เยาวชนเผยร้านเหล้าเข้าง่ายกว่าห้องสมุด

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาผมได้หยิบหนังสือพิมพ์ไทยรัฐมาอ่านขณะกินข้าว
แต่เมื่ออ่านถึงหน้าข่าวการศึกษาก็ต้องสำลักทันทีเมื่อเจอข่าวนี้ “เยาวชนเผยร้านเหล้า เข้าง่าย กว่าห้องสมุด”

ภาพประกอบจากไทยรัฐออนไลน์
ภาพประกอบจากไทยรัฐออนไลน์

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านได้ที่ http://www.thairath.co.th/content/edu/62873
(ผมขอ copy มาลงให้เพื่อนๆ อ่านที่นี่ เช่นกัน เพราะข่าวในเว็บไซต์อาจจะถูกลบง่ายๆ)

เนื้อข่าว “เยาวชนเผยร้านเหล้า เข้าง่าย กว่าห้องสมุด”
ในคอลัมน์ข่าวการศึกษา หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553

“สวมชุด นร.-นศ.เป็นพริตตี้เรียกแขกเสียเอง พม.รุกรณรงค์ภัยวัยรุ่นรับเทศกาลวาเลนไทน์ นักวิชาการติงระบบการศึกษาสอนเด็กติดแสงสี ต้องเร่งแก้ไข…

ที่ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค เมื่อวันที่ 3 ก.พ. นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวในการเสวนาเรื่อง “รักใสๆ ให้ปลอดภัยของวัยโจ๋” จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ (สท.) ตอนหนึ่งว่า คดีข่มขืนที่เกิดขึ้นพบว่าผู้กระทำผิดแทบทุกรายมาจากสาเหตุของการดื่มสุรา โดยเฉพาะวัยรุ่นเป็นกลุ่มเสี่ยงของสุรา หอพักแถวมหาวิทยาลัยที่ตนตรวจพบ ทำผิดกฎหมายจำนวนไม่น้อย ปล่อยให้ร้านสะดวกซื้อ ที่ตั้งอยู่ภายในจำหน่ายสุรา หรือ แม้แต่ร้ายขายยาก็เปิดจำหน่ายสุราด้วยเพราะขายดีกว่ายา

นายอิสสระ กล่าวต่อว่า เร็วๆ นี้ จะเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจ สรรพาสามิต อธิการบดีทุกแห่ง มาร่วมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติการตรวจจับหอพักที่ทำผิดกฎหมายอย่าง เคร่งครัด จากนั้นตนจะเดินสายตรวจไม่เฉพาะใน กรุงเทพมหานคร (กทม.) แต่รวมถึงต่างจังหวัดด้วย นอกจากนี้ช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ที่ใกล้จะถึงได้มอบหมายให้ศูนย์เฝ้าระวัง และเตือนภัยทางสังคม พม. หารูปแบบรณรงค์ให้วัยรุ่นเข้าใจและรับทราบถึงภัยของวัยรุ่น การเที่ยวเตร่ ยาเสพติด และความปลอดภัยในการเดินทาง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

นางสาวอรพิมพ์ รักษาผล เยาวสตรีดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 กล่าวว่า การที่วัยรุ่นเข้าถึงเรื่องเพศสัมพันธ์ ยาเสพติด มาจากการไม่เห็นคุณค่าในชีวิตตนเอง มักภูมิใจในสิ่งที่ตนสร้างมากกว่าสิ่งที่สร้างตนโดยเฉพาะพ่อแม่ และความไม่พอเพียงกับการใช้ชีวิต จะเห็นว่าปัญหายาเสพติดเวลานี้ไม่ใช่เด็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย แต่เด็กเป็นผู้กระจายความเสี่ยงให้กับผู้อื่นเสียเอง ร้านเหล้าปั่น บาร์เบียร์เข้าง่ายมากกว่าห้องสมุด ยิ่งเป็นชุดนักเรียนนักศึกษากลายเป็นพริตตี้ที่รัญจวนเชิญชวนให้หมู่ภมรเข้า มาดอมดม

เยาวสตรีดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2552 กล่าวต่อว่า สิ่งเหล่านี้โยงใยให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา ทั้งเปิดประตูไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก กับใครก็ได้ นำไปสู่การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และตัดสินปัญหาด้วยการทำแท้งหรือกลายเป็นครอบครับเด็กแนวคือไม่มีแนวทางใน การดำเนินชีวิต จึงอยากเสนอให้ยึดหลัก 4 ใจคือ 1.จริงใจ ไม่อ่อนแอต่อกระแสต่างๆ 2.ข่มใจ 3.แข็งใจ อดทนต่อกิเลส และ4.คุมใจ ให้เป็นนายไม่ใช่เป็นทาสของอารมณ์ นอกจากนี้อยากเสนอ ผู้ใหญ่และผู้เกี่ยวข้องควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้เห็นถึงโทษ พิษภัยของปัญหา สร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่ ป้องกันความเสี่ยงและความเสื่อมอย่างชัดเจน

นางสาวอรพิมพ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ยังต้องสร้างต้นแบบแรงบันดาลใจเชิงประจักษ์ให้กับวัยรุ่น เพราะตนเคยประสบเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดด้วยตนเอง จากเพื่อนที่เรียนมัธยมในโรงเรียนสตรีด้วยกัน เมื่อแยกย้ายไปเรียนต่ออุดมศึกษาเพียงแค่อยู่ชั้นปี 1 เพื่อนคนดังกล่าวโทรศัพท์มาขอความช่วยเหลือให้หาที่ทำแท้งให้ ขณะนั้นได้ปฏิเสธไปเพราะตกใจและไม่รู้จะช่วยเหลืออย่างไร จากนั้นเพียง 1 สัปดาห์ผ่านไปได้ทราบข่าวว่าเพื่อนคนดังกล่าวเสียชีวิต เพราะตกเลือดมากจากการสั่งซื้อยาขับทางอินเตอร์เน็ต และใช้ไม้แขวนเสื้อเกี่ยวเด็กออกมา จะเห็นว่าปัญหาวัยรุ่นรวดเร็วและรุนแรงมากหากไม่เร่งรีบแก้ไข

ขณะที่ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า สถิติการข่มขืน ปล้ำ ล่อลวง ล่วงละเมิดทางเพศเพิ่มมากขึ้น และส่วนใหญ่เกิดจากคนใกล้ชิด คือ แฟนและคนรู้จักมากที่สุด โดยอิทธิพลจากละครหลังข่าว รวมทั้งดารานักแสดงที่นำเรื่องเซ็กส์มาเป็นจุดขายในที่สาธารณะ ทั้งที่เป็นเรื่องลามกอนาจารผิดกฎหมาย การแก้ปัญหาอย่าไปโทษแต่วัยรุ่น แต่ต้องโทษที่ผู้ใหญ่สร้างสิ่งเร้ายั่วยุเด็ก ระบบการศึกษาสอนให้เด็กเป็นปลาหมึก เมื่อถูกแสงสีล่อให้ติดกับดักก็ถูกช้อนนำไปกิน ไม่ได้สอนให้คิด วิเคราะห์และสร้างภูมิคุมกันปัญหา ทั้งนี้ปัญหาการใช้เสรีภาพตามอำเภอใจ ทำร้ายสังคม ต้องแก้โดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง”

อ่านแล้วรู้สึกยังไงครับ สำหรับผมขอวิจารณ์นิดนึงพอนะครับ “เรื่องร้านเหล้าเข้าง่ายกว่าห้องสมุด”

ผมไม่เห็นด้วยกับประโยคนี้นะครับ ทำไมนะหรอครับ

ทำไม “ร้านเหล้า” ถึงเข้ายากกว่าห้องสมุด
1. เข้าได้เฉพาะเวลากลางคืน การเดินทางไปอาจจะไม่ค่อยสะดวก (สำหรับคนที่ไม่มีรถนะครับ)
2. เข้าไปมีแต่เสียงอึกทึกครึกโครม พูดกันเสียงดังๆ กลับมาเจ็บคออีก
3. ถ้าให้ขออนุญาติไปร้านเหล้ากับห้องสมุด คงไม่ต้องบอกหรอกนะครับว่า ผู้ใหญ่จะอนุญาติอย่างไหน (เว้นแต่หนีไป)
4. อายุต่ำกว่า 20 ปีก้ห้ามเข้าด้วย
เอาเป็นว่าด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง มันก็เห็นๆ อยู่ว่าร้านเหล้าเข้ายากกว่าห้องสมุด

เรื่องการเข้ายากหรือง่าย ผมมองว่ามันเป็นเพียงการเข้าถึงสถานที่นะครับ

สิ่งที่น่าคิดของเรื่องนี้คือ เยาวชนไม่อยากเข้าห้องสมุดเองมากกว่า ถึงได้บอกว่าเข้ายาก

แล้วทำไม “เยาวชนไม่อยากเข้าห้องสมุด” อันนี้เพื่อนๆ พอจะนึกกันออกหรือยังครับ
สาเหตุอาจจะเพราะ “ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเยาวชนเหล่านั้นได้ยังไงหล่ะครับ”

ตัวอย่าง “ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเยาวชน”
– มีแต่สื่อสารสนเทศที่ไม่น่าสนใจต่อการเรียนรู้ (หนังสือเก่า หนังสือชำรุดมากมายในห้องสมุด)
– มีแต่บรรณารักษ์ที่ทำหน้าดุใส่ ใครจะกล้าเข้าหล่ะครับ
– ไม่มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เลย (ห้องสมุดเป็นเพียงห้องอ่านหนังสือเท่านั้น)
– อุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ไม่เพียงพอ หรือไม่มี (คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต)
เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างของ “ห้องสมุดไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเยาวชน”

ที่นี้เรามาดูแนวทางการแก้ไขบ้างดีกว่า
– ห้องสมุดต้องมีบริการแนะนำหนังสือใหม่หรือหนังสือที่น่าสนใจ ที่สำคัญต้องประชาสัมพันธ์ให้ดี
– บรรณารักษ์ต้องมีท่าทีที่เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการ ทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้ใช้บริการ
– จัดกิจกรรมในห้องสมุดเพื่อส่งเสริมและรณรงค์การรักการอ่านบ้าง
– จัดหาอุปกรณ์และเทคโนโลยี รวมถึงบรรณารักษ์ต้องสามารถใช้งานเป็นด้วย
เพียงเท่านี้ห้องสมุดก็จะน่าสนใจมากยิ่งขึ้นนะครับ

ถ้าห้องสมุดน่าสนใจและมีกิจกรรมมากๆ ผมเชื่อว่าเยาวชนก็คงหันมาใช้ห้องสมุดมากขึ้นนะครับ
แล้วผมก็หวังว่าจะไม่ได้ยิน เห็น หรืออ่านข่าวทำนองนี้อีกนะครับ

เล่าเรื่องเก่า “ห้องสมุดสุดหรรษา (Happy Library)”

หลายคนชอบคิดว่าเรื่องห้องสมุดมีแต่เรื่องที่เป็นสาระ หรือไม่ก็เครียดๆ นะ
วันนี้ผมขอจึงขอแนะนำห้องสมุดในมุมมองบันเทิงบ้างนะครับ

library-happy

เมื่อปีที่แล้ว จำกันได้มั้ยครับว่ามีละครโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับห้องสมุดด้วย
ชื่อเรื่องว่า “ห้องสมุดสุดหรรษา (Happy Library)” เอาเป็นว่าผมจะมาย้อนเรื่องราวของละครเรื่องนี้นะครับ

ชื่อเรื่อง : ห้องสมุดสุดหรรษา (Happy Library)
ออกอากาศ : วันเสาร์ เวลา 13.00 น. สถานีโทรทํศน์ช่อง 7
กำกับการแสดง : ปัญญา ชุมฤทธิ์

นักแสดงในเรื่อง

1. ภาณุ สุวรรณโณ แสดงเป็น โอ๊ค
2. ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ แสดงเป็น ฝุ่น
3. ศรุต วิจิตรานนท์ แสดงเป็น นัท
4. ภารดี อยู่ผาสุข แสดงเป็น นุ่น
5. อติมา ธนเสนีวัฒน์ แสดงเป็น แนนนี่
6. เกริก ชิลเลอร์ แสดงเป็น นิรันดร์
7. วิภาวี เจริญปุระ แสดงเป็น แม่ไฝ
8. ญาณี ตราโมท แสดงเป็น อาจารย์สมศักดิ์
9. ชลิต เฟื่องอารมย์ แสดงเป็น ลุงเกริก
10. เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ แสดงเป็น เจ้หงส์
11. ปัญญาพล เดชสงค์ แสดงเป็น เก๋ง
12. นเรศ วีเดนมันน์ แสดงเป็น มาร์ค
13. อัครพงศ์ วาทีมงคล แสดงเป็น จู้
14. ดารณีนุช โพธิปิติ แสดงเป็น คุณตุ๊ก

เนื้อเรื่องย่อ

ชีวิต สุดหรรษาของสาวน้อย ฝุ่น(แตงโม-ภัทรธิดา) ผู้กำพร้าพ่อตั้งแต่เด็ก เป็นคนที่มีความมุ่งมั่นและใฝ่ฝันที่จะเปิดร้านหนังสือ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้อ่านหนังสือ ฝุ่นเป็นลูกสาวคนเดียวของแม่ไฝ(กุ้ง-วิภาวี) เจ้าแม่สำนักทรงเจ้า ฝุ่นไม่ชอบที่แม่ทำอาชีพนี้ทำให้ฝุ่นมีเรื่องทะเลาะกับแม่อยู่บ่อยๆ ฝุ่นพยายามทั้งเรียนละทำงานหนักเพื่อเก็บเงินเปิดร้านหนังสือ ฝุ่นมี นัท(บิ๊ก-ศรุต) เป็นชายหนุ่มรู้ใจ ฝุ่นเอาเงินเก็บทั้งหมดไปเซ้งร้านต่อจากเฮียเม้ง โดยไม่รู้ว่าร้านเฮียเม้งเป็นหนี้อยู่ท่วมหัว ในที่สุดฝุ่นก็ได้เปิดร้านหนังสือ บุ๊คการ์เด้น โดยมี จู้(อัครพงศ์) เป็นสมุนช่วยงานที่ร้าน ฝุ่นมีคู่ปรับคนสำคัญคือ โอ๊ค(อู-ภาณุ) ซึ่งมักดูถูกฝุ่นว่าไม่สามารถพัฒนาร้านหนังสือให้เจริญได้ ฝุ่นเปิดร้านได้อาทิตย์เดียวหนี้สินที่ค้างชำระก็ทำให้ฝุ่นปวดหัว ฝุ่นเปิดร้านได้สามวันมีลูกค้าหนึ่งคน ฝุ่นไปกู้เงินนายเก๋ง(เอ-ปัญญาพล) ดอกโหดแต่สถานการณ์ไม่ดีขึ้น สุดท้ายฝุ่นจึงตัดสินใจละทิ้งความคิดเดิมๆ เธอเปลี่ยนร้านหนังสือที่กำลังจะเจ๊ง ให้เป็นห้องสมุดชุมชนแทน

เรื่อง ราววุ่นๆของห้องสมุดสุดหรรษาจึงเริ่มขึ้น เมื่อเก๋งเจ้าพ่อเงินกู้ตกหลุมรักฝุ่น นิรันดร์(เกริก ชิลเลอร์) เจ้าของร้านกาแฟก็มาเสนอเปิดมุมกาแฟ ตามด้วยคุณตุ๊ก(ท๊อป-ดารณีนุช) ที่เข้ามาเสนอขายของมากมาย ต่อด้วยลุงเกริก(ตุ่ม-ชลิต) ที่เข้ามาเปิดโต๊ะดูดวง ส่วนนัทกับนุ่น(เปิ้ล-ภารดี) สองพี่น้องก็เสนอให้มีมุมอินเตอร์เนท ด้วยเหตุนี้เองทำให้ฝุ่นมีศัตรูคนสำคัญ คือเจ้หงส์(จิ๊ก-เนาวรัตน์) และสุดท้ายคนที่ทำให้หัวใจของฝุ่นหวั่นไหวกลับเป็น มาร์ค(มาร์คุซ) พิธีกรหนุ่มรูปหล่อเพื่อนสมัยเรียน ปัญหาเรื่องห้องสมุด และปัญหาเรื่องหัวใจ ทำให้ฝุ่นต้องพยายามหาทางออก

เนื้อเรื่องย่อ ในแต่ละตอน สามารถหาอ่านได้ที่

http://www.ch7.com/Entertain/Drama_Story.aspx?ContentID=1061
http://www.numwan.com/drama/view.asp?GID=240

ฟังเพลงและเนื้อเพลงประกอบละคร ห้องสมุดสุดหรรษา

เพลง เพียงแค่ใจเรารักกัน โดย ป๊อบ (Calories Blah Blah)
http://www.ijigg.com/songs/V2CF0ED0PB0

เพลงใจหายไปเลย โดย KAL แคล คาโรลีน
http://www.ijigg.com/songs/V2C77DDBPA0

เป็นยังไงกันบ้างครับกับบทละครที่เกี่ยวกับห้องสมุดเรื่องนี้
เอาเป็นว่าถ้าใครยังไม่ได้ดูก็ลองหาดูได้จาก youtube นะครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญต่อคนในสังคมอยู่หรือปล่าว บทความนี้จะเป็นคนบอกคุณเอง
โดยบทความนี้ผมแปลมาจากเรื่อง “33 Reasons Why Libraries and Librarians are Still Extremely Important

library-and-librarian

บทความนี้นับว่าเป็นบทความที่น่าสนใจมากๆ เลยครับ ผมเลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง

เนื้อหาหลักในบทความนี้สะท้อนถึงสาเหตุที่อินเทอร์เน็ต ไม่สามารถเข้ามาแทนที่ห้องสมุดได้
รวมถึงเครื่องมือสืบค้นอย่าง search engine ก็ไม่สามารถแทนที่บรรณารักษ์ได้เช่นกัน

แม้ว่าแนวโน้มในอนาคต คือ สื่อดิจิทัลจะมาแทนสื่อสิ่งพิมพ์ก็จริง
แล้วทำไมบทบาทของห้องสมุดและบรรณารักษ์ยังคงอยู่จะเป็นอย่างไร ไปติดตามได้เลยครับ

33 เหตุผลที่บรรณารักษ์และห้องสมุดยังคงมีความสำคัญ

1. Not everything is available on the internet
อินเทอร์เน็ตไม่ได้มีทุกอย่าง ? แม้ว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตจะมีมหาศาลเพียงใด แต่ในบางเรื่องเราก็ไม่สามารถค้นบนอินเทอร์เน็ตได้ เช่น เอกสารทางด้านปะวัติศาสตร์ หรือหนังสือเก่าๆ บางเล่มที่เราอยากอ่าน แต่ก็ไม่สามารถค้นได้ในอินเทอร์เน็ต

2. Digital libraries are not the internet
ห้องสมุดดิจิทัลไม่ใช่อินเทอร์เน็ต ? อันนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของคนบางกลุ่มที่บอกว่า อินเทอร์เน็ตคือห้องสมุดดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเด็นนี้เค้าเปรียบเทียบว่าบนอินเทอร์เน็ตมีการจัดเก็บ Web Sources แต่ห้องสมุดดิจิทัลมีการจัดเก็บแบบ Online Collections

3. The internet isn?t free
หนังสือบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ฟรีอย่างที่คิด ? ในบางครั้งที่เราเข้าไปดูคลังหนังสือออนไลน์ที่บอกว่าฟรี ไม่เสียค่าบริการ ความเป็นจริงแล้วเว็บเหล่านี้ฟรีเฉพาะเอาหนังสือมาฝากไว้บนเว็บให้คนอื่น โหลด แต่คนที่โหลดหนังสือเหล่านี้นั่นแหละที่ต้องรับผิดชอบกับเรื่องความใช้จ่าย ในการดาวน์โหลด ยกตัวอย่างเช่น Project Gutenberg ที่รวบรวมหนังสือมากมายไว้ แต่พอจะดาวน์โหลดก็ต้องเสียเงินอยู่ดี

4. The internet complements libraries, but it doesn?t replace them
อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงส่วนหนึ่งของห้องสมุดที่ควรจะมี แต่ก็ไม่สามารถแทนที่ได้ สาเหตุคล้ายๆ ข้อ 2 เพราะว่าสารสนเทศที่จัดเก็บเป็นคนละรูปแบบ เช่น ความจริง ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ

5. School Libraries and Librarians Improve Student Test Scores
ห้องสมุดทางการศึกษาและบรรณารักษ์ที่ทำงานในห้องสมุด ทางการศึกษามีส่วนช่วยให้เด็กเรียนดีขึ้น ? อันนี้ได้มาจากการศึกษากรณีตัวอย่างเรื่องการใช้ห้องสมุดเพื่อพัฒนาการศึกษา ของ Illinois School Libraries

6. Digitization Doesn?t Mean Destruction
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ได้หมายความว่าจะต้องลด ภาระงาน ? มีกรณีศึกษาเกี่ยวกับ Google Book Search ที่ทาง google เองในช่วงแรกพัฒนาเองแต่ก็เกิดความผิดพลาดหลายส่วน จนต้องดึงห้องสมุดหลายๆ ที่เพื่อเข้ามาปรับปรุงและเป็นที่ปรึกษาเรื่องการสืบค้นสารสนเทศ เนื่องจาก google มีความชำนาญเรื่องการใช้โปรแกรมในการค้นหาเว็บ แต่ในกรณีหนังสือ Google Book Search นั่นเอง

7. In fact, digitization means survival
ความเป็นจริงแล้วการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลจะเน้นไปใน ความหมายของการรักษาสารสนเทศให้อยู่ได้นาน ? มีกรณีศึกษาจากเรื่อง libraries destroyed by Hurricane Katrina เนื่องจากห้องสมุดแห่งนี้ถูกทำลายโดยภัยธรรมชาติซึ่งแน่นอนว่าห้ามกันไม่ได้ ดังนั้นจากข้อ 6 ความหมายที่แท้จริงของการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจึงหมายถึงการช่วย ชีวิตสารสนเทศไว้นั่นเอง เพราะถ้าข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเกิดภัยอะไรก็ตามข้อมูลก็จะดำรงคงอยู่ไม่ถูกทำลายง่ายๆ แน่นอน

8. Digitization is going to take a while. A long while.
การปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลใช้เวลาปรับนิดเดียวแต่ยาว นาน ? เหมือนขัดๆ กันอยู่ใช่มั้ยครับ จริงๆ แล้วอยากที่รู้ว่าการปรับรูปแบบเป็นดิจิทัลไม่ยากครับก็คือการสแกนตัว หนังสือลงไปในคอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เวลานิดเดียว แต่จำนวนของหนังสือที่มีมากมายมหาศาล ดังนั้นการปรับข้อมูลทุกอย่างให้เป็นดิจิทัลคงต้องใช้เวลาหลายสิบปีเลยครับ

9. Libraries aren?t just books
ห้องสมุดไม่ได้เป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสืออย่างเดียว ? ในห้องสมุดไม่ได้มีสารสนเทศประเภทหนังสือเพียงอย่างเดียวนะครับ ความรู้ในการประกอบวิชาชีพ ทักษะในการทำงาน บริการตอบคำถาม เหล่านี้ถือว่าเป็นสารสนเทศที่มีคุณค่าอีกลักษณะหนึ่ง ลองนกภาพตามนะครับว่า ความรู้จากตำรา กับความรู้จากทักษะอย่างไหนน่าจะช่วยเพื่อนๆ ในการทำงานมากกว่ากัน เอาตัวอย่างใกล้ตัวดีกว่า เช่นหนังสือตำราเรียนวิชาบรรณารักษศาสตร์เบื้องต้น กับบล็อกนี้แล้วกัน อิอิ

10. Mobile devices aren?t the end of books, or libraries
อุปกรณ์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ไม่ได้เป็นจุดที่สิ้นสุดของหนังสือ และห้องสมุด ? เนื่องจากอุปกรณ์พวกนี้ก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น มีคือ kindle ของ amazon สามารถดู E-book ได้ก็จริง แต่อุปกรณ์เหล่านี้มีข้อจำกัด เช่น ราคา, เวลาในการใช้งาน, หนังสือที่ต้องโหลดเข้ามา, และอื่นๆ อีกมากมาย เห็นมั้ยหล่ะครับ อุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถแทนห้องสมุดได้ยังไง

11. The hype might really just be hype
การผสมผสานมันก็แค่ผสมผสาน ? มีการพูดถึงความเป็น paper book กับ E-book ว่าโลกนี้จะไม่มี paper book คงไม่ได้เพราะว่าคนยังเคยชินกับความรู้สึกในการใช้กระดาษมากกว่าการใช้ อุปกรณ์ตัวเล็กไว้สำหรับอ่าน ดังนั้นหากทั้งสองสามารถรวมกันได้ ก็ควรจะรวมกัน ไม่ใช่ว่าพอ E-book มาก็ยกเลิก paper book ทิ้ง มันก็อาจจะทำให้ดูไม่ดีก็ได

12. Library attendance isn?t falling ? it?s just more virtual now
การเข้าใช้ห้องสมุดไม่ได้มียอดที่ลดลง แต่มีการเข้าใช้ทางเว็บไซต์ห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะห้องสมุดสถาบันการศึกษา

13. Like businesses, digital libraries still need human staffing
เช่นเดียวกับการทำธุรกิจ ห้องสมุดดิจิทัลก็ยังคงต้องใช้คนในการจัดการและดำเนินงานอยู่ดี

14. We just can?t count on physical libraries disappearing
เราไม่สามารถนับจำนวนการสูญเสียของทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดทางกายภาพได้ ? เพราะเนื่องจากการปรับเปลี่ยนจากสิ่งพิมพ์ทางกายภาพเป็นสานสนเทศดิจิทัลมมี ค่าเท่ากัน ดังนั้นการที่ห้องสมุดสูญเสียหนังสือที่เป็นเล่ม แต่ได้มาซึ่งสารสนเทศดิจิตอลจึงเป็นสิ่งที่แทนกันได้ และไม่ได้เรียกว่าสูญเสีย

15. Google Book Search ?don?t work?
แค่หัวข้อคงไม่ต้องบรรยายแล้วหล่ะครับ ตรงไปตรงมาดี เพราะว่า Google Book Search ทำงานไม่ดีพอ

16. Physical libraries can adapt to cultural change
ห้องสมุดที่เป็นกายภาพสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้

17. Physical libraries are adapting to cultural change
จากข้อ 16 เมื่อสามารถทำได้ ดังนั้นห้องสมุดทางกายภาพจึงมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการตลอดเวลา เพื่อ ปรับตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรม

18. Eliminating libraries would cut short an important process of cultural evolution
การที่เรากำจัดห้องสมุดถือว่าเป็นการตัดกระบวนการทางสังคมออก ? ห้องสมุดถือว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งในการสร้างวัฒนธรรมในการศึกษาและ วัฒนธรรมแห่งความรู้ ดังนั้นการตัดความสำคัญของห้องสมุดก็เท่ากับว่าเราตัดความสำคัญทางการศึกษา ออกด้วย

19. The internet isn?t DIY
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่คุณเองก็ทำได้ ? ต้องยอมรับอย่างนึงว่าอินเทอร์เน็ตเกิดเพราะคุณ แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเราไม่สามารถกำหนดหรือสั่งการมันได้ เช่น search engine ที่มันทำงานได้เพราะว่าโปรแกรมในบางครั้งการค้นหาที่มีความหมายแบบขั้นลึก โปรแกรมก็ไม่สามารถค้นหาให้ได้เหมือนกัน เอาตรงๆ ก็คือ เวลาค้นกับ search engine มันจะได้คำตอบตรงๆ และตายตัว อยากรู้อย่างอื่นเพิ่มเติมก็ต้องค้นใหม่ แต่ถ้าเป็นบรรณารักษ์ในการตอบคำถาม คำตอบที่ได้มาจะเน้นไปในแนวทางความรู้สึกซึ่งผู้ใช้สามารถค้นได้ง่ายกว่า

20. Wisdom of crowds is untrustworthy, because of the tipping point
ความรอบรู้ของอินเทอร์เน็ตยังไว้ใจไม่ได้ เนื่องจากการแพร่กระจายอาจจะนำมาซึ่งภาวะของข่าวลือ

21. Librarians are the irreplaceable counterparts to web moderators
บรรณารักษ์ไม่สามารถเปลี่ยนจากคนนั่ง counter เป็น web moderators ? ถึงแม้ว่าห้องสมุดจะกลายเป็นห้องสมุดดิจิทัลแต่ก็ต้องมีบรรณารักษ์คอยจัดการ content เนื้อหาอยู่ดี

22. Unlike moderators, librarians must straddle the line between libraries and the internet
บรรณารักษ์เป็นคนช่วยประสานช่องหว่างระหว่างห้องสมุดกับอินเทอร์เน็ต
ครับ

23. The internet is a mess
อินเทอร์เน็ตคือความยุ่งเหยิง ? ครับแน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตคงไม่มานั่งจัดหมวดหมู่ หรือ หัวเรื่องเหมือนห้องสมุดหรอกครับ อิอิ

24. The internet is subject to manipulation
อินเทอร์เน็ตมีหัวเรื่องที่เกิดจากการผสมผสานหลากหลาย วิธีนึงใน web 2.0 ก็คือ การใช้ Tag clould เข้ามากำหนดความนิยมของหัวเรื่อง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการ spam tag กันมากขึ้นจึงทำให้เนื้อหาที่ได้มาบางครั้งไม่ตรงกับจุดประสงค์ของเรา

25. Libraries? collections employ a well-formulated system of citation
ห้องสมุดมีระบบการจัดการที่เป็นระบบมากกว่าบนอินเทอร์เน็ต จาก 2 ข้อด้านบน คงพิสูจน์แล้ว

26. It can be hard to isolate concise information on the internet
มันยากที่จะแยกข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกจากกันในอินเทอร์เน็ต สังเกตได้จากแต่ละเว็บไซต์จะมีการเชื่อมโยงจนบางครั้งข้อมูลในหลากหลายมาก เกินไป จนเราไม่สามารถที่จะพิจารณาว่าจะเชื่อข้อมูลจากที่ไหน

27. Libraries can preserve the book experience
ห้องสมุดสามารถอนุรักษ์หนังสือได้อย่างมีประสบการณ์ช่ำชอง อันนี้คงไม่มีใครเถียงนะครับ แต่อย่างที่เคยเขียนไปคือห้องสมุดอาจจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพิพิธภัณฑ์หนังสือก็ ได้

28. Libraries are stable while the web is transient
ห้องสมุดเป็นอะไรที่เก็บข้อมูลได้มั่นคง แต่อินเทอร์เน็ตเก็บอะไรชั่วคราว ? เห็นด้วยนะครับเพราะว่าบางครั้งพอเราค้นอะไรในอินเทอร์เน็ตวันนี้อาจจะเจอ แต่พอวันรุ่งขึ้นผลการค้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

29. Libraries can be surprisingly helpful for news collections and archives
ห้องสมุดสามารถสร้างประโยชน์ในการสร้าง collection ใหม่ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ? ความสามารถดังกล่าวมาจากห้องสมุดเฉพาะ เพราะว่าห้องสมุดเหล่านี้จะเน้น collection พิเศษที่เกี่ยวกับตัวเอง รวมถึงถ้า collection นั้นยังไม่มีห้องสมุดไหนเคยทำ องค์กรที่เกี่ยวข้องก็จะสนับสนุนในการจัดการห้องสมุดสาขาวิชานั้นๆ

30. Not everyone has access to the internet
ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ เนื่องจากข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การติดต่อในอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อ, จุดกระจายสัญญาณเครือข่าย, สถานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต

31. Not everyone can afford books
ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหนังสือ ? อธิบายง่ายๆ ว่า บางคนก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของหนังสือได้ ดังนั้นแล้วคนเหล่านั้นจะอ่านความรู้ต่างๆ ได้อย่างไร ห้องสมุดจึงเป็นตัวช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของหนงสือได้ร่วมกัน

32. Libraries are a stopgap to anti-intellectualism
ห้องสมุดช่วยหยุดช่องว่างของความไม่มีความรู้ ? พูดง่ายๆ ว่าห้องสมุดช่วยสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นน่าจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

33. Old books are valuable
ในยุคที่ใกล้เข้าสู่โลกดิจิทัล เกิดไอเดียใหม่สำหรับห้องสมุด นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์หนังสือ(book museum) เพราะว่าหนังสือรุ่นใหม่ๆ จะอยู่ในรูปดิจิทัล ส่วนหนังสือเก่าที่ทรงคุณค่าก็เก็บไว้ใส่พิพิธภัณฑ์แทน

เป็นอย่างไรบ้างครับ จบตอนกันสักที

จุดประสงค์ที่เอามาให้อ่านไม่ใช่ว่าอาชีพอย่างเรา จะอยู่อย่างเป็นนิรันดร์นะครับ
แต่ถ้าเพื่อนๆ ได้อ่านกันจริงๆ บรรณารักษ์จะเปลี่ยนบทบาทการทำงาน
รวมถึงห้องสมุดก็เปลี่ยนบทบาทและรูปแบบในการให้บริการ
ที่เด่นๆ ก็เห็นจะเป็น จากห้องสมุดทางกายภาพจะกลายเป็นห้องสมุดเสมือน
รวมถึงสื่อต่างๆ จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้นนะครับ

ปัญหามากมายที่รอการแก้ไข จากห้องสมุดแห่งหนึ่ง

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ ในวงการห้องสมุดหลายคน ก็รู้ว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งมีปัญหาที่ต้องแก้อีกมากมาย
ซึ่งบางปัญหาก็เกิดจากผู้บริหาร หรือบางปัญหาก็เกิดจากผู้ใช้บริการ และบางปัญหาก็เกิดจากตัวบรรณารักษ์เอง

ที่มาจาก badjonni
ที่มาจาก badjonni

วันนี้ผมมีกรณีตัวอย่างมานำเสนอ เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับห้องสมุดแห่งนี้ให้เพื่อนๆ ช่วยวิเคราะห์นะครับ

ปัญหาของห้องสมุดนี้ มีดังนี้ครับ

1. ชั้นหนังสือเต็มจนหนังสือไม่มีที่เก็บอีกแล้ว (พื้นที่มีเยอะแต่ชั้นหนังสือมีน้อย)
บรรณารักษ์ทำเรื่องขออนุมัติในการจัดหาครุภัณฑ์ไป 1 ปีกว่าๆ แล้วยังไม่ได้

2. สื่อประเภทซีดีมีมากมายในห้องสมุด แต่ไม่มีที่จัดเก็บ
แม้แต่เครื่องเล่นซีดี คอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีในห้องสมุด

3. ในห้องสมุดไม่มีคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น เวลาผู้ใช้ต้องการหาหนังสืออะไร
ก็จะเดินมาถามบรรณารักษ์อย่างเดียว หรือไม่ก็ใช้ความเคยชินเดินหาตามชั้นเอาเอง

4. บุคลากรในห้องสมุดไม่เคยถูกส่งไปเข้าร่วมงานสัมมนา อบรม ประชุมวิชาการต่างๆ เลย
จนบุคลากรบางส่วนต้องลางานเพื่อไปเข้าร่วมงานต่างๆ เอง

5. บุคลากรของห้องสมุด (บรรณารักษ์) มักจะถูกขอให้ไปช่วยงานอื่นๆ ในองค์กร
ไม่ว่าจะเป็นงานด้านการเงิน ประชาสัมพันธ์ รับสมัครนักศึกษา ฯลฯ

6. นักเรียนเอาโน้ตบุ๊คมาใช้ในห้องสมุดแต่ไม่สามารถต่อ internet ได้
เนื่องจาก wireless มีไว้ให้พนักงานในองค์กรเล่นได้อย่างเดียว

7. เวลาองค์กรจัดงานนิทรรศการ หรืองานกิจกรรมต่างๆ จะมายืมครุภัณฑ์จากห้องสมุดเป็นหลัก
เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ทำให้ห้องสมุดไม่มีที่นั่งเพื่อให้บริการผู้ใช้

ฟังปัญหาของห้องสมุดนี้แล้วก็แอบเหนื่อยใจแทนนะครับ
แต่ผมก็ขอนำเสนอวิธีใการจัดการกับเรื่องเหล่านี้นะครับ

1. ทำงานเท่าที่หน้าที่ของตนรับผิดชอบ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น
เราจะฝืนทำมากกว่าที่เป็นอยู่แล้วเดือดร้อนถึงเราไม่ได้ แต่ขอให้ดูว่าผู้ใช้ต้องไม่เดือดร้อนด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ถึงไม่มีคอมพิวเตอร์ให้ผู้ใช้สืบค้น แต่เราก็สามารถที่จะค้นให้ผู้ใช้ได้มิใช่หรือครับ
เท่านี้นอกจากจะเป็นการช่วยเหลือผู้ใช้แล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบรรณารักษ์และผู้ใช้อีกด้วย


2. บางอย่างก็อย่าคาดหวังหากหวังมาก

เช่น คาดว่าจะได้ชั้นหนังสือเดือนหน้า เราก็จะรอคอยในสิ่งที่จะทำให้ผิดหวังได้
ให้คิดซะว่าถ้ามันมีก็ดีนะ แต่ถ้าขาดมันก็ไม่เห็นเป็นไรเลย เท่านี้ก็สบายใจทั้งเรา ทั้งผู้บริหารแล้ว

3. บางอย่างเราก็คอยติดตามสอบถาม/ทวงถามบ้าง
เช่น หากชั้นหนังสือล้นออกมาเยอะมากแล้วเราก็ควรเริ่มกระตุ้นผู้บริหารได้แล้ว
ไม่ใช่ปล่อยให้มันล้นต่อไปเรื่อยๆ แล้วไปคาดหวังว่าสักวันผู้บริหารจะเห็นอันนั้นมันคงเป็นไปไม่ได้กระมั้ง

4. ปล่อยวางบ้างเถอะ
บางครั้งการที่องค์กรขาดอุปกรณ์บางอย่างแล้วมาขอยืมไปจากห้องสมุดเช่น โต๊ะ เก้าอี้
หากช่วงนั้น ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องใช้ก็ปล่อยๆ ให้เขาไปเถอะแต่ไม่ใช่ปล่อยให้เขาเอาไปหมดเลย
ควรจะเหลือไว้ให้ห้องสมุดสักครึ่งหนึ่งก็จะดี เพราะอย่าลืมว่าเราต้องบริการผู้ใช้ด้วย ไม่ใช่บริการองค์กรเพียงอย่างเดียว


คำแนะนำเหล่านี้ ถ้าเพื่อนๆ รับฟังมันก็จะทำให้เราทำงานได้อย่างสบายใจแล้วหล่ะครับ

แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไงกับปัญหาเหล่านี้ มีแนวทางในการแก้ไขบ้างหรือปล่าวครับ

ห้องสมุดแห่งนี้อเนกประสงค์เกินไปหรือปล่าว

เพื่อนๆ หลายคนชอบบอกผมว่า อยากให้ห้องสมุดบริการทุกๆ อย่าง หรือ ประมาณว่าอเนกประสงค์เลยก็ดี
วันนี้ผมก็เลยขอเอาประเด็นห้องสมุดอเนกประสงค์ มาเล่าให้ฟังอีกที (เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงๆ นะครับ)

everything-in-library

สมมตินะครับ…สมมติ หากว่าห้องสมุดของเพื่อนๆ อเนกประสงค์แบบนี้ เพื่อนๆ ว่ามันดีหรือปล่าว

1. ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นห้องเรียนได้ อาจารย์สามารถขอใช้วัสดุจากจากห้องสมุดได้
เช่น หนังสือพิมพ์เก่าๆ วารสารเก่าๆ และก็ตัดกันอย่างสนุกสนานในห้องสมุด

2. ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บรวบรวมข้อสอบได้ โดยที่บรรณารักษ์เป็นผู้ตรวจสอบและเก็บให้
พออาจารย์หาข้อสอบเก่าๆ ไม่เจอก็มาโทษบรรณารักษ์และห้องสมุด

3. ห้องสมุดทำหน้าที่จัดกรรมการคุมสอบได้อีก อาจารย์ที่คุมสอบต้องมาลงชื่อที่ห้องสมุดในช่วงสอบ
ส่วนอาจารย์สำรองก็ต้องมานั่งรอในห้องสมุด สรุปว่าห้องสมุดทำหน้าที่ได้เหมือนหน่วยคุมสอบ

4. เวลาจัดกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร สามารถมายืมโต๊ะ เก้าอี้ที่ห้องสมุดได้
ส่วนผู้ที่ใช้ห้องสมุดคนอื่นก็นั่งพื้น หรือ ยืนอ่านแล้วกันนะครับ

5. เวลาปิดเทอมห้องสมุดต้องเตรียมสถานที่ไว้เพื่อใช้ในงานอื่นโดย
ต้องเก็บหนังสือออกจากชั้นและทำการจัดหนังสือใหม่ทุกครั้งเมื่อเปิดเทอม

6. เวลานักเรียนจะจบก็จะมาถ่ายรูปที่ห้องสมุดโดยใช้ห้องอ้างอิงเพื่อการถ่ายรูป
ส่วนนักเรียนที่รอถ่ายรูปก็จะเดินไปเดินมาและคิดว่าห้องสมุดเป็นตลาดซะก็สบายใจ

7. ใช้เป็นที่ลงทะเบียนของนักเรียนทุกๆ เทอม

8. ใช้เป็นสถานที่สัมภาษณ์งานของฝ่ายบุคคลด้วย โดยใช้ห้องโสตฯในการสัมภาษณ์

9. ห้องนอน ห้องพักผ่อน อยู่ที่ห้องสมุดทั้งนั้นเลย

10. และอื่นๆ อีก

ปล. บรรณารักษ์ที่ทำงานที่นี่ ไม่ได้อยากให้ห้องสมุดเป็นแบบนี้ แต่มันเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้เอง
เนื่องจากนโยบายจากผู้บริหารได้มีคำสั่งออกมาเพื่อใช้ห้องสมุดในการดังกล่าวข้างต้น

เพื่อนๆ อยากให้ห้องสมุดแบบนี้แก้ไขอย่างไร เพื่อนๆ อยากให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ เป็นแบบนี้หรือปล่าว
สรุปแล้วที่เล่ามา เพื่อนๆ ว่าห้องสมุดอเนกประสงค์อย่างนี้ดีมั้ยครับ

ลักษณะทั่วไปของมุมกาแฟในห้องสมุด

บริการใหม่ๆ และทัศนคติใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวันและเปลี่ยนไปตามกาลเวลา เช่น
อดีตห้องสมุดหลายแห่งไม่อนุญาติให้นำของกินหรือเครื่องดื่มเข้ามาในห้องสมุด
แต่ปัจจุบันห้องสมุดเหล่านั้นก็เริ่มเปลี่ยนอนุญาติให้นำของกินหรือเครื่องดื่มเข้ามาในห้องสมุดได้

coffee-in-library

โดยเฉพาะมุมกาแฟ ช่วงหลังๆ ที่ผมไปเยี่ยมห้องสมุดหลายๆ ที่
ผมก็เริ่มสังเกตว่าห้องสมุดส่วนใหญ่พักหลังมักจะนิยมมีมุมกาแฟด้วย

จะเพิ่มอีกสักมุมก็คงไม่แปลกเนอะ “มุมกาแฟ” ในห้องสมุด

มุมกาแฟที่ผมพบหลักๆ ผมจะขอแบ่งออกเป็น 3 แบบใหญ่ๆ นะครับ ซึ่งมีดังนี้

แบบที่ 1 เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการร้านกาแฟเข้ามาเปิดกิจการในห้องสมุด

ลักษณะแบบนี้ห้องสมุดก็ได้ผลตอบแทนหลายๆ อย่าง เช่น ค่าเช่าพื้นที่ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ ฯลฯ
ห้องสมุดที่ดำเนินการแบบนี้ได้จะต้องเป็นห้องสมุดที่มีบริเวณหน่อยนะครับ


แบบที่ 2 จัดมุมกาแฟแบบง่ายๆ ด้วยการให้ผู้ใช้บริการบริการตัวเอง

ลักษณะแบบนี้ห้องสมุดก็จะจัดเครื่องทำน้ำร้อน แก้วกระดาษ ช้อนคน และกาแฟสำเร็จรูปประเภทซอง
จากนั้นการคิดเงินก็ให้ผู้ใช้บริการหยอดเงินใส่กล่อง หรือไม่ก็เก็บเงินที่หน้าเคาน์เตอร์
แบบนี้ก็ดีครับง่ายดีแต่การเขียนขออนุมัติกับผู้บริหารจำเป็นต้องเล่าถึงจุดประสงค์ที่ชัดเจนนะครับ
(ไม่งั้นผู้บริหารจะมาหาว่าคุณกำลังหากินกับผู้ใช้บริการห้องสมุดด้วย)


แบบที่ 3 จัดตู้กดเครื่องดื่มอัตโนมัติ หรือตู้กดน้ำกระป๋อง

ลักษณะนี้ก็จะคล้ายๆ กับข้อที่หนึ่ง คือ ให้ผู้ประกอบการตามติดตั้งให้และดูแลเครื่องเอง
จากนั้นห้องสมุดก็เก็บค่าไฟ หรือ ค่าเปอร์เซ็นต์จากการขายด้วย

เอาเป็นว่าจริงๆ แล้วอาจจะมีรูปแบบอื่นๆ อีก ยังไงก็ขอให้เพื่อนๆ เล่าให้ผมฟังบ้างนะ

คุณครูสามารถพานักเรียนมาเรียนในห้องสมุดได้ แต่…

เรื่องเก่าเล่าใหม่วันนี้ ขอนำเสนอเรื่องปัญหาของห้องสมุดสถานศึกษานะครับ
หลายคนคงเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับการที่คุณครูพานักเรียนมาเรียนในห้องสมุนะครับ
เอาเป็นว่าเรามาร่วมกันเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาดีกว่า

teacher-in-library

แต่ก่อนอื่นมาฟังเรื่องราวที่เกิดกับผมก่อนดีกว่า…

ณ โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในคาบวิชาสังคมศึกษา ของระดับชั้น…
คุณครูที่สอนในวิชานี้ได้นำนักเรียนในห้องที่สอนมาที่ห้องสมุด
และบอกกับบรรณารักษ์ว่า “จะนำนักเรียนมาหาข่าวหนังสือพิมพ์เพื่อให้เด็กทำรายงาน”
โดยขอให้บรรณารักษ์ช่วยเตรียมหนังสือพิมพ์เก่าๆ ให้หน่อย เพื่อให้เด็กๆ หาข่าว และตัดข่าวได้
บรรณารักษ์ก็ได้จัดเตรียมให้ตามคำขอของคุณครูท่านนี้

หลังจากที่คุณครูมอบหมายงานให้นักเรียนเสร็จ
นักเรียนก็แยกย้ายกันไปทำงานตามโต๊ะของตัวเอง

จากนั้นบรรยากาศความสนุกสนานก็เกิดขึ้น นักเรียนทำงานไปก็คุยไป ตะโกนคุยกันไปมา
จนผู้ใช้บางส่วนที่เป็นคุณครูก็เข้ามาบอกบรรณารักษ์ว่าให้ช่วยตักเตือนนักเรียนเหล่านี้หน่อย
บรรณารักษ์ก็เดินไปเตือนหลายครั้ง เตือนทีก็เงียบที พอบรรณารักษ์เดินกลับมาเสียงก็ดังอีก

ส่วนคุณครูที่มอบหมายงานให้นักเรียนนั้น ก็นั่งอ่านนวนิยายตามสบาย โดยที่ไม่เตือนลูกศิษย์กันเลย

พอหมดคาบคุณครูท่านนี้ก็เช็คชื่อนักเรียน โดยการเรียกชื่อทีละคน
ซึ่งการเรียกชื่อของคุณครูท่านนี้คงกะว่าไม่ว่านักเรียนจะอยู่ส่วนไหนของห้องสมุด ก็คงต้องได้ยิน
เนื่องจากพลังเสียงของคุณครูท่านนี้ดีมาก เรียกทีเดียวคนหันมามองทั้งห้องสมุดเลย

พอคุณครูท่านนี้พานักเรียนกลับไปแล้ว บรรณารักษ์ก็ต้องตกตะลึงอีกรอบ
คือ หนังสือพิมพ์ที่ตัดกันเกลื่อนกลาดไม่ยอมเก็บให้ด้วย ต้องให้บรรณารักษืมาตามเก็บทีหลังอีก

สำหรับความคิดของผมแล้ว การที่คุณครูพานักเรียนมาที่ห้องสมุดผมถือว่าดีนะครับ
เพราะถือว่าเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใช้ห้องสมุดด้วย

แต่ถ้าคุณครูจะสอนหนังสือไปด้วย ผมว่าคุณครูกลับไปสอนที่ห้องเรียนน่าจะดีกว่านะครับ

ถ้าในห้องเรียนไม่มีหนังสือพิมพ์ ก็มาบอกกับบรรณารักษ์ได้ครับ เดี๋ยวบรรณารักษ์จัดไปส่งถึงที่เลย
อย่างน้อยห้องเรียนคงเสียงดังได้มากกว่าห้องสมุด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้ห้องสมุดคนอื่นๆ นะครับ
และคุณครูครับ การมอบหมายงานกรุณามอบหมายให้เสร็จในห้องเรียนไม่ใช่มามอบหมายที่ห้องสมุดครับ

ลด ละ เลิกการใช้เสียงเถอะครับไม่ต้องคิดถึงบรรณารักษ์ก็ได้
แต่อยากให้คิดถึงผู้ใช้ห้องสมุดคนอื่นๆ นะครับ

เรื่องของเทคโนโลยีที่ไม่เคยเกิดกับห้องสมุดแห่งนี้

ห้องสมุดของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งมีลักษณะเช่นนี้ ผมเลยขอเอามาให้เพื่อนๆ ช่วยวิจารณ์กันหน่อยแล้วกัน
เนื่องจากองค์กรแห่งนี้เน้นเทคโนโลยีต่างๆ นานาในสถาบันการศึกษา แต่ไม่เคยสนใจห้องสมุด

technology-lib

แม้ว่าเทคโนโลยีจะถูกเน้นให้เกิดในองค์กร แต่ก็ถูกละเลยจากบุคลากรในองค์กรอยู่ดี เช่น

– การติดต่อสื่อสารด้วยเทคโนโลยี VOIP แต่ก็ไม่เคยมีใครใช้
– แจก Ipod ให้บุคลากรแต่ใช้ไม่เป็น
– อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แต่มีไว้โหลดหนัง โหลดเพลง
– มีการจัดสอบวัดความรู้ด้านไอทีในองค์กร แต่สามารถส่งตัวแทนไปสอบได้
– ระบบการให้บริการด้วยเว้บไซต์ออนไลน์ แต่คนส่วนใหญ่ใช้ไม่เป็นสุดท้ายก็ต้องเดินมาที่แผนก
– เว็บไซต์องค์กรที่ไม่เคยอัพเดทเลย

นี่คือสิ่งที่องค์กรตอบสนองให้บุคลากรในหน่วยงาน แต่สิ่งที่ได้มาคือความไร้ค่ามากๆ
บ้างก็ใช้ไม่เป็น บ้างก็นำไปใช้ผิดจุดประสงค์ กลุ้มใจแทนองค์กรเลยครับ

ทีนี้หันมาดูที่ห้องสมุดบ้างดีกว่า
1. มีคอมพิวเตอร์เพื่อให้บริการสืบค้น (ที่โต๊ะบรรณารักษ์เท่านั้น)
2. ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็นระบบที่ใช้ได้เสถียรที่สุด และไม่ยืดหยุ่นให้ใคร (วันหยุดก็จะคิดค่าปรับแถมให้ด้วย)
3. เครื่องทำสำเนาของสื่อโสตฯ ทำได้ (แต่เอากลับบ้านไปทำนะบรรณารักษ์)
4. ชั้นหนังสือมีจำนวนมาก (แต่หนังสือมากกว่า)
5. มีสื่อโสตฯ มากมาย (เอากลับไปดูที่บ้านนะครับ)
6. มีเว็บห้องสมุด (แต่ต้องไปฝากคนอื่นเอาขึ้น server)

นอกจากเรื่องที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว จริงๆ ยังมีอีกหลายเรื่องนะครับ
แต่ขอเอาไว้เล่าให้ฟังต่อคราวหน้าดีกว่า เพราะแค่นี้ยิ่งอ่านก็ยิ่งสลดแล้ว

สุดท้ายก็ขอฝากให้เพื่อนๆ ช่วยกันคิดหน่อยนะครับว่าสาเหตุมาจากอะไร แล้วเราสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

?ผมยืมหนังสือไปสอนนักศึกษา? ผมต้องเสียค่าปรับหนังสือด้วยหรอ?

นี่อาจจะเป็นเพียงปัญหาที่บรรณารักษ์เจออยู่บ่อยๆ แต่พูดอะไรไม่ได้เท่านั้น
วันนี้ผมขอนำมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้เพื่อนๆ แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการแก้ปัญหาในเรื่องนี้

overdue-library

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นจริงในช่วงที่ผมเป็นบรรณารักษ์สถานศึกษาแห่งหนึ่ง
ในตอนนั้นบรรณารักษ์ของที่นี่จะถูกจำกัดตำแหน่ง คือ “เจ้าหน้าที่” ไม่ใช่ “บรรณารักษ์”
ดังนั้นอาจารย์หลายๆ คนในสถานศึกษาแห่งนี้มักจะใช้อำนาจในการต่อรองต่างๆ นานา

อาทิเช่นเรื่องการจ่ายค่าปรับที่ผมจะเล่านี้…

ก่อนอื่นผมขอเกริ่นเรื่องนโยบายของห้องสมุดก่อนนะครับ
สำหรับการยืมหนังสือของอาจารย์ 1 คน ยืมได้ 10 เล่ม และได้ระยะเวลา 1 เดือน
หากคืนเกินกำหนด ก็จะต้องเสียค่าปรับ เล่มละ 5 บาท / วัน

เข้าเรื่องแล้วกันนะครับ เรื่องมีอยู่ว่า…
มีอาจารย์แผนกหนึ่งเอาหนังสือมาคืนที่ห้องสมุด แล้วระบบแจ้งเตือนว่า “คืนหนังสือเกินกำหนด”
ซึ่งทำให้มีค่าปรับหนังสือ 15 บาท ดังนั้นบรรณารักษ์จึงจำเป็นที่จะต้องปรับอาจารย์คนนั้น

แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นตรงที่ว่าอาจารย์ท่านนี้ไม่ยอมจ่าย ด้วยการให้เหตุผลว่า
?ต้องปรับผมด้วยหรอครับ ในเมื่อผมก็ยืมหนังสือไปสอนนักศึกษา
นี่ผมใช้เพื่อการเรียนการสอนนะ ไม่ได้เอาไปอ่านเล่นหรือเอาไปดอง?

ทางบรรณารักษ์ก็ให้เหตุผลว่ามันเป็นกฎระเบียบที่ห้องสมุดตั้งขึ้น
ถ้าจะขอยกเว้นเรื่องค่าปรับหนังสือก็ต้องเขียนหนังสือให้เหตุผลแบบเป็นลายลักษณ์อักษร

แต่อาจารย์คนนี้ก็ยังไม่ยอมจ่าย หรือไม่ยอมเขียนหนังสือใดๆ
(ทั้งๆ ที่อาจารย์คนอื่นๆ เวลาทำผิดกฎเขาจะรู้ตัวเองและยอมทำตามกฎที่ห้องสมุดกำหนดไว้)

สุดท้ายอาจารย์ท่านนี้ก็ยืนยันว่าไม่จ่าย แถมยังขู่ว่าจะเอาไปฟ้องผู้บริหารขององค์กรอีก
ในข้อหา “บรรณารักษ์ปรับค่าหนังสือที่คืนกำหนดกับอาจารย์ที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน”

สรุปค่าปรับแค่ 15 บาท อาจารย์คนนี้สามารถทำให้เป็นเรื่องใหญ่ได้ขนาดนี้

สำหรับความเห็นส่วนตัวของผม

การยืมหนังสือไปใช้เพื่อการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่เหมาะสม
หากถึงวันที่กำหนดคืนแล้วยังใช้หนังสือเล่มนั้นไม่เสร็จ ก็น่าจะแจ้งห้องสมุดเพื่อต่ออายุการยืม
หรือไม่ก็ทำหนังสือมาเพื่อเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ใช่ว่าจะมาบอกปากเปล่าว่าไม่จ่าย
เพราะทางห้องสมุดก็ต้องทำบัญชีส่งฝ่ายกการเงินเช่นกัน
หากระบบแจ้งค่าปรับกับเงินที่ส่งให้ไม่สอดคล้องกัน ห้องสมุดจะได้มีหลักฐาน

วิธีแก้ที่ผมจะขอเสนอ
สำหรับอาจารย์อย่างเดียวคือถ้าคืนหนังสือเกินกำหนด
เราจะไม่ปรับตรงบริเวณเคาน์เตอร์ยืม-คืน แต่เราจะปรับทุกสิ้นเดือน (ตัดเงินเดือนแทน)
และทุกๆ ครั้งที่เปิดเทอมใหม่หลังจากเราอบรมการใช้ห้องสมุดให้นักศึกษาแล้ว
ควรจะจับอาจารย์มาอบรมการใช้และกฎระเบียบของห้องสมุดด้วย
(ขนาดกฎเรื่องการปรับค่าหนังสืออาจารย์ยังไม่รู้เลย สมควรอบรมและชี้แจงอย่างยิ่ง)

เพื่อนๆ ว่ามีวิธีแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร หรือต้องการให้เรื่องนี้เป็นอย่างไร อย่าลืมมาเล่าให้ฟังนะครับ

————————————————

อ่านเรื่องแนวทางการแก้ไขเรื่องค่าปรับหนังสือที่พี่โตเขียนตอบได้ ในเรื่อง “ว่าด้วยค่าปรับหนังสือ”
อ่านได้ที่ http://iteau.wordpress.com/2007/08/15/libraryfine/

สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณพี่โต ที่เสนอแง่คิดดีๆ ให้พวกเราอ่านด้วยครับ

นักศึกษาภาคค่ำก็ต้องการใช้ห้องสมุดเหมือนกัน

วันนี้ผมขอเขียนถึงเรื่องการให้บริการห้องสมุดในช่วงกลางคืนบ้างนะครับ และเข้าใจว่าหลายๆ ห้องสมุดก็ให้บริการซึ่งดีอยู่แล้ว
แต่ห้องสมุดบางแห่งกลับละเลยเกี่ยวกับการให้บริการผู้ใช้เฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะ “นักศึกษาภาคค่ำ” หรือ “นักเรียนภาคค่ำ
ซึ่งวันนี้ผมจะเขียนแสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดและผู้ให้บริการห้องสมุดให้เพื่อนๆ อ่านกัน

libraryinnight

เมื่อสถาบันการศึกษาเปิดรับนักเรียนหรือนักศึกษาภาคค่ำแล้ว (โดยเฉพาะโรงเรียนอาชีวะ โรงเรียนพาณิชย์ ฯลฯ)
การบริการสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น ห้องสมุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาดังกล่าว
เนื่องจากนักเรียนและนักศึกษาเหล่านี้ก็ต้องจ่ายค่าเทอมและค่าบริการต่างๆ ให้กับสถาบันการศึกษา เช่น ค่าบำรุงห้องสมุด ฯลฯ

หลายๆ สถาบันการศึกษาก็มีการบริการห้องสมุดให้นักศึกษาภาคค่ำด้วยโดยจะเปิดให้บริการดึกขึ้น
แต่ประเด็นตรงนั้นผมจะไม่พูดถึง แต่จะขอกล่าวถึงบางสถาบันการศึกษาเท่านั้น
ที่มีการเปิดการเรียนการสอนภาคค่ำแต่ไม่จัดบริการพื้นฐานดังกล่าว
โดยเหตุการณ์นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฐานะที่ผมเป็นทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

มุมมองของผมในฐานะผู้ใช้บริการ (นักศึกษาปริญญาโทภาคค่ำ) ต่อห้องสมุดคณะ
ผมเรียนปริญญาโทในภาคค่ำ ซึ่งเรียนเวลา 18.00 – 21.00 น. แต่ห้องสมุดของสถาบันที่ผมเรียนปิดเวลา 21.00 น.
ซึ่งทำให้ผมไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ห้องสมุดในวันที่ผมเรียน เนื่องจากพอเรียนเสร็จห้องสมุดก็ปิดไปแล้ว
และข้อจำกัดของคนที่เรียนปริญญาโทภาคค่ำ คือ เป็นคนที่ทำงานประจำอยู่แล้ว พอมาถึงที่เรียนก็มักจะถึงเวลาเข้าเรียนพอดี
ดังนั้นหากพิจารณาจากเหตุการณ์ต่างๆ จะรู้ว่านักศึกษาเหล่านี้แทบไม่ได้ใช้ห้องสมุดเลยในช่วงกันธรรมดา


มุมมองของผมในฐานะบรรณารักษ์ของสถานศึกษาที่มีการเปิดหลักสูตรภาคค่ำ

นโยบายของผู้บริหารมีการกำหนดช่วงเวลาการเปิดปิดห้องสมุดอย่างชัดเจน คือ ให้บริการในช่วงเวลา 8.00 – 18.00 น.
ซึ่งทางบรรณารักษ์ได้ยื่นเรื่องขอขยายเวลาในการเปิดให้บริการห้องสมุดไปจนถึงเวลา 22.00 น.
แต่ผู้บริหารปฏิเสธในการขยายเวลาเนื่องจากมองในเรื่องของการใช้ทรัพยากรและความคุ้มค่าของการให้บริการเป็นหลัก
(ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ เครื่องปรับอากาศ ค่าจ้างพนักงานล่วงเวลา ฯลฯ)

อ่านแล้วเข้าใจภาพรวมกันบ้างหรือยังครับ จริงๆ แล้วเรื่องนี้สำหรับผมเองในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์
ผมก็อยากให้บริการห้องสมุดกับนักศึกษาภาคค่ำด้วยเช่นกันนะครับ ผมใช้หลักการเอาใจเขามาใส่ใจเรานะครับ
ลองมองย้อนว่าถ้าคุณเป็นนักศึกษาเหล่านี้ คุณเองอยากจะใช้ห้องสมุดบ้างหรือปล่าว

แนวทางที่ผมจะเสนอจะทำได้หรือไม่ได้อันนี้เพื่อนๆ ก็ลองพิจารณากันดูนะครับ
ผมขอเสนอให้ห้องสมุดปิดหลังจากหมดการเรียนการสอนของนักศึกษาภาคค่ำสัก 1 ชั่วโมงครับ
เช่น ถ้านักศึกษาภาคค่ำเลิกเรียน 21.00 น. ห้องสมุดก็ควรปิดสักประมาณ 22.00 น.

ทั้งนี้ก็เพื่อให้บริการในการยืมคืนกับนักศึกษาภาคค่ำบ้าง

สุดท้ายก็ขอฝากว่า “การบริการเราต้องยึดผู้ใช้เป็นหลัก ไม่ใช่ยึดความสบายของบรรณารักษ์เป็นหลัก”
อย่างน้อยนักศึกษาภาคค่ำจะได้ไม่ต้องมาบ่นว่า ?เสียเงินจ่ายค่าห้องสมุดไปแล้วไม่เห็นได้ใช้เลย?