ห้องสมุดลอยน้ำ ทางเลือกใหม่ในการป้องกันน้ำท่วมในอนาคต

ช่วงนี้กระแสน้ำท่วมกำลังมาแรง ห้องสมุดหลายแห่งคงประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน
ตัวอย่างห้องสมุดที่ประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วม เช่น ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครสวรรค์

แนวคิดเรื่องของการออกแบบสิ่งปลูกสร้างที่กำลังมาแรง คือ บ้านลอยน้ำ (Floating House)
ลองอ่านเรื่อง “แบบบ้านลอยน้ำ แบบแปลนแนวคิดจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

เอาหล่ะครับ แนวคิดแบบนี้ผมก็ขอเอามาต่อยอดกับเรื่องของห้องสมุดบ้างดีกว่า
นอกจาก trend ในเรื่องของห้องสมุดสีเขียว (Green library) หรือห้องสมุดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกำลังมาแล้ว

หากนำความคิดของสิ่งปลูกสร้างลอยน้ำมารวมกับห้องสมุดสีเขียว (Floating House + Green Library)
มันจะได้ห้องสมุดลอยน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Floating Library)

หน้าตาแบบคร่าวๆ จะเป็นอย่างไร

(ภาพนี้ที่มาจาก http://the-queen-of-spades.deviantart.com/art/Floating-Library-163839594 แต่ผมไม่ทราบว่าที่นี่คือที่ไหนนะครับ ใครรู้ช่วยบอกด้วยครับ)

ภายในห้องสมุดลอยน้ำที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควรจะมีลักษณะอย่างไร

การลอยน้ำ
– มีจุดศูนย์ถ่วงดีเมื่อลอยน้ำแล้วต้องไม่เอียงไปทางใดทางหนึ่ง (ในภาพด้านบนคงไม่ได้มั้ง)
– มีจุดยึดไม่ให้อาคารลอยไปไหนได้แม้มีกระแสน้ำไหลรุนแรง (ปกติจะต้องมีเสาหลักยึดไว้เพื่อไม่ให้บ้านโคลงเคลง)
– สามารถรองรับจำนวนหนังสือที่เก็บได้จำนวนหนึ่ง (หนังสือหนักมากคงไม่สามารถจุดได้ถึงหมื่นเล่มหรอก)

การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
– การติดตั้งแผงกระจกในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อใช้แสงอาทิตย์ในการให้ความสว่างในอาคารอย่างทั่วถึง
– การติดตั้งหน้าต่างเมื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก และเพียงพอต่อสถานที่
– การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารห้องสมุด เพื่อให้ผู้เข้าใจรู้สึกผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ
– การประหยัดพลังงานโดยอาศัยพลังงานบริสุทธิ์ต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม ฯลฯ

เพิ่มเติมนิดนึง งบประมาณเรื่องการใช้พลังงานแสงอาทิตย์
การติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 400 W. (ราคา 144,450 บาท) อุปกรณ์ที่สามารถใช้ได้คือ
– หลอด 4 หลอด การทำงาน 4 ชั่วโมง/วัน
– เครื่องเล่น VCD ขนาด 25W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
-โทรทัศน์ 21 inch ขนาด 70W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
– วิทยุ ขนาด 3W 1 ชุด การทำงาน 6 ชั่วโมง/วัน
– พัดลม ขนาด40W 1 ชุด การทำงาน 4 ชั่วโมง/วัน
– ปั๊มน้ำ ขนาด 80W 1 ชุด การทำงาน 1 ชั่วโมง/วัน

ที่มาจาก http://www.tarad.in.th/index.php/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-A/flypage.tpl.html

ความเป็นไปได้ของห้องสมุดลอยน้ำคงต้องได้รับการพัฒนาอีกมากนะครับ เนื่องจากความเป็นจริงแล้วถ้าเป็นบ้านลอยน้ำผมเชื่อว่าคงมีปัจจัยเรื่องน้ำหนักของสิ่งของภายในสิ่งปลูกสร้างเป็นตัวกำหนดด้วยเช่นกัน ห้องสมุดเองจัดเก็บหนังสือมากๆ ก็คงไม่ได้เนื่องจากจะทำให้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยน้ำได้ ยังไงก็คงต้องหาวิธีจัดการกันอีกที

ปล. หลักการดังกล่าวนี้คงเหมาะสำหรับห้องสมุดที่มีสถานที่เป็นเอกเทศ ไม่ได้อยู่ติดกับอาคารใดๆ

ถึงที่สุดแล้วถ้าไม่สามารถสร้างตึกหรืออาคารลอยน้ำได้ ก็จัดห้องสมุดบนเรือซะเลยก็ได้นะครับ (วิธีนี้ก็โอเค) แต่อาจจะได้ห้องสมุดขนาดย่อมๆ หน่อย

เอาหล่ะครับ สิ่งที่อยากจะบอกจริงๆ จากเรื่องนี้ คือ หากหน่วยงานหรือใครอยากจะสร้างห้องสมุดใหม่ในอนาคต ผมอยากให้คำนึงถึงเรื่องภัยพิบัติต่างๆ ไว้ด้วย ไม่ต้องออกแบบมากมายหรอกครับแค่อย่างน้อยขอให้มีแผนสำหรับรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ติดไว้ในห้องสมุดสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานก็จะดีมากๆ ครับ

หมายเหตุ ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงความคิดส่วนตัวของผมนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

2 Comments

  1. ภาพห้องสมุดด้านบนอยู่ที่ The University of Nottingham ประเทศอังกฤษครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*