ข้อสอบบรรณารักษ์ : จงกล่าวถึงผลงานทางด้านห้องสมุดของบุคคลต่อไปนี้

อยากเอาแนวข้อสอบบรรณารักษ์มาเขียนถึงหลายรอบแล้ว
วันนี้ขอเอาแนวข้อสอบบรรณารักษ์ ภาค ก อัตนัยมาให้เพื่อนๆ ดูสักข้อนึง พร้อมเฉลย (ผมเฉลยเอง)

ข้อสอบ : จงกล่าวถึงผลงานทางด้านห้องสมุดของบุคคลต่อไปนี้
– สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
– ดร.ฟรานซีส แลนเดอร์ สเปน
– เมลวิล ดิวอี้

คำตอบ (ผมช่วยหามาให้อ่านนะ)
– สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ – ในปี พ.ศ. ๒๔๖๘? พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงก่อตั้งราชบัณฑิตยสถานขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งนายกราชบัณฑิตยสถานพระองค์แรก ราชบัณพิตยสถานมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานหอสมุด พระนคร และพิพิธภัณฑสถาน (ข้อมูลจาก http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=492)

– ดร.ฟรานซีส แลนเดอร์ สเปน? (Frances Lander Spain) – เขียนหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทสไทยในปี 1954 ในปี 1960 ได้รับตำแหน่งประธาน ALA (อ่านต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Frances_Lander_Spain)

– เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey)บรรณารักษ์ชาวอเมริกันเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่หนังสือแบบทศนิยมขึ้น ดิวอี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกในวงการห้องสมุดและบรรรณารักษศาสตร์ เพราะนอกจากจะเป็นผู้คิดระบบการจัดหมู่แบบระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) แล้ว ยังเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่ม ก่อตั้งสมาคมห้องสมุดอเมริกันซึ่งเป็นสมาคมอาชีพบรรณารักษ์แห่งแรกในโลก (ข้อมูลจาก http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5_%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%89/)
(อ่านต่อที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Melvil_Dewey)

ข้อสอบบรรณารักษ์ใน ภาค ก มีหลายข้อที่ดูแล้วผมก็อึ้งเหมือนกัน แต่ผมจะไม่วิจารณ์นะครับ
เอาเป็นว่าไว้วันหลังผมจะนำข้ออื่นๆ มาเฉลยเรื่อยๆ เลยนะครับ อิอิ
เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากสอบ ภาค ก ด้านบรรณารักษ์

สรุปงาน BBL Mini Expo 2010

วันนี้มีโอกาสมางาน BBL Mini Expo 2010 จึงอยากนำข้อมูลมาลงให้เพื่อนๆ ได้ติดตาม
หลายๆ คนคงงงว่า BBL คืออะไร BBL ย่อมาจาก Brain based Learning
หรือภาษาไทยเรียกว่า “การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง” นั่นเอง

งานนี้เป็นงานที่เกี่ยวกับวงการศึกษาในช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา
งานนี้จัดในวันที่ 18-19 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ สุขุมวิท
ภายในงานนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของการสัมมนาและส่วนของนิทรรศการ

ส่วนของการสัมมนา
คือ ส่วนที่มีการเชิญวิทยากรจากที่ต่างๆ มานำเสนอข้อมูลงานวิจัย รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองจากสาขาวิชาต่างๆ ที่จัดในปัจจุบัน เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในส่วนของสัมมนามีการแบ่งออกเป็น 2 ห้องสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา แยกกันชัดเจนเพื่อให้ผู้เข้าฟังได้รับประโยชน์ในการเรียนรู้สูงสุด

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้
ระดับปฐมวัย
– การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 0-3 ปี
– การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการสมองของเด็กวัย 3-6 ปี

ระดับประถมศึกษา
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาไทย
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาภาษาอังกฤษ
– การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดสัมฤทธิผลทางการเรียนตามหลัก BBL ในวิชาวิทยาศาสตร์

ส่วนของนิทรรศการ
คือ ส่วนที่นำความรู้มาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการ ซึ่งโรงเรียนหลายๆ ที่นำกรณีศึกษาจากกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนมานำเสนอ ซึ่งผมว่าน่าสนใจมากๆ เนื่องจากห้องสมุดก็สามารถนำกรณีตัวอย่างแบบนี้ไปใช้ได้ด้วย เช่นเดียวกันการจัดนิทรรศการก็แบ่งออกเป็น 2 ส่วนสำหรับช่วงชั้นระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา

ตัวอย่างนิทรรศการที่น่าสนใจในงานนี้

ระดับปฐมวัย
– สำเนียงเสียงสัตว์ นำเสนอโดยโรงเรียนบ้านเจ้าทุ่ง จ.ศรีสะเกษ
– กิจกรรมหลังการอ่าน นำเสนอโดยโรงเรียนศิริพงศ์วิทยา จ.สงขลา
– การรู้ค่าของตัวเลข นำเสนอโดยโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ จ.อุบลราชธานี

ระดับประถมศึกษา
– การพัฒนาการอ่าน การเขียนคำ ของนักเรียนชั้น ป.1 ด้วยเทคนิคเคลื่อนไหวจับคู้่สู่การอ่านเขียนคำอย่างยั่งยืน นำเสนอโดยโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่
– การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมสาระวิทยาศาสตร์ “ชุดสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม” นำเสนอโดยโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 จ.นนทบุรี
– มือมหัศจรรย์ปั้นดิน นำเสนอโดยโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ จ.อุบลราชธานี

เอาเป็นว่างานนี้ก็โอเคนะได้สาระความรู้มากมายและทำให้เข้าใจหลักการพัฒนาของสมองและเข้าใจการเรียนรู้ของเด็กๆ

ปล.งานนี้ได้ของแจกมาเพียบเลย เช่น
– ถุงผ้า BBL Mini Expo 2010
– โบรชัวส์แนะนำ โครงการ BBL
– ดีวีดี วีดีโอแนะนำ “การจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง”
– สมุดบันทึกสวยหรูจากงาน BBL Mini Expo
– หนังสือ “เรื่องเล่า เร้าสมอง”
– หนังสือ “สำนึกแห่งวินัยหัวใจแห่งการเรียนรู้”

ขอบคุณผู้จัดงานนี้มากๆ ครับ เป็นงานที่ดีจริงๆ

ปล. ผมขอนำบล็อกนี้มาโพสในส่วนบล็อกส่วนตัวอขงผมนะครับ เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวกับห้องสมุดมากนัก

หนังสือที่ใช้ตัวอักษร A-Z เป็นชื่อเรื่อง (ชื่อสั้นจริงๆ)

ปัจจุบันเว็บไซต์แนะนำหนังสือมีเยอะมากๆ ดังนั้นเว็บไซต์เหล่านี้จะต้องหาสิ่งแปลกมาลงบ้าง
ตัวอย่างเช่นเว็บที่ผมจะแนะนำวันนี้ เขาจะแนะนำเฉพาะหนังสือที่มีชื่อเรื่องสั้นที่สุด

แล้วหนังสือแบบไหนที่เรียกว่า “ชื่อเรื่องสั้นที่สุด
นั่นก็หมายถึงหนังสือที่มีแค่ตัวอักษรเดียวไงครับ A B C D ….. Z

เอาเป็นว่าลองดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ

หนังสือที่มีชื่อเรื่องเพียงแค่ อักษรตัวเดียว A - Z

เป็นยังไงกันบ้าง สั้นได้ใจมั้ยครับ
จริงๆ แล้วนอกจากหนังสือที่มีตัวอักษรเดียวแล้ว ยังมีหนังสืออื่นๆ ที่มีพยางค์เดียวด้วย

หนังสือที่มีชื่อเรื่องพยางค์เดียว

เป็นเว็บแนะนำหนังสือที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์ดีจริงๆ ห้องสมุดอย่างเราก็น่าจะเอาไอเดียแปลกๆ แบบนี้ไปเล่นบ้างนะ
ตัวอย่าง : แนะนำหนังสือที่มีชื่อเรื่องสั้นที่สุด (เวอร์ชั่นภาษาไทย)

วันนี้ขอเสนอแค่นี้แล้วกัน ยังไงใครนึกอะไรดีๆ ก็แบ่งปันความคิดกันได้ที่นี่เลยนะครับ
สำหรับคนที่อยากเข้าไปดูเว็บไซต์นี้ ลองเข้าไปที่ http://www.abebooks.com/books/single-letter-title-shortest-mccarthy/warhol-updike.shtml

แบบสำรวจ : แนวทางการให้บริการ Wifi ในห้องสมุด

การให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในห้องสมุดจริงๆ แล้วมันมีเรื่องราวที่น่าคิดมากมาย
เริ่มจากเรื่องของการอนุญาติให้ใช้บริการหลายๆ ที่มีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการบริการ
ดังนั้นวันนี้ผมจึงขอสอบถามเพื่อนๆ ว่า “ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร

ผมสังเกตมาหลายที่แล้วก็เจอกรณีหลายๆ แบบ เช่น
– ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ผมใช้บริการก็มีการให้ใส่รหัสนักศึกษาและรหัสที่ตั้งไว้เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต
– ห้องสมุดของคณะ ในมหาวิทยาลัยก็ให้ดาวน์โหลด cert ของอินเทอร์เน็ตและติดตั้งในเครื่องก็สามารถเล่นได้เลย
– ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานแห่งหนึ่งให้ regis ด้วย mac address สำหรับพนักงานเท่านั้น
– ห้องสมุดประชาชนบางแห่งให้ลงชื่อที่เคาน์เตอร์ก่อนจึงจะให้บริการได้
– ห้องสมุดบางแห่งให้ซื้อคูปองเล่นอินเทอร์เน็ตไร้สาย

เอาเป็นว่าหลากหลายรูปแบบจริงๆ ครับ

ในเชิงผู้ให้บริการก็ควรจะต้องเก็บข้อมูลผู้ใช้ แต่ในเชิงผู้ใช้ก็อยากใช้งานง่ายๆ
สองส่วนมักมองกันตรงข้ามเสมอแหละครับ แต่เราควรหาจุดกึ่งกลางความพอดี
ซึ่งทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการควรทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
เพื่อไม่ให้มีข้อขัดแย้งในเรื่องการให้บริการและใช้บริการต่อไป

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คิดไงกับเรื่องนี้ครับ ผมขอนำแบบสอบถามนี้มาถามเพื่อนๆ ว่า
“ถ้าเพื่อนๆ เป็นคนให้บริการในห้องสมุดเพื่อนๆ จะทำอย่างไร”
ไม่ต้องเป็นบรรณารักษ์หรือคนในส่วนห้องสมุดก็ได้นะ อยากให้ช่วยกันตอบเยอะๆ
จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปนำเสนอให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์ปรับตัวเอง

[poll id=”18″]

The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

ปีนี้ก็ 2010 แล้วนะครับ ผมอาจจะนำเรื่องนี้มารายงานช้าไปหน่อย
แต่อย่างน้อย The edublogaward 2010 ก็ยังไม่เริ่มประกาศผลนะครับ

The edublogaward 2009 รางวัลนี้ได้แจกให้แก่บล็อกในวงการศึกษาดีเด่นหลายสาขานะครับ
เช่น บล็อกส่วนตัว บล็อกแบบกลุ่ม บล็อกของอาจารย์ บล็อกของนักเรียน บล็อกของชั้นเรียน ฯลฯ

แน่นอนครับในกลุ่มด้านการศึกษานี้คงต้องมีรางวัลเกี่ยวกับ บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ ด้วย

ดังนั้นผมจึงของนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ
โดยผู้ที่ชนะเลิศในปี 2009 คือ บล็อก Never Ending Search ซึ่งเป็นบล็อกภายใต้ schoollibraryjournal นั่นเอง
ส่วนอันดับที่สอง คือ บล็อก Bright Ideas ซึ่งเป็นของ School Library Association of Victoria
ส่วนอันดับที่สาม คือ Library Tech Musings ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น thedaringlibrarian

เอาเป็นว่าผมก็ลองเข้าไปดูบล็อกเหล่านี้มาแล้วแหละ นับว่าน่าสนใจจริงๆ
ดังนั้นผมว่าเพื่อนๆ เซฟลิ้งค์พวกนี้แล้วลองหาเวลาเข้าไปอ่านบ้างนะครับ

อ๋อ นอกจากนี้แล้ว ในบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ถูกเสนอชื่อและเป็นคู่แข่งในการประกวดครั้งนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น

  1. A Fuse #8 Productions
  2. Bloggit
  3. Bright Ideas
  4. Blue Skunk
  5. Cathy Nelson?s Professional Thoughts
  6. Hey Jude
  7. LCS ES Media Blog
  8. Librarian by Day Blog
  9. Library Tech Musings
  10. Lucacept
  11. My Mind Gap
  12. Never Ending Search
  13. Not So Distant Future
  14. The Unquiet Librarian
  15. The Unquiet Library
  16. The Waki Librarian
  17. The Web Footed Book Lady
  18. Wired Librarian
  19. World?s Strongest Librarian

คะแนนในการตัดสิน The edublogaward 2009 สาขาห้องสมุดและบรรณารักษ์

เอาเป็นว่าน่าสนใจทุกบล็อกเลย จริงๆ แล้วในเมืองไทยผมอยากให้มีการจัดประกวดบล็อกด้านการศึกษาแบบนี้บ้างจัง
แต่คงต้องมีการวัดผลที่เป็นมาตรฐานกว่าที่ผ่านมาหน่อยนะครับ เพราะเท่าที่เห็นก็คือ พวกเยอะมักได้รางวัล
ซึ่งบางทีแล้วไม่ยุติธรรมต่อบล็อกหรือเว็บที่มีประโยชน์สักเท่าไหร่ ยังไงก็ฝากไว้แค่นี้แหละครับ

เว็บไซต์ทางการของงาน The edublogaward 2009 – http://edublogawards.com/2009/
ถ้าหากเพื่อนๆ อยากรู้เกี่ยวกับบล็อกการศึกษาที่ประกวดในปีก่อนหน้านี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่? http://edublogawards.com/

ยุวพุทธิกสมาคมฯ รับบรรณารักษ์นะจ้ะ

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ อีกแล้วเจ้าครับ
วันนี้มีงานมาแนะนำซึ่งได้รับการฝากมาจากเพื่อนใน Facebook

รายละเอียดของงานที่รับสมัคร
ตำแหน่ง : บรรณารักษ์
วุฒิการศึกษา : ปริญญาตรีขึ้นไป
สาขา : บรรณารักษศาสตร์หรือที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ : ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่เน้นข้อมูลด้านพุทธศาสนา ธรรมะ
ดังนั้นบรรณารักษ์ที่ไปสมัครยังไงก็ขอแบบที่สำรวมนิดนึงนะครับ

ใครที่สนใจก็ติดต่อไปได้ที่
ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ
เพชรเกษม 54 เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โทร 02-4552525 ต่อ 1203

http://www.ybat.org/nalanda/ หรือ email ประวัติมาที่ nalanda_library@ybat.org

เอาเป็นว่าผมก็ขอให้เพื่อนๆ โชคดีในการสมัครนะครับ

10 อันดับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก (วัดจากจำนวนหนังสือ)

วันนี้ขอต่อเรื่องห้องสมุดกับความเป็นที่สุดในโลกกันต่อนะครับ
เมื่อวานได้เขียนถึงหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกไปแล้ว
วันนี้ขอนำเสนอห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก 10 อันดับบ้างดีกว่า

ที่บอกว่าใหญ่ที่สุดในโลกอันนี้เขาวัดจากการมีจำนวนหนังสือนะครับ
หนังสือมากที่สุดในโลกทั้ง 10 อันดับนี้บางแห่งก็ไม่ใช่หอสมุดแห่งชาติด้วย
ห้องสมุดสถาบันก็สามารถครอง 1 ใน 10 อันดับนี้ได้ด้วย เราไปดูกันเลยดีกว่า

10 อันดับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 Library of Congress ก่อตั้งเมื่อ 1800 มีหนังสือจำนวน 29 ล้านเล่ม
อันดับที่ 2 National Library of China ก่อตั้งเมื่อ 1909? มีหนังสือจำนวน 22 ล้านเล่ม
อันดับที่ 3 Library of the Russian Academy of Sciences ก่อตั้งเมื่อ? 1714 มีหนังสือจำนวน 20 ล้านเล่ม
อันดับที่ 4 National Library of Canada ก่อตั้งเมื่อ 1953? มีหนังสือจำนวน 18.8 ล้านเล่ม
อันดับที่ 5 Deutsche Biblothek ก่อตั้งเมื่อ? 1990 มีหนังสือจำนวน 18.5 ล้านเล่ม
อันดับที่ 6 British Library ก่อตั้งเมื่อ? 1753 มีหนังสือจำนวน 16 ล้านเล่ม
อันดับที่ 7 Institute for Scientific Information on Social Sciences of the Russian Academy of Sciences ก่อตั้งเมื่อ? 1969 มีหนังสือจำนวน 13.5 ล้านเล่ม
อันดับที่ 8 Harvard University Library ก่อตั้งเมื่อ? 1638 มีหนังสือจำนวน 13.1 ล้านเล่ม
อันดับที่ 9 Vernadsky National Scientific Library of Ukraine ก่อตั้งเมื่อ? 1919 มีหนังสือจำนวน 13 ล้านเล่ม
อันดับที่ 10 New York Public Library ก่อตั้งเมื่อ 1895 มีหนังสือจำนวน 11 ล้านเล่ม

เอาเป็นว่าก็สุดยอดกันไปเลยใช่มั้ยหล่ะครับ เรื่องจำนวนหนังสือแบบเป๊ะๆ อันนี้ผมไม่อยากจะเชื่อตัวเลขสักเท่าไหร่
เนื่องจากในเมืองไทยเองที่ผมเคยไปเยี่ยมห้องสมุดหลายที่ก็มักจะเอาตัวเลขจากฐานข้อมูล แต่หนังสือเล่มจริงๆ มักมีไม่ถึง
จริงๆ ผมอยากรู้จังว่า 1-10 อันดับห้องสมุดในเมืองไทยที่สุดที่สุดมีที่ไหนบ้างจังเลย
ไว้ว่างๆ จะมาเขียนและหาข้อมูลเล่นๆ กันนะ

ข้อมูลมาจากเว็บไซต์ http://www.watchmojo.com/top_10/lists/knowledge/libraries/libraries_largest.htm

10 อันดับหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

รู้หรือไม่ครับว่าหอสมุดแห่งชาติของประเทศไหนเก่าแก่ที่สุด
วันนี้ผมไปเจอคำตอบเหล่านี้มาเลยขอนำมาแชร์ให้เพื่อนๆ รู้กันสักหน่อย

10 อันดับหอสมุดแห่งชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 – National Library of the Czech Republic ก่อตั้งในปี 1366
อันดับที่ 2 – National Library of Austria ก่อตั้งในปี 1368
อันดับที่ 3 – National Library of Italy ก่อตั้งในปี? 1468
อันดับที่ 4 – National Library of France ก่อตั้งในปี 1480
อันดับที่ 5 – National Library of Malta ก่อตั้งในปี? 1555
อันดับที่ 6 – Munich, Germany ก่อตั้งในปี 1958
อันดับที่ 7 – National Library of Belgium ก่อตั้งในปี 1559
อันดับที่ 8 – Zagreb National and University Library ก่อตั้งในปี 1606
อันดับที่ 9 – National Library of Finland ก่อตั้งในปี 1640
อันดับที่ 10 – National Library of Denmark ก่อตั้งในปี 1653

ปล. ข้อมูลที่ได้มานี้บอกเพียงแค่ว่าเก่าแก่ที่สุดในโลกนะครับ
จริงๆ แล้วผมอยากรู้ต่อว่า หอสมุดเหล่านี้ยังคงอาคารเดิมบ้างหรือปล่าว
หรือว่าย้ายไปแล้วสร้างใหม่หมดแล้ว อันนี้เดี๋ยววันมีโอกาสจะหาคำตอบมานำเสนอนะครับ

จริงๆ แล้วผมลองเช็คข้อมูลบางส่วนในวิกิพีเดียแล้วนะครับ แต่รู้สึกว่าหอสมุดแห่งชาติบางแห่งในนี้ มีปีที่ก่อตั้งคาดเคลื่อน
ดังนั้นผมจึงต้องบอกเพื่อนๆ ก่อนว่าอย่าเพิ่งเชื่อข้อมูลนี้ทั้งหมดนะครับ แล้วผมจะลองค้นหาข้อมูลมาลงแก้ให้วันหลังนะ

ข้อมูลมาจากเว็บไซต์ http://www.watchmojo.com/top_10/lists/knowledge/libraries/libraries_oldest_national.htm

เทคนิคในการนำ Foursquare ไปใช้กับงานห้องสมุด

วันก่อนพูดเรื่อง Twitter ไปแล้ววันนี้ผมขอลงเรื่อง Social Media กับงานห้องสมุดตัวอื่นๆ บ้างนะครับ
เริ่มจากเทคนิคในการนำ Foursquare ไปใช้กับงานห้องสมุดที่บรรณารักษ์ไม่ควรพลาด

หลายๆ คนคงกำลังงงว่า Foursquare คืออะไร คำจำกัดความและวิธีการเล่น เพื่อนๆ สามารถอ่านได้จากเว็บอื่นๆ ครับ เช่น
ทำความรู้จัก สอนเล่น FourSquare อนาคตเทรนด์ Location Based Services
?Foursquare?: กระแสใหม่ของสังคมออนไลน์ที่ไม่ควรพลาด
ตะโกนบอกโลกให้รู้ว่าคุณอยู่ไหนกับ foursquare.com – Social Network สายพันธุ์ใหม่

เอาเป็นว่าขอสรุปง่ายๆ ว่าเป็น social network ที่บอกให้เรารู้ว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน
ด้วยแนวคิดเรียบง่ายว่า “อยู่ที่ไหน ก็ Check in ที่นั้น” “ตอนนี้ผมอยู่ที่….” “กำลัง…ที่นี่”

ในวงการธุรกิจได้นำ Foursquare มาปรับใช้ เช่น แนะนำโปรโมชั่นของสินค้าหรือบริการ
รวมไปถึงการสร้างข้อมูลสถานที่ของตัวเองให้ผู้ใช้บริการออนไลน์รู้จัก

“อ้าว แล้ววงการห้องสมุดจะนำมาใช้ทำอะไรได้บ้างหล่ะ”
นั่นแหละเป็นที่มาของเรื่องนี้ ผมจะแนะนำวิธีการนำมาใช้กับงานห้องสมุดบ้างหล่ะ

1. เพิ่มห้องสมุดของคุณให้เป็นสถานที่แห่งหนึ่งใน FourSquare

ง่ายๆ ครับ แค่เพิ่มชื่อห้องสมุด ที่อยู่ โดยเพื่อนๆ สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก google map

2. ใส่ชื่อกลุ่มสถานที่เป็นกลุ่ม education….แล้วเลือกกลุ่มย่อย Library
จากนั้นก็ใส่ Tag ของห้องสมุด เช่น ห้องสมุด, หนังสือ, สื่อมัลติมีเดีย, อินเทอร์เน็ตไร้สาย, บริการยืมคืน…..

3. ใส่คำแนะนำหรือสิ่งที่ต้องทำลงใน Tips / To do list
ใส่คำแนะนำห้องสมุดหรือโปรโมชั่นของห้องสมุดที่น่าสนใจลงไปเลยครับ เช่น
– “ช่วงวันที่… ห้องสมุดมีบริการให้ยืมได้ไม่จำกัดจำนวน”
– “บุคลากรภายนอกสามารถเข้าใช้ห้องสมุดได้โดยแสดงบัตรประชาชน”
– “อินเทอรืเน็ตไร้สายบริการฟรี เพียงแค่ติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ เคาน์เตอร์บริการ”


4. จัดกิจกรรมย่อยๆ ผ่านการ Check in ใน FourSquare

ห้องสมุดก็น่าจะจัดกิจกรรมเล็กๆ ที่เกี่ยวกับการ Check in ใน FourSquare ได้ เช่น
“ผู้ที่ Check in ผ่าน FourSquare คนที่ 99 ของเดือนจะได้รับรางวัล”
“ผู้ที่ Check in ผ่าน FourSquare จะได้รับสิทธิ์ในการยืมหนังสือเพิ่มขึ้น”

5. ทักทายและประกาศเรื่องราวอัพเดทได้ผ่าน Shout out
ห้องสมุดสามารถประกาศข่าวสารอัพเดท หรือ ทักทายผู้ใช้บริการผ่านทางออนไลน์ได้
และยิ่งไปกว่านั้น FourSquare สามารถเชื่อมไปยัง Twitter และ Facebook ได้ด้วย
ดังนั้นโพสข้อความลง Shout out ของ FourSquare ข้อความจะไป Twitter และ Facebook ด้วย

เอาเป็นว่าก็ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้กันดูนะครับ แต่ก่อนอื่นไปสมัครสมาชิกกันก่อนที่ http://foursquare.com/
แล้วอย่าลืมไปแอดผมเป็นเพื่อนด้วยนะครับ อิอิ http://foursquare.com/user/ylibraryhub
สำหรับวันนี้ผมคงแนะนำไว้เท่านี้ก่อน แล้วผมจะนำ social media กับงานห้องสมุดมาลงให้อ่านกันใหม่

ห้องสมุดยุคใหม่ควรใช้ twitter อย่างไร

เมื่อวานผมได้เขียนเรื่องที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter แล้ว
วันนี้ผมก็ขอนำเสนอภาคต่อด้วยการแนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติบ้างน่าจะดีกว่า

เริ่มจากคำแนะนำแบบเบื้องต้นเรื่องของการจัดการ profile ตัวเอง
– ชื่อ account สื่อถึงห้องสมุดตัวเองหรือไม่
– รูปภาพแสดงตัว ถ้าเป็นรูปห้องสมุดก็คงดีสินะ
– website ให้ใส่เว็บไซต์ของห้องสมุดตัวเอง
– Bio เขียนแนะนำห้องสมุดแบบสั้นๆ เช่น “การติดต่อสื่อสารออนไลน์กับห้องสมุด….ทำได้ไม่ยาก”

สำหรับข้อความที่ควร tweet (จากบทความ Six Things Libraries Should Tweet)
1. Library events – งานกิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
เป็นการบอกให้ผู้ที่ติดตามเราได้รู้ว่ากำลังจะมีงานอะไรในห้องสมุด เช่น
“วันเสาร์นี้ 10 โมงเช้า จะมีการจัดฉายภาพยนตร์เรื่องแฮร์รี่พอตเตอร์ในห้องสมุด”

2. Links to articles, videos, etc. – Feed ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือบล็อกของห้องสมุด
เป็นการเชื่อมการทำงานระหว่างเว็บไซต์และการกระจายข่าวสารสู่โลกออนไลน์
หากต้องการ tweet ข้อความมากๆ เราควรใช้บริการย่อ link จาก bit.ly หรือ tinyurl ก็ได้

เช่น “The Library of Congress Revives Public Domain Works via CreateSpace Print on-Demand and Amazon Europe Print on-Demand – http://bit.ly/9nE8H1”

3. Solicit feedback – การแสดงความคิดเห็น หรือ การสำรวจข้อมูลต่างๆ

เป็นช่องทางในการสอบถามเรื่องความคิดเห็นหรือแสดงไอเดียใหม่ๆ ของห้องสมุด
แต่ต้องระวังคำถามนิดนึงนะครับ เพราะมันมีผลตอบสนองกับมาที่ห้องสมุดแน่ๆ เช่น
ไม่ควรถามคำถามที่เดาคำตอบได้อยู่แล้ว ประมาณว่า “ห้องสมุดควรเปิด 24 ชั่วโมงหรือไม่
ผู้ใช้บริการทุกคนย่อมต้องการสิ่งนี้แน่นอน และห้องสมุดจะต้องรับผิดชอบในการกระทำนั้นๆ


4. New additions to your collection – ทรัพยากรใหม่ๆ ในห้องสมุด

เป็นช่องทางในการแนะนำหนังสือหรือสื่อใหม่ๆ ในห้องสมุด
ซึ่งเพื่อนๆ อาจจะใช้ feed ข้อมูลจากฐานข้อมูลห้องสมุดหรือเว็บไซต์ก็ได้

5. Marketing – การตลาดและประชาสัมพันธ์
เป็นช่องทางในการสร้างกระแสให้ห้องสมุด ข้อมูลของห้องสมุดอาจเป็นที่สนใจกับผู้ใช้บริการ
เช่น หนังสือที่ถูกยืมในปีที่แล้วทั้งหมดจำนวน 35,000 ครั้ง

6. Answer questions – ถามตอบปัญหาต่างๆ
เป็นช่องทางในการถามตอบระหว่างบรรณารักษ์ห้องสมุดกับผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นวิธีที่ค่อนข้างดีและได้ผล

เป็นไงกันบ้างครับกับเรื่องของ twitter ที่มีความสัมพันธ์กับงานห้องสมุด
พื่อนๆ สามารถอ่านบทความย้อนหลังเกี่ยวกับเรื่อง Twitter ในงานห้องสมุดได้นะครับ
ซึ่งผมได้เขียนไว้หลายเรื่องแล้ว ลองดูจาก
http://www.libraryhub.in.th/tag/twitter/

แล้วอย่าลืมเข้ามา follow ผมกันเยอะๆ ด้วยหล่ะ @ylibraryhub