ช่วงนี้หลายๆ ห้องสมุดคงกำลังพิจารณาที่จะบอกรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eResources) เพื่อให้บริการห้องสมุดดิจิทัล หรือ ห้องสมุดออนไลน์ ซึ่งก็มีทั้งที่บอกรับแบบเป็นฐานข้อมูลหรือเป็นการบอกรับรายเล่ม…. (ราคาก็มีทั้งแพงลงมาจนถึงแบบฟรี) วิธีการบอกรับ ผมคงไม่ลงรายละเอียดแล้วกันครับ เพราะอย่างที่บอกไปว่ามีหลากหลายแบบ แต่สิ่งที่ผมสนใจ คือ เมื่อมีแล้วเราก็อยากให้มันถูกใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด (ถูกต้องมั้ยครับ)
Tag: สื่ออิเล็กทรอนิกส์
สรุปการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2555 สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TKpark) ได้มีการจัดการอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ให้ตัวแทนจากศูนย์ไอซีทีชุมชน และตัวแทนจากโรงเรียนในเครือ สพฐ. จำนวน 150 คน กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมศิลปากร และอุทยานการเรียนรู้ หัวข้อในการอบรม – แนะนำโครงการเรียนรู้ สนุกเล่น หยั่งลึกสัมผัสไทย – แนะนำสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK – เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน – เรียนรู้การใช้ E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง – เรียนรู้การใช้ Audio book – เรียนรู้การใช้เกมสร้างสรรค์ – ล้วงลึกทุกมิติการเรียนรู้ – มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์ ทีมวิทยากรที่บรรยายในวันนี้เป็นทีมงานจากสำนักงานอุทยานการเรียนรู้กันทั้งทีมเลย ซึ่งมาจากหลายๆ ฝ่าย เช่น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายห้องสมุดมีชีวิต ฝ่ายกิจกรรม ฝ่ายไอที และฝ่ายพัฒนาเครือข่าย สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK ที่กล่าวมาข้างต้นประกอบด้วย – E-Book หนังสือหายาก ชุด ขุมทรัพย์ของแผ่นดิน – E-Book หนังสือชุด วัตถุเล่าเรื่อง ประกอบด้วยหนังสือ 3 เล่ม – Audio Book 101 เล่ม – เกมสร้างสรรค์ 6 เกมส์ การอบรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมการอบรมนอกจากจะได้ฟังการบรรยายแล้ว…
สรุปการบรรยาย : มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (วันที่ 30 มิถุนายน 2555) ผมได้มีโอกาสมาบรรยายในงาน “การอบรมการใช้งานสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ TK” เรื่อง “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์” วันนี้จึงขอแชร์เรื่องดังกล่าวให้เพื่อนๆ อ่าน ก่อนอื่นมาดูสไลด์ที่ผมใช้ประกอบการบรรยายนี้กันก่อน Create digital media in web online สรุปเนื้อหาจากการบรรยาย “มาสร้างสื่อดิจิทัลง่ายๆ บนโลกออนไลน์” เรื่องของสื่อดิจิทัล กับ สื่อออนไลน์ มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างชัดเจนมากๆ เพราะเมื่อข่าวสาร ข้อมูล และความรู้อยู่บนโลกออนไลน์แล้ว จริงๆ มันก็คือสื่อดิจิทัลนั่นแหละ ซึ่งสื่อออนไลน์มันก็มีหลายประเภท เช่น – เว็บไซต์ – ฐานข้อมูล – เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ – ไฟล์เสียง -ไฟล์วีดีโอ และอื่นๆ อีกมากมาย เมื่อเทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลงเร็วมากๆ เราก็จะพบว่า สื่อดิจิทัลมากมายเปลี่ยนแปลงรูปลักษณะและการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นด้วย ตัวอย่างสื่อดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบ เช่น E-Book ในอดีตเป็นเอกสารที่พิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ .txt .doc วันเวลาผ่านไปจากไฟล์เอกสารธรรมดาก็ถูกแปลงสภาพเป็นไฟล์ PDF จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นไฟล์ Flash และนอกจากจะอ่านได้เพียงอย่างเดียวก็เปลี่ยนเป็นการนำสื่อวีดีโอและเสียงมาประกอบกับหนังสือด้วย ซึ่งนับเวลาการเปลี่ยนแปลงได้ไม่กี่ปีเท่านั้น ในสไลด์ที่ผมจะแนะนำนี้เป็นเพียงตัวอย่างเว็บไซต์ในโลกของ 2.0 ที่เราสามารถนำมาใช้ในวงการศึกษาเท่านั้น (ตัวอย่างแค่เล็กน้อยเท่านั้น) ได้แก่ – http://www.flipsnack.com = สร้าง E-book ง่ายๆ ด้วย Flipsnack เพียงแค่อัพโหลดไฟล์ PDF ที่ต้องการจะทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ขึ้นไปบนเว็บไซต์นี้ คุณก็จะได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบ Flip Book ที่สวยงามแบบง่ายๆ ได้เลยทีเดียว – http://issuu.com = สร้างและค้นหา…
Metadata คืออะไร ถามกันจัง???
เรื่องนี้เป็นเรื่องเก่าที่ผมเคยเขียนไปแล้ว แต่พอดีมีคนส่งเมล์มาถามอีก ผมเลยขอเอาเรื่องนี้มาลงให้อ่านอีกสักรอบก็แล้วกันนะครับ metadata คืออะไร metadata คือ ข้อมูลรายละเอียดที่อธิบายถึงความเป็นมาของข้อมูล อาทิเช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเจ้าของผลงาน ผู้รับผิดชอบ ปีที่เขียน ชื่อเรื่อง จริงๆแล้ว มันก็คล้ายๆ กับการวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศที่เป็นสิ่งพิมพ์ แต่ metadata จะใช้กับทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ต่างหาก หลักที่เรายึดและใช้ในการกำหนดมาตรฐานเราจะใช้ของ Dublin core ซึ่งใช้แสดงลักษณะพื้นฐานของสารสนเทศ 15 ข้อ ดังต่อไปนี้ 1. TITLE – ชื่อเรื่อง 2. AUTHOR OR CREATOR – ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน 3. SUBJECT OR KEYWORDS – หัวเรื่อง หรือ คำสำคัญ 4. DESCRIPTION – ลักษณะ 5. PUBLISHER – สำนักพิมพ์ 6. OTHER CONTRIBUTORS – ผู้ร่วมงาน 7. DATE – ปี 8. RESOURCE TYPE – ประเภท 9. FORMAT – รูปแบบ 10. RESOURCE IDENTIFIER – รหัส 11. SOURCE – ต้นฉบับ 12. LANGUAGE – ภาษา 13. RELATION – เรื่องที่เกี่ยวข้อง…