รวมรูปภาพสาวสวยในห้องสมุด

วันนี้วันเสาร์ วันหยุดของเพื่อนๆ หลายๆ คน หรือบางคนก็เรียกว่า วันชิวๆ
ผมเลยขอเอารูปภาพสวยๆ มาฝากให้เพื่อนได้ชื่นชมกันหน่อย

cool-librarian

ซึ่งถ้าเป็นรูปธรรมดาก็คงไม่ใช่บล็อกห้องสมุดแน่
ดังนั้นผมจึงขอประมวลภาพสาวๆ ในห้องสมุดสักหน่อยแล้วกัน

วิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้ผมได้มาซึ่งภาพบรรณารักษ์สวยๆ ในห้องสมุด ก็คือ
เข้าไปหาภาพใน GOOGLE นั่นเอง (http://images.google.com/imghp?hl=en&tab=wi)

ส่วนการใช้ keyword เพื่อที่จะทำให้ผมได้รูป “บรรณารักษ์สวยๆ ในห้องสมุด” เช่น
– pretty librarian
– sexy librarian
– girl in library
– ฯลฯ

เอาเป็นว่าลองเข้าไปดูกันเองแล้วกันนะครับว่าจะเจอรูปอะไรบ้าง
แต่วันนี้ผมขอนำมาให้เพื่อนๆ ดู สัก 5 รูปแล้วกันนะครับ

librarian-cool1-195x300

รูปแรกมาจาก www.odelizajacoba.com

librarian-cool2-200x300

รูปที่สองมาจาก www.patrickrothfuss.com

librarian-cool3-187x300

รูปที่สามมาจาก www.smh.com.au

librarian-cool4

รูปที่สี่มาจาก www.tanashabitat.com

librarian-cool5-249x300

รูปที่ห้ามาจาก www.pinoyblog.com

เอาเป็นว่าวันนี้วันสบายๆ ก็ขอให้เพื่อนๆ มีความสุขทุกคนก็แล้วกันนะครับ

ช่วงเทศกาลสอบปลายภาค ณ ห้องสมุด

ช่วงนี้หลายๆ สถาบันการศึกษา(โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย) เริ่มเข้าสู่ฤดูแห่งการสอบปลายภาคแล้ว
วันนี้จะมาขอเล่าเรื่องราวสมัยตอนที่ผมยังคงเป็นนักศึกาาให้เพื่อนๆ ได้ฟังกันนะครับ

exam-library

นโยบายของห้องสมุดในบางที่ ที่พยายามเอื้อให้กับผู้ใช้บริการเพื่อมานั่งอ่านหนังสือใช่วงสอบ
โดยอาจจะมีการขยายช่วงเวลาของการปิดทำการให้ดึกขึ้น หรือบางที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
เอาเป็นว่านี่คือสิ่งที่ดีครับ
อย่างน้อยผมก็คนนึงแหละที่ชอบอ่านหนังสือดึกๆ ในห้องสมุด

บางสถานศึกษาที่นักเรียน นักศึกษาไม่ชอบเข้าห้องสมุด
ช่วงเวลาสอบห้องสมุดนี่จะเงียบเหมือนป่าช้าเลย
จึงทำให้ห้องสมุดเหล่านั้นฉวยโอกาส ในช่วงของเวลาใกล้สอบปิดบริการก่อนกำหนดเวลา
เช่นจากเดิมที่มีการปิดให้บริการ 18.00 แต่ช่วงสอบปิด 16.00

อันนี้น่าเกลียดไปหรือปล่าว ผมคงไม่ต้องพูดนะครับ

ช่วงสอบนี้ผู้ใช้บริการต้องการอะไรจากห้องสมุดบ้างหล่ะ
ผมขอนำเสนอมุมมองในฐานะที่ผมเป็นผู้ใช้บริการห้องสมุดแล้วกันนะครับ

สิ่งที่ผมต้องการจากห้องสมุด
1. ห้องที่สามารถใช้อ่านหนังสือได้ดึกกว่าเดิม (อันนี้หลายๆ ที่ก็ให้บริการดึกขึ้น)
เช่นจากเดิมห้องสมุดปิดบริการเวลา 21.00 น. แต่ในช่วงสอบจะปิดบริการเวลา 23.00 น.

2. ห้องที่ใช้ในการติวหนังสือ ยิ่งช่วงสอบขอบอกเลยว่าคนใช้บริการส่วนนี้เยอะมาก
บางที่ไม่มีการจัดการเรื่องคิว บางที่ไม่จัดการเรื่องเวลา
ผมอยากเสนอไอเดียแบบนี้แล้วกัน(บางที่ดีอยู่แล้วนะครับ) ห้องสมุดจะให้บริการห้องประชุมส่วนตัว
โดยกำหนดจำนวนผู้ใช้ขั้นต่ำ เวลาที่ให้บริการ มีตารางการใช้บอกชัดเจน

3. สามารถยืมหนังสือในช่วงสอบได้
อันนี้หลายๆ ที่ผมไม่ประทับใจเลยเนื่องจากพอช่วงสอบทีไรก็จะประกาศงดยืมทุกชนิด
ส่วนตัวผมเองเข้าใจนะครับว่า จำเป็นที่ต้องทำเช่นนี้
เอาเป็นว่าเสนอเล่นนะครับว่าในช่วงสอบก็ยังยืมได้ตามปรกติ แต่วันที่คืนคือวันสอบเสร็จวันสุดท้ายเท่านั้น

เอาเป็นว่าที่ผมกล่าวมาเป็นเพียงแค่ความต้องการเล็กๆ จากผู้ใช้บริการอย่างผมแล้วกัน
ยังไงบรรณารักษ์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานบริหารควรดูเรื่องนโยบายให้มากกว่านี้นะครับ

แล้วยังไงช่วงนี้ฤดูการสอบ สำหรับผู้ใช้บริการที่ต้องสอบเหมือนกันก็ขอให้โชคดีกันทั่วหน้านะครับ

คลิปวีดีโอบรรณารักษ์รุ่นเยาว์

วันนี้ผมมีคลิปวีดีโอน่ารักๆ มาฝากเพื่อนๆ ครับ
เป็นคลิปวีดีโอเด็กน้อยคนนึงที่กำลังจะพยายามเข็นรถเข็นหนังสือในห้องสมุดนั่นเอง

clip-librarian

ไปดูคลิปกันก่อนดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=RPLNphtY5fo[/youtube]

เป็นยังไงกันบ้างครับ

ผมดูครั้งแรกยังต้องแอบยิ้มเลย ไม่คิดว่าจะมีคลิปน่ารักแบบนี้เกิดขึ้นในห้องสมุด
เด็กน้อยในคลิปวีดีโอนี้มีอายุเพียงแค่ 11 เดือนเท่านั้นนะครับ
จะว่าไป ผมขอยกให้เป็น “บรรณารักษ์รุ่นเยาว์” ก็คงจะได้มั้งครับ อิอิ

บางทีการได้ดูวีดีโอเด็กๆ มันก็ทำให้เราเพลินดี เพื่อนๆ ว่ามั้ย
เด็กน่ารักสดใส แถมดูสนุกสนานในแบบธรรมชาติอีก

ผมว่าว่างๆ เพื่อนๆ ลองเอามาดูนะครับ เวลาเครียดๆ
รับรองหายเครียดแน่ๆ ครับ ผมคอนเฟิมครับ

เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง

ปกติเพื่อนๆ คงเคยได้ยินว่าออกกำลังกายเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง
พอมาอ่านบทความเรื่องนี้ของผม เพื่อนๆ จะได้เจอนิยามใหม่ครับ
ว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง” ครับ

use-library-often

ไม่แปลกหรอกครับ ที่จะต้องบอกว่า “เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วจะแข็งแรง”
ความแข็งแรงที่ว่านี้ คือ “ปัญญา” “ความรู้” “ความฉลาด” “สมอง”

เนื่องจากถ้าเพื่อนๆ เข้าห้องสมุดเยอะๆ แล้วเข้าไปอ่านหนังสือมากๆ
เพื่อนๆ จะได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ ให้ความสนใจ เมื่อเพื่อนๆ อ่านก็จะทำให้เข้าใจในสิ่งที่อ่านมากขึ้น
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ สงสัยมานาน พอเพื่อนๆ ได้อ่านก็จะคลายความสงสัยและได้คำตอบเหล่านี้ไป
บางเรื่องเป็นเรื่องที่เพื่อนๆ อ่านแค่ผ่านๆ แต่วันนึงอาจจะต้องนำมาใช้ก็ได้นะ

จากภาพโปสเตอร์ที่ผมนำมาให้ดูนี้
ผมว่าเป็นโปสเตอร์ที่เชิญชวนให้คนเข้าห้องสมุดได้สร้างสรรค์มากๆ เลยครับ
(ตอนแรกนึกว่า ป้ายโฆษณาโรงยิม หรือ สถานที่เพาะกาย)

เอาเป็นว่าลองเก็บไอเดียนี้ไปคิดเล่นๆ ดูนะครับ
สำหรับเจ้าของภาพ คือ Originally uploaded by marklarson

อากาศร้อนแบบนี้ไปเข้าห้องสมุดกันดีกว่า

ช่วงนี้อากาศข้างนอกมันร้อนเพื่อนๆ ว่ามั้ย? ขนาดว่าฝนก็ตกนะแต่อากาศก็ยังจะร้อนต่อไป
เฮ้อ!!!! เซ็งอ่ะ แล้วถ้าอากาศร้อนๆ เพื่อนๆ จะทำยังไงให้หายร้อนบ้างหล่ะ

hot-day

ไอเดียเพื่อแก้ร้อนตามแบบฉบับสากล (สากลไหน??????)
– นอนตากแอร์อยู่บ้านสิ เยี่มมากครับแต่เปลืองไฟ
– เปิดพัดลมเยอะๆ เช่นเดียวกันครับเยี่ยมมากแต่เปลืองไฟ
– อาบน้ำบ่อยๆ เออวันนี้ไม่เปลืองไฟครับแต่เปลืองน้ำ
– หาอะไรกินเย็นๆ สิ เช่น ไอติม น้ำแข็งใส ครับโอเคเลยเยี่ยมแต่เปลืองเงิน
– ไปเดินตากแอร์ที่ห้างสรรพสินค้าดีกว่า ไม่เอาอ่ะมันเปลืองเวลา

ซึ่งจะเห็นว่า วิธีที่แก้ร้อนนี้ ช่างเป็นวิธีที่จะทำให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำที่เพิ่มขึ้น ค่าไฟก็เพิ่มขึ้น ?..

แล้วเพื่อนๆ เป็นเหมือนผมหรือเปล่า
?อากาศร้อนมากๆ จะทำงานไม่ได้ เพราะว่าไม่มีสมาธิทำงาน?
?อากาศร้อนมากๆ จะหงุดหงิด ไม่สามารถทำงานได้อย่างสบายใจ?

วันธรรมดาผมคงไม่ประสบปัญหาเท่าไหร่ เพราะว่าที่ทำงานเปิดแอร์ดังนั้นจึงทำงานได้อย่างปกติ
แต่ในวันเสาร์อาทิตย์จะให้ผมเปิดแอร์ทำงานทั้งวัน ค่าไฟก็คงไม่ต้องพูดถึง คงหมดเงินจำนวนมากแน่ๆ

วิธีการที่จะช่วยให้ผมสามารถทำงานได้ และลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับไฟฟ้า นั่นก็คือ การไปห้องสมุด นั่นเอง

ในช่วงอากาศร้อนๆ แบบนี้ ผมจะเลือกห้องสมุดที่มีลักษณะดังนี้
1. ห้องสมุดที่โปร่ง โล่ง สบาย (ติดแอร์ก็ดี แต่ถ้าไม่ติดแอร์ก็ขอแบบว่าอากาศถ่ายเทสะดวก)
2. ห้องสมุดที่มีบริการอินเทอร์เน็ตทั้งแบบไร้สาย และเครื่องให้บริการ
3. ห้องสมุดที่มีหนังสือที่เกี่ยวกับการทำงานของผม
4. ห้องสมุดที่มีเวลาปิด และเวลาเปิดเหมาะสม เช่น ปิดสักสองทุ่ม สามทุ่มได้มั้ย
5. ห้องสมุดที่มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

จริงๆ แล้วอยากได้อีกหลายอย่างนะ แต่ถ้าให้บรรยายทั้งหมดคงไม่ไหวอ่ะ
เพราะว่าเรื่องพวกนี้เป็นเรื่องของความต้องการแบบพื้นฐานของคนที่ทำงานแล้ว

ซึ่งการหนีอากาศร้อนๆ แล้วมาเข้าห้องสมุด ผมว่ามันดีหลายอย่างนะครับ เช่น
– ไม่ต้องเปลืองค่าน้ำ ค่าไฟ มากขึ้น
– ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการแสวงหาความรู้
– สร้างนิสัยการเข้าใช้ห้องสมุดในรูปแบบใหม่ (เข้ามาทำงาน + อ่านหนังสือ)

เอาเป็นว่าวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ผมแนะนำสำหรับในช่วงอากาศร้อนๆ แบบนี้ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อนๆ คนไหนมีไอเดียอะไรก็เชิญเสนอมาได้เลยนะครับ

แฟชั่นการแต่งตัวของบรรณารักษ์

วันนี้ก็วันศุกร์แล้วนะครับ เรามาอ่านเรื่องแบบสบายๆ ไม่ต้องเครียดกันดีกว่า
เอาเป็นว่าเรื่องไม่เครียดที่เกี่ยวกับวงการที่ผมนึกได้ในตอนนี้ คือ แฟชั่นการแต่งตัวของบรรณารักษ์

บทความนี้ไม่ได้ต้องการให้ใครเลียนแบบการแต่งตัวแบบจริงๆ หรอกนะครับ
แต่อยากให้ดูเพื่อความบันเทิงใจน่าจะดีกว่า เพราะเข้าใจว่าหลายๆ องค์กรคงไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน
(โดนเฉพาะอย่างยิ่ง “เจ๊เบียบ” นั่นเอง)

สำหรับชุดแต่งกายสำหรับบรรณารักษ์ที่ออกมาแนวเฉี่ยวๆ ก็เช่นดั่งในรูปนะครับ

costume1

เป็นยังไงบ้างครับทั้งสามแบบดูเป็นไงบ้าง ดูแล้วพอจะกระตุ้นให้คนเข้าห้องสมุดได้มากขึ้นมั้ย

ชุดแรกผมว่าเพื่อนๆ คงเห็นกันจนชินแล้วหล่ะมั่งครับ
เป็นชุดที่เอาสันหนังสือมาทำเป็นลายที่กระโปรง ซึ่งดูยังไงก็รู้ว่ามาจากห้องสมุดแน่ๆ
หลังจากที่ค้นหาบนเว็บสักระยะ ผมก็คนใส่ชุดนี้ไปทำงานจริงๆ ด้วย ลองดูรูปครับ

example-costume-1

ส่วนในชุดที่สองและชุดที่สาม เป็นมุมมองใหม่สำหรับการแต่งตัวของบรรณารักษ์เลยนะครับ
ดูแล้วสดใส แถม sexyอีกต่างหาก และดูแล้วรู้สึกว่าบรรณารักษ์มีความกระฉับกระเฉงมากๆ

เอาเป็นว่าบางครั้งผมว่าการแต่งตัวของบรรณารักษ์
อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการดึงผู้ใช้มาใช้บริการในห้องสมุดก็ได้นะ

ยังไงก็ลองดูกันนะครับ?

กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด ณ ห้องสมุดโรงเรียนเทพวิทยา

วันนี้ผมขอแนะนำกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุดของโรงเรียนเทพวิทยา (ราชบุรี)
ซึ่งบทความนี้ได้รับเกียรติจากคุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์ของโรงเรียนเทพวิทยามาช่วยเขียน

libraryweek

รายละเอียดทั่วไปของการจัดกิจกรรมครั้งนี้
ชื่อกิจกรรม : กิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด
วันที่จัดงาน : วันที่? 24-28 สิงหาคม? 2552
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุด โรงเรียนเทพวิทยา


วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้

1. เพื่อให้ครูและนักเรียนเห็นคุณค่าของการอ่านและการค้นคว้ามากขึ้น
2. เพื่อให้ทุกคนในโรงเรียนเห็นความสำคัญของห้องสมุด
3. เพื่อให้ครูและนักเรียนได้รับความรู้และความบันเทิง
4. เพื่อให้บรรณารักษ์และผู้ใช้บริการมีทัศนคติที่ดีต่อกัน

วัตถุประสงค์ของการจัดงานในครั้งนี้ผมชอบในข้อที่ 4 มากๆ เลยครับ
เพราะการจัดงานห้องสมุดในแต่ละครั้ง
จริงๆ แล้ว พวกเราชาวบรรณารักษ์ก็หวังว่าผู้ใช้บริการหองสมุดจะมีทัศนคติที่ดี
และตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดที่มีอยู่บ้างก้เท่านั้น

ในงานนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมายเลยครับ
(ลองอ่านดู เผื่อจะได้ไอเดียแจ๋วๆ เพื่อนำไปใช้กับห้องสมุดของคุณได้)

– นิทรรศการ ?หนังสือดี? 6 เรื่อง? ที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน?
– การประกวดเล่านิทานประกอบท่าทาง
– การประกวดวาดภาพ? หัวข้อ? ห้องสมุดของฉัน
– การประกวดคำขวัญ? หัวข้อ? ทศวรรษแห่งการอ่าน
– การประกวดสุดยอดหนอนหนังสือ
– การประกวด? Mr. and Miss Newspaper
– การประกวดหนังสือเก่าหายาก
– กิจกรรมบิงโกหนังสือ
– กิจกรรมอ่าน ดี ดี มีรางวัล
– กิจกรรมสำนวนชวนคิด
– การจำหน่ายหนังสือดี? ราคาถูก

นี่ถ้าไม่บอกว่าห้องสมุดโรงเรียน ผมคงนึกว่าเป็นห้องสมุดระดับใหญ่เลยนะครับ
มีกิจกรรมเยอะแบบนี้ ผมคงต้องขอคารวะเลยนะครับ
กิจกรรมแต่ละกิจกรรมก็น่าสนใจไม่แพ้กัน

ok-school

โดยเฉพาะ Mr. and Miss Newspaper ตอนแรกผมก็งงๆ ว่าคืออะไร
แต่พอลองดูรูปแล้วเริ่มเข้าใจเลยครับ ว่าเป็นการนำหนังสือพิมพ์มาตกแต่งเป็นเครื่องแต่งกายนั่นเอง
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงได้ไอเดียจากห้องสมุดแห่งนี้ไปไม่มากก็น้อยนะครับ

สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณขนิดา พญาชน บรรณารักษ์จากโรงเรียนเทพวิทยามากๆ
ที่แนะนำกิจกรรมนี้มาให้เพื่อนๆ ได้อ่าน และเปิดไอเดียใหม่ๆ ให้วงการห้องสมุด

สำหรับรูปถ้าเพื่อนๆ อยากดูทั้งหมดให้เข้าไปดูได้ที่ http://www.thepvittaya.net/photo03/09sep52/Library/index.htm

5 คำแนะนำเพื่อการเป็นห้องสมุด 2.0

วันนี้ผมมีเวลาเล่าเรื่องน้อยกว่าทุกวันนะครับ เนื่องจากงานเยอะมากๆ
แต่บังเอิญไปเจอบทความดีๆ มา เลยต้องรีบแนะนำก่อน บทความนี้เกี่ยวกับเรื่อง ห้องสมุด 2.0

gotolibrary20

หลังๆ มาผมได้เข้ากลุ่ม library2.0 network ในเมืองนอกบ่อยขึ้น
เว็บนี้ทุกคนได้เข้ามาแชร์กันในเรื่องของการสร้างแนวคิดเรื่องการจัดการห้องสมุด 2.0 เยอะมากๆ

บทความนึงที่ในชุมชนกล่าวถึง คือ 5 คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนห้องสมุดของคุณให้กลายเป็นห้องสมุด 2.0
5 Suggestions for Upgrading to Library 2.0 (or Some Easy Steps to Get Started?Really)
ซึ่งบทความนี้เขียนโดย อาจารย์ Michael Stephens

เอาเป็นว่าผมขอแปลแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ อ่านดีกว่า
สำหรับเพื่อนๆ ที่อยากอ่านต้นฉบับก็เข้าไปดูได้ที่ ชื่อเรื่องด้านบนเลยนะครับ

สำหรับคำแนะนำ หรือขั้นตอนง่ายๆ ในการพัฒนาห้องสมุดของคุณให้เป็น ห้องสมุด 2.0
เริ่มจาก ?..

1. Start a library blog (เริ่มจากการมีบล็อกห้องสมุดเสียก่อน)

เพราะว่าการทำบล็อกถือเป็นการแชร์ความรู้ แชร์ความคิด
นอกจากนี้ยังสามารถสร้างชุมชนหย่อมๆ ได้อีกด้วย
แถมขั้นตอนในการสร้าง หรือสมัครบล็อกทำได้ง่ายกว่าวิธีอื่น


2. Create an Emerging Technology Committee

ตั้งกลุ่มคณะกรรมการด้านเทคโนโลยีในห้องสมุด
เพื่อที่จะได้มีกลุ่มคนที่เชียวชาญด้านเทคโนโลยีคอยแนะนำในการทำงานด้านต่างๆ
โดยทั่วไปก็อาจจะดึงงานที่เกี่ยวข้องมาเป็นคณะกรรมการก็ได้
เช่น ส่วนงานไอที ส่วนงานพัฒนาระบบห้องสมุด ส่วนงานโสตฯ ฯลฯ


3. Train staff to use an RSS aggregator

จัดฝึกอบรม และให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการใช้ RSS

4. Experiment and use 2.0 Tools

รู้จักเครื่องมือ และหัดใช้งานเว็บไซต์ 2.0 ทั้งหลาย
เช่น wikipedia, youtube, slideshare,?..
เมื่อเราเกิดความเคยชินแล้วการนำเครื่องมือเหล่านี้มาใช้ในห้องสมุดก็จะเป็นการง่าย

5. Implement IM reference
การนำระบบ IM (Instant Messenger) มาใช้ในห้องสมุด

เป็นยังไงกันบ้างครับ เรื่องง่ายๆ เท่านี้ก็ทำให้ห้องสมุดของเพื่อนๆ กลายเป็นห้องสมุด 2.0 ได้แล้วนะครับ
เอาเป็นว่าลองดูก่อนนะ ถ้าสนใจเรื่องไหนอย่างเป็นพิเศษ ลองแนะนำมาดู เดี๋ยวผมจะเขียนเน้นให้อีกที

ผู้ใช้บริการห้องสมุดร้องไห้ เนื่องจากห้องสมุดถูกปิด

เพื่อนๆ รู้มั้ยว่าห้องสมุดประชาชนสำคัญต่อคนอเมริกายังไง
วันนี้ผมมีคลิปวีดีโอนึงอยากให้ดูมากๆ ครับ (คลิปนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศสหรัฐอเมริกา)

man-cry-library

จากข่าวที่พูดถึงการปิดตัวเองของห้องสมุดประชาชนในประเทศสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง
สาเหตุหนึ่งมาจากเรื่องเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการเข้าถึงข้อมูล
ทำให้ผู้ใช้ลดลง ต้นทุนในการดูแลห้องสมุดสูงขึ้น นั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ห้องสมุดปิดนั่นเอง

เข้าเรื่องดีกว่าวันนี้ผมมีคลิปวีดีโอผู้ชายสูงวัยคนหนึ่งให้สัมภาษณ์ทั้งน้ำตา
เมื่อทราบข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia นั่นเอง

ไปชมกันก่อนเลยนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=81_rmOTjobk[/youtube]

คำบรรยายของคลิปวีดีโอนี้
?One local man was brought to tears over the City of Philadelphia?s plan to close his neighborhood library to help fend off the city budget crisis.?

ข่าวการปิดห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia อ่านได้ที่
Free Library of Philadelphia Closing 11 of 54 Branches
ห้องสมุดประชาชนในเมือง Philadelphia ถูกปิด 11 แห่งจากทั้งหมด 54 แห่ง

สำหรับข่าวการปิดห้องสมุดในเมือง Philadelphia นี้
สะท้อนให้เห็นว่า แม้แต่ห้องสมุดก็สามารถถูกปิดกิจการได้เช่นกัน

ปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ห้องสมุดถูกปิด คือ
– ห้องสมุดเป็นสถานที่ที่มุ่งให้ความรู้และไม่หวังผลกำไร
– เทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ต
– การบริการแบบเก่าๆ ไม่ทันใจผู้ใช้บริการ
ฯลฯ

ดังนั้นข้อคิดที่ได้จากข่าวนี้ คือ
?หากเรายังไม่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการห้องสมุดของเราก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกปิดกิจการเป็นรายต่อไป?

กลับมาที่เรื่องวีดีโอดีกว่า เพื่อนๆ คิดยังไงกับวีดีโอชุดนี้

สำหรับผมเห็นว่า ผู้ใช้ห้องสมุดในเมืองๆ นั้น มีความผูกพันกับห้องสมุดของเขาอย่างมาก
ถึงขนาดว่า พอรู้ข่าวก็ตกใจ และเสียใจกับห้องสมุดอย่างมากมาย
แสดงว่าห้องสมุดมีคุณค่า และความสำคัญต่อพวกเขามากๆ เลยใช่มั้ยหล่ะครับ

ลงชื่อเข้าร่วมงาน Libcamp#3 ได้แล้วที่นี่

ตอนนี้งาน Libcamp#3 พร้อมทุกอย่างแล้วครับ ทั้งเรื่อง ธีมงาน แผนงาน วันเวลา สถานที่
ตอนนี้ผมจึงขอประชาสัมพันธ์อย่างเต็มตัวบ้าง และถ้าเพื่อนๆ คนไหนส่งใจก็แจ้งมาที่ผมได้เช่นเดิมครับ

logo-libcamp3

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงาน Libcamp#3
ชื่องานอย่างเป็นทางการ : โครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ ครั้งที่ 3
ธีมของงาน : ความร่วมมือระหว่างกลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการช่วยเหลือสังคมทและบรรณารักษ์ (Volunteer and Librarian Network)
ชื่องานอย่างไม่เป็นทางการ : Libcamp#3
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 27 กันยายน 2552?? เวลา 9.30 – 16.30 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดเสริมปัญญา 1346 ถนนอาคารสงเคราะห์ 5 คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ

อย่างที่เพื่อนๆ ได้อ่านข้อมูลเบื้องต้นจากด้านบน และเพื่อนๆ บางคนคงอ่าน “ร่างโครงการสัมมนาเครือข่ายบรรณารักษ์ยุคใหม่ Libcamp#3
ธีมของการจัดงานในครั้งนี้ผมขอเปิดประเด็นและให้โอกาสกับกลุ่มคนภายนอกห้องสมุดเพื่อให้เข้าใจกระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด
เพราะว่าผมเชื่อว่าในโลกยุคปัจจุบันอาชีพทุกอาชีพจะต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
ยิ่งเรื่องของห้องสมุดเป็นเรื่องที่สาธารณะตระหนักถึงความสำคัญเท่าไหร่
บทบาทและหน้าที่ของห้องสมุดจะสำคัญและได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้นด้วย

อาสาสมัครหลายๆ คนที่อยากพัฒนาห้องสมุด แต่ขาดความเข้าใจในเรื่องของห้องสมุด
ก็จะได้มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจถึงกระบวนการจัดการงานห้องสมุดด้วย

ดังนั้นงานนี้ผมว่า ทั้งอาสาสมัคร บรรณารักษ์ และบุคคลที่เข้าร่วมในงานนี้
จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อสังคมไทยได้นะครับ

ผมขอแนะนำกำหนดการของงาน Libcamp#3 ก่อนดีกว่า
09.00 – 9.30 น.?????????? ลงทะเบียน + รับเอกสารประกอบการบรรยาย
09.30 – 10.00 น.???????? เครือข่ายจิตอาสาแนะนำโครงการจิตอาสา พร้อมทั้งกล่าวเปิดงาน
10.00 – 11.00 น.???????? สิ่งที่ต้องคำนึงถึงขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งห้องสมุด
11.00 – 12.00 น.??????? พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 น.??????? แนวทางในการหาทุนเพื่อทำกิจกรรมให้ห้องสมุด
14.00 – 15.00 น.??????? ความร่วมมือระหว่างอาสาสมัครกับบรรณารักษ์
15.00 – 15.15 น.??????? พักรับประทานอาหารว่าง
15.15 – 16.15 น.??????? ประเด็นเรื่องแลกเปลี่ยนอื่นๆ (Open Session)
16.15 – 17.00 น.??????? เยี่ยมชม และแนะนำห้องสมุดเสริมปัญญา

(หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

ถึงแม้ว่างาน libcamp ครั้งนี้จะใช้เวลามากกว่า libcamp ครั้งก่อนๆ (ปกติจะจัดแค่ครึ่งวัน)
แต่การจัดงานในครั้งนี้จะสังเกตว่ามีทั้งหัวข้อแบบบรรยาย แบบความคิดเห็น รวมถึงการดูงานในสถานที่จริง

เป็นไงกันบ้างครับกับวัน เวลา สถานที่ กำหนดการ เพื่อนๆ ว่าสมบูรณ์หรือยัง
อ๋อ ลืมบอกไปอีกอย่าง ก็เหมือนกับทุกครั้งนั่นแหละครับ งานนี้ ฟรี ครับ

สำหรับใครที่สนใจจะเข้าร่วมงานนี้ กรุณาส่งเมลล์แจ้งความประสงค์ของคุณมาที่ dcy_4430323@hotmail.com นะครับ
กรุณาบอกจำนวนคนที่เข้าร่วม ชื่อจริง ชื่อตำแหน่ง หน่วยงาน ของคุณมาด้วยนะครับ