รู้มั้ยว่า LIBRARY ย่อมาจากอะไร

รู้หรือปล่าวว่าตัวอักษรทุกตัวของคำว่า ?Library? มีความหมาย
(ความหมายของตัวอักษรทุกตัว ผมเป็นคนนิยามให้นะครับ)

library

เอาเป็นว่าวันนี้ผมจะแยกคำว่า LIBRARY ให้เพื่อนๆ ได้รู้ว่า
นอกจากคำว่า Library จะมีความหมายว่าห้องสมุดแล้ว
แต่ละตัวอักษรของคำนี้สามารถใช้แทนอะไรได้บ้าง

L-I-B-R-A-R-Y =?

L = Literature ? วรรณกรรม
I = Information ? สารสนเทศ
B = Book ? หนังสือ
R = Reference ? อ้างอิง
A = Advice ? คำแนะนำ
R = Read ? การอ่าน
Y = You / User ? คุณๆ นั่นแหละ ผู้ใช้ทุกคน

จากตัวอักษรต่างๆ ด้านบน หากเพื่อนๆ เอามารวมกัน ก็จะคำว่า

Literature + Information + Book = LIB
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงทรัพยากรต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นบันเทิง หรือสาระความรู้

Reference + Advice + Read = RAR
ตัวอักษรทั้งสามตัวนี้ แสดงถึงงานบริการต่างๆ ที่มีในห้องสมุด
ทั้งบริการการอ่าน บริการตอบคำถามและอ้างอิง บริการแนะนำสารสนเทศ

You = USER
ตัวอักษรตัวนี้สำคัญกับพวกเรามากที่สุด นั่นคือ ผู้ใช้ทุกคน หรือว่าคุณ นั่นเอง

ดังนั้นหากแยกส่วนต่างๆ ของห้องสมุดแล้วเราจะพบว่า
ส่วนประกอบของความสมบูรณ์ของห้องสมุดมาจาก
Content + Service + User = ความสำเร็จของห้องสมุด

เอาเป็นว่าวันนี้ผมได้ให้ความหมายของทุกตัวอักษรดังนี้
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง เห็นด้วยกับตัวอักษรต่างนี้หรือปล่าว
หรือว่าคิดว่าควรจะแทนด้วยตัวอักษรอื่นๆ ยังไงก็ลองเสนอความคิดเห็นมานะครับ อิอิ

ฟรี ฟรี ฟรี มีที่ห้องสมุด

เพื่อนๆ ชอบของฟรีกันหรือเปล่าครับ

ถ้าเพื่อนๆ ชอบของฟรี ผมขอแนะนำของฟรีๆ แบบนี้
– ซีดี และ ดีวีดี ฟรี!!!!!
– ดูหนัง ฟรี!!!!!
– ฟังเพลง ฟรี!!!!!
– อินเทอร์เน็ต ฟรี!!!!!
– อ่านเรื่องใหม่ๆ ฟรี!!!!!

ของฟรี!!!!! แบบนี้มีที่ห้องสมุดจริงๆ นะ

ไม่เชื่อไปดูการ์ตูนสิครับ

nancy

เป็นไงหล่ะของฟรีมีที่ห้องสมุดจริงๆ ด้วย

เอาหล่ะทีนี้เรามาวิเคราะห์กันว่า
“สิ่งที่การ์ตูนนำเสนอนี้ หากนำมาเทียบกับห้องสมุดเมืองไทยจะฟรีจริงหรือเปล่า”

เริ่มจาก Free CDs & DVD
เขาบอกว่าซีดีและดีวีดีฟรี จริงๆ แล้วมันก็ฟรีจริงๆ หล่ะครับ
เพียงแต่มีระยะเวลากำหนด นั่นคือการยืมคืนสื่อมัลติมีเดียนั่นเอง
จริงๆ แล้วบางที่อาจจะให้ยืม แต่บางที่ก็ให้ใช้แค่ภายในห้องสมุดเท่านั้น
แต่สรุปว่ายังไงก็ถือว่า ฟรี แล้วกัน ไม่เชื่อดูรูปนี้เลย

cd-free

ต่อมา Watch free movies & Listen to free music
ดูหนังฟรี และเพลงฟรีในห้องสมุดจะมีมุมมัลติมีเดีย
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเลือกภาพยนตร์และเพลงที่ถูกใจ แล้วนำมาดูและฟังได้ที่จุดบริการนี้
เพียงเท่านี้ก็ถือว่าให้บริการดูหนังแบบฟรีๆ และฟังเพลงแบบฟรีๆ แล้วนะครับ

ต่อมา Get free internet
ประเด็นนี้อาจจะเป็นที่ถกเถียงของเพื่อนๆ ว่า อาจจะไม่ฟรีอย่างที่คิด
ห้องสมุดบางที่อาจจะนำแผนธุรกิจเข้ามาใช้ (Internet cafe)
บางที่ก็ให้ใช้ฟรีแต่ต้องลงทะเบียน ประเด็นผมจึงขอบอกได้แค่ว่า “ฟรีเป็นบางที่”

wifi-free

ประเด็นสุดท้าย Read the latest graphic novels free
เรื่องการอ่านหนังสือในห้องสมุด ถ้าต้องเสียเงินอันนี้ก็คงแปลกมากนะครับ
เพราะห้องสมุดเกือบทั้งหมดให้อ่านหนังสือได้ฟรีแน่นอนอยู่แล้ว
ดังนั้นฟันธงไปเลยว่า “ฟรีจริงๆ”

สำหรับเงื่อนไขของห้องสมุดที่ให้บริการแบบฟรีๆ เช่น
– ต้องเป็นสมาชิกของห้องสมุดก่อนถึงจะใช้บริการเหล่านี้ได้ (ค่าสมาชิกอาจจะไม่ฟรี)
– บางห้องสมุดให้ยืมซีดี ดีวีดี หรือหนังสือได้ แต่ต้องวางเงินมัดจำ (อันนี้เข้าข่ายว่าฟรีหรือปล่าว)
– บางครั้งจะใช้ของฟรีอาจจะต้องรอ เพราะว่าต้องมีการจองคิว

ก่อนจากกันวันนี้ขอเชิญชวนว่า “วันนี้คุณใช้บริการฟรีๆ ในห้องสมุดแล้วหรือยัง”

ภาพการ์ตูนจาก http://comics.com/nancy/2009-04-19/

แนะนำหนังสือที่บรรณารักษ์ยุคใหม่ควรอ่าน

หนังสือทั้ง 3 เล่มที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้
ผมได้อ่านไปแล้วบางส่วน แต่ยังอ่านไม่ครบหรอกนะครับ
แต่รู้สึกว่าเนื้อหาค่อนข้างดีสำหรับบรรณารักษ์รุ่นใหม่ๆ อย่างพวกเรา

book-suggest

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปหากันดูนะครับ

Read more

แนะนำเกมส์แต่งตัวบรรณารักษ์

เพื่อนๆ อยู่ว่างๆ เบื่อกันหรือปล่าวครับ
วันนี้ผมมีเว็บไซต์เกมส์แต่งตัวบรรณารักษ์มาให้เล่นครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปเล่นดูกันนะ แล้วแต่งตัวได้ยังไงก็ส่งมาให้ดูกันบ้าง

เว็บไซต์เกมส์แต่งตัวบรรณารักษ์ คือ? http://librariandressup.com

librarydressup

Read more

เรื่องของ Web 3.0 & Semantic

เรื่องของ web 3.0 กำลังจะเข้ามาใกล้เรามาขึ้นเรื่อยๆ แล้วนะครับ
ในประเทศไทยเพื่อนๆ อาจจะได้ยินคำว่า web 2.0 มาพอควรแล้ว
วันนี้ผมเลยขอนำเรื่องที่ใหม่กว่านั่นมาเสนอครับ ลองอ่านได้เลย

web30

ช่วงปลายปีนี้มีการประชุมเกี่ยวกับ Web3.0 มากมาย
ซึ่งจุดประสงค์ส่วนใหญ่ก็ คือ การกำหนดทิศทาง และมองแนวโน้มของเทคโนโลยีเว็บไซต์

Read more

งานแรกของผม คือ แผนผังห้องสมุด

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 หรือนับง่ายๆ คือ 3 ปีที่แล้ว
วันนั้นถือว่าเป็นครั้งแรกที่ผมเริ่มงานในตำแหน่งบรรณารักษ์ นั่นเอง

first-work-librarian

ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้รับผมเข้ามาเนื่องจาก
สถาบันแห่งนี้เพิ่งเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเป็นปีแรก

Read more

วันเปิดทำการหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี ถือว่า เป็นวันฉัตรมงคล
แต่หากเราย้อนกลับไปวันที่ 5 พฤษภาคม 2509
เราจะพบว่ามีเหตุการณ์อีกเหตุการณ์นึง นั่นคือ
การเปิดทำการ ของหอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี นั่นเอง

nlt-begin

ในขณะนั้นหอสมุดแห่งชาติเป็นเพียงอาคารทรงไทย 5 ชั้น ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ 17 ไร่
แต่ตอนมาได้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ เพิ่มเติมจนกลายเป็นหอสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน

Read more

ผมเริ่มเขียนบล็อกห้องสมุดตั้งแต่เมื่อไหร่

จำกันได้มั้ย…
KM_library (Gotoknow) – 2549
Thailibnetwork (Blogspot) – 2550
Projectlib (wordpress.com) – 2550
Projectlib.in.th – 2551
และบัดนี้ LibraryHub.in.th – 2552

my-first-blog

เรื่องที่ผมเขียนผ่านมา หากนำบทความต่างๆ มารวมกัน
ตอนนี้ผมคงเขียนเรื่องได้สัก 700 กว่าเรื่องแล้วมั้ง
ผมว่าเรื่องที่ผมเขียน มันยังคงน้อยกว่าเรื่องห้องสมุดที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหล่ะมั้ง

เท่าที่ได้อ่านข่าวบรรณารักษ์ และห้องสมุด
ทุกวันผมได้อ่านประมาณอย่างน้อย 10 กว่าเรื่อง
หากคำนวณเป็นรายปี คงจะได้ปีละ 3650 เรื่องละมั้ง

เรื่องห้องสมุดทั่วโลก 1 ปี / เรื่องที่ผมเขียน 3 ปี
3650 / 700

เรื่องจำนวนของการเขียนอย่าไปใส่ใจเลยดีกว่าครับ
ตอนนี้ผมจะเล่าให้ฟังว่า บล็อกห้องสมุดที่ผมได้เขียนในแต่ละที่มีที่มาอย่างไร

เริ่มจากในปี 2549 หลังจากผมทำงานได้สักระยะนึง
ช่วงนั้น การจัดการองค์ความรู้กำลังเป็นที่นิยม และหนึ่งในนั้นคือ Gotoknow
หลังจากที่ได้เข้าไปอ่านความรู้ใน?Gotoknow บ่อยๆ ผมก็เริ่มอยากเขียนบ้าง

gotoknow

จึงลองสมัครดู โดยตอนนั้นผมได้ใช้ user = Km_library
เพราะต้องการให้อ่านแล้วสื่อถึงการจัดการความรู้ในห้องสมุด

แต่พอเขียนไปสักระยะอาการเขียนไม่ออกก็เริ่มเกิดขึ้น
“เรื่องห้องสมุดจะให้เขียนทุกวันได้ยังไง ไม่เห็นมีอะไรให้เขียนเลย” ผมคิด
ดังนั้นอาการดองบล็อกก็เกิดขึ้น จนหยุดเขียนในที่สุด

ต่อมาในช่วงปิดเทอมใหญ่ของนักศึกษาปี 2550
ช่วงที่ได้พักอยู่บ้านทำให้ผมเริ่มเกิดอาการเบื่อหน่าย วันๆ ไม่มีอะไรจะทำ
ก็เลยหาของเล่นจากอินเทอร์เน็ตแก้เซ็ง จนไปเจอ Blogspot

blogger

ทำให้ความรู้สึกว่าอยากเขียนบล็อกเริ่มกลับมาอีกครั้ง
โดยในช่วงแรกที่เขียน Blogspot ก็อาศัยบทความจากเพื่อนๆ ใน Gotoknow
นำมาวิเคราะห์ในภาษาของเราเอง แล้วจึงนำมาเขียนนั่นเอง

ใน?Blogspot ความคาดหวังของผมคือ
การตั้งกลุ่มชมรมบรรณารักษ์เขียนบล็อกในประเทศไทย
จากการสืบค้นทำให้รู้จักรุ่นพี่คนนึง นั่นก็คือ พี่โต (iteau)
ซึ่งเป็นคนที่เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดได้เก่งมาก
จึงเริ่มขอคำปรึกษา และได้พูดคุยกันจนทำให้ผมอยากเขียนบล็อกห้องสมุด

ต่อมาจากข้อจำกัดของ?Blogspot ที่มีลูกเล่นที่ค่อนข้างใช้ยาก
ทำให้ผมต้องหาทางออกด้วยการเปลี่ยนเครื่องมือในการเขียน
และตอนนั้นที่เห็นบล็อกของพี่โต (iteau)
ทำให้สงสัยว่า wordpress คืออะไร และได้คำแนะนำจากพี่โต จนผมเรื่องสมัคร wordpress

wordpress

ณ ตอนนั้นที่ทำงานของผมมอบหมายให้ผมเขียนโครงงานห้องสมุดมากมายๆ
ผมจึงตั้งใจว่าจะนำโครงการเหล่านี้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่าน โดยใช้ชื่อว่า projectlib
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันแก้ปัญหากัน

และเพื่อให้มีแรงกระตุ้นในการเขียน
ผมจึงให้สัญญากับทุกคนว่า จะเขียนเรื่องให้ได้วันละ 1 เรื่อง
(My Library in 365 days)

projectlibwordpress

ซึ่งในความเป็นจริงก็ไม่ได้เขียนทุกวันหรอกครับ
บางวันเก็หยุดเขียน บางวันก็เขียนเกิน

ผลสรุป 1 ปี บทความ 400 กว่าเรื่อง
ก็เป็นคำตอบว่าผมสามารถทำได้เกินเป้าหมายอีก

ในขณะนั้นเองความต้องการขยาย projectlib ก็เกิดขึ้น
จึงสมัคร Domain และ Host ของตัวเอง
ซึ่งต่อมาก็ได้โดเมนว่า http://www.projectlib.in.th นั่นเอง

projectlibinthai

การเขียนบล็อกก็ยังคงราบรื่นไป จนกระทั่ง มีนาคม 2552
การทำ Index ของ Google มีลักษณะที่แปลกๆ
ทำให้ผมเจอปัญหาคือ google ไม่อัพเดทบล็อกให้ projectlib
นอกจากนั้นยังลดค่า Pagerank จนเหลือ 0 อีก

อัตราการเข้าชมจากเดือนปกติ 19,000 คน
อัตราการเข้าชมของเดือนเมษายนที่ผ่านมา 1,900 คน
จำนวนลดลงจนน่าใจหายอย่างมาก

การตัดสินใจเปลี่ยนชื่อ Projectlib เข้ามาอยู่ในสมองของผม
เพื่อให้ชื่อของบล็อกมีแนวทางที่กว้างกว่า Projectlib

ผมจึงตัดสินใจใช้ชื่อ LibraryHub โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
– จัดเก็บเรื่องราวที่ผมเคยเขียนมาให้เป็นสัดส่วนมากกว่านี้
– หลีกเลี่ยงปัญหาที่จะเกิดในลักษณะเดียวกับ Projectlib
– เป็นพื้นที่สำหรับห้องสมุด และบรรณารักษ์อย่างแท้จริง

ซึ่ง?LibraryHub จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ในวันที่ 23-24 พฤษภาคม 2552 (งาน Barcampbangkok3)
โดยในระหว่างนี้ผมก็ได้ย้ายมาอยู่ที่นี่ได้สักระยะแล้วครับ
เพียงแต่ก็จะเขียนเรื่องสะสมไปเรื่อยๆ เหมือนเดิมครับ

นี่ก็เป็นเพียงที่มาของ LibraryHub ที่ผมเขียนอยู่ในตอนนี้