ในความคิดของเพื่อนๆ บรรณารักษ์ คือ … #whatislibrarian

วันนี้ผมเล่น twittertag / Facebooktag ว่า #whatislibrarian
คำถามง่ายๆ คือ “บรรณารักษ์ คือ ______________________ #whatislibrarian”
วันนี้ผมขอนำคำที่เพื่อนๆ เติมมาให้พวกเราชาวบรรณารักษ์ได้อ่านกัน

เริ่มจากตัวอย่างของผม
บรรณารักษ์ คือ คนเฝ้าหนังสือในห้องสมุด #whatislibrarian
บรรณารักษ์ คือ คนที่หาหนังสือเก่งที่สุดในห้องสมุด #whatislibrarian
บรรณารักษ์ คือ คนที่ประกอบอาชีพด้านบริการความรู้ที่ดีที่สุด? #whatislibrarian

คำตอบจากเพื่อนๆ ใน Facebook
– รักในหลวง Taime “บรรณารักษ์ คือ มนุษย์พันธุ์อึดคร่า #whatislibrarian”
– Asakit Thitiga “บรรณารักษ์ คือ เบื้องหลังของความสำเร็จค่ะ #whatislibrarian”
– Chee Kane “บรรณารักษ์ คือ? คนโหดแดนกระดาษ #whatislibrarian”
– Thangthai Sangsri “บรรณารักษ์ คือ คนให้..คะ #whatislibrarian”
– Thammasat Yaothanee “บรรณารักษ์ คือ คนที่เธอมองผ่าน #whatislibrarian”
– Marienie Samae “บรรณารักษ์ คือ คุณครู #whatislibrarian”
– Jirawan Kongsang “บรรณารักษ์ คือ คนที่คอยดุเราเวลาที่เสียงดังในห้องสมุด #whatislibrarian”
– John Nonlen “บรรณารักษ์ คือ สิ่งมีชีวิตที่อึดยิ่งกว่าแมลงสาบ และต่อให้โลกแตกก็จะไม่มีวันสูญพันธ์ อิอิ #whatislibrarian”
– MooNoy MooMam รักในหลวง “บรรณารักษ์ คือ มนุษย์สายพันธุ์ที่ต้องทำได้ทุกอย่าง แล้วแต่ท่านๆ จะสั่งมา #whatislibrarian”
– ชุมชนคนหางาน บรรณารักษ์ “บรรณารักษ์ คือ All in Ones #whatislibrarian”
– ชุมชนคนหางาน บรรณารักษ์ “บรรณารักษ์ คือ อับดุลแห่งห้องสมุด “อับดุลเอ๊ย หญิงรู้จัก ชายรู้จัก ถามอะไรตอบได้..” #whatislibrarian”
– Salisa Leamsuwan “บรรณารักษ์ คือ เป็ด ต้องรู้รอบ ใช้ไอทีได้ในระดับด้ ที่สำคัญน่ารัก ใจดี ช่วยเหลือผู้ใช้บริการด้วยจิตบริการ และส่วนใหญ่มักโสด เพราะอยู่แต่กับหนังสือ ไม่ได้เจอผู้เจอคน แต่บรรณารักษ์ไม่มีวันสูญพันธุ์แน่นอน คอนเฟิร์ม #whatislibrarian”
– Juthatip Niyomrat “บรรณารักษ์ คือ คนที่เด็กเจอแล้วชอบทำหน้าเหวอใส่ #whatislibrarian”
– Kitti Narakjung “บรรณารักษ์ คือ นางฟ้าประจำห้องสมุด #whatislibrarian”
– เด็กหญิง ฟ้าใส “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของใครหลายคน แม้จะมีบทบาทอันน้อยนิดในสังคม เสมือนผู้ปิดทองหลังพระค่ะ #whatislibrarian”
– Tippawan Pinthongpan “บรรณารักษ์ คือ ผู้ส่วนหนึ่งในการสร้างบัณฑิตสาขา ต่าง ๆ เพราะพวกเขา เหล่านี้ จะต้อง พึ่งตำรา และ สื่อ ทรัพยากรสารสนเทศ ในการเรียนรู้ และคนที่ทำให้พวกเขา ค้นเจอ ข้อมูลได้รวดเร็ว #whatislibrarian”
– Gigs Ao “บรรณารักษ์ คือ ผู้หญิงมัดผมมวย ใส่แว่น นั่งอยู่หน้าเคาน์เตอร์น่ะ #whatislibrarian”
– Nu Lek “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่รอบรู้ สามารถชี้แนะแนวทาง/หนทาง/วิธีการที่จะนำไปสู่ความรู้ต่างๆ ทั้งหลายทั้งมวล #whatislibrarian”
– ชะอม ชโรกลมๆ “บรรณารักษ์ คือ…คนที่รู้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องของตัวเอง 555 #whatislibrarian”
– ระเบิด ครับพี่น้อง “บรรณารักษ์ คือ คนคลั่งหนังสือ ขาดหนังสือแล้วลงแดง ครับพี่น้อง #whatislibrarian”

คำตอบจากเพื่อนๆ ใน Twitter
– @achocky “บรรณารักษ์ คือ คนที่ช่วยหาโน่นหานี่ตามที่เราต้องการ แต่อย่าคุยรายละเอียดลึกๆนะ ไม่รู้หรอก #whatislibrarian”
– เพื่อนร่วมงาน คุณ @achocky “บรรณารักษ์ คือ คนที่จัดการดูแลเรื่องหนังสือ-ทรัพยากรสารสนเทศให้เรียบร้อย #whatislibrarian”
– @gnret “บรรณารักษ์ คือ ฝันร้าย ฮือๆ #whatislibrarian”
– @chakrit “Librarian is Someone who knows a lot of good books in a variety of topics #whatislibrarian”
– @jsheravanich “บรรณารักษ์ คือ ที่รักของนักวิชาการครับ จุ๊บๆ #whatislibrarian”
– @KUNDEW “บรรณารักษ์ คือ คนของหนังสือ #whatislibrarian”
– @k4ngii “บรรณารักษ์ คือ คนที่ดูแลห้องสมุด ที่บางที ก็ ดุ มากไปนะค๊า 55555 #whatislibrarian”
– @samanahavemail “บรรณารักษ์ คือ คนประทับวันคืนหนังสือที่ปกหลัง #whatislibrarian”
– @krazyipod “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่คอยบริการ ดูแล ให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษากับผู้ที่เข้ามาใช้บริการที่ห้องสมุด #whatislibrarian”
– @Priszila “บรรณารักษ์ คือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด #whatislibrarian”
– @sassygirl_jane “บรรณารักษ์ คือ ป้าแก่ๆ ใส่แว่น หนังเหี่ยวๆ ในห้องสมุด #whatislibrarian”
– @wansangjan “บรรณารักษ์ คือ ผู้น่ารัก กร๊ากกกก #whatislibrarian”
– @godzeelus “บรรณารักษ์ คือ กรรมกร #whatislibrarian”
– @junesis “บรรณารักษ์ คือ เป็ด – -* #whatislibrarian”
– @ONicHy “บรรณารักษ์ คือ คนยิงบา์โค้ดใส่หนังสือ สแกนสันหนังสือดักขโมย #whatislibrarian”

– @tomorn “บรรณารักษ์ คือ สารบัญหนังสือ บอกส่วนที่สำคัญ และแนะนำได้ว่าคนที่มานั้นถ้าสนใจเรื่องนี้ อาจจะสนใจเรื่องนี้ด้วย #whatislibrarian”
– @suwichie “บรรณารักษ์ คือ ชนชั้นแรงงานในห้องสมุด #whatislibrarian”
– @nuumodz “บรรณารักษ์ คือ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของใครหลายๆ คน แต่กลับไม่มีใครรู้จักและถูกหลงลืม #whatislibrarian”
– @nobitui “บรรณารักษ์ คือ มนุษย์ไอที สายพันธุ์ หนึ่งค่ะ #whatislibrarian?

คำตอบมีหลายรูปแบบมากๆ ต่างๆ นานา เนื่องจากผู้ที่ตอบมาจากหลากหลายวงการอาชีพ
เอาเป็นว่าขำขำนะครับ อ่านกันแล้วก็เลือกนำไปใช้แล้วกันนะครับ
คำว่าบรรณารักษ์มันก็เป็นเพียงแค่คำๆ นึงเท่านั้น ความหมายมันอยู่ที่ใจของเรา

หากเราปฏิบัติดคีวามหมายมันก็จะออกมาดีคนอื่นๆ ก็จะยินดี
หากเราปฏิบัติงานด้วยใจที่ไม่ดีก็ย่อมออกมาเป็นความหมายลบก็เป็นเรื่องธรรมดา

ทำอะไรเอาไว้ย่อมได้ผลตามนั้นนะครับ ขอบคุณทุกเสียงที่แสดงความคิดเห็นครับ
ปล. ยังเสนอความคิดเห็นมาได้อีกเรื่อยๆ นะครับ เดี๋ยวผมจะเอามาอัพเดทใน List เพิ่มเติม

อัพเดทเพิ่ม วันที่ 26/09/2553 เวลา 9.56 น.

เคาน์เตอร์บรรณารักษ์ในห้องสมุดที่ทำจากหนังสือ

วันนี้เจอภาพการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ห้องสมุดที่น่าสนใจมากๆ เลยไม่พลาดที่จะเอามาอวด
เฟอร์นิเจอร์ที่จะเขียนถึงนี้เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ใกล้ตัวบรรณารักษ์ นั่นคือ “เคาน์เตอร์บรรณารักษ์” นั่นเอง

เคาน์เตอร์บรรณารักษ์ที่เพื่อนๆ มักคุ้นตาก็มักจะเป็นเคาน์เตอร์ที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ใช่มั้ยครับ
บางที่อาจจะเป็นโครงเหล็กและปะด้วยไม้ หรือบางที่ก็นำโต๊ะทำงานออฟฟิตมาเป็นเคาน์เตอร์

ครั้งแรกที่ผมได้เห็นภาพนี้ ถึงกับอึ้งไปชั่วขณะเลยครับ
นั่นมันหนังสือนี่หน่า เอาหนังสือมาวางเรียงๆ กันแล้วเอาแผ่นกระจกวางไว้ข้างบนนี่
ผมว่ามันเป็นการออกแบบที่บ้าคลั่งมากๆ ครับ

แต่พอพิจารณาจากแนวความคิดของผู้ออกแบบแล้ว เหตุผลก็ฟังดูเข้าท่าเหมือนกัน
คือ นำหนังสือเก่าหรือหนังสือที่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้มาวางเรียงๆ กัน
โดยให้เท่ากับความสูงที่บรรณารักษืจะสามารถนั่งให้บริการได้สบายๆ
จากนั้นก็วางแผ่นกระจกสักนิดเพื่อให้สามารถเป็นพื้นที่ในการเขียนหรือทำงานอย่างอื่นๆ ได้

เอาเป็นว่าเอาของที่ไม่ได้ใช้มาทำให้เกิดประโยชน์แบบนี้แหละ “รีไซเคิล”

ถามว่าสวยมั้ย ผมว่าก็ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว ดูคลาสสิคไปอีกแบบนะ
เพื่อนๆ ชอบกันบ้างหรือปล่าว (แต่ผมว่าคนที่รักหนังสือคงไม่เห็นด้วยแน่ๆ เลย)

ปล. จริงๆ หรือการนำหนังสือมารีไซเคิลทำนู้นนี่ยังมีตัวอย่างอีกเยอะนะครับ
เช่น ช่องระบายลมที่ทำจากหนังสือ (หลายหมื่นเล่มเลยแหละ)
http://inhabitat.com/2010/08/05/mind-blowing-building-built-from-thousands-of-books/

ตัวอย่างอีกที่คือห้องที่ทำจากหนังสือ
http://inhabitat.com/2010/02/24/book-cell-an-octagonal-building-made-entirely-from-books/

เอาหนังสือเก่าๆ มาแต่งสวนก็เข้าท่านะ
http://inhabitat.com/2010/08/17/living-garden-of-knowledge-made-from-40000-books/

เคาน์เตอร์นี้อยู่ที่ Delft University of Technology
http://inhabitat.com/2010/09/13/tu-delft-architecture-library-opens-with-desk-of-recycled-books/

ที่มาของเรื่องนี้ http://www.recyclart.org/2010/09/library-information-desk/
ต่อยอดองค์ความรู้เรื่องนี้จาก http://inhabitat.com/2010/09/13/tu-delft-architecture-library-opens-with-desk-of-recycled-books/

Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network

เดือนที่แล้วได้มีโอกาสไปเป็นวิทยากรในงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบรรดาบรรณารักษ์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ในหัวข้อเรื่อง “Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network
วันนี้ผมขอนำเรื่องราวต่างๆ ในวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังนะครับ

cybrarian_in_social_network

ก่อนที่จะได้มาบรรยายที่นี่
จริงๆ แล้วผมก็มาทำงานที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีบ่อยๆ นะครับ แต่ไม่มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเลย
แต่ก็พอจะรู้จักกับเครือข่ายบรรณารักษ์ที่เป็นสมาชิกบล็อกของผมอยู่ นั่นคือ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ซึ่งทำงานที่ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์อยู่
ได้คุย MSN และ ตามข่าวสารใน Twitter อยู่บ่อยๆ ก็ได้คุยและได้นัดแนะกันว่าจะเข้ามาคุยที่ ม อุบลบ้าง
พี่เขาก็เลยจัดกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับบรรณารักษ์เล็กๆ ให้สักกลุ่มหนึ่ง

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกิจกรรมนี้
ชื่อกิจกรรม : “เสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Cybrarian บรรณารักษ์กับการให้บริการในยุค Social Network”
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 30 สิงหาคม 2553 เวลา 13.00 – 16.00 น.
สถานที่จัดงาน : ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

DSCF1336 DSCF1371

บทสรุปเรื่องราวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
– แนะนำโครงการศูนย์ความรู้กินได้ (ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีในรูปโฉม
พร้อมกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด
โดยงานนักพัฒนาระบบห้องสมุด ไม่ได้หมายถึงงานไอทีของห้องสมุดอย่างเดียว แต่เป็นงานดูแลภาพรวมของห้องสมุดทั้งหมด

– แนะนำการใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib และตอบปัญหาเรื่องการใช้งานบางส่วน
และช่วยกันระดมปัญหาและอุปสรรคในการทำงานกับระบบห้องสมุด Walai AutoLib
เนื่องจากห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีใช้ระบบห้องสมุด Walai AutoLib ตัวเดียวกัน

– แนะนำระบบห้องสมุดฉบับ Opensource ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งตอนนี้ใกล้เสร็จแล้ว
ในงานนี้ผมเอามา Demo ให้เห็นก่อนใคร ซึ่งในอนาคตห้องสมุดต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้ฟรีๆ
ซึ่งความสามารถของโปรแกรมตัวนี้มีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานและรองรับห้องสมุดหลายขนาด

DSCF1362 DSCF1380

– ช่วงพักได้สนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้เข้าร่วมบางส่วนเกี่ยวกับเรื่องการใช้บล็อกกับเว็บบอร์ดว่าแตกต่างกันอย่างไร
ผมจึงอธิบายและเปรียบเทียบการใช้งานว่า หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบเต็มรูปแบบ เช่น เขียนเรื่องยาวๆ มีรูป วีดีโอ เสียง ผมแนะนำบล็อก
แต่หากต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเฉพาะเรื่อง เช่น ทำแบบสอบถามความคิดเห็น โดยใช้คำถามสั้นๆ ก็ใช้เว็บบอร์ดน่าจะดีกว่า
แต่โดยรวมผมสนับสนุนการใช้บล็อกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่า เนื่องจากสามารถทำระบบสืบค้นและจัดหมวดหมู่ได้ดีกว่า

DSCF1367 DSCF1357

– กลับมาบรรยายต่อเรื่องที่มาของการเกิด ชุมชนบรรณารักษ์ออนไลน์ Projectlib และ Libraryhub
ทำไมผมต้องเขียนบล็อกบรรณารักษ์และห้องสมุด (ผมนำสไลด์เดิมที่ผมเคยบรรยายมาอธิบายอีกครั้ง)
(เพื่อนๆ สามารถแานได้ที่ “ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์“)

– เครื่องมือออนไลน์ที่ผมใช้ในการสร้างเครือข่ายและติดต่อสื่อสารกับสมาชิกบล็อก เช่น Email Hi5 Twitter MSN Facebook
แต่ละเครื่องมือมีความสามารถเฉพาะตัวในการสื่อสารขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้งานเพื่ออะไร
และเครื่องมือต่างๆ ที่แนะนำเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ฟรีบนเว็บทั้งนั้น ห้องสมุดควรจะเรียนรู้และหัดใช้ให้คล่องๆ

DSCF1352 DSCF1356

– ช่วงแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีเพื่อนๆ ตั้งคำถามมากมาย เช่น
— อยากได้ระบบห้องสมุดที่ใช้งานกับห้องสมุดโรงเรียน — ผมแนะนำ PLS และให้ที่อยู่สำหรับการขอแผ่นโปรแกรม PLS
— สอบถามเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานห้องสมุด และจำนวนนิตยสารที่ควรมีในห้องสมุดโรงเรียน — อันนี้ผมติดเอาไว้ก่อน แต่โดยรวมผมแนะนำให้อ่านมาตรฐานห้องสมุด
— สอบถามเกี่ยวกับจำนวนหนังสือที่หายไปเนื่องจากห้องสมุดไม่ได้ทำการ Check stock มา 4 ปีแล้ว — ผมเน้นว่ายังไงก็ต้องทำการ check stock ทุกปี

เอาเป็นว่าครั้งนี้ที่มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ผมก็ได้ความรู้ใหม่ๆ มาด้วยเช่นกัน
และสนุกมาที่ได้มาบรรยายที่นี่ บรรยากาศนั่งพื้นแล้วบรรยายเป็นกันเองมากๆ
สุดท้ายนี้ผมต้องขอขอบคุณ คุณณรงค์วิทย์ สะโสดา ด้วยครับ ที่ให้โอกาสผมมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกๆ คน

เสวนาฉบับย่อโดย ห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อ่านได้ที่
http://sac.la.ubu.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=159&Itemid=62

ภาพบรรยากาศทั้งหมดในงานนี้

[nggallery id=27]

หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์…

หากเปรียบห้องสมุดเป็นร่างกายมนุษย์ บรรณารักษ์แต่ละส่วนงานจะได้ทำงานในอวัยวะชิ้นไหน
เจอคำถามนี้ถึงกับอึ้งเล็กน้อย แต่มีคนเคยนำมาเขียนจริงๆ ครับ
โดยบทความชื่อว่า “How a Library Works” โดย Jeff Scott

da_vinciman

บทความนี้ได้เปรียบเทียบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมนุษย์
กับการทำงานด้านต่างๆ ภายในห้องสมุด เช่น งานบริหาร, งานเทคนิค?.

Management : The brain
งานบริหาร ? สมอง, เป็นงานที่คอยดูแลและวางแผนในการทำงานต่างๆ รวมถึงตัดสินใจว่าสิ่งไหนควรทำ หรือสิ่งไหนไม่ควรทำ และในงานบริหารหรืองานจัดการส่วนใหญ่ต้องใช้ความคิดดังนั้น จึงเปรียบการบริหารให้เป็น ?สมอง? ของมนุษย์

Collection Development : The eyes
งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ ? ตา, เป็นงานที่คอยจัดหาทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมเข้าห้องสมุด ดังนั้นงานนี้จึงต้องอาศัยการหาแหล่ง การคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศเป็นหลัก ถ้าคัดเลือกสื่อไม่ดีเข้าห้องสมุด ห้องสมุดก็จะมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดีไม่ด้วย ดังนั้นงานนี้จึ้เปรียบได้กับ ?ตา? ของมนุษย์

Reference : The mouth
งานบริการตอบคำถามและอ้างอิง ? ปาก, เป็นงานที่ต้องพูดสื่อสารกับผู้ใช้ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ และบริการส่วนนี้มักจะมีผู้เข้าใช้บริการอยู่พอสมควรในการสอบถามปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับห้องสมุด หรือปัญหาเกี่ยวกับสารสนเทศ ดังนั้นจึงเปรียบงานตอบคำถามให้เป็น ?ปาก? ของมนุษย์

Circulation : The heart
งานบริการยืมคืน ? หัวใจ, งานบริการที่สำคัญที่สุดของห้องสมุด นั่นก็คืองานบริการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ เพราะเป็นงานที่จะต้องพบปะกับผู้ใช้ตรงๆ รวมถึงแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงงานบริการจำเป็นจะต้องบริการด้วยใจอย่างที่ผมเคยพูดหลายๆ ครั้ง ดังนั้นหากเทียบอวัยวะที่สำคัญสุด ก็คงหนีไม่พ้น ?หัวใจ? ของมนุษย์

Technical Services : The digestion system
งานเทคนิค ? ระบบย่อยอาหาร, งานเทคนิคที่กล่าวนี้ รวมถึงงานวิเคราะห์ งานซ่อมแซมหนังสือ และอื่นๆ ด้านเทคนิคครับ ถ้าเปรียบสารสนเทศเป็นอาหาร เมื่อปากเราได้กินอาหารเข้ามาก็ต้องผ่านกระบวนการมากมายกว่าที่อาหารเหล่า นั้นจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกัน เมื่อหนังสือเข้าาที่ห้องสมุดต้องผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น จัดหมวดหมู่ ให้หัวเรื่อง และอื่นๆ กว่าหนังสือจะขึ้นชั้นให้บริการ ดังนั้นระบบที่ซับซ้อนเช่นนี้จึงเปรียบได้กับ ?ระบบย่อยอาหาร? นั่นเอง

Programming : The muscles
งานด้านโปรแกรมห้องสมุด ? กล้ามเนื้อ, งานโปรแกรมของห้องสมุดได้แทรกอยู่ทุกงานของห้องสมุดโดยไม่แบ่งแยก และทำงานกันอย่างสอดคล้องกัน ดังนั้นจึงคล้ายการทำงานของ ?กล้ามเนื้อ? ของมนุษย์

ดังนั้นส่วนประกอบต่างๆ ของ อวัยวะมนุษย์ จะมีการทำงานอย่างสอดคล้องกัน
ซึ่งแน่นอนครับว่า ต้องเหมือนกับห้องสมุดที่ทุกฝ่ายต้องทำร่วมกัน
เพื่อให้ได้สุขภาพที่ดี ? ห้องสมุดที่สมบูรณ์
เป็นยังไงกันบ้างครับ นี่แหละร่างกายมนุษย์ กับ ห้องสมุด

20 ทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ทุกคนควรมี…

เรื่องที่ผมนำมาเขียนในวันนี้ เป็นเรื่องที่ผมนำมาจาก เรื่อง “20 Technology Skills Every Librarian Should Have
ที่เขียนโดยบล็อก theshiftedlibrarian และเรื่องนี้เขียนไว้ตั้งแต่ปี 2005
ผมเห็นว่าบรรณารักษ์ในเมืองไทยบางหนึ่งยังขาดทักษะด้านไอทีหลายอย่าง ดังนั้นผมจึงขอนำมาเรียบเรียงและแปลให้เพื่อนๆ อ่านกัน

it-librarian

พอพูดถึงเรื่องไอที บรรณารักษ์หลายๆ คนมักจะมองไปถึงเรื่องการเขียนโปรแกรมหรือการใช้โปรแกรมขั้นสูงต่างๆ
ซึ่งจริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันมากๆ และความเข้าใจผิดนี้ทำให้บรรณารักษ์หลายๆ คนกลัวเทคโนโลยีกันไปเลย

แล้วตกลงทักษะด้านไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้มีเรื่องอะไรบ้างหล่ะ
ผู้เขียนก็ไปเสาะแสวงหาและเจอบทความนึงเรื่อง “20 Technology Skills Every Educator Should Have”
และเมื่ออ่านแล้วบอกได้คำเดียวว่าตรงมากๆ และบรรณารักษ์นี่แหละก็ควรมีทักษะไอทีแบบเดียวกันนี้

โดยสรุปทักษะไอทีที่บรรณารักษ์ควรรู้ มี 20 ทักษะ ดังต่อไปนี้
1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Word Processing เช่น Word หรือ? writer
2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Spreadsheets เช่น Excel หรือ Calc
3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Database เช่น Access หรือ Base หรือ SQL ….
4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมจำพวก Presentation เช่น Powerpoint หรือ Impress
5. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเว็บไซต์
6. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์
7. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ E-mail
8. ความรู้เกี่ยวกับการใช้กล้องดิจิทัล
9. ความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
10. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการไฟล์และการจัดเก็บไฟล์ในเครื่องคอมพิวเตอร์
11. ความรู้เกี่ยวกับการดาวน์โหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ต
12. ความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์
13. ความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์การเรียนการสอนออนไลน์
14. ความรู้เกี่ยวกับการประชุมทางออนไลน์ หรือประชุมทางไกลดดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
15. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ซีดี ดีวีดี ฮาร์ดดิสค์
16. ความรู้เกี่ยวกับการสแกน (Scanner)
17. ความรู้เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย
18. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์ขั้นสูง เช่น ระบบการจัดทำดัชนีเว็บไซต์ การสืบค้น
19. ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
20. ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ป้องกันไวรัส โทรจัน…

นอกจาก 20 ข้อนี้แล้ว ผู้เขียนยังขอเพิ่มในเรื่องทักษะ การใช้งาน Blog, IM, RSS, Wiki, …… อื่นๆ อีก
ซึ่งจากที่อ่านมาทั้งหมดนี้ เพื่อนๆ ว่าเพื่อนๆ มีทักษะด้านไอทีครบถ้วนหรือไม่

บางอย่างที่ยังไม่รู้ก็ลองหาที่ศึกษาเพิ่มเติมดูนะครับ
หากสงสัยในทักษะอย่างไหนบอกผมนะครับ จะได้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้รับทราบครับ
สำหรับวันนี้บรรณารักษ์ยุคใหม่อย่างเราต้องหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลานะครับ…จะได้ไม่เป็นบรรณารักษ์ตกเทรนด์

แนวคิดเรื่องการบริการให้ยืม IPOD Touch ในห้องสมุดประชาชน

หลังจากที่ผมยุ่งๆ กับเรื่องการเปิดศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีมาหลายวัน
พอศูนย์ความรู้กินได้เปิดแล้ว งานที่ต้องทำต่อคือการคิดนโยบายและเติมบริการใหม่ๆ เข้าห้องสมุด
วันนี้ผมจึงขอแนะนำบริการสักหนึ่งบริการใหม่ๆ ให้เพื่อนๆ รู้จัก

ipodtouch-in-library

บริการที่ว่านั่น คือ การให้บริการยืม IPOD Touch เพื่อใช้ภายในห้องสมุดประชาชนนั่นเอง
หลายๆ คนคงงงว่าทำไมต้องให้ยืมใช้ IPOD Touch และ IPOD Touch มีประโยชน์อะไร
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผมจะต้องอธิบายให้เพื่อนๆ ฟังนั่นเอง

ห้องสมุดนำ IPOD Touch มาใช้เพื่ออะไร
1. จัดเก็บไฟล์เสียงและวีดีโอที่ห้องสมุดได้จัดงานอบรมและสัมมนาต่างๆ
2. จัดเก็บไฟล์ภาพสวยงามของห้องสมุดและสถานที่ที่น่าสนใจในจังหวัด (ภาพเก่าๆ ที่หาดูได้ยาก)
3. จัดเก็บโปรแกรมที่ช่วยในการเรียนรู้ต่างๆ เช่น ข้อสอบ TOEFL, TOEIC ฯลฯ
4. จัดเก็บโปรแกรมแปลภาษา เช่น ไทย-อังกฤษ, อังกฤษ-ไทย, ภาษาอื่นๆ
5. จัดเก็บ E-book ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์
6. ฝึกทักษะการใช้งานอุปกรณืและเครื่องมือใหม่ๆ ในโลกปัจจุบัน

และต่างๆ อีกมากมายที่ห้องสมุดจะนำไปใช้งาน

เป็นยังไงกันบ้างครับ นี่คือห้องสมุดประชาชนในรูปโฉมใหม่ จริงๆ ใช่มั้ยครับ

เอาหล่ะครับ เมื่อพูดถึงเรื่องประโยชน์ของ IPOD Touch แล้ว
คราวนี้ผมขอเหล่าถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วยนะครับ

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
– ความเสียหาย = หากผู้ใช้บริการนำ IPOD Touch ไปใช้แบบไม่ระวังอาจทำให้เกิดความเสียหาย
– สูญหาย = IPOD Touch มีราคาที่แพง ผู้ใช้บริการบางคนอาจจะไม่หวังดี
– ผู้ใช้ใช้ไม่เป็น = ผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนส่วนหนึ่ง (จำนวนมาก) ไม่มีทักษะในการใช้สิ่งของด้านไอที

ซึ่งจากความเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้ทำให้ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าของการลงทุนด้วยนะครับ

การลงทุนเพื่อซื้อ? IPOD Touch มาให้บริการในห้องสมุด
เพื่อนๆ ต้องสำรวจราคากลางของเครื่อง IPOD Touch ซะก่อน
ซึ่งราคากลางของเครื่อง IPOD Touch จะอยู่ที่ 7400 บาท
หลังจากนั้น เพื่อนๆ ก็คงต้องพิจารณาเอานะครับว่าจะเลือกนำมาใช้หรือไม่

แนวทางในการให้บริการ IPOD Touch ในห้องสมุดประชาชน
– ให้ผู้ใช้บริการแลกบัตรประชาชนเอาไว้
– ใช้ในพื้นที่ที่จัดให้ (ซึ่งบรรณารักษ์ต้องมองเห็นตลอดเวลา)
– ตรวจสอบเครื่อง IPOD Touch ก่อนและหลังให้บริการ
– กำหนดเวลาในการให้บริการ เช่น คนละ 1-2 ชั่วโมง
– จัดตารางคิวการใช้งานเพื่อไม่ให้มีการถือครองโดยคนๆ เดียว
– มั่นอัพเดทโปรแกรมที่ใช้ในเครื่อง IPOD Touch

ฯลฯ อีกมากมายซึ่งแล้วแต่เพื่อนๆ จะจัดการนะครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเรื่องบริการแนวใหม่ๆ ในห้องสมุดประชาชน
หวังว่าเพื่อนๆ จะได้นำความคิดไปพิจารณากันดูนะครับ

จัดบอร์ดต้อนรับวันแม่แห่งชาติในห้องสมุด

พรุ่งนี้เป็นวันที่ 12 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันสำคัญอย่างหนึ่งของเมืองไทย วันสำคัญวันนี้ คือ วันแม่แห่งชาติ
และแน่นอนครับห้องสมุดอย่างพวกเราคงต้องมีการจัดนิทรรศการเล็กๆ ในห้องสมุด

mother-day

ไอเดียเรื่องการจัดนิทรรศการผมเชื่อว่าห้องสมุดหลายๆ แห่งมีไอเดียมากมายอยู่แล้ว
และห้องสมุดเกือบทุกแห่งก็จัดได้ด้วยดีและเก๋ไก๋เช่นกัน

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมและการจัดนิทรรศการในห้องสมุด
– จัดบอร์ดเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
– จัดบอร์ดทั่วไปเกี่ยวกับวันแม่
– ประกวดเรียงความ คำกลอน คำขวัญวันแม่
– เปิดเพลงที่เกี่ยวกับแม่คลอเบาๆ ในห้องสมุด
– ฉายภาพแม่ลูกตามจอโทรทัศน์ต่างๆ ในห้องสมุด

และอื่นๆ อีกมากมายที่ผมได้พบเจอมา…

วันนี้ผมคงไม่ต้องแนะนำอะไรมากมายหรอก เพราะเพื่อนๆ ก็คงทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว
แต่สิ่งที่ผมจะนำมาเพิ่มเติมให้เพื่อนๆ ในวันนี้ก็เช่น แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับวันสำคัญวันนี้

แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับวันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ – Kapook.com
– วันแม่ – Wikipedia
– วันแม่แห่งชาติ – Sanookpedia

อ๋อ แล้วเพื่อนๆ รู้มั้ยครับว่าประเทศอื่นๆ เขาจัดงานวันแม่กันเมื่อไหร่บ้าง ผมจะขอสรุปดังนี้
– นอร์เวย์จัดในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์
– บัลแกเรีย, แอลเบเนีย จัดในวันที่ 8 มีนาคม
– สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์ จัดในวันอาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์
– จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์ จัดในวันที่ 21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ)
– โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี จัดในวันอาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม
– เกาหลีใต้ จัดในวันที่ 8 พฤษภาคม และเรียกว่า วันผู้ปกครอง
– กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน จัดในวันที่ 10 พฤษภาคม
– แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง จัดในวันอาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม???? – โปแลนด์ จัดในวันที่ 26 พฤษภาคม
– โบลิเวีย จัดในวันที่ 27 พฤษภาคม
– สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน จัดในวันอาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม
– ฝรั่งเศส จัดในวันอาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม
– คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม) จัดในวันที่ 15 สิงหาคม หรือเรียกว่าวันอัสสัมชัญ
– อาร์เจนตินา จัดในวันอาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม
– รัสเซีย จัดในวันที่ 28 พฤศจิกายน
– ปานามา จัดในวันที่ 8 ธันวาคม
– อินโดนีเซีย จัดในวันที่ 22 ธันวาคม

เอาเป็นว่าก็หวังว่าเพื่อนๆ คนจะได้สาระและเนื้อหาในการนำไปจัดนิทรรศการและทำกิจกรรมในห้องสมุดนะครับ

สุดท้ายก่อนจากกัน อย่าฝากไว้ว่า “บอกรักแม่กันแล้วหรือยัง”
สำหรับผมแม้ว่าจะต้องมาทำงานไม่ได้กลับบ้านแต่ผมก็จะโทรไปบอกรักแม่ครับ
และขอส่งข้อความถึงแม่ผมในบล็อกนี้ด้วย “รักแม่ครับ”

รวมภาพสาวสวยกับท่าอ่านที่สุดเซ็กซี่

วันนี้วันชิวๆ ผมขอโพสเรื่องชิวๆ และรูปภาพแบบชิวๆ บ้างดีกว่า
ซึ่งเรื่องและรูปที่นำมาลงนี้เป็นรูปที่ผมนำมาจากหลายๆ เว็บไซต์
และเป็นการค้นหารูปจากแหล่งต่างๆ ด้วยตัวเอง (แต่ผมจะอ้างที่มาให้นะครับ)

babes-with-books

วันนี้ผมเข้าไป search ภาพการอ่านหนังสืออยู่ดีๆ ก็ได้พบกับเว็บไซต์นึงเข้า
ซึ่งเว็บไซต์นี้ได้รวบรวมภาพสาวๆ สุดเซ็กซี่ในขณะที่กำลังอ่านหนังสือในท่าต่างๆ อยู่

พอเข้าไปดูแล้วเข้าใจเลยว่า การอ่านแบบสวยๆ เป็นอย่างไร
เว็บนี้ก็เข้าใจเลือกรูปเหมือนกันแหะ วันนี้เลยเอาตัวอย่างมาให้ดูสัก 5 รูปแล้วกัน

ไปดูกันเลยดีกว่า

1. อ่านในที่สาธารณะ ต้องท่านี้ถึงดูดี

readind-1

2. อ่านตามตึกหรืออ่านนอกบ้าน ท่านี้ก็แจ๋วนะ

42-21169891

3. อ่านในห้องนอน หรือ อ่านบนเตียง มันต้องท่านี้เท่านั้น

readind-3

4. ท่านี้แนะนำมากๆ สำหรับสาวๆ ที่ไปห้องสมุด ลองนั่งอ่านแบบนี้ดูสิครับ

readind-4

5. ถ้าไปห้องสมุดแล้วไม่มีเก้าอี้หรือโต๊ะให้นั่งอ่าน ก็ไปอ่านหน้าชั้นหนังสือแบบนี้เลย

readind-5

6. อ่านบนโต๊ะในห้องสมุด ต้องแบบนี้ หนุ่มๆ จะมองตาไม่กระพริบ

42-20620676

ปล. จะเซ็กซี่หรือไม่ขึ้นอยู่กับหน้าตาด้วยนะครับ อิอิ (ล้อเล่นนะ ขำขำ)

ที่มาของรูปทั้งหมด http://picasaweb.google.com/HardleySurton/BabesWithBooks#

Blogging Workshop @ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

วันนี้มีการอบรมเรื่อง “ใช้ blog ดึงลูกค้า” ที่ ศูนย์ความรู้กินได้ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
ผมจึงขอสรุปการบรรยายดังกล่าวให้เพื่อนๆ คนอื่นๆ ได้อ่านกันบ้างแล้วกัน

blog-photo

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการอบรม
ชื่อการอบรม : ใช้ blog ดึงลูกค้า
ผู้บรรยาย : คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์
วันและเวลาในการอบรม : วันที่ 8 สิงหาคม 2553
สถานที่ : ห้องฝึกอบรม ชั้น 2 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

สรุปการอบรมช่วงเช้า
– ความแตกต่างระหว่าง Web, Blog และ Wiki
– แนะนำหลักการและแนวคิดของเว็บไซต์ Web 2.0
– แนะนำการสมัคร wordpress.com เพื่อสร้างบล็อกส่วนตัว
– การตั้งชื่อบล็อกให้น่าสนใจต่อการทำธุรกิจของเรา
– กำหนดรหัสผ่านอย่างไรไม่ให้ถูก hack
– ทำความรู้จักส่วนต่างๆ ของ wordpress เช่น header, blog, widgets
– การตั้งค่าต่างๆ ใน wordpress.com เช่น ชื่อบล็อก เวลา ภาษา
– ความแตกต่างระหว่าง page กับ post
– การเลือกธีม และ widgets ใน wordpress.com
– การเขียน blog 1 เรื่อง ต้องทำอย่างไรบ้าง = ชื่อเรื่อง ชื่อลิงค์ เนื้อเรื่อง tag หมวดหมู่ ฯลฯ

สรุปการอบรมช่วงบ่าย
– การปรับแต่งรูปภาพก่อนนำเข้าบล็อก & การใช้โปรแกรม Xnview
– ข้อแตกต่างระหว่าง wordpress.com กับ wordpress.org
– การจำลองการติดตั้ง wordpress บน server ด้วยโปรแกรม server2go
– การอัพโหลดรูป วีดีโอ ไฟล์ต่างๆ เข้าบล็อก
– การติดตั้งธีมและการเลือกธีมเพื่อใช้ในบล็อก
– การติดตั้ง plugin และการเลือก Plugin เพื่อใช้ในบล็อกสำหรับการประกอบธุรกิจ
– การใช้งาน Plugin WP e-commerce

นี่ก็เป็นการสรุปแบบคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ ที่ไม่ได้มาได้อ่านนะครับ
จริงๆ แล้วเรื่องของการทำบล็อกผมว่าคงต้องใช้เวลาในการอบรมมากกว่านี้

เวลาเพียง 1 วันอาจจะทำให้เรารู้จักการใช้งานแบบคร่าวๆ
ซึ่งถ้าต้องลงรายละเอียดและการทำงานขั้นสูงคงต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง
หรือเกิดจากการทดลองใช้งานจริงๆ และจะทำให้มีประสบการณ์ในการทำงานจริงๆ

สำหรับคนที่ไม่ได้มาในวันนี้ ห้องสมุดประชาชนก็จะจัดทำวีดีโอเพื่อการสอนทำบล็อกนี้ด้วย
ไม่เพียงแค่การอบรมในวันนี้เท่านั้นนะครับ แต่รวมถึงการอบรม เสวนา กิจกรรมต่างๆ ของห้องสมุด
ที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีจะมีการบันทึกวีดีโอและตัดต่อวีดีโอเพื่อนำมาให้บริการภายหลังด้วย

ประมวลรูปภาพในงานฝึกอบรมครั้งนี้

[nggallery id=26]

อักษรที่หายไป กับ การจัดหมวดหมู่หนังสือแบบแอลซี (LC)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับตัวอักษรที่ไม่ได้ใช้ในการจัดหมวดหมู่หนังสือแบบแอลซี
ยังมีคนเข้ามาถามผมอยู่เรื่อยๆ ซึ่งตัวอักษรดังกล่าวได้แก่ I O W X Y ซึ่งไม่ได้ใช้เป็นหมวดหลัก
คำถามนี้ ผมเองก็ตอบยากนะเพราะไม่ได้เป็นคนคิดการจัดหมวดหมู่ แต่เอาเป็นว่าผมขอเสนอความคิดเห็นส่วนตัวแล้วกันนะครับ

lc-call

ในระบบการจัดหมวดหมู่แบบ LC ? Library of Congress Classification
คือ จัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา มีการจัดหมวดหมู่โดยใช้ตัวอักษรในภาษาอังกฤษในการกำหนด
แต่มีอักษรอยู่เพียง 5 ตัวที่ไม่มีการใช้ในการจัดระบบหมวดหมู่หนังสือ นั่นคือ
ตัวอักษร I, O, W, X, Y

ตัวอักษร W ตัวนี้มีการใช้ในการจัดหมวดหมู่ แบบ NLM (National Library of Medicine classification)
หรือการจัดหมวดหมู่ของห้องสมุดด้านการแพทย์ ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนในการใช้ตัวอักษรนี้
ใน LC จึงย้ายหมวด W ไปอยู่ในหมวด R (Medicine)แทน

– ส่วนตัวอื่น I, O, X, Y เป็นตัวอักษรที่เก็บไว้เพื่อการเพิ่มหมวดหมู่ในอนาคต (อันนี้เรียนมาอาจารย์บอกอย่างนั้นนะ)
เอาเป็นว่าอีก 4 ตัวนี้ เอาไว้รองรับในอาคตแล้วกันนะ

เอาเป็นว่าผมคงตอบคำถามได้แค่นี้นะครับ ไม่รู้ว่าจะชัดเจนแค่ไหน
ซึ่งหากเพื่อนๆ คิดว่ามีคำตอบอื่นๆ ก็สามารถนำมาเล่าสู่กันฟังได้นะครับ