สไลด์ที่น่าสนใจเรื่อง Open Systems ในห้องสมุด

นานมากแล้วที่ผมไม่ได้อัพเดทในส่วนของเรื่อง OSS4Lib
วันนี้ขอแก้ตัวด้วยการอัพเดทเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง open open ในห้องสมุดหน่อยแล้วกัน

opensystem

วันนี้ผมเจอสไลด์ที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Open Systems ในห้องสมุด
ซึ่งเจ้าของสไลด์ชุดนี้ คือ Stephen Abram ซึ่งเป็นเจ้าของบล็อก Stephen?s Lighthouse.

บล็อกเกอร์ท่านนี้เป็น Vice President of Innovation ของ SirsiDynix
(SirsiDynix ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ยิ่งใหญ่อีกหนึ่งระบบ)

ในสไลด์ชุดนี้ได้แนะนำเรื่อง Open Systems ในห้องสมุดได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะเรื่องของ Cloud Computing ตั้งแต่ความหมายไปจนถึงแหล่งที่รวบรวม API ต่างๆ
แง่คิดในเรื่องของประสบการณ์และมุมมองแบบเดิมๆ จะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน
เพื่อให้ระบบต่างๆ ในห้องสมุดผู้ใช้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างเต็มที่

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปอ่านดูนะครับ สไลด์ชุดนี้มีทั้งหมด 104 หน้า
ซึ่งสาระความรู้มีเพียบแน่นอน ถ้าเพื่อนๆ สนใจสไลด์ชุดนี้ก็สามารถ download ได้ที่
http://www.sirsidynix.com/Resources/Pdfs/Company/Abram/20091023_OnlineUK.pdf

LibCamp#3 : Library and Social Enterprise

ผู้บรรยายคนต่อมา คือ คุณไกลก้อง ไวทยการ จากแผนงานไอซีที สสส.
มาบรรยายในเรื่องการปรับเปลี่ยนบทบาทของห้องสมุดให้เข้ากับแนวทาง Social Enterprise

librarysocialenter

ก่อนที่คุณไกลก้องจะเริ่มบรรยาย ผมก็ได้เกริ่นถึงเรื่อง
“การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรจากภายนอกกับองค์กรด้านห้องสมุด”
ว่าทำไมห้องสมุดอย่างเราจึงต้องสร้างความร่วมมือร่วมกัน หรือทำไมต้องร่วมกับองค์กรอื่นๆ
ซึ่งสาเหตุหลักๆ ก็ไม่พ้นเรื่องของความช่วยเหลือในด้านงบประมาณหรือการพัฒนาต่างๆ นั่นเอง

ซึ่งเมื่อเราสร้างเครือข่ายไปแล้ว เราจะได้อะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น
– การช่วยเหลือด้านงบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด
– บุคลากรด้านเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาระบบห้องสมุด
– หนังสืออภินันทนาการ ฐานข้อมูล และเนื้อหาที่ดีสำหรับห้องสมุด
– นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็มีค่ายพัฒนาห้องสมุด

เหล่านี้ก็เป็นเพียงตัวเย่างความร่วมมือและการสร้างเครือข่ายของห้องสมุดกับหน่วยงานต่างๆ

จากนั้นคุณไกลก้องก็อธิบายถึงคำว่า Social Enterprise ว่า
Social Enterprise หรือ องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม คือโมเดลทางธุรกิจที่ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
ลักษณะขององค์กรประเภทนี้คือการทำเพื่อแสวงหากำไร (เงิน)
แต่สิ่งสำคัญขององค์กรประเภทนี้คือเงินเหล่านี้จะนำไปใช้เพื่อประโยชน์และตอบแทนสังคมต่อไป

“กำไรไม่ใช่เป้าหมายหลักขององค์กร แต่องค์กรก็ต้องอยู่ได้ด้วยผลตอบแทนเหล่านี้ด้วย”

ห้องสมุดก็สามารถที่จะทำให้กลายเป็น องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม ได้นะครับ
หากเรามองในแง่ของห้องสมุดในเมืองต่างๆ (อำเภอเมือง ของจังหวัดต่างๆ)
เราจะเห็นบทบาทของห้องสมุดในฐานะ ที่อ่านหนังสือ ที่ทำรายงาน ที่ทำงาน ฯลฯ

ถ้าสมมุติว่าเราเติมฟังค์ชั่นลงไปในห้องสมุดเหล่านี้หล่ะ
เช่น เอาโครงการ Digital Library ไปให้ห้องสมุดเหล่านี้ดำเนินการ จะเกิดอะไรขึ้น
– ห้องสมุดก็จะกลายเป็นศูนย์สแกนเอกสาร
– ห้องสมุดเป็นผู้นำเข้าข้อมูลให้โครงการ Digital Library
– ห้องสมุดเป็นแหล่งที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ (สามารถมาฝึกงานได้ในห้องสมุด)
– สร้างอาชีพให้คนในสังคม (จ้างคนมาดำเนินการ)
– ห้องสมุดจะกลายเป็นศูนย์ telecenter (ศูนย์กลางของชุมชนและเชื่อมไปหาหน่วยงานอื่นๆ)

จะเห็นว่าห้องสมุดก็จะมีผลตอบแทนที่เข้ามาที่ห้องสมุดก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งนั่นไม่ได้เป็นปัจจัยหรอกครับ
เพราะเงินหรือผลตอบแทนเหล่านั้นก็จะกลับมาพัฒนาห้องสมุดเพื่อสังคมต่อไปได้อีกนั่นเอง

หลักขององค์กรธุรกิจเพื่อสังคมที่น่าสนใจ เช่น
– ธุรกิจต้องแก้ไขปัญหาทางสังคม
– ธุรกิจต้องยั่งยืน
– ลงทุนเท่าไหร่ก็ได้คืนเท่านั้น
– ตระหนักในสิ่งแวดล้อม
– ต้องมีใจรักในการทำ

ประเด็นสุดท้ายที่คุณไกลก้องได้พูดถึงคือ แนวทางสำหรับห้องสมุดที่จะเปลี่ยนตัวเองเป็นองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม มีขั้นตอนดังนี้
1. ห้องสมุดต้องเริ่มจากการเขียนโครงการ (หาโครงการที่น่าสนใจและทำเพื่อชุมชนมาลองเขียนดู)
2. ห้องสมุดต้องหาผู้ลงทุน เช่น ติดต่อกับองค์กรส่วนท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนเรื่องงบประมาณ
3. ห้องสมุดต้องมีผู้ให้คำปรึกษาเนื่องจากโครงการที่ทำห้องสมุดอาจจะไม่ได้เข้าใจทุกส่วน
4. สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ และเข้าร่วมกับเครือข่ายเพื่อดำเนินงาน
5. ต่อยอดแนวคิดและพัฒนาโครงการอยู่เรื่อยๆ

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
การเปลี่ยนตัวเองจากองค์กรที่คอยรับอย่างเดียว เป็นองค์กรที่รุกแบบนี้ผมว่าน่าสนุกมากๆ เลยใช่มั้ยครับ

LibCamp#3 : กรณีศึกษาการทำกิจกรรมของนักศึกษาเอกบรรณ

ผู้บรรยายต่อมา คือ น้องอะตอม เจ้าของบล็อก http://atomdekzaa.exteen.com
และยังเป็นตัวแทนของนิสิตเอกบรรณารักษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มาถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำกิจกรรมของเด็กๆ เอกบรรณฯ

atomlibcamp3

กิจกรรมที่น้องอะตอมได้นำมาเล่าให้พวกเราฟัง มีอยู่ด้วยกัน 2 กิจกรรมใหญ่ๆ นั่นคือ
1. ค่ายสอนน้อง
2. ค่าพัฒนาห้องสมุด

โดยหลักๆ อย่างค่ายสอนน้อง ในมหาลัยก็จะมีการตั้งกลุ่มกัน โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มค่ายแสงเทียน”
ซึ่ง “กลุ่มค่ายแสงเทียน” เป็นกลุ่มที่รวบรวมนักศึกษาจากคณะต่างๆ มารวมกันทำกิจกรรม ซึ่งนับว่าน่าสนใจมาก
ซึ่งโดยหลักการก็เพียงแค่ให้โรงเรียนประชาสัมพันธ์เรื่องการติวให้ ส่วนเรื่องเงินสนับสนุนจะเน้นจากองค์กรส่วนท้องถิ่น

ในแง่ของค่ายพัฒนาห้องสมุด จะเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกบรรณฯ และเด็กวิศวกรรม
โดยแบ่งหน้าที่กันชัดเจน คือ บรรณารักษ์จะให้ข้อมูลต่างๆ ด้านการทำงาน ส่วนวิศวกรรมก็เขียนโปรแกรม
ซึ่งนับว่าได้พัฒนาฐานข้อมูลให้พร้อมใช้งานได้ทันที

นอกจากกิจกรรมที่น้องอะตอมทำร่วมกับมหาวิทยาลัยแล้ว
น้องอะตอมได้เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงานเป็นอาสาสมัครบรรณารักษ์ให้กับห้องสมุด บ้านเซเวียร์
ซึ่งตอนนี้น้องอะตอมได้ทำงานที่นี่ในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ครับ
โดยทำงานตั้งแต่เอาหนังสือออกมาปัดฝุ่น ทำความสะอาด และจัดขึ้นชั้น
ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมงานได้สอบถามถึงงานที่ทำและเสนอไอเดียต่างๆ เพื่อความช่วยเหลือมากมาย

น้องอะตอมให้ข้อมูลเกี่ยวกับเด็กเอกบรรณรุ่นปัจจุบันว่า
ส่วนใหญ่เด็กเอกบรรณรุ่นนี้จะเน้นและชอบเรียนด้านไอทีมากกว่าด้านเทคนิค
แต่น้องอะตอมชอบเรียนด้านการให้หัวเรื่องและการทำดัชนีของหนังสือมากกว่าไอทีครับ
ซึ่งนับว่าเป็นการเปิดแง่มุมแปลกๆ ให้ผู้เข้าฟังรู้สึกประหลาดใจและชื่นชมในเรื่องของอุดมการณ์มากๆ

ก่อนจบการบรรยายในช่วงนี้ น้องอะตอมได้ฝากประโยคทิ้งท้ายให้เป็นแง่คิดต่อไปว่า
“เราต้องจัดเวลาเรียน และเวลากิจกรรมให้ได้ แต่อย่าไปทุ่มอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป”

บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ไม่น่าเบื่อ

วันนี้นั่งดู Youtube เรื่อยๆ แล้วเจอคลิปวีดีโอนึงน่าสนใจมาก
และแน่นอนครับต้องเป็นคลิปวีดีโอที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

จากคลิปวีดีโอ Work @ your library - Nebraska Library Commission PSA
จากคลิปวีดีโอ Work @ your library - Nebraska Library Commission PSA

เพื่อนๆ นอกวงการของผมก็ชอบถามเสมอว่า
“อาชีพบรรณารักษ์ไม่เห็นจะมีอะไรเลย น่าเบื่อจะตาย”

ซึ่งผมก็ตอบปฏิเสธเพื่อนๆ ทุกครั้งว่า จะน่าเบื่อหรือไม่น่าเบื่อจริงๆ แล้วขึ้นอยู่กับคนที่ทำงานต่างหาก
ไม่ว่าจะอาชีพไหน ถ้าคนที่ประกอบอาชีพทำให้น่าเบื่อ อาชีพนั้นๆ มันก็จะน่าเบื่อ

เอาเป็นว่าไปดูคลิปวีดีโอนี้กันก่อนนะครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=8ZvHUE6qfP8[/youtube]

อาชีพบรรณารักษ์หลายคนอาจจะมองว่าเป็นอาชีพที่อยู่ในห้องสมุดซึ่งมีหนังสือกองเต็มโต๊ะ
วันๆ ก็ต้องนั่งจัดหนังสือ ให้บริการยืมคืน เปิดปิดห้องสมุด วันๆ ก็มีแค่นี้
ซึ่งคนที่ไม่เคยทำงานด้านนี้ก็คงไม่รู้จริงๆ หรอกว่าเราทำอะไรเยอะแยะ

เรื่องที่ห้องสมุดทำมีเรื่องที่สนุกสนานและน่าสนใจมากมาย
เช่น สอนผู้ใช้ค้นหาข้อมูล จัดกิจกรรมให้เด็กๆ เปิดหนังทุกวันเสาร์อาทิตย์ ฯลฯ

ก่อนจบคลิปวีดีโอมีประโยคโฆษณาให้คนทำงานอาชีพบรรณารักษ์ว่า

“Thousands of people work in Nebraska libraries”
“You You You You You You”
“You could be one of them”

เอาเป็นว่าสรุป คือ คลิปวีดีโอนี้คือ คลิปวีดีโอประกาศรับสมัครงานครับ
แต่สาระที่ผมนำมาสื่อให้เพื่อนๆ ดู คือ อาชีพบรรณารักษ์มันไม่น่าเบื่อนะครับ

ดูอย่างบรรณารักษ์ที่เป็นตัวนำของโฆษณานี้นะครับ
มีอะไรให้ทำมากมายในแต่ละวัน แล้วดูใบหน้าของเธอสิครับ
เธอยิ้มแย้ม และให้ความช่วยเหลือทุกๆ คนในห้องสมุดอย่างเต็มใจ

คลิปวีดีโอนี้ผมก็หวังว่าจะเป็นแรงใจให้เพื่อนๆ ได้เข้าใจถึงงานที่เราทำอยู่
และอยากให้เพื่อนๆ มีความสุขกับงานของตัวเองเหมือนบรรณารักษ์ที่อยู่ในคลิปนี้นะครับ

LibrarianMagazine ปีที่ 2 เล่ม 7

นิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์ ปี 2 เล่มที่ 7
ออกในเดือนพฤศจิกายน 2552

3

แม้ว่านิตยสารฉบับนี้จะออกล่าช้ากว่ากำหนด แต่พวกเราก็ยังคงติดตามนิตยสารออนไลน์เล่มนี้อยู่เรื่อยๆ นะครับ
และการปรับปรุงหน้าตาของเว็บไซต์ใหม่ ซึ่งออกมาในรูปแบบของบล็อกอย่างเต็มตัวนั่นเอง

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ไปดูสาระความรู้และเรื่องเล่าจากนิตยสารเล่มนี้กันนะครับ

เนื้อหาในนิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้ มีดังนี้

เรื่องจากปก บทสัมภาษณ์ – E-Library โดย รศ.ดร.พีรเดช ทองอำไพ

พาเที่ยว – นำชม Research Square : พื้นที่นั่งอ่านเพื่อการค้นคว้าวิจัย

พาเที่ยว – ห้องสมุดฟิชเชอร์ มหาวิทยาลัยซิดนีย์

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – โลกในกลุ่มเมฆ มองโลกออกจากตัว เปิดออกสู่โลกกว้าง

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – ฐานข้อมูล SCOPUS กับงานวิจัย

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – หนังสือการ์ตูนมีประโยชน์มากกว่าที่คิด

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – จำเลยรัก ปะทะ คู่กรรม !

บทความ เรื่องสั้น เรื่องแปล – Some thoughts on electronic versus print resources with particular reference to electronic books

สาระน่ารู้ – รัฐสภาประจำรัฐวิสคอนซิน? (Wisconsin State Capital)

สาระน่ารู้ – 43 สิ่งที่คุณกำลังคิดอยากทำ… โดย วันพุธ

เป็นยังไงกันบ้างครับเนื้อหาดีๆ และน่าสนใจมากมาย ยังไงก็ลองอ่านกันดูนะครับ

เอาเป็นว่าผมก็ยังคงเป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำนิตยสารออนไลน์อยู่เรื่อยๆ นะครับ
และหวังว่านิตยสารบรรณารักษ์ออนไลน์เล่มนี้จะยังคงมีสาระและไอเดียดีๆ ให้เพื่อนๆ ได้คิดเล่น
และพัฒนาวงการวิชาชีพบรรณารักษ์ร่วมกันต่อไปนะครับ

เทศกาลคริสต์มาสกับชาวห้องสมุด

สวัสดีเดือนสุดท้ายของปีนะครับ (ธันวาคม) เดือนนี้มีวันหยุดเยอะมากๆ หลายคนคงชอบใจ
และวันหยุดหนึ่งที่เป็นที่คึกคักของทุกคนนั่นก็คือ “เทศกาลวันคริสต์มาส” ครับ
วันนี้ผมเลยขอนำรูปต้นคริสต์มาสจากห้องสมุดต่างๆ ในต่างประเทศมาให้ดูกันนะครับ

christmastree

การจัดต้นคริสต์มาสในห้องสมุดนับว่าเป็นอีกสีสันหนึ่งที่สามารถทำได้ในห้องสมุด
ในต่างประเทศนิยมการจัดต้นคริสต์มาสแบบสร้างสรรค์และแปลกๆ มากมาย

บางต้นเห็นแล้วก็ต้องตกตะลึงว่าคิดได้ไง บางต้นออกมาก็ดูเรียบๆ แต่มีสไตล์

เอาเป็นว่าเราเริ่มไปดูต้นคริสต์มาสของห้องสมุดแต่ละที่กันดีกว่า
(บางที่ไม่ใช่ห้องสมุดโดยตรง แต่ไอเดียมันใกล้ๆ ห้องสมุด ผมก็ขอยกมานะครับ)

เริ่มต้นด้วยต้นคริสต์มาสที่เรียงจากหนังสือกันดีกว่า (ภาพจาก boingboing.net)

booktree1-196x300

ต้นนี้หลายคนคงเห็นเยอะแล้ว ลักษณะการเรียงหนังสือแบบนี้
(ภาพจาก University of Aalborg Library)

booktree2-224x300

ต่อมาเป็นไอเดียเก๋ๆ ต้นคริสต์มาสจากถ้วยกาแฟ (แบบว่าห้องสมุดคิดหรือนี่)
(ภาพจาก Education Centre Library)

booktree3-225x300

แบบต่อไปเก๋ไก๋มากครับ หนังสือเรียงกันเป็นชั้นๆ แล้วตามด้วยสายรุ้ง
(ภาพจาก Carnegie Library of Homestead)

booktree4-225x300

ภาพสุดท้ายอันนี้อลังการงานสร้างมากๆ แต่อยู่ในโรงพยาบาลครับ
(ภาพจาก New Books for Patients of Blank Children?s Hospital)

booktree5-200x300

เป็นไงกันบ้างครับได้ไอเดียจุดประกายเรื่องต้นคริสต์มาสในห้องสมุดหรือยังครับ
ไว้ถ้ามีโอกาสผมจะเข้ามาเพิ่มรูปอีกเรื่อยๆ เลยนะครับ

ปล. ช่วงนี้ใกล้วันพ่อแล้ว ห้องสมุดคงต้องจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติวันห่อก่อนนะครับ
แล้วหลังงานนี้เราค่อยมาจัดต้นคริสต์มาสแข่งกันนะครับ

การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27

งานสัมมนาประจำปีครั้งใหญ่ของเหล่าห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากำลังจะมาแล้ว
ดังนั้นบล็อกห้องสมุดอย่างผมต้องขอเอามาเล่าและประชาสัมพันธ์สักหน่อยครับ

seminar-academic-library

รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับงานสัมมนา
ชื่องานภาษาไทย : การสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 27
หัวข้อของการจัดงาน : แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเลิศ (Best Practices) ในงานห้องสมุด
วันและเวลาที่จัดงาน : วันที่ 14-16 ธันวาคม 2552
สถานที่จัดงาน : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ก็มีวิทยากรหลายคนที่จะนำเสนอหัวข้อน่าสนใจมากมาย
รวมถึงการประชุมกลุ่มงานต่างๆ ในห้องสมุด และเสนอผลงานของกลุ่มงานต่างๆ
ผมว่าการประชุมแบบนี้จะทำให้เกิดการระดมพลทางความคิดมากมาย
ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาวงการห้องสมุดให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป

ตัวอย่างหัวข้อที่น่าสนใจในงานเสวนาครั้งนี้
– ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการพัมนาความเป็นเลิศทางวิชาการของสถาบัน
– แนวทางการปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศในการวิจัยเพื่อพัฒนาห้องสมุด
– การวางแผนกลยุทธ์องค์กรสู่ความเป็นเลิศ
– บรรณารักษ์จะพัฒนาตนเองอย่างไรไม่ตกยุค
– เทคนิคการสร้างความคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์เพื่อการทำงาน

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ คือ 2,200 บาท
นับว่าเป็นค่าลงทะเบียนที่ไม่แพงด้วยนะครับ
แต่ได้รับความรู้อันเต็มเปี่ยมแบบนี้นับว่าคุ้มค่าครับ

เอาเป็นว่าใครที่ไปร่วมงานนี้ก็กลับมาเล่าให้ผมฟังบ้างนะครับ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://202.29.20.78/seminar27/

มิตรภาพใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายในงาน #codefail party

หลายๆ คนกำลังอยากอ่านเรื่องที่ผมไปงาน #codefail party
ดังนั้นเลยจัดให้สักหน่อยดีกว่า (ไม่เน้นเนื้อหามากนะครับ ขอเน้นรูปดีกว่า)
(หากรูปในบล็อกเล็กไป เดี๋ยวจะเอาไปลง multiply ให้นะ หากต้องการขนาดเต็มบอกมาเดี๋ยวเมล์ไป)

codefail

เริ่มจากแนะนำก่อนว่างาน #Codefail party คืองานอะไร จัดที่ไหน ยังไง
งาน #Codefail คือ งานปาร์ตี้สังสรรค์ของชาว Twitter ซึ่งเข้าร่วมฟรี (แต่ต้องดูแลตัวเองในงานนะ)
ไปงานนี้แล้วได้อะไร ตอบง่ายๆ ว่าได้มิตรภาพและเจอเพื่อนใหม่ๆ ที่เล่น Twitter

งานนี้จัดไปแล้วเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (28 พฤศจิกายน) ที่ IGreenspace ชั้น 18 Zen @ CTW
งานเริ่มตั้งแต่ 1 ทุ่มครับ แต่วันนั้นผมไปถึงทุ่มก่าๆ นิดๆ ซึ่งแฟนผม (@junesis) ได้ขึ้นไปรอในงานเรียบร้อยแล้ว
ตอนแรกก็ว่าจะถ่ายรูปเล่นอยู่ข้างล่างสักหน่อยแต่หลายคนถามไถ่ก็เลยต้องขึ้นไปแสดงตัว

กำลังจะขึ้นไปในงานก็เจอ @maeyingzine ที่ทางเข้าห้าง CTW ก็เลยชวนกันว่าจะขึ้นไปพร้อมกัน
ระหว่างนั้นเองกลุ่ม #Twtcon ที่เพิ่งเลิกจากงานก็เดินทางมาถึงพอดี ก็เลยเดินขึ้นไปพร้อมๆ กัน
เช่น @goople @thangman22 @aircoolsa @patsonic @boydchan @kajeaw ……etc.

พอขึ้นไปถึงก็เจอทีมงาน Kapook ต้อนรับเป็นอย่างดี (ทั้งๆ ที่ตอนแรก cancel ว่าจะไม่ไปแล้ว)
แต่พี่ @oaddybeing @dearannie @itha ก็บอกให้ลงทะเบียนได้ ก็เลยลงทะเบียนนั่นเอง

ก่อนเข้าไป @maeyingzine @mimee @goople ถ่ายรูปร่วมกัน อิอิ

codefail-1

พอเข้าไปในงานแล้วก็เจอของเล่นของ @Thangman22 เห็นว่าหนุกดีก็เลยขอเล่นสักหน่อย
นั่นก็คือ ป้าย @reply และ ป้าย #hashtag ซึ่งผมก็ขอเขียนสักหน่อยซึ่งไม่พ้นชื่อตัวเอง อิอิ

dscf0620 dscf0623dscf0608 dscf0624dscf0626 dscf0630

จากนั่นก็ไปนั่งที่โต๊ะแฟน @junesis ก็พบว่า the gang เรากลับมานั่งรวมกันอีกครั้ง
ทั้ง @boydchan @kajeaw @patsonic @llwkll ก็เลยถ่ายรูปเล่นกันกระจาย

dscf0611 dscf0631dscf0639 dscf0644dscf0645 dscf0647

ในงานนี้ก็มีกิจกรรมมากมายมาให้เล่น แถมรางวัลก็เพียบเลย
และดาวเด่นของงานวันนั้นก็ปรากฎตัว นั่นคือ @ceemeagain และ @panraphee มาด้วย
แต่ผมเองตัวเล็กๆ? เข้าไม่ถึงดาวเด่นหรอก เลยได้รูปแค่รูปที่ไม่ชัดมา (เสียดายจัง)

dscf0655 dscf0656

เอาเป็นว่างานนี้ผมก็ได้รู้จัดเพื่อนใหม่มากมาย และกลับจากงานก็มี follower เพิ่มขึ้น
งานแบบนี้สิ ผมอยากให้จัดบ่อยๆ จะได้พบปะสังสรรค์กัน แล้วพบกันใหม่นะครับ

จากใจ @ylibraryhub

เรื่องอึ้งๆ ณ “มุมโน้ตบุ๊ค” ในหอสมุดแห่งชาติ

หากเพื่อนๆ มีโน้ตบุ๊คแล้วจำเป็นต้องไปทำงานในห้องสมุด เพื่อนๆ เคยเจออะไรแปลกๆ บ้างหรือปล่าว
วันนี้ผมจะมาขอเล่าเรื่องแปลกๆ เรื่องนึงที่ผมเพิ่งจะเจอมากับตัวเองวันนี้ ณ หอสมุดแห่งชาติ

notebook-corner

เรื่องมันมีอยู่ว่า…

วันอาทิตย์อันแสนสุขที่ผมอยากจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องห้องสมุดประชาชน
เพื่อใช้อ่านประกอบและสร้างแรงบันดาลใจในงานห้องสมุดที่ผมกำลังทำอยู่
ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะไปค้นหาข้อมูลที่ “หอสมุดแห่งชาติ”

และเมื่อผมเดินทางไปถึง “หอสมุดแห่งชาติ”
ผมก็ประทับใจในเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัยมากที่อนุญาตให้ผมนำโน้ตบุ๊คและกระเป๋าเข้าไปด้วย

ด้วยความชำนาญในการหาข้อมูลของผม (มาบ่อยเลยรู้ว่าต้องให้ห้องไหน)
ผมจึงได้เข้าไปในห้อง 213 (ห้องที่เก็บหนังสือคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ ปรัชญา)
แล้วก็ค้นหาหนังสือที่ผมต้องการซึ่งได้มาจำนวน 4 เล่ม

แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นที่ผมจะกล่าว เพราะว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊ค
แต่สิ่งที่ผมจะกล่าวต่อไปนี่คือประเด็นของเรื่องๆ นี้…

ผมต้องการใช้คอมพิวเตอร์ของผมในการพิมพ์งาน และจดโน้ตบทสรุปของหนังสือ
ผมจึงสอบถามบรรณารักษ์ในห้อง 213 ว่า

Libraryhub : “ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าผมจะใช้โน้ตบุ๊คของผมเพื่อพิมพ์งานในห้องนี้ได้มั้ย”
บรรณารักษ์ 213 : “ไม่ได้หรอกนะค่ะ ถ้าจะใช้ต้องไปที่ห้อง 204 – 205 ค่ะ”
Libraryhub : “ทำไมหล่ะครับ ผมไม่ได้ใช้ปลั๊กไฟของที่นี่นะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “อ๋อ ห้องนั่นเขามี “มุมโน้ตบุ๊ค” อยู่นะค่ะ”
Libraryhub : “แล้วหนังสือของผมพวกนี้หล่ะครับ”
บรรณารักษ์ 213 : “คุณก็ทิ้งบัตรประชาชนของคุณไว้ที่ห้องนี้ด้วยสิค่ะ”

เอาเป็นว่านี่เป็นบทสนทนาสั้นๆ ที่ผมคุยกับบรรณารักษ์นะครับ
ซึ่งโอเคผมก็คงต้องปฏิบัติเหมือนคนอื่นๆ แหละครับ คือ ต้องยอมทำตาม

จากนั้นผมก็ทิ้งบัตรประชาชนเพื่อยืมหนังสือ แล้วถือโน้ตบุ๊คไปที่ห้องใหญ่ (204-205)

พอถึงห้องกลาง(204-205) ผมก็เห็น “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่บรรณารักษ์ห้อง 213 บอก
ผมก็เดินไปเพื่อที่จะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” นั้น แต่บรรณารักษ์ที่เคาน์เตอร์กลางก็เรียกผมอีก

บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง :
“เดี๋ยวๆ คุณจะนั่งที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” ใช่มั้ย”
Libraryhub : “อ๋อ ใช่ครับ ผมเอาโน้ตบุ๊คมา และต้องการใช้พิมพ์งาน บรรณารักษ์ห้อง 213 บอกให้ผมมาใช้ห้องนี้”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ งั้นคุณก็กรอกแบบฟอร์มนี้ก่อนใช้นะครับ”
Libraryhub : “โอเคครับ งั้นกรอกแบบฟอร์มก่อนแล้วกัน”

ในระหว่างที่ผมกรอกแบบฟอร์มผมก็ถามพี่ๆ บรรณารักษ์ที่นั่งตรงกลางเคาน์เตอร์ว่า
Libraryhub : “พี่ครับขอถามอะไรนิดนึงนะครับ เกี่ยวกับการใช้บริการโน้ตบุ๊ตในหอสมุดแห่งชาติ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ได้ครับ มีอะไรหรอครับ”
Libraryhub : “คือ ผมแปลกใจว่าทำไมต้องเล่นได้ที่ “มุมโน้ตบุ๊ค” อย่างเดียวหรอครับ เพราะว่าผมเองก็ไม่ได้ต้องการใช้ปลั๊กนี่ครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “อ๋อ คือทางส่วนกลาง เขาจัดไว้ให้นะครับ”
Libraryhub : “แล้วทำไมต้องเป็นตรงนี้ด้วยหรือครับ หรือว่ามีสัญญาณ Wifi ตรงนี้หรอครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ปล่าวครับ ไม่มีสัญญาณให้เล่นอินเทอร์เน็ตหรอกครับ แต่ส่วนกลางให้เล่นได้เฉพาะ “มุมโน้ตบุ๊ค” ที่เขาจัดเท่านั้นครับ”
Libraryhub : “สรุปคือไม่ได้มีความพิเศษอย่างอื่นเลย นอกจากมีปลั๊กไฟใช่มั้ยครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ครับ”

เมื่อจบบทสนทนาผมก็กรอกแบบฟอร์มขอใช้งานเสร็จพอดี ผมจึงถามต่อไปว่าล

Libraryhub : “กรอกเสร็จแล้วครับ งั้นผมขอไปใช้โน้ตบุ๊คของผมก่อนนะครับ”
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “ยังไม่ได้ครับ ต้องแลกบัตรไว้ที่เคาน์เตอร์ด้วยครับ”
Libraryhub : “อ้าว เมื่อกี้ผมเอาบัตรไปใช้ยืมหนังสือจากห้อง 213 มาแล้วนี่ครับ ผมจะใช้บัตรใบไหนอีก”
(เนื่องจากผมมากับเพื่อน บรรณารักษ์ก็เห็น)
บรรณารักษ์เคาน์เตอร์กลาง : “งั้นใช้บัตรของเพื่อนอีกคนก็ได้นะครับ”

สุดท้ายผมก็เลยต้องใช้บัตรของเพื่อนเพื่อแลกกับการใช้โน้ตบุ๊คในหอสมุดแห่งชาติ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ได้อ่านแล้วรู้สึกยังไงกับเรื่องนี้ครับ
ผมอึ้งแทบจะทำอะไรไม่ถูกเลย แบบว่าตกใจมากๆ

“มุมโน้ตบุ๊ค” ที่หอสมุดแห่งชาติเป็น คือ โต๊ะรวมที่นั่งเล่นโน้ตบุ๊คได้พร้อมกัน 6 เครื่อง
แถมด้วยปลั๊กที่ใช้สำหรับชาร์จแบตของโน้ตบุ๊คได้อย่างเดียว ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายด้วย
ในความคิดเห็นของผม มันก็ไม่ต่างอะไรจากที่นั่งอื่นๆ ในหอสมุดแห่งชาติหรอกนะ
เพียงแค่ที่นั่งที่ต้องกรอกแบบฟอร์ม และใช้บัตรแลกเพื่อใช้งาน

แล้วตกลงเขาเรียกว่า “มุมโน้ตบุ๊ค” เพื่ออะไร…..

เมื่อผมใช้งานโน้ตบุ๊คเสร็จแล้ว ผมจึงเดินไปรับบัตรประชาชนของเพื่อนคืนจากเคาน์เตอร์
แล้วสอบถามถึงแบบฟอร์มการขอใช้บริการ “มุมโน้ตบุ๊ค” ว่าผมจะขอตัวอย่างแบบฟอร์มหน่อยได้มั้ย
ซึ่งได้คำตอบว่า “มันเป็นความลับของหอสมุดแห่งชาติ ไม่สามารถให้ได้”
เออ เอาเข้าไปดิ แค่แบบฟอร์มก็ยังถือว่าเป็นความลับเลย

สุดท้ายนี้ผมก็ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมุมโน้ตบุ๊ตของหอสมุดแห่งชาติ
เอาเป็นว่าใครพอรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมุมโน้ตบุ๊คนี้ ก็ช่วยแถลงให้ผมทราบทีเถอะครับว่า
“ตกลงมันเกิดอะไรขึ้นกับหอสมุดแห่งชาติและมุมโน้ตบุ๊ค”

หนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions

ด้วยความที่ว่าวันนี้เป็นวันที่สบายๆ ผมเลยไปเดินหาหนังสืออ่านเล่นที่ kinokuniya มา
แล้วใช้บริการค้นหาหนังสือของร้าน kinokuniya ด้วยคำสำคัญ (Keyword) ว่า Library
ซึ่งทำให้ผมเจอหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มากมาย
ผมจึงขอหยิบตัวอย่างหนังสือเกี่ยวกับวงบรรณารักษ์มาแนะนำเพื่อนๆ แล้วกันนะครับ

ภาพประกอบจาก Amazon
ภาพประกอบจาก Amazon

ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
ชื่อหนังสือ : Introduction to the Library and Information Professions
ผู้แต่ง : Greer, Roger C. | Grover, Robert J. | Fowler, Susan G.
สำนักพิมพ์ : Libraries Unlimited
ISBN : 1591584868
ราคา : $60.00

โดยอ่านคร่าวๆ แล้วเป็นการแนะนำเรื่องของการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องสมุดและนักสารสนเทศมากมาย
เช่นวิธีการสร้างและผลิตองค์ความรู้ต่างๆ รวมไปถึงความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญควรจะมี เป็นต้น

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย
Chapter 1: Introduction: Purpose And Objectives Of This Book
Chapter 2: Creation, Diffusion and Utilization of Knowledge
Chapter 3: The Role of Professionals as Change Agents
Chapter 4: The Science Supporting the Information Professions
Chapter 5: Information Transfer in the Information Professions
Chapter 6: The Cycle of Professional Service
Chapter 7: The Information Infrastructure
Chapter 8: The Processes and Functions of Information Professionals
Chapter 9: The Infrastructure of the Information Professions
Chapter 10: Trends and Issues

พอกลับมาถึงบ้านผมก็รีบค้นหาข้อมูลหนังสือเล่มนี้ทันทีเลยครับ (Google book search) เพื่ออ่านเล็กน้อย
นับว่าเป็นหนังสือที่น่าสนใจ และให้แง่คิดเรื่องการทำงานได้ดีทีเดียวครับ
หากเพื่อนๆ อยากอ่านตัวอย่างหนังสือเล่มนี้ก็อ่านได้ที่
http://books.google.com/books?id=zlm2hJ7H0wIC&printsec=frontcover&dq=Introduction+to+the+Library+and+Information+Professions#v=onepage&q=&f=false

เอาเป็นว่าหากเพื่อนๆ สนใจก็ลองสอบถามได้ที่ร้าน kinokuniya นะครับ เผื่อว่าเขาจะดำเนินการสั่งซื้อให้
เอาเป็นว่าวันนี้ขอแนะนำไว้แค่นี้ก่อน วันหน้าจะหาหนังสือเรื่องอื่นๆ มาแนะนำอีกครับ

ข้อมูลหนังสือ http://lu.com/showbook.cfm?isbn=9781591584865