh, ohhhh, ohh-oh-e-ohh-oh-oh
I?ll blow your mind, show you how to find.
Oh, oh, oh, oh, ohhhh, ohh-oh-e-ohh-oh-oh
I?ll blow your mind, show you how to find.

Can use my
Can use my
Yeah you can use my catalog
(Don?t forget the databases)
Can use my
Can use my
Yeah you can use my catalog
(Don?t forget the databases)

Ca-ca-ca-catalog ca-ca-catalog
(Mum mum mum mah)
Ca-ca-ca-catalog ca-ca-catalog
(Mum mum mum mah)

This keyword search it gives you way too many hits
Boolean limits pare things down to just what fits
Use the thesaurus to find subject terms that work
Then in just one minute you?ll be through like Captain Kirk (Kirk)

[Chorus]

We love the Big 6, baby!

Step one define your problem
Pick your sources.
Then go huntin?. We?re not puntin?
On the research. We?re engaging and extracting somethin?
Then you can put it back together
Tell your friends about your awesomeness
It?s synthesis synthesis
Evaluate cause we?re into this.

เอาไปหัดร้องกันดูนะครับ อิอิ

เพื่อนๆ คิดยังไงกับมิวสิควีดีโอนี้กันบ้างครับ อย่าลืมแสดงความคิดเห็นกันด้วยนะครับ