ผมได้ติดตามหลักสูตรการเรียนการสอนด้านห้องสมุดมาสักระยะหนึ่งแล้ว
แต่ผมเองก็ไม่เคยเห็นหลักสูตรไหนที่ทันสมัยเท่ากับหลักสูตรที่ผมจะแนะนำวันนี้
Year: 2009
แบบสอบถามเรื่องโปรแกรม Open Source ในห้องสมุด
วันนี้ผมได้รับแบบสอบถามมาชิ้นนึงจาก อีเมล์กลุ่มของบรรณารักษ์ทั่วโลก
แบบสอบถามดังกล่าวได้ทำการสำรวจเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Open Source ในห้องสมุด
ห้องสมุดในอนาคตขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบัน
ช่วงนี้บล็อกของผมเริ่มเป็นที่รู้จักของหลายๆ คน ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายส่งมาให้ผมตอบ
หนึ่งในนั้นก็มีคำถามเกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของห้องสมุด
จริงๆ แล้วก็อยากจะนำมาเล่าให้ฟังหลายครั้งแล้วหล่ะครับ
เกี่ยวกับคำถามข้อนี้ โจทย์ที่ตั้งมาคือ ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?
ก็อื่นต้องขอแจ้งไว้ล่วงหน้าว่า ผมอาจจะไม่ได้เก่งอย่างที่หลายๆ คนคาดหวังไว้
แต่คำตอบนี้ถือว่าเป็นความคิดส่วนตัว ดังนั้นอาจจะมองไม่เหมือนกับหลายๆ คนก็ได้
คำถาม : ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?
คำตอบ : ห้องสมุดในอนาคต สำหรับผมตอนนี้คิดว่า ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบันนี้นั่นแหละ
ว่าจะสร้างภาพลักษณ์ หรือลักษณะงานบริการในห้องสมุดอย่างไร ทางเลือกมี 2 ทาง คือ
– หากบรรณารักษ์ประยุกต์งานบริการต่างๆ จัดกิจกรรม นำเทคโนโลยี และใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ
มาพัฒนาห้องสมุดแล้ว ในอนาคตห้องสมุดก็จะเปลี่ยนบทบาทเป็น ศูนย์ที่ชี้นำ หรือ ชี้แหล่งสารสนเทศ
ให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล ฯลฯ
ห้องสมุดจะถูกแทนด้วย ศูนย์สารสนเทศ หรือ ศูนย์การเรียนรู้ ได้อย่างสมบูรณ์
– หากบรรณารักษ์ยังคงดำเนินงานในรูปแบบเดิมๆ เหมือนที่เป็นอยู่ ไม่ยอมรับเทคโนโลยี
ไม่สนใจผู้ใช้บริการ และคิดเพียงแค่ว่าทำงานแบบนี้ยังไงห้องสมุดก็ไม่ถูกปิดหรอก
ครับ แน่นอนว่าไม่ถูกปิด แต่ภาพห้องสมุดในอนาคตของห้องสมุดลักษณะนี้
คงไม่ต่างอะไรไปจากหอจดหมายเหตุ หรือ พิพิธภัณฑ์ที่เก็บหนังสือมากมายแทน
ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะบอกบรรณารักษ์หลายๆ คนก็คือ
ห้องสมุด และ บรรณารักษ์ในปัจจุบัน เราต้องปรับตัวเองให้เข้ากับผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้มากที่สุด
เข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด และต้องเข้าถึงหัวใจหรือรับรู้ความรู้สึกของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดด้วย
แล้วเราจะรู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร
ถึงตอนนั้นผมเชื่อ และหวังว่าจะเห็นห้องสมุดที่มีแต่คนบอกว่า
?วันนี้ไปหาอะไรทำที่ห้องสมุดดีกว่า? หรือ ?ไปห้างสรรพสินค้าทำไม ไปห้องสมุดแหละมีอะไรให้ทำตั้งเยอะ?
ตามหาศีล 5 ในห้องสมุด
เนื่องด้วยวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง นั่นก็คือ “วันอาสาฬหบูชา”
ผมจึงขอเขียนเรื่องห้องสมุดที่สอดคล้องกับแง่คิดในศาสนาพุทธสักหน่อยแล้วกันนะครับ
ธรรมะที่ผมจะนำมาเขียนในวันนี้
เป็นธรรมะที่ทุกคนต้องรู้จักกันดี นั่นก็คือ “การรักษาศีล 5” นั่นเอง
มาทบทวนกันหน่อยดีกว่า ว่าศีล 5 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
2. งดเว้นจากการลักทรัพย์
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. งดเว้นจากการพูดปด
5. งดเว้นจากการเสพของมึนเมา
เอาเป็นว่าเมื่อเพื่อนๆ รู้จักความหมายและส่วนประกอบของคำว่า “ศีล5” แล้ว
ทีนี้ผมก็อยากจะลองหาหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” ในห้องสมุดบ้าง
อยากจะรู้เหมือนกันว่าผมจะได้หนังสือเล่มไหนไว้อ่านบ้าง
เริ่มแรกผมเข้าไปที่เว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร
จากนั้นผมก็ค้นคำว่า “ศีล 5” ในหน้า OPAC ของห้องสมุด
โดยผมใช้ตัวเลือกในการค้นว่า ให้ค้นจาก Keyword
ผลที่ออกมาก็ทำให้ผมได้เห็นหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” มากมาย
แต่ผมขอเลือกนำมาให้เพื่อนๆ อ่านแค่ 8 เรื่องนะครับ
หนังสือที่ผมจะแนะนำ 8 เล่ม มีดังนี้
1. การพัฒนางาน?ด้วย?ระบบ? RE-ENGINEERING, AIC, QC, ?ฯลฯ? ?และ?ประยุกต์มรรคมีองค์? 8 ?ของพระพุทธเจ้า? ?คุณธรรม? ?รักเหนือรัก? ?หรื่อ? ?คุณธรรม? ?สาราณียธรรม? 6 ?เพื่อพุทธพจน์? 7 ?และ?ระบบบุญนิยม? ?ใน?ระดับ? ?ศีล? 5 ?ของศาสนาพุทธ? ?เพื่อการบริหารงาน?ให้?ประสบผลสำ?เร็จ
2. รวมธรรมะ
3. ?อานิสงส์ศีล? 5?
4. อนุสรณ์ฌาปนกิจศพ? ?พระครูศีลสารวิมล? (ล้วน? ?สีลรา?โม)?4-5 ?เมษายน? 2535.
5. มลทินของใจ?กับ?ศีล? 5 ?คือสมบัติของมนุษย์
6. พระราชปุจฉา? ?ใน?ชั้นกรุงรัตนโกสินทร์? ?ตั้งแต่รัชกาลที่? 1 ? ?รัชกาลที่? 5
7. รายงานการวิจัยอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดู? ?การไปวัด? ?การรักษาศีล? 5 ?และ?การนั่งสมาธิ? ?ต่อ?ความ?กตัญญูกตเวที
8. กฎแห่งกรรม?กับ?ศีล? 5
สรุปวันนี้ผมก็มีหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” ไว้สำหรับอ่านแล้ว
แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับมีหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5″ ไว้อ่านหรือยัง
ลองทำตามที่ผมบอกแล้วเอาชื่อเรื่องมาอวดกันบ้างนะครับ
สุดท้ายนี้ผมก็ขออนุโมทนาสาธุกับเพื่อนๆ ทุกคนที่รักษาศีล 5 ในวันนี้ครับ
อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน…
บางครั้งการทำงานของผมมันก็มีอุปสรรคและเรื่องที่ทำให้ท้อมากมาย
แต่ทุกครั้งที่ได้ฟังเพลงนี้ผมจะมีกำลังใจและต่อสู้กับอุปสรรคเหล่านั้นได้
LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 4
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 4
ออกในเดือนมิถุนายน 2552
ผ่านมาปีครึ่งแล้วนะครับ นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดตัวจนถึงวันนี้
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์แห่งนี้ก็มีการนำเสนอเรื่องราวของวงการอย่างต่อเนื่อง
ฉบับนี้ก็เช่นเดียวกัน คอลัมน์พาเที่ยว สัมภาษณ์ และบทความแปล ยังคงน่าสนใจเหมือนปกติ
เราไปดูกันเลยดีกว่าว่านิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ฉบับนี้ประกอบไปด้วยเรื่องอะไรบ้าง
เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้
เรื่องจากปก – หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
เรื่องจากปก – ระบบหอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และห้องสมุดดนตรีทูลกระหม่อมสิรินธร
พาเที่ยว – เทคโนโลยีสารสนเทศ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย ในประเทศเกาหลีใต้
พาเที่ยว – The journey of next generation library in CONSAL
พาเที่ยว – การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการรู้สารสนเทศ (Information Literacy Workshop) ให้แก่บรรณารักษ์ห้องสมุดในกรุงเวียงจันทน์
บทสัมภาษณ์ – การรับบรรณารักษ์แลกเปลี่ยนในโครงการ ALP training attachment programme
เรื่องแปล – บรรณารักษ์คิดบวก
เรื่องแปล – ไวรัสไอเฟรม ฝันร้ายของคนทำเว็บ !
เรื่องเล่า – เมื่อข้าพเจ้าได้ไปอบรมกรรมฐาน ณ วัดโสมนัสราชวรวิหาร
เรื่องเล่า – สุสานโฮจิมินห์ที่ไม่ควรพลาดชม
เรื่องเล่า – พิพิธภัณฑ์รองเท้าที่เมืองมาริกีน่า
และนี่ก็เป็นเพียงเนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ปี 2 ฉบับที่ 4 นะครับ
ผมก็ขอตัวไปอ่านเพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ก่อนนะครับ
เว็บไซต์บรรณารักษ์ออนไลน์ : http://www.librarianmagazine.com
นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่ม 4 : http://www.librarianmagazine.com/VOL2/NO4/index.html
อบรมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในงานสารสนเทศ
วันนี้ผมมีงานอบรมดีๆ มาประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ ให้ทราบ
เกี่ยวกับการจัดการอบรมบรรณารักษ์ให้มีทักษะด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์
แบบสอบถามการจัดงาน LibCamp#2
ประกาศรับสมัครบรรณารักษ์ ม.เกษตร
อย่างที่เคยบอกเพื่อนๆ ไปหล่ะครับว่าช่วงนี้งานบรรณารักษ์มีเยอะมากเลย
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอตำแหน่งงานบรรณารักษ์ และนักเอกสารสนเทศในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตำแหน่งงานในวันนี้ต้องขอบอกก่อนนะครับว่า
ไม่ว่าจะเป็นงานบรรณารักษ์ หรือ งานนักเอกสารสนเทศก็ตาม
คุณสมบัติเบื้องต้นคือ ต้องจบปริญญาโทแล้วเท่านั้นนะครับ
มาดูข้อมูลเบื้องต้นของการรับสมัครครั้งนี้กันก่อนนะครับ
ช่วงเวลาที่รับสมัคร : 24 มิถุนายน – 17 กรกฎาคม 2552
(ยังเหลือเวลารับสมัครอีกครึ่งเดือนนะครับ)
ตำแหน่งที่รับสมัคร
– บรรณารักษ์ (ฝ่ายบริการ) วุฒิปริญญาโท จำนวน 1 ตำแหน่ง เงินเดือน 14,550 บาท
– นักเอกสารสนเทศ(ฝ่ายบริการ) วุฒิปริญญาโท จำนวน 1 ตำแหน่ง เงินเดือน 14,550 บาท
– นักเอกสารสนเทศ(ฝ่ายสารสนเทศ) วุฒิปริญญาโท จำนวน 1 ตำแหน่ง เงินเดือน 14,550 บาท
แต่เท่าที่ผมลองอ่านคุณสมบัติของตำแหน่งทั้งสามแล้ว
ผมว่าสองตำแหน่งด้านบนเขาจัดให้เพื่อคนที่จบบรรณารักษ์แบบตรงๆ นะครับ (วุฒิปริญญาโท ด้านบรรณฯ)
ส่วนในตำแหน่งที่สามเขาให้คนที่จบสาขาอื่นสมัครนะครับ (วุฒิปริญญาโท ด้านอื่นๆ)
เราลองมาดูทีละตำแหน่งดีกว่า ว่าเขาคาดหวังอะไรกันบ้าง
(ผมขอยกมาแค่สองตำแหน่งบนนะครับ ที่เหลือเพื่อนสามารถเปิดอ่านได้จาก link ด้านล่างนะ)
ตำแหน่งบรรณารักษ์ (ฝ่ายบริการ)
– มีความรู้และความสามารถในการบริการ
– มีความรู้และความสามารถในการวางแผนจัดกิจกรรม
– มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทย (เน้นการเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร)
– มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ
– มีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์
– มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล
– มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
– มีความเข้าใจในกฎหมาย กพ ในสถาบันอุดมศึกษา
– ติดตามข่าวสารปัจจุบันได้อย่างทันเหตุการณ์
– มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
ตำแหน่งนักเอกสารสนเทศ(ฝ่ายบริการ)
– มีความรู้และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษอย่างดี (ฟัง,พูด,อ่าน,เขียน)
– มีความสามารถในการนำเสนอผลงานเป็นภาษาอังกฤษที่ดี
– มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน
– มีความรู้และความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์
– มีความเข้าใจในกฎหมาย กพ ในสถาบันอุดมศึกษา
– ติดตามข่าวสารปัจจุบันได้อย่างทันเหตุการณ์
– มีความรู้และความสามารถในการใช้ภาษาไทย (เน้นการเขียนที่เป็นลายลักษณ์อักษร)
– มีความสามารถในการศึกษาและจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาและสรุปเหตุผล
– มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน
เป็นยังไงกันบ้างครับ แต่ละตำแหน่งไม่คาดหวังเกินไปใช่มั้ยครับ
ระดับปริญญาโทแล้วควรจะสามารถทำได้นะครับ
เกณฑ์ในการพิจารณาก็เหมือนกับทุกที่นั่นแหละครับ
คือสอบข้อเขียนในความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะด้าน และการสอบสัมภาษณ์
หากเพื่อนๆ สนใจ และอยากสมัครให้เพื่อนๆ ขอใบสมัครจากเจ้าหน้าที่ห้องสมุด / ดาวน์โหลดใบสมัครแล้วนำมายื่นที่
งานการเจ้าหน้าที่สำนักหอสมุด ชั้น 4 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 0-2942-8616 ต่อ 413 นะครับ
อ่านรายละเอียดการรับสมัครงานตำแหน่งนี้ได้ที่ : http://calendar.ku.ac.th/file/jun52.pdf
เว็บไซต์ของหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : http://www.lib.ku.ac.th
อาชีพที่ดีที่สุดของปี 2009 คือ บรรณารักษ์
บทความแห่งความภูมิใจของวิชาชีพบรรณารักษ์บทความนี้
หากเพื่อนๆ ได้อ่านแล้ว จะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงานมากขึ้นหรือปล่าวครับ
เรื่องนี้มาจากบทความที่ชื่อว่า “Best Careers 2009: Librarian”
ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน U.S.News & World Report ในวันที่ 11 ธันวาคม 2008
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ได้ที่
http://www.usnews.com/articles/business/best-careers/2008/12/11/best-careers-2009-librarian.html
ซึ่งผมได้สรุปเนื้อหานี้ ออกมาเป็นประเด็นๆ มีดังนี้
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่อยู่กับความรู้ และมีการปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยของเทคโนโลยี
– สิ่งที่บรรณารักษ์มีเหนืออาชีพอื่นๆ คือ การช่วยเหลือผู้ใช้บริการด้วยใจ และทำให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลด้วยหนังสือ หรือ สื่อดิจิตอล
– การให้บริการอย่างเต็มใจ เป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นปรัชญาประจำตัวของบรรณารักษ์
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ต้องทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นวันหยุด หรือวันทำงาน แถมยังเลิกงานดึกอีก
– หนึ่งวันของบรรณารักษ์ทำงานต่างๆ มากมาย เช่น นั่งวิเคราะห์รายการหนังสือ ให้บริการอ้างอิง ตอบคำถามผู้ใช้ จัดเก็บหนังสือ และเรียนรู้งานใหม่ๆ
– รายได้ของบรรณารักษ์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีมาก
นอกจากการยกย่องวิชาชีพนี้แล้ว ในบทความนี้ยังกล่าวถึงความนิยมในการเรียนวิชาชีพบรรณารักษ์ในสหรัฐอเมริกาอีก
โดยมีการรายงานแบบสรุปของหลักสูตรว่า หลักสูตรบรรณารักษ์ที่หลายๆ คนให้ความสนใจ มีดังนี้
– Archives and Preservation
– Digital Librarianship
– Health Librarianship
– Information Systems
– Law Librarianship
– School Library Media
– Services for Children and Youth
เป็นยังไงกันบ้างครับ อ่านแล้วรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพบรรณารักษ์บ้างหรือปล่าว
ถึงแม้ว่าเรื่องบางเรื่องอาจจะไม่จริงสำหรับเมืองไทย (รายได้ของบรรณารักษ์)
แต่ผมเชื่อว่าการบริการของเราเป็นสิ่งที่ทำให้วิชาชีพเราได้ใจคนทุกคน