โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

หลังจากจบงาน Libcamp#2 เมื่อเดือนที่แล้ว (สิงหาคม 2552)
ทางทีมงานผู้ร่วมจัดงานได้มีแผนงานต่อเนื่องของงาน Libcamp
จึงขอร่างและเตรียมจัดงาน Libcamp#3 ต่อเลยในเดือนกันยายน 2552

libcamp3

วันนี้ผมขอนำร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3 มาให้เพื่อนๆ อ่านก่อน
เผื่อว่าจะได้ตัดสินใจว่าจะมาหรือไม่มาตั้งแต่เนิ่นๆ (ขอประชาสัมพันธ์ล่วงหน้ายาวกว่า 2 ครั้งที่จัดมา)

สัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3

1.??? ความเป็นมา
ห้องสมุดยุคใหม่ มีการปรับตัวตามปัจจัยทางสังคมและเทคโนโลยีที่ทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้ห้อง สมุดเปลี่ยนไป ซึ่งห้องสมุดปัจจุบันสามารถเข้าถึงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น และสภาพแวดล้อมภายในห้องสมุดได้ปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัย ทั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ การให้บริการ ดังนั้นบรรณารักษ์จึงต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความสามารถในการบริการและการจัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมืออย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสร้างเครือข่ายทางสังคมของบรรณารักษ์ เพื่อรองรับกับรูปแบบของห้องสมุดในอนาคต อาทิ ห้องสมุดดิจิทัล

ดังนั้นโครงการนักอ่านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยฯ บ้านจิตอาสา จึงร่วมกับเครือข่ายด้านห้องสมุด จัดการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมศักยภาพให้กับอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม และบรรณารักษ์ ในการสร้างเครือข่ายเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบรรณารักษ์ โดยใช้ชื่องานว่า Libcamp ซึ่งได้จัดไปแล้วสองครั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2552 ณ ห้องประชุม อุทยานการเรียนรู้ TK Park ห้างเซ็นทรัลเวิร์ล (ตัวอย่างงาน Libcamp#1 : http://www.libraryhub.in.th/2009/05/07/gallery-for-libcamp1/) และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2552 ณ ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2.??? วัตถุประสงค์โครงการ
2.1??? เพื่อให้อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมเข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด
2.2??? เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ระหว่างเครือข่ายบรรณารักษ์ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
2.3??? เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคมระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมกับบุคลากรในวิชาชีพบรรณารักษ์


3.??? ผู้รับผิดชอบโครงการ

3.1??? โครงการนักอ่านจิตอาสา
3.2??? ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ libraryhub.in.th
3.3??? แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์ และการสนับสนุนภาคีเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

4.??? การดำเนินการ
การสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ Libcamp ในครั้งที่สาม จะมีประเด็นหลักในการอภิปราย คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม กับบรรณารักษ์ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุดให้เข้าใจกระบวนการและแนวคิดใหม่ๆ ในการจัดการห้องสมุด เช่น หลักการพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมในห้องสมุด และการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคลนอกวิชาชีพห้องสมุดกับบรรณารักษ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่อาสาสมัครและคนทำงานด้านห้องสมุดจะสามารถพัฒนาและ นำไปใช้ เพื่อปรับปรุงห้องสมุดให้เข้าถึงผู้ใช้ในยุคสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้ผลตรงตามจุดมุ่งหมายของงานด้านห้องสมุดและบรรณารักษ์

5.??? กลุ่มเป้าหมาย
1. อาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคม
2. บรรณารักษ์
3.ผู้สนใจทั่วไป

6.??? รูปแบบการสัมมนา
จะเป็นรูปแบบไม่เป็นทางการ หรืออสัมมนา (Unconference) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้นำเสนอภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามหัวข้อที่สนใจ ซึ่งสามารถเสนอหัวข้อทั้งก่อนวันงานและในวันงานได้ หลังจากการนำเสนอของแต่ละคนจะมีเวลาให้ผู้เข้าร่วมได้ซักถาม

7.??? ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1??? เกิดเครือข่ายในการจัดการความรู้ของบรรณารักษ์
7.2??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนการจัดการความรู้ระหว่างบรรณารักษ์
7.3??? เกิดแนวคิดในการนำเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตมาช่วยในการให้บริการผู้ใช้

โครงการนี้ผมขอนำต้นฉบับจากงาน Libcamp#2 ที่เขียนโดย แผนงาน ICT สสส.
มาเขียนใหม่และปรับรูปแบบใหม่ รวมถึงการตรวจสอบและแก้ไขโดยทีมงานจากโครงการนักอ่านจิตอาสา

เมื่อ fail whale มาอยู่ในห้องสมุด

ภาพที่ท่านจะได้เห็นต่อไปนี้ หลายๆ คนคงจะบอกว่ามันคุ้นๆ นะ
ครับ คุ้นๆ ว่าเป็นสัญลักษณ์ Fail whale แห่ง Twitter นั่นเอง

fail-whale-library

สำหรับใครก็ตามที่ยังไม่เข้าใจว่า twitter คืออะไร
ลองย้อนกลับไปอ่านในเรื่อง “Twitter + Librarian = Twitterian” นะครับ

คนที่เล่น Twitter ประจำเมื่อเห็นภาพนี้คงรู้ว่านั่นหมายความว่า
Twitter ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราวนั่นเอง หรือพูดง่ายๆ ว่ากำลังเดี้ยง

fail_whale-copy

แต่ภาพที่ผมนำมาให้ดูนี้ มันเป็นภาพ fail whale ที่ติดอยู่ภายในห้องสมุดอ่ะครับ
แถมด้วยข้อความภาษาอังกฤษอีกสักประโยคใหญ่ๆ ว่า

“We?re really sorry about the lack of tables & Chairs! We hope that things will be back to normal by about 3pm today”

เอางี้ดีกว่าผมขอแปลเป็นภาษาไทยให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน มันแปลว่า

“พวกเราต้องขอโทษจริงๆ ที่ตอนนี้โต๊ะและเก้าอี้มีผู้ใช้งานเต็มจำนวนไม่เหบลือที่ให้คุณนั่ง พวกเราหวังว่าเก้าอี้และโต๊ะจะให้บริการได้ตามปกติในช่วงบ่ายสามโมงของวันนี้นะครับ”

พอได้อ่านก็เลยแอบขำอยู่นิดๆ ว่า บรรณารักษ์ที่นี่ต้องเป็นคนติด twitter ระดับนึงแน่ๆ
ถึงได้กล้าเล่นมุขนี้ในห้องสมุดของตัวเอง แต่ยอมรับเลยครับว่าเยี่ยมจริงๆ

เอาไว้ว่างๆ ผมจะลองเอาไอเดียนี้ไปติดที่ห้องสมุดของผมบ้างนะครับ
ผู้ใช้ก็คงจะงงกันไปตามๆ กัน อิอิ

ที่มาของรูปจาก http://www.flickr.com/photos/timothygreigdotcom/2643190467/

มาดูตัวอย่างการออกแบบห้องสมุดขั้นเทพกันเถอะ

วันนี้ขอเล่าเรื่องการออกแบบอาคารห้องสมุดกันหน่อยดีกว่า
เพราะว่าเรื่องของสภาพทางกายภาพก็มีส่วนในการดึงดูดให้ผู้ใช้ให้ความสนใจห้องสมุดเหมือนกัน
(เพียงแต่ในเมืองไทย บรรณารักษ์อย่างเราไม่ค่อยมีบทบาทในการช่วยสถาปนิกออกแบบ)

library-design

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสถาปัตย์ก็พอจะรู้ว่า
คนกลุ่มนี้พยายามจะศึกษาเรื่องการออกแบบห้องสมุดกันมากมาย
เช่น บางคนเอาเรื่องการออกแบบห้องสมุดไปทำเป็นโปรเจ๊คซ์เรียนจบเลยก็ว่าได้

ถามว่าการออกแบบห้องสมุดต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง (นอกจากเรื่องของเงิน)
– ต้องมีรูปแบบใหม่ ?
– ต้องทันสมัย ?
– ต้องหรูหรา ?

เอาเป็นว่าสิ่งที่กล่าวมา ผมมองว่าไม่ได้ถูกต้องเสมอไปหรอกนะครับ

สิ่งสำคัญที่ทำให้อาคารห้องสมุดมีความสมบูรณ์ คือ
ต้องออกแบบเพื่อรองรับกับงานบริการผู้ใช้ และการทำงานของบรรณารักษ์ไปพร้อมๆ กันด้วย

ตัวอย่างเรื่องหลายๆ เรื่องที่ต้องลงรายละเอียดในการออกแบบอาคารห้องสมุด
– การออกแบบชั้นหนังสือในห้องสมุด เช่น การจัดเรียงหนังสือ ความสูงของชั้นหนังสือ ฯลฯ
– การจัดพื้นที่ในการให้บริการต่างๆ เช่น โซนที่ต้องการความเงียบ โซนเด็ก โซนมัลติมีเดีย ฯลฯ
– สภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆ อาคารห้องสมุด เช่น ติดถนนมีเสียงดังหรือปล่าว????

แต่ขอบอกก่อนนะครับว่ารูปที่ผมจะนำมาให้ดูนี้ เป็นเพียงแค่ตัวอย่างโครงสร้างอาคารห้องสมุดแบบสวยๆ เท่านั้น
แต่การใช้งานจริงด้านในผมก็ยังไม่เคยไปนะครับ เอาเป็นว่าไม่ขอวิจารณ์ฟังค์ชั่นการทำงานด้านในแล้วกัน

(ดูให้เห็นว่าสวยนะ อิอิ)

งั้นเราไปดูตัวอย่างการออกแบบกันสักนิดนะครับ

ภาพแรก โครงสร้างและการออกแบบ The Seattle Public Library

librarydesign1

ภาพที่สอง โครงสร้างและการออกแบบ Woodschool

librarydesign2

ภาพที่สาม โครงสร้างและการออกแบบ The Consortium Library (University of Alaska Anchorage)

librarydesign3

ภาพที่สี่ โครงสร้างและการออกแบบ Philadelphia?s Parkway Central Library

librarydesign4

เป็นยังไงกันบ้างครับกับตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างห้องสมุดทั้ง 4 ที่
หากเพื่อนๆ ยังไม่จุใจในการดู เพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านเรื่องการอ่านออกแบบห้องสมุดได้จากเรื่อง
Brilliantly Bookish: 15 Dazzling Library Designs

สุดท้ายนี้หวังว่าสถาปนิกเมืองไทยคงจะมีแนวทางในการออกแบบห้องสมุดแบบสวยๆ กันบ้างนะครับ
สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้นั่นก็คือ ไม่ว่าห้องสมุดจะหน้าตาแบบใด
การบริการของบรรณารักษ์ก็ยังคงต้อง service mind ต่อไปนะครับ

ที่มาของรูป และที่มาของแรงบันดาลใจในการเขียน
http://www.weburbanist.com

โปรโมทห้องสมุดใน Facebook ดีกว่า

ช่วงนี้กระแสการใช้งาน facebook กำลังมาแรงครับ
เท่าที่ผมสังเกตมีคนใช้งานfacebook ในเมืองไทยมากขึ้น
ดังนั้นห้องสมุดของพวกเราก็อย่าน้อยหน้ากันนะครับ เอาห้องสมุดของคุณไปอยู่ใน facebook กันเถอะ

library-facebook

การสร้าง account facebook มันไม่ยากหรอกครับ
แต่ประเด็นที่น่าคิดก็คือ…เราจะเอาข้อมูลห้องสมุดอะไรไปใส่ใน facebook บ้างหล่ะ???

วันนี้ผมไปอ่านเรื่องนึงมา เห็นว่าเกี่ยวกับประเด็นนี้พอดี เลยเอามาให้อ่านกันครับ ชื่อเรื่องว่า
10 Great Things to Include on Your Library?s Facebook Fan Page

ในบทความนี้ได้กล่าวถึงข้อมูล 10 อย่างที่ควรจะอยู่ในหน้า Facebook
เราลองไปอ่านกันเลยดีกว่าครับว่ามีอะไรกันบ้าง

ข้อมูล 10 อย่างที่เราควรเอาลงใน Facebook มีดังนี้

1. photos of your library.
รูปของห้องสมุดคุณ (อันนี้คงไม่ยากครับ ถ่ายมุมสวยๆ สัก 10 รูปกำลังดี)

photo-fb

2. a library video tour or other promotional videos.
วีดีโอแนะนำห้องสมุดของคุณ (อันนี้อาจจะยากสักนิดในการถ่ายวีดีโอ แต่ถ้ามีผมว่าน่าสนใจครับ)

3. a calendar of library events.
ปฏิทินกิจกรรมของห้องสมุดคุณ (พยายามอัพเดทตลอดนะครับ คนเข้ามาจะได้รู้ว่าเรา ตั้งใจทำ)

4. a rss feed of your library blog.
feed ข้อมูลของเนื้อหาบนเว็บของคุณมาที่นี่ด้วยก็จะดีมากเลย

5. information about how to contact your library.
อันนี้ลืมไม่ได้เลยนะครับ ข้อมูลสำหรับการติดต่อ เช่น ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมล์ เว็บไซต์? ฯลฯ

6. library hours
วันเวลาที่ให้บริการของห้องสมุด ข้อมูลนี้จำเป็นจริงๆ นะครับ เพราะว่าเผื่อผู้ใช้อยากจะมาห้องสมุดจะได้เช็คเวลาก่อนว่าปิด หรือ เปิด

7. lib guides widget
เครื่องมือแนะนำการใช้งานห้องสมุด (อันนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้รู้จักห้องสมุดมากขึ้นนะครับ)

8. a survey for your patrons to answer about your library.
แบบสำรวจการใช้งาน หรือแบบสำรวจอื่นๆ ที่ห้องสมุดต้องการทำสำรวจ (แนะนำว่าไม่ต้องสำรวจเยอะนะ)

9. information about new book arrivals

แนะนำหนังสือมาใหม่ อันนี้จะทำให้ผู้ใช้อัพเดทและรู้ว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่เล่มไหนบ้าง

10. links to popular library databases.

เว็บแนะนำ ถ้าได้เว็บด้านฐานข้อมูลจะยิ่งดีมากๆ เลยนะครับ

เอาเป็นว่าข้อมูล ทั้ง 10 อย่างที่ได้กล่าวมา ผมเห็นด้วยหมดเลยนะครับ
เพราะจะช่วยให้ผู้ใช้ที่ออนไลน์สามารถเข้าถึงห้องสมุดได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น
ทั้งในเรื่องของกิจกรรม แบบสำรวจ แนะนำหนังสือใหม่ และเว็บไซต์แนะนำ

เอาเป็นว่าถ้าเพื่อนๆ ว่างๆ ก็เข้าไปสมัคร account ของ facebook กันได้นะครับที่
http://www.facebook.com/

ภาพประกอบจาก http://www.facebook.com/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975#/pages/Chelan-Friends-of-the-Library/92545314975?v=wall

จำหรือเปล่าว่าบรรณารักษ์เรียนอะไรบ้าง

หลายปีแล้วสินะครับ ที่ผมไม่ได้กลับไปที่ มหาวิทยาลัยที่ผมเรียน
สำหรับผมแล้วการเรียนที่ ม.สงขลานครินทร์ฯ วิชาเอกบรรณารักษ์ เป็นสิ่งที่มีความทรงจำมากมาย
วันนี้ผมขอย้อนเวลากลับไปเล่าเรื่องเก่าๆ ในอดีตนะครับ

library-science

ก่อนอื่น ผมคงต้องถามเพื่อนๆ ก่อนว่า เพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่า “คนที่จบบรรณารักษ์เขาเรียนอะไรกันบ้าง”
เอาหล่ะครับไม่ต้องเดามาก วันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องราวเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ดู

ปล.ข้อมูลนี้มาจากประสบการณ์ของผม และเป็นหลักสูตรที่ผมเรียนนะครับ
ซึ่งอาจจะไม่เหมือนมหาวิทยาลัยอื่นๆ นะครับ รวมถึงวิชาที่เรียนอาจจะต่างกันบ้าง อันนี้เพื่อนๆ ก็ต้องลองดูกันนะ

เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1 เทอม 1

– วิชา Use of libraries and study skill

วิชานี้ผมได้รู้จักคำว่าห้องสมุดอย่างแท้จริงว่ามีหลายประเภทและเหนือสิ่งอื่นใด
ผมรู้จักคำว่า ?service mind? ในวิชานี้นั่นเอง

ปี 1 เทอม 2
– วิชา Audio Visual Material and Equipment for library and information center

วิชานี้ผมได้เข้าใจเรื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีในห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นสื่อปรพเภทต่างๆ
ได้เข้าไปดูงานที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาด้วย ทำให้สนุกกับวิชาชีพนี้ขึ้นเรื่อยๆ
ตอนแรกนึกว่าเรียนบรรณารักษ์จะเกี่ยวกับหนังสืออย่างเดียว เจอวิชานี้เข้าไปต้องเปลี่ยนความคิดเลย


ปี 2 เทอม 1

– วิชา Fundamentals of library and information science
– วิชา Mass Communication
– วิชา Reading Improvement
– วิชา Information technology


เจอเข้าไปแต่ละวิชาตั้งแต่บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เบื้องต้น
การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการอ่าน และวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นไงบ้างหล่ะวิชาเอกบรรณฯ ของเรามีความหลากหลายขึ้นมากหรือปล่าว
อย่างที่เคยเขียนบความก่อนหน้าว่าทำไมผมถึงเรียนและเป็นบรรณารักษ์
เพราะขนาดวิชายังมีความหลากหลายและทุกวิชาชีพมีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง

ปี 2 เทอม 2
– วิชา Collection development
– วิชา Library service
– วิชา Application of information technology
– วิชา Computer for library system


วิชาที่เรียนในเทอมนี้เน้นไปในส่วนของห้องสมุดทั้งในงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
งานบริการในห้องสมุด รวมถึงงานไอทีในห้องสมุดด้วย
เทอมนี้เป็นเทอมที่ผมรู้สึกว่าบรรณารักษ์ในปัจจุบัน
ไม่เหมือนในอดีตที่มีเทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วยบรรณารักษ์ในการทำงาน
และเทอมนี้เป็นเทอมที่ผมค่อนข้างมีความสุขและประทับใจมากๆ ที่ได้เลือกเรียนบรรณารักษ์

ปี 3 เทอม 1
– วิชา Information service
– วิชา Publishing business
– วิชา Dewey decimal classification system
– วิชา Cataloging
– วิชา Lit. of science and technology

เทอมนี้ผมลงวิชาเอกเยอะที่สุดเท่าที่จำได้และเหนื่อยมากๆ ด้วย
วิชาในเทอมนี้ทั้งการจัดหมวดหมู่ และการวิเคราะห์ทรพยากรสารสนเทศ
เป็นวิชาที่ต้องเรียนกันแบบเจาะลึกกันเลยเพราะถือเป็นงานที่สำคัญมากในห้องสมุด
ส่วนวิชาการบริการสารสนเทศเป็นวิชาที่เสมือนการให้บริการตอบคำถามด้านสารสนเทศซึ่งชอบมาก
เพราะต้องไปนั่งที่ห้องสมุดจริงๆ และคอยตอบคำถามให้เพื่อนๆ นักศึกษาและผู้ใช้ห้องสมุด
ส่วนวิชาที่เหนื่อยอีกวิชาหนึ่งคือธุรกิจสิ่งพิมพ์
วิชานี้สอนเรื่องการจัดพิมพ์หนังสือแต่ละเล่มว่าต้องผ่านกระบวนการอะไรบ้าง (เป็นแนวทางในการประกอบวิชาชีพของสำนักพิมพ์)
ต้องทำหนังสือทำมือ และการรับหนังสือจากสำนักพิมพ์มาขาย จำได้ว่าตอนนั้นเราได้กำไรสักสองพันเห็นจะได้
ส่วนวิชาวรรณกรรมวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่ทำให้ผมสนใจอ่านข่าว และงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

ปี 3 เทอม 2
– วิชา Library of congress classification system
– วิชา Research
– วิชา Information market and business
– วิชา Database design and development
– วิชา digital library


เทอมนี้เป็นการเรียนต่อยอดจากเทอมที่แล้ว ซึ่งเทอมที่แล้วผมเรียนจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ แต่เทอมนี้ผมเรียนการจัดหมู่แบบ LC
อีกวิชาที่สุดหินคือการทำวิจัยตอนนั้นผมเลือกทำในเรื่อง
?การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคซีดีเถื่อนในสังคมไทย? ซึ่งต้องใช้เวลาการทำสามเดือนเต็มๆ เหนื่อยสุดๆ
วิชาตอนมาเรื่องการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับสารสนเทศเป็นวิชาที่ต้องคิดมากซึ่งทำให้รู้จักโลกที่กว้างขึ้นนอกเหนือจากอยู่แต่ห้องสมุด
การออกแบบฐานข้อมูลวิชานี้ผมได้ลองออกแบบระบบร้านขายยาขึ้นมาดูก็พอน่าจะเอาไปใช้เล่นๆ ได้นะ อิอิ
ส่วนวิชา ห้องสมุดดิจิทัล เป็นวิชาที่บ่งบอกว่าห้องสมุดเดี๋ยวนี้มีรูปแบบใหม่ขึ้น
ได้รู้จักคำว่า ?E-library / Digital Library / Virtual Library?
ว่าทั้งสามตัวนี้แตกต่างกันอย่างไร เอาไว้ว่างๆ จะเอามาเขียนให้อ่านแล้วกันนะครับ

ปี 4 เทอม 1
– วิชา Information storage and retrieval
– วิชา Information resource in the humanities
– วิชา Library Administration
– วิชา Seminar in library and information science


4 วิชาสุดท้ายของการเรียนที่เป็นวิชาการซึ่งเป็นวิชาที่เป็นที่สุดของห้องสมุด
เรื่องระบบ IR เป็นสิ่งที่ต้องมองในเรื่องการจัดเก็บก็ต้องสามารถค้นคืนในสิ่งที่จัดเก็บได้
วรรณกรรมมนุษย์วิชานี้ทำให้เราได้ออกค่ายไปจังหวัดปราจีนบุรีด้วย
นั่งเครื่องบินจากหาดใหญ่มาลงกรุงเทพแล้วต่อด้วยรถทัวร์มาที่ปราจีนบุรี
วิชาการบริหารห้องสมุด ตอนแรกผมนึกว่าจบบรรณารักษ์ก็เป็นได้แค่เพียงผู้ปฏิบัติงานแต่พอเจอวิชานี้ก็แสดงให้เห็นว่า
คนที่จะบริหารห้องสมุดได้ควรจะต้งเรียนรู้หลักการของห้องสมุดถึงจะเข้าใจกระบวนการทำงานในห้องสมุดด้วย
วิชาสุดท้ายสัมมนาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์เป็นวิชาที่เปิดโอกาส
ให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่ตนเองชอบให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์ได้ฟัง สนุกมากเลยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

สุดท้ายที่ปี 4 เทอม 2 เราทุกคนก็แยกย้ายกันไปฝึกงานในแต่ละที่
และก็จบลงด้วยความภาคภูมิใจว่า ผมนี่แหละคนที่จบบรรณารักษ์

เป็นไงบ้างครับ ต่างจากเพื่อนๆ บ้างหรือปล่าว
ยังไงถ้าต่างกันบ้างก็ลองบอกผมหน่อยนะครับ อิอิ

การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น (NDC)

เพื่อนๆ หลายคนคงจะรู้จักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดแบบต่างๆ มามากพอแล้ว
เช่น ระบบเลขทศนิยมแบบดิวอี้, ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา, ระบบห้องสมุดการแพทย์ ฯลฯ
วันนี้ผมขอแนะนำการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดตามแบบประเทศญี่ปุ่นบ้างนะครับ

savepic

เนื่องจากที่รู้ๆ กันว่าผมเคยฝึกงานที่ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น
ดังนั้นจึงทำให้ผมรู้จักกับการจัดหมวดหมู่แบบนี้
ซึ่งการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบญี่ปุ่นนี้มีความแตกต่างจากการจัดหนังสือที่ผมเคยเรียนมาอย่างสิ้นเชิง

ผมขอเล่าให้ฟังแบบคร่าวๆ ก่อนนะครับ ถึงที่มาของการจัดหมวดหมู่แบบนี้

การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น
หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Nippon Decimal Classification (NDC)
เป็นการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้ในประเทศญี่ปุ่น และประเทศจีน
โดยมีแนวความคิดและเผยแพร่โดย Japan Library Association ในปี 1956
ซึ่งเป็นการนำระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (Dewey Decimal System) มาประยุกต์ในรูปแบบใหม่
โดยใช้เลขหมวดหมู่ใหญ่ คือ 000 ? 900 เหมือนแบบดิวอี้ แต่ต่างกันที่รายละเอียดนะครับ

หมวดหมู่ใหญ่ ของการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบทศนิยมญี่ปุ่น มีดังนี้
000 ? หมวดทั่วไป
100 ? หมวดปรัชญา
200 ? หมวดประวัติศาสตร์
300 ? หมวดสังคมศาสตร์
400 ? หมวดวิทยาศาสตร์ทั่วไป
500 ? หมวดเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
600 ? หมวดอุตสาหกรรม และการพาณิชย์
700 ? หมวดศิลปะ
800 ? หมวดภาษา
900 ? หมวดวรรณกรรม

ดูๆ ไปก็คล้ายๆ ดิวอี้นะครับ ต่างกันที่หมวด 200, 400, 500, 800, 900

ส่วนการแบ่งหมวดหมู่ย่อยในลำดับที่สองยังคงใช้ concept เหมือนดิวอี้อีกนั่นแหละครับ
ผมขอยกตัวอย่าง หมวด 400 มาให้ดูถึงเลขหมู่ย่อยนะครับ
400 ? หมวดวิทยาศาสตร์ทั่วไป
410 ? คณิตศาสตร์
420 ? ฟิสิกต์
430 ? เคมี
440 ? ดาราศาสตร์
450 ? โลก
460 ? ชีววิทยา
470 ? พฤกษศาสตร์
480 ? สัตววิทยา
490 ? เภสัชศาสตร์

เป็นไงกันบ้างครับ กับการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดญี่ปุ่น
“แปลกตาไปบ้างหรือปล่าวครับ”
ก็ขอให้เพื่อนๆ คิดซะว่านี่ก็เป็นการจัดหมวดหมู่หนังสืออีกประเภทหนึ่งนั้นเอง แหละครับ

จุดประสงค์หลัก คือ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย และบรรณารักษ์สามารถทำงานได้สะดวก

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้ามาดูได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Nippon_Decimal_Classification
http://wsv.library.osaka-u.ac.jp/riyo/ndc9e.htm
http://weblib.ce.nihon-u.ac.jp/opac/help/Class_Eng.html

เล่าเรื่องตอนฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

วันนี้ผมขอย้อนวันวานไปสักตอนที่ผมยังเรียนปริญญาตรีก่อนแล้วกัน
ในตอนนั้นผมฝึกงานครั้งแรกของการเรียนบรรณารักษ์ โดยผมเลือกที่จะฝึกงานที่ ?ห้องสมุดมูลนิธิญี่ปุ่น?

dsc00017 Read more

หนูกำลังอ่านหนังสือในห้องสมุดนะค่ะ

วันนี้ผมเจอภาพขำๆ รูปนึง เลยเอามาฝากให้เพื่อนได้ชมแก้เครียดๆ กัน
ภาพนี้มีหนูน้อยคนนึงเป็นพรีเซนเตอร์ด้วยนะครับ

babyinlibrary

จริงๆ แล้วผมเข้าใจว่าคนถ่ายอาจจะต้องการแค่ถ่ายภาพเล่นๆ เท่านั้นนะครับ
แต่ผมจะเอาไอเดียนี้แหละมาใช้เป็นสื่อในแง่ของ ข้อปฏิบัติในห้องสมุดสักหน่อยก็แล้วกัน

จากภาพด้านบนเพื่อนๆ ดูแล้วรู้สึกเป็นไงบ้างหล่ะครับ อายเด็กกันมั้ย ขนาดเด็กยังรู้เลยว่าห้องสมุดต้องเงียบ
ดังนั้นเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนเด็ก ก็ขอความกรุณาเงียบสักนิดนะครับ
อ่านหนังสือในใจไม่ต้องออกเสียง เพราะว่ามันจะสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้คนอื่นๆ นะ

อะไรบ้างที่ทำให้เกิดเสียงในห้องสมุด
– มีเพื่อนมาด้วย เลยขอคุยสักนิด แต่คุยไปคุยมาติดลมกัน ก็เลยสร้างเสียงขึ้นมา
– มีโทรศัพท์เข้าครับ อาจจะเพราะว่างานด่วน หรืออะไรก็ตามที่ต้องคุย
– หลับ จริงๆ ถ้าหลับก็ไม่ทำให้เกิดเสียงหรอกครับ แต่ถ้าหลับแล้วกรน อันนี้สาหัสหน่อย

และยังมีอีกหลายๆ สาเหตุที่ไม่ขอกล่าวถึง เพราะว่าเพื่อนๆ คงรู้ว่าการส่งเสียงทำได้ง่ายมาก

ดังนั้นวิธีนึงที่ผมเสนอกับ เพื่อนๆ บรรณารักษ์มาตลอด ไม่ว่าจะเป็น
หามุมๆ หนึ่ง หรือเปิด section พิเศษสำหรับที่อ่านที่สามารถใช้เสียงได้ด้วย
หรือจะหามุมสำหรับคุยโทรศัพท์ด้วยก็ดีครับ เพราะเข้าใจว่าทุกคนย่อมมีธุระเป็นของตัวเอง
หรือจะเอามุมกาแฟมาแก้ง่วงดีมั้ยครับ จะได้ไม่ต้องหลับ

เอาเป็นว่าทำไง คุณก็คิดๆ กันนะครับ
แต่ขออย่างเดียวอย่าเอาเสียงของคุณ ไปรบกวนผู้ใช้ห้องสมุดคนอื่นเลยเถอะ
เพราะว่าบางคนคงต้องใช้สมาธิในการอ่านหนังสือมากๆ

สุดท้ายนี้บรรณารักษ์คนไหนดูรูปนี้แล้วมีแรงบันดาลใจอยากทำป้ายแบบนี้ก็ไม่ยากครับ
ไปหาเด็กมาสักคนจับทำหน้าปากจู๋ แล้วก็ถ่ายเอามาแปะเป็นป้ายเตือนในห้องสมุดก็ได้ครับ

ที่มาของรูปนี้ : http://farm4.static.flickr.com/3209/2928948144_bd32ba10d1.jpg

คุณเป็นบรรณารักษ์ยุค 2.0 หรือปล่าว

มีหลายคนเคยบอกว่าการแต่งตัวก็สามารถบอกนิสัยหรือลักษณะเฉพาะตัวได้
วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องการเลือก ทรงผม และ รองเท้า มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง
เชื่อมั้ยครับว่าทั้งสองสิ่งนี้สามารถบอกได้ว่าเพื่อนๆ เป็น “บรรณารักษ์รุ่นไหน”

บทความเรื่องนี้ผมนำมาจากบล็อก http://infonatives.wordpress.com
ชื่อเรื่องว่า “Librarian 1.0 or 2.0 hair & shoes ? now we know

ในบล็อกเรื่องนี้ได้กล่าวถึงการไปสำรวจแบบทรงผม กับ รองเท้า ของบรรณารักษ์
ตอนแรกผมก็รู้สึกงงเหมือนกันว่า จะไปสำรวจทำไม แต่พออ่านชื่อเรื่องของเขาก็เลยถึงบางอ้อว่า

เขาได้สำรวจทรงผมของบรรณารักษ์ 1.0 กับ บรรณารักษ์ 2.0
และนอกจากนี้ยังสำรวจรองเท้าของบรรณารักษ์ 1.0 กับ บรรณารักษ์ 2.0 ด้วย

ทรงผม กับ รองเท้า สามารถบอกได้จริงหรือนี่ว่าเป็นบรรณารักษ์ยุคไหน
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองดูผลสำรวจ ทรงผม กับ รองเท้า กันก่อนหล่ะกัน

เริ่มจากเพื่อนๆ ลองดูที่ทรงผมเหล่านี้ก่อนนะครับ
“ทรงผมแบบไหนถึงจะทำให้ดูเป็นบรรณารักษ์ 2.0”

hair-librarian

นอกจากนี้ไปดูกันต่อเลยดีกว่าว่า “รองเท้าแบบไหนถึงจะทำให้ดูเป็นบรรณารักษ์ 2.0”

shoes-librarian

เป็นยังไงกันบ้างครับ เพื่อนอยู่ในบรรณารักษ์ยุคไหนกันบ้างครับ
สำหรับของผม ทรงผมได้ 2.0 แต่รองเท้ายังเป็น 1.0 อยู่อ่ะครับ
ดังนั้นรวมๆ แล้ว ผมน่าจะได้ชื่อว่า บรรณารักษ์ 1.5 มั้งครับ

เอาเป็นว่าที่เอามาให้ดูก็ไม่ต้องซีเรียสกันมากนะครับ
ไม่ใช่ว่าดูแล้วเครียด พรุ่งนี้เปลี่ยนทรงผม กับ รองเท้าไปทำงาน
เพื่อนๆ ของคุณอาจจะตกใจก็ได้นะครับ

สรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นบรรณารักษ์ 1.0 หรือ บรรณารักษ์ 2.0
ก็อย่าลืมให้บริการผู้ใช้ดีๆ ด้วยนะครับ ไม่งั้นผมคงต้องของริบคำว่า บรรณารักษ์จากพวกคุณแน่ๆ

10 อย่างที่ต้องรู้เกี่ยวกับห้องสมุดของคุณ

วันนี้ขอเขียนบทความที่เกี่ยวกับผู้ใช้บริการห้องสมุดบ้าง
เรื่องที่จะบอกต่อไปนี้ จะใช้วัดความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดของผู้ใช้ทุกๆ คน

library Read more