สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter

จริงๆ แล้วอยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ และข้อไม่ควรปฏิบัติในบล็อกเดียวกัน
แต่กลัวว่ามันจะยาวเกินไปเดี๋ยวเพื่อนๆ จะเบื่อเอาง่ายๆ
วันนี้ผมจึงขอเลือกข้อไม่ควรปฏิบัติสำหรับห้องสมุดที่ใช้ Twitter ก่อนน่าจะดีกว่า

เรื่องที่จะนำเสนอนี้สำหรับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ที่เปิด Account เพื่อใช้ในองค์กรเท่านั้น
ไม่รวมถึง Account Twitter ส่วนตัวของเพื่อนๆ นะครับ (ง่ายๆ twitter องค์กร only)

ผมก็ใช้เวลาในการเล่น Twitter มาสามปีกว่าๆ สังเกตมาสักระยะแล้วว่า
ห้องสมุดหลายๆ แห่งเริ่มมีการนำ twitter มาใช้ในองค์กรมากขึ้น
เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร กิจกรรม แนะนำหนังสือ ฯลฯ ในห้องสมุด ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

แต่ห้องสมุดบางแห่งเมื่อผมได้เข้าไปใน twitter ผมก็รู้สึกแปลกๆ และสงสัยเล็กน้อย
ถึงความผิดปกติในแง่ต่างๆ เช่น lock ไม่ให้คนอื่นดู, ปล่อยให้ twitter ร้าง ฯลฯ

ผมจึงอยากนำเรื่องต่างๆ เหล่านี้มาแนะนำให้เพื่อนๆ ห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่าน
สิ่งที่ Twitter ห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ไม่ควรทำในโลกออนไลน์ ได้แก่

– การ lock หรือ การ protected Account ของห้องสมุดหรือบรรณารักษ์
เพราะห้องสมุดของเราควรเปิดกว้างให้ผู้ใช้บริการบนโลกออนไลน์ทุกคน
ดังนั้นเราไม่ควรจำกัดการเข้าถึงห้องสมุดด้วยวิธียุ่งยาก

– ทำตัวเสมือนเป็นหุ่นยนต์ (ดึง feed ข่าวของห้องสมุดมาลงเพียงอย่างเดียว)
ในโลกของ twitter ห้องสมุดก็สามารถมีชีวิตได้ หากมีคนถามห้องสมุดก็ควรตอบ
นอกจากนี้ห้องสมุดยังสามารถทักทายผู้ใช้บริการออนไลน์อยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นกันเอง

– อย่าปล่อยให้การอัพเดทข้อความใน twitter ทิ้งช่วงเกิน 2-3 วัน
เพราะนั้นหมายถึงความไม่ใส่ใจของห้องสมุด (ห้องสมุดร้าง)

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเพียงคำแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ก็แล้วกันนะครับ
เพื่อเป็นคำเตือนให้เพื่อนๆ บรรณารักษ์และห้องสมุดมือใหม่ระวังในการใช้เครื่องมือออนไลน์

การพัฒนาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาตร์ในยุคดิจิทัล

วันก่อนได้รับเกียรติจากภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เชิญเป็นวิทยากรบรรยายในเรื่อง “หลากมุมมองของนักวิชาชีพสารนิเทศ” วันนี้ผมจึงขอนำเรื่องวันนั้นมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

ภาพกิจกรรมในวันนั้นแบบคร่าวๆ (ขอนำภาพจากเว็บไซต์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาลง)

(ข้อมูลโดยสรุปไว้ผมจะนำมาเล่าวันหลังนะครับ ช่วงนี้มีภาระงานเยอะไปหน่อย อิอิ)
เอาสไลด์ของแต่ละคนไปนั่งอ่านก่อนได้ครับ

สไลด์ของวิทยากรทุกท่านสามารถดาวน์โหลดได้จาก http://www.arts.chula.ac.th/~libsci/conference%2053_Download.html

ชมภาพกิจกรรมได้ที่ http://www.arts.chula.ac.th/~libsci/activities.html

ของฟรี 27 อย่าง ที่หาได้จากห้องสมุด

วันนี้ผมเจอบทความนึงที่น่าสนใจมากจากเว็บไซต์ SavingAdvice ซึ่งเป็นเว็บที่แนะนำให้ประหยัด
ห้องสมุดสามารถทำให้ชีวิตของคนเราประหยัดได้จริงๆ หรือ” อันนี้น่าคิดมากครับ
บทความนี้จะแนะนำ 27 อย่างที่ไม่ต้องเสียเงินในห้องสมุด” เอาเป็นว่าเข้าไปดูกันดีกว่า

อะไรที่ฟรีบ้างในห้องสมุด ผมคงตอบว่า “มากมายเลยที่ฟรีในห้องสมุด”
อ่านหนังสือฟรี เล่นคอมพิวเตอร์ฟรี ดูหนังฟรี นอนฟรี….
พอเจอคำถามว่า 27 อย่างที่ฟรี ผมก็ลองไล่ดูแล้วก็แปลกใจว่าทำไมผมคิดได้ไม่ถึง 27 อย่าง

แนะนำ 27 อย่างที่ไม่ต้องเสียเงินในห้องสมุด
1 หนังสือฟรี – แน่นอนครับอ่านแล้วยืมกลับบ้านได้ฟรี
2 หนังสือเสียง – ห้องสมุดบางแห่งมีให้ฟังหนังสือเสียงด้วย นั่นแหละฟรี
3 ดีวีดี – ภาพยนตร์ สารคดี มีให้ชมฟรี
4 ซีดีเพลง – อยากฟังเพลงก็ฟรีนะครับ
5 หนังสือเก่าของห้องสมุด – บางแห่งก็นำมาขาย บางแห่งก็บริจาคฟรี
6 อินเทอร์เน็ต – เล่นเน็ตฟรีแถม wifi ให้ด้วย
7 คอมพิวเตอร์ – ไม่ได้เอาโน้ตบุ๊คมาก็ใช้คอมที่ห้องสมุดได้ฟรี
8 วารสาร นิตยสาร – นิตยสารเล่มใหม่ๆ ให้อ่านฟรี
9 ชมรมหนังสือ – ตั้งชมรมคนรักหนังสือได้ฟรีที่ห้องสมุด แล้วแต่ว่าจะสนใจหนังสือแนวไหน
10 งานนิทรรศการ -? ชมนิทรรศการฟรีแถมได้ความรู้
11 ที่คั่นหนังสือ – มีแจกตามเคาน์เตอร์บรรณารักษ์
12 คูปองส่วนลดจากร้านค้าใกล้เคียง – อันนี้เห็นในต่างประเทศเยอะแจกฟรีคูปองส่วนลดร้านค้าที่อยู่ใกล้ๆ ห้องสมุดซึ่ง แจกฟรี
13 การเรียนการสอนฟรี – ห้องสมุดมีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย อยากเรียนอะไรก็เรียนได้เลยฟรี
14 กิจกรรมสำหรับเด็ก – เล่านิทาน ระบายสี ฟรีในห้องสมุด
15 ศึกษาวรรณกรรม – ห้องสมุดมีเรื่องสั้น นวนิยายดีๆ มากมายให้อ่านฟรี
16 ผู้ช่วยในการค้นหาข้อมูล – บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าฟรี ลองใช้กันดู
17 บริการยืมหนังสือข้ามห้องสมุด – อยากได้หนังสือจากห้องสมุดอื่น บรรณารักษ์ยืมให้ฟรี
18 ฐานข้อมูล – ค้นคว้าเรื่องเฉพาะทางฐานข้อมูลมีให้ใช้ฟรี
19 ผู้ช่วยสำหรับผู้เชี่ยวชาญ – บรรณารักษ์เราช่วยค้นคว้าได้ทุกอย่างซึ่งนั้นแหละฟรี
20 กิจกรรมเปิดตัวหนังสือ – สำนักพิมพ์สามารถใช้ห้องสมุดเป็นเวทีสำหรับการเปิดตัวหนังสือใหม่ได้ฟรี
21 ภาพยนตร์ – มีการจัดฉายภาพยนตร์ฟรี
22 คอนเสิร์ต – การจัดงานคอนเสิร์ตเล็กๆ หรืองานแสดงดนตรีในห้องสมุดก็ฟรีนะ
23 กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน – กิจกรรมส่งเสริมการอ่านมีบริการฟรีในห้องสมุด
24 ช่วยทำการบ้าน – เด็กๆ สามารถให้บรรณารักษ์ช่วยทำการบ้านฟรี
25 ห้องสมุดเคลื่อนที่ – ห้องสมุดสามารถออกไปจัดกิจกรรมให้ชุมชนได้ฟรี
26 รายการหนังสือน่าอ่าน – ห้องสมุดจะช่วยคัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจให้ผู้ใช้บริการได้ฟรี
27 กิจกรรมสำหรับวัยรุ่น – กิจกรรมในห้องสมุดที่หลากหลายตอบสนองคนทุกเพศวัยฟรี

เอาเป็นว่าจบแล้วครับ 27 อย่าง แล้ว “27 อย่างที่ว่าไม่ต้องเสียเงินในห้องสมุด”
ห้องสมุดของเพื่อนๆ มีฟรีครบทั้งหมดเลยหรือปล่าวครับ อย่างไหนที่ไม่น่าจะฟรีบ้าง ร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้ครับ

ต้นฉบับของเรื่องนี้มีคำอธิบายมากมาย เพื่อนๆ ลองเข้าไปอ่านได้ที่
http://www.savingadvice.com/articles/2008/07/04/102183_27-free-things-at-the-library.html

จุฬารับสมัครเจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ 2 ตำแหน่ง

ช่วงนี้บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ บ่อยเป็นพิเศษ
เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ห้องสมุดหลายๆ แห่งกำลังต้องการบุคลากรเพิ่ม
ดังนั้น Libraryhub ก็จะนำมารายงานให้เพื่อนๆ ได้เลือกงานก็แล้วกันนะ

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง 😕 เจ้าหน้าที่บริการสารสนเทศ
ลักษณะงาน : พนักงานมหาวิทยาลัย
วุฒิการศึกษา : ปริญญาโท
จำนวน : 2 ตำแหน่ง
ห้องสมุด : ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เงินเดือน : 10900 บาท (ถ้ามีประสบการณ์ตรงจะได้รับการพิจารณาเงินเดือนเพิ่ม)

ตำแหน่งนี้ผมต้องย้ำว่าเพื่อนๆ ที่อยากได้งานนี้ต้องจบปริญญาโทแล้วเท่านั้นนะครับ
อ๋อ ไม่จำเป็นต้องจบวุฒิบรรณารักษ์นะครับ ครุศาสตร์ก็ได้ นิติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ฯลฯ
สาขาที่จบมาเพื่อนๆ สามารถดูได้จากเอกสารเพิ่มเติมของตำแหน่งนี้ (ดาวน์โหลดได้จากด้านล่าง)
ความสามารถที่ต้องการพิเศษ คือ ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ ถ้าได้จะดีเยี่ยมเลย

ตำแหน่งนี้รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 26 ตุลาคม นี้นะครับ
เพื่อนๆ ยังมีเวลาตัดสินใจได้อยู่นะครับ แต่ทำงานในมหาวิทยาลัยผมว่าก็โอนะ

ลืมบอกไปเลยตำแหน่งนี้ทำอะไรบ้าง
– งานบริการสารสนเทศ
– งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
– งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
– ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ผมว่ารายละเอียดของงานดูแปลกๆ ไปหน่อยนะครับ มันเหมือนงานบรรณารักษืเลย
แต่เปิดโอกาสให้คนสาขาอื่นมาทำได้ เอิ่มแสดงว่าเข้าได้แล้วคงต้องเรียนรู้งานอีกสักระยะแน่ๆ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองติดต่อไปที่ hr@car.chula.ac.th ดูนะครับ
หรือถ้ามั่นใจแล้วก็สมัครไปเลยตามแบบฟอร์มออนไลน์ที่อยู่ด้านล่างนี้

ข่าวรับสมัครจาก http://www.car.chula.ac.th/news/274/
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตำแหน่ง http://www.car.chula.ac.th/downloader2/3bfdb4ecab0b240f1bd80fb33f6a315a/

ดาวน์โหลดใบสมัครที่นี่
http://www.car.chula.ac.th/apply/apply2.php

ขอให้ทุกๆ ท่านโชคดีครับ

สัปดาห์หนังสือแห่งชาติส่งท้ายปี 53 (มหกรรมหนังสือระดับชาติ)

เดือนนี้ไฮไลท์ที่ชาวบรรณารักษ์และห้องสมุดไม่ควรพลาด คือ
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ 2553 หรือที่หลายๆ คนชอบเรียกว่างานสัปดาห์หนังสือปลายปี

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้
ชื่องานภาษาไทย : งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15
ชื่องานภาษาอังกฤษ : BookExpoThailand 2010
วันที่จัดงาน : 21-31 ตุลาคม 2553
เวลาในการจัดงาน : 10.00-21.00 น.
สถานที่จัดงาน : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

เดือนตุลาคมถือว่าเป็นเดือนแห่งปีงบประมาณใหม่
ดังนั้นห้องสมุดหลายๆ แห่งคงจะถือโอกาสนี้ในการช้อปปิ้งหนังสือเข้าห้องสมุด
หนังสือราคาถูก มีของแถมมากมาย และมีร้านหนังสือให้เลือกมาก

นอกจากการช้อปปิ้งหนังสือแล้ว ผมไม่อยากให้พลาดเรื่องกิจกรรมต่างๆ ที่จัดในงานด้วย
เพราะเพื่อนๆ จะเห็นแนวคิดและนำไปประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมการอ่านในห้องสมุดได้ด้วย

กิจกรรมพิเศษที่จัดในงานสัปดาห์หนังสือครั้งนี้ เช่น
– นิทรรศการและกิจกรรม “ห้องสมุดหนังสือใหม่ ปี 2553”
– กิจกรรมส่งเสริมการอ่านจากมูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
– นิทรรศการ “สมเด็จพระปิยมหาราชกับการปฏิรูปการศึกษา”
– Creative Book Industry: DIY My Book หนังสือใครๆ ก็ทำได้
– All for Book: Book for All

Hilight ที่ผมอยากแนะนำในงานนี้ มีมากมาย เช่น
– วันที่ 21 ตุลาคม 2553 เวลา 15.00-16.00 น. เปิดตัว e-book on i pad
– วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เวลา 11.00-12.00 น. กิจกรรมทอฝันปันหนังสือให้น้อง ครั้งที่ 20
– วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เวลา 12.00-13.00 น. กิจกรรมจากกระดาษถนอมสายตา Green Read by SCG Paper
– วันที่ 26 ตุลาคม 2553 เวลา 12.00-13.00 น. โครงการทูตความดีแห่งประเทศไทย D Ambassador 2010
– วันที่ 27 ตุลาคม 2553 เวลา 16.00-17.00 น. เปิดตัวหนังสือ “รวมบทกวีนิ้วกลม อุนนุน หมายเลข 1 สิ่งที่ค้นพบระหว่างนั่งเฉยๆ ของนิ้วกลม”
– วันที่ 30 ตุลาคม 2553 เวลา 17.00-18.00 น. เปิดตัวเว็บไซต์ทีวีเพื่อการศึกษา www.etvMAC.tv

เอาเป็นว่ากิจกรรมดีๆ มีอีกเพียบเลย โดยเฉพาะการเปิดตัวหนังสือใหม่ๆ
ถ้าเพื่อนๆ สนใจตารางกิจกรรมลองเข้าไปดูได้ที่ http://thailandbookfair.com/bookexpo2010/hallA.php

นอกจากนี้งานสัมมนาดีๆ ก็มีอีกเพียบเลย เข้าไปดูได้ที่ http://thailandbookfair.com/bookexpo2010/seminar.php

แค่เห็นชื่อกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ก็ทำให้ผมยิ่งอยากไปงานนี้เร็วๆ เหลือเกิน
เอาเป็นว่าถ้าผมได้ไปร่วมงานในครั้งนี้แล้ว ผมจะเก็บภาพบรรยากาศในงานมาฝากทุกๆ คนเลยครับ

สำหรับเพื่อนๆ ที่วางแผนที่จะมางานนี้ผมขอแนะนำว่าใช้รถไฟฟ้าใต้จะทำให้คุณไม่ต้องเครียดเรื่องการหาที่จอดรถนะครับ
เพราะอย่างที่รู้ๆ รถเยอะมากๆ รถติดทางเข้า แถมเข้ามาก็อาจจะไม่มีที่จอดอีก ดังนั้นรถไฟฟ้าใต้ดินดีที่สุดครับ

หากเพื่อนๆ อยากได้ข้อมูล หรือรายละเอียดกิจกรรมมากกว่านี้ผมแนะนำให้เข้าเว็บไซต์ทางการของงานนี้
เว็บไซต์ทางการของงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 15 : http://thailandbookfair.pubat.or.th/bookexpo2010/

มทร.รัตนโกสินทร์ รับลูกจ้างบรรณารักษ์ 2 ตำแหน่ง

บรรณารักษ์ช่วยหางานกลับมาพบกลับเพื่อนๆ อีกแล้ว วันนี้มีงานมาแนะนำด้วยนะครับ
ใครที่กำลังมองหางานบรรณารักษ์อยู่ลองเข้ามาดูกันได้เลย

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ลักษณะงาน : ลูกจ้างชั่วคราว
ชื่อตำแหน่ง 😕 บรรณารักษ์
จำนวน : 2 ตำแหน่ง
ห้องสมุด : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
เงินเดือน : 7490 บาท

อย่างที่อ่านในรายละเอียดนั่นแหละครับ งานนี้เป็นงานลูกจ้างชั่วคราวเท่านั้น
จริงๆ แล้วผมอยากแนะนำให้บรรณารักษ์ที่จบใหม่นะครับ เนื่องจากจะได้ลองหาประสบการณ์ในการทำงานดู
และสำหรับคนที่กำลังว่างงานอยู่จะสมัครก็ได้นะครับ แต่คนที่ทำงานอยู่แล้วต้องการเปลี่ยนงานอันนี้ผมไม่แนะนำครับ

ลักษณะงานเบื้องต้น ในประกาศไม่ได้กล่าวไว้ ดังนั้นลองติดต่อสอบถามดูก่อนนะครับเพื่อความแน่ใจ
คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการสมัครง่ายๆ ครับ จบบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

รับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2553 ไม่เว้นวันหยุดราชการ
และสอบข้อเขียนวันที่ 26 ตุลาคม พร้อมประกาศผลวันที่ 29 ตุลาคม
ผู้ที่สอบผ่านจะต้องปฏิบัติงานได้วันที่ 1 พฤศจิกายน 2553 เลยนะครับ

เอาเป็นว่าถ้าสนใจก็ลองเข้าไปสอบถามรายละเอียดได้ที่
ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.รัตนโกสินทร์
หรือเข้าไปดูที่ http://www.rmutr.ac.th/images/stories/pdf_file/scan0526.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีครับ

มาแต่งตัวให้บรรณารักษ์ดูน่ารักกันเถอะ

นานมาแล้วผมได้แนะนำเกมส์แต่งตัวให้บรรณารักษ์มาแล้ว
เข้าไปดูที่ (แนะนำเกมส์แต่งตัวบรรณารักษ์) แต่ครั้งนั้นมีเสื้อหาให้เลือกน้อยไปหน่อย

วันนี้วันจันทร์ผมไม่อยากให้เพื่อนๆ เครียด เลยขอนำเกมส์แต่งตัวมาให้เพื่อนๆ เล่น
นอกจากจะเพลิดเพลินแล้ว เพื่อนๆ อาจจะได้แนวคิดในการแต่งตัวมาทำงานจริงก็ได้นะ
เกมส์นี้เล่นไม่ยาก แค่คลิกค้างแล้วก็ลากมาไว้บนตัวการ์ตูนเท่านั้นเอง

เพื่อนๆ สามารถแต่งอะไรได้บ้าง
– ทรงผม
– เสื้อผ้า
– รองเท้า
– ถุงน่อง
– เครื่องประดับ
– หนังสือ

เอาเป็นว่าลองดูที่ผมแต่งตัวให้บรรณารักษ์กันดีกว่า
(ถ้าเพื่อนๆ บรรณารักษ์กล้าแต่งแบบในรูป กรุณาถ่ายส่งมาให้ผมดูบ้างน้า อิอิ)

เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขำขำนะครับ ไม่อยากให้เครียด

เพื่อนๆ สามารถเข้าไปเล่นได้ที่ http://www.dressupgirl.net/dressup/1727/Librarian-Dressup.html

นายห้องสมุดพาเที่ยวงาน Thailand Mobile Expo 2010

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสไปเดินงาน Thailand Mobile Expo 2010 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันนี้ผมจึงขออาศัยบล็อกนี้ถ่ายทอดและเล่าเรื่องราวต่างๆ ในงานให้เพื่อนๆ อ่านกัน

เริ่มจากทำไมถึงต้องไปงาน Thailand Mobile Expo 2010
– ไปดูเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ เช่น โปรแกรมบนโทรศัพท์ ฯลฯ
– ไปสำรวจราคาโทรศัพท์และเทรนด์ของโทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน
– ไปเอาหนังสือจากพี่ @mimee เรื่องการตลาด 2.0 (ของรางวัลที่เล่นใน twitter)
– ไปเอาเรื่องราวต่างๆ มาเล่าให้เพื่อนๆ อ่าน (อิอิ)

ว่าแล้วก็เริ่มเข้าไปในงานกันเลย เมื่อเดินทางจากรถไฟฟ้าใต้ดินมาขึ้นที่สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เดินออกมาตามทางจะมีลูกศรบอกทางเข้างาน Thailand Mobile Expo 2010
(ที่ศูนย์ประชุมฯ ไม่ได้มีงาน Thailand Mobile Expo 2010 อย่างเดียวนะ เขามีจัดงานบ้านและคอนโดด้วย)

img_0872 img_0877

เมื่อพบทางเข้างาน Thailand Mobile Expo 2010 ส่วนแรกที่เราจะเจอ คือ งาน TMAS2010
หรือที่เรียกว่า Thailand Mobile Application Symposium 2010
ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่โชว์เทคโนโลยีและให้ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ เช่น
– TOT = เทคโนโลยี 3G อุปกรณ์ต่างๆ และพื้นที่ในการให้บริการ
– Nectec = โปรแกรมระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ
– Nectec = สื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดียภาษามลายูท้องถิ่น (http://malayu.nectec.or.th)

พอออกจากส่วนนี้แล้ว และเดินเข้าสู่ส่วนที่แสดงสินค้าเราจะพบบูธเด่นๆ อีกบูธ คือ บูธของ Google นั่นเอง
ก็เข้าไปดูสักหน่อยว่ามี application ตัวไหนที่สามารถนำมาใช้บนโทรศัพท์มือถือได้บ้าง
ซึ่งเพื่อนๆ ลองเข้าไปดูได้ที่ m.google.co.th

img_0916

ในส่วนแสดงสินค้าผมคงไม่เขียนอะไรมากมายหรอก แต่จะขอเน้น hilight ที่ผมชอบจริงๆ ในงาน เช่น
– Iphone4
– Samsung GalaxyTab
– Wellcom W-pac
– TOT 3G
– Nokia N8
– Blackberry Torch 9800

img_0904

นอกจากนี้แนะนำไปบูธ สบท นะครับ เพราะมีหนังสิอแจกฟรี 3 เล่ม ซึ่งน่าสนใจมากๆ (ผมนำกลับมาให้ห้องสมุดชุดนึง)
– รู้ไว้ปลอดภัย (กว่า) : คู่มือลดความเสี่ยงในการใช้มือถือและอินเทอร์เน็ต
– มือถือในมือเด็ก
– เวทีผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมปี 2552 : “พลังผู้บริโภค สร้างสรรค์โลก โทรคมนาคม”

ในงานนี้เดินไปเดินมาก็เจออพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ มากมายในงานนี้ด้วย เช่น @neokain @bankkung @aum2u @mimee @patsonic @ripmilla @pongrat @charathBank และอีกหลายๆ คนที่ผมไม่รู้จักชื่อ

เอาเป็นว่าก็ถือว่าเป็นงานที่น่าสนใจอีกงานนึงนะครับ วันนี้ก็คงจัดวันสุดท้ายแล้ว (3 ตุลาคม 2553)
ใครที่อ่านบล็อกของผมวันนี้ยังพอมีเวลา แนะนำว่าควรไปเดินนะครับ (ช่วงต้นเดือนด้วย อิอิ)

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของงานนี้ : http://www.thailandmobileexpo.com/

รวมภาพบรรยากาศที่ผมถ่ายเล่นในงาน

[nggallery id=28]

แนะนำโปรแกรม GooReader ไปใช้ในห้องสมุดเพื่อการค้นหา E-Book

วันนี้ผมขอแนะนำโปรแกรมสำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบฟรีๆ ให้เพื่อนๆ รู้จักนะครับ
โปรแกรมนี้จะช่วยให้คุณหาหนังสือ E-book และสามารถอ่าน E-book ได้ดีทีเดียว

GooReader มาจาก Google + Reader แน่นอนครับ Google มี Google Book Search
ดังนั้น App นี้ก็เสมือน Client ที่เรียกข้อมูลผ่านทาง Google Book Search นั่นเอง

จุดเด่นของโปรแกรม GooReader
1. ค้นหาหนังสือจาก Google Book Search โดยไม่ต้องเข้า Web Browers
2. Interface ในการนำเสนอค่อนข้างดี เป็นรูปชั้นหนังสือสวยดี
3. สามารถอ่านหนังสือได้สมจริงกว่าอ่านบนเว็บ
4. สามารถดาวน์โหลดไฟล์ออกมาเป็น pdf
5. จำกัดการสืบค้นได้ง่าย
6. โปรแกรมมีขนาดเล็กไม่หนักเครื่อง
7. สำคัญสุดๆ โปรแกรมฟรี

โปรแกรมนี้ผมแนะนำว่าบรรณารักษ์ควรนำไปลงในเครื่องคอมในห้องสมุดนะครับ
เพราะถือเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ห้องสมุดได้เข้าถึงแหล่ง E-book
แถมยังช่วยให้ห้องสมุดลดภาระในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ E-book อีกด้วย

วีดีโอแนะนำโปรแกรม GooReader

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=IlH-NH_yBOI[/youtube]

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองเข้าไปโหลดมาเล่นกันดูนะครับ ที่ http://gooreader.com/

คำมั่นสัญญา : 1 วัน 1 เรื่องกลับมาแล้วครับ

หลายเดือนแล้วที่ผมไม่ตรงต่อเวลาในเรื่องการอัพบล็อก “ผมขอโทษนะครับ”
เมื่อเวลาผ่านไปยิ่งนานยิ่งทำให้ผมรู้สึกว่าเหมือนหายไปจากวงการบรรณารักษ์ซะเยอะเลย

วันนี้ผมจึงขอเริ่ม “อุดมการณ์เดิม” ของผม ซึ่งเป็นอุดมการณ์สมัยตอนยังเขียน projectlib
ยังจำประโยคนี้กันได้มั้ยครับ “365 days in library” นั่นหมายถึง 1 วัน 1 เรื่องห้องสมุดจะกลับมา

เรื่องราวต่างๆ ยังมีให้เขียนมากมายเช่นเดิม แต่ผมอาจจะเปลี่ยนรูปแบบการเขียนนิดหน่อย
เพราะเข้าใจว่าหลายคนไม่อยากอ่านอะไรยาวๆ ดังนั้นการเขียนของผมจะแตกต่างไปจากเดิมบ้าง
เพื่อให้เพื่อนๆ ที่ไม่ค่อยมีเวลา เข้ามาบล็อกนี้และใช้เวลาน้อยที่สุดแล้วกัน

วันนี้ก็เขียนแค่นี้แหละครับมาทักทายเล็กน้อย เดี๋ยวรออ่านเรื่องวงการบรรณารักษ์และห้องสมุดกันต่อเลยแล้วกัน