ห้องสมุดในอนาคตขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบัน

ช่วงนี้บล็อกของผมเริ่มเป็นที่รู้จักของหลายๆ คน ดังนั้นจึงมีคำถามมากมายส่งมาให้ผมตอบ
หนึ่งในนั้นก็มีคำถามเกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มของห้องสมุด

seattle_library_philipperuault_oma_270307

จริงๆ แล้วก็อยากจะนำมาเล่าให้ฟังหลายครั้งแล้วหล่ะครับ
เกี่ยวกับคำถามข้อนี้ โจทย์ที่ตั้งมาคือ ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

ก็อื่นต้องขอแจ้งไว้ล่วงหน้าว่า ผมอาจจะไม่ได้เก่งอย่างที่หลายๆ คนคาดหวังไว้
แต่คำตอบนี้ถือว่าเป็นความคิดส่วนตัว ดังนั้นอาจจะมองไม่เหมือนกับหลายๆ คนก็ได้

คำถาม : ?คิดว่าห้องสมุดในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

คำตอบ : ห้องสมุดในอนาคต สำหรับผมตอนนี้คิดว่า ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์ในปัจจุบันนี้นั่นแหละ
ว่าจะสร้างภาพลักษณ์ หรือลักษณะงานบริการในห้องสมุดอย่างไร ทางเลือกมี 2 ทาง คือ

– หากบรรณารักษ์ประยุกต์งานบริการต่างๆ จัดกิจกรรม นำเทคโนโลยี และใฝ่หาความรู้ใหม่ๆ
มาพัฒนาห้องสมุดแล้ว ในอนาคตห้องสมุดก็จะเปลี่ยนบทบาทเป็น ศูนย์ที่ชี้นำ หรือ ชี้แหล่งสารสนเทศ
ให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสารสนเทศได้ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ เว็บไซต์ ฐานข้อมูล ฯลฯ
ห้องสมุดจะถูกแทนด้วย ศูนย์สารสนเทศ หรือ ศูนย์การเรียนรู้ ได้อย่างสมบูรณ์


– หากบรรณารักษ์ยังคงดำเนินงานในรูปแบบเดิมๆ เหมือนที่เป็นอยู่ ไม่ยอมรับเทคโนโลยี
ไม่สนใจผู้ใช้บริการ และคิดเพียงแค่ว่าทำงานแบบนี้ยังไงห้องสมุดก็ไม่ถูกปิดหรอก
ครับ แน่นอนว่าไม่ถูกปิด แต่ภาพห้องสมุดในอนาคตของห้องสมุดลักษณะนี้
คงไม่ต่างอะไรไปจากหอจดหมายเหตุ หรือ พิพิธภัณฑ์ที่เก็บหนังสือมากมายแทน

ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะบอกบรรณารักษ์หลายๆ คนก็คือ
ห้องสมุด และ บรรณารักษ์ในปัจจุบัน เราต้องปรับตัวเองให้เข้ากับผู้ใช้ห้องสมุดให้ได้มากที่สุด
เข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด และต้องเข้าถึงหัวใจหรือรับรู้ความรู้สึกของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุดด้วย
แล้วเราจะรู้ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร

ถึงตอนนั้นผมเชื่อ และหวังว่าจะเห็นห้องสมุดที่มีแต่คนบอกว่า
?วันนี้ไปหาอะไรทำที่ห้องสมุดดีกว่า? หรือ ?ไปห้างสรรพสินค้าทำไม ไปห้องสมุดแหละมีอะไรให้ทำตั้งเยอะ?

ตามหาศีล 5 ในห้องสมุด

เนื่องด้วยวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง นั่นก็คือ “วันอาสาฬหบูชา”
ผมจึงขอเขียนเรื่องห้องสมุดที่สอดคล้องกับแง่คิดในศาสนาพุทธสักหน่อยแล้วกันนะครับ

dhamma

ธรรมะที่ผมจะนำมาเขียนในวันนี้
เป็นธรรมะที่ทุกคนต้องรู้จักกันดี นั่นก็คือ “การรักษาศีล 5” นั่นเอง

มาทบทวนกันหน่อยดีกว่า ว่าศีล 5 ประกอบด้วยอะไรบ้าง
1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
2. งดเว้นจากการลักทรัพย์
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4. งดเว้นจากการพูดปด
5. งดเว้นจากการเสพของมึนเมา

เอาเป็นว่าเมื่อเพื่อนๆ รู้จักความหมายและส่วนประกอบของคำว่า “ศีล5” แล้ว
ทีนี้ผมก็อยากจะลองหาหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” ในห้องสมุดบ้าง
อยากจะรู้เหมือนกันว่าผมจะได้หนังสือเล่มไหนไว้อ่านบ้าง

search

เริ่มแรกผมเข้าไปที่เว็บไซต์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยศิลปากร
จากนั้นผมก็ค้นคำว่า “ศีล 5” ในหน้า OPAC ของห้องสมุด
โดยผมใช้ตัวเลือกในการค้นว่า ให้ค้นจาก Keyword

ผลที่ออกมาก็ทำให้ผมได้เห็นหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” มากมาย
แต่ผมขอเลือกนำมาให้เพื่อนๆ อ่านแค่ 8 เรื่องนะครับ

หนังสือที่ผมจะแนะนำ 8 เล่ม มีดังนี้

1. การพัฒนางาน?ด้วย?ระบบ? RE-ENGINEERING, AIC, QC, ?ฯลฯ? ?และ?ประยุกต์มรรคมีองค์? 8 ?ของพระพุทธเจ้า? ?คุณธรรม? ?รักเหนือรัก? ?หรื่อ? ?คุณธรรม? ?สาราณียธรรม? 6 ?เพื่อพุทธพจน์? 7 ?และ?ระบบบุญนิยม? ?ใน?ระดับ? ?ศีล? 5 ?ของศาสนาพุทธ? ?เพื่อการบริหารงาน?ให้?ประสบผลสำ?เร็จ

2. รวมธรรมะ

3. ?อานิสงส์ศีล? 5?

4. อนุสรณ์ฌาปนกิจศพ? ?พระครูศีลสารวิมล? (ล้วน? ?สีลรา?โม)?4-5 ?เมษายน? 2535.

5. มลทินของใจ?กับ?ศีล? 5 ?คือสมบัติของมนุษย์

6. พระราชปุจฉา? ?ใน?ชั้นกรุงรัตนโกสินทร์? ?ตั้งแต่รัชกาลที่? 1 ? ?รัชกาลที่? 5

7. รายงานการวิจัยอิทธิพลของการอบรมเลี้ยงดู? ?การไปวัด? ?การรักษาศีล? 5 ?และ?การนั่งสมาธิ? ?ต่อ?ความ?กตัญญูกตเวที

8. กฎแห่งกรรม?กับ?ศีล? 5

สรุปวันนี้ผมก็มีหนังสือที่เกี่ยวกับ “ศีล5” ไว้สำหรับอ่านแล้ว
แล้วเพื่อนๆ หล่ะครับมีหนังสือที่เกี่ยวกับ ศีล5″ ไว้อ่านหรือยัง
ลองทำตามที่ผมบอกแล้วเอาชื่อเรื่องมาอวดกันบ้างนะครับ

สุดท้ายนี้ผมก็ขออนุโมทนาสาธุกับเพื่อนๆ ทุกคนที่รักษาศีล 5 ในวันนี้ครับ

อาชีพที่ดีที่สุดของปี 2009 คือ บรรณารักษ์

บทความแห่งความภูมิใจของวิชาชีพบรรณารักษ์บทความนี้
หากเพื่อนๆ ได้อ่านแล้ว จะทำให้มีกำลังใจในการปฏิบัติงานมากขึ้นหรือปล่าวครับ

librarian

เรื่องนี้มาจากบทความที่ชื่อว่า “Best Careers 2009: Librarian
ซึ่งถูกตีพิมพ์ใน U.S.News & World Report ในวันที่ 11 ธันวาคม 2008
ซึ่งเพื่อนๆ สามารถอ่านเรื่องแบบเต็มๆ ได้ที่
http://www.usnews.com/articles/business/best-careers/2008/12/11/best-careers-2009-librarian.html

ซึ่งผมได้สรุปเนื้อหานี้ ออกมาเป็นประเด็นๆ มีดังนี้
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่อยู่กับความรู้ และมีการปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยของเทคโนโลยี
– สิ่งที่บรรณารักษ์มีเหนืออาชีพอื่นๆ คือ การช่วยเหลือผู้ใช้บริการด้วยใจ และทำให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลด้วยหนังสือ หรือ สื่อดิจิตอล
– การให้บริการอย่างเต็มใจ เป็นสิ่งที่สำคัญ และเป็นปรัชญาประจำตัวของบรรณารักษ์
– บรรณารักษ์เป็นอาชีพที่ต้องทำงานตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นวันหยุด หรือวันทำงาน แถมยังเลิกงานดึกอีก
– หนึ่งวันของบรรณารักษ์ทำงานต่างๆ มากมาย เช่น นั่งวิเคราะห์รายการหนังสือ ให้บริการอ้างอิง ตอบคำถามผู้ใช้ จัดเก็บหนังสือ และเรียนรู้งานใหม่ๆ
– รายได้ของบรรณารักษ์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีมาก

นอกจากการยกย่องวิชาชีพนี้แล้ว ในบทความนี้ยังกล่าวถึงความนิยมในการเรียนวิชาชีพบรรณารักษ์ในสหรัฐอเมริกาอีก
โดยมีการรายงานแบบสรุปของหลักสูตรว่า หลักสูตรบรรณารักษ์ที่หลายๆ คนให้ความสนใจ มีดังนี้
– Archives and Preservation
– Digital Librarianship
– Health Librarianship
– Information Systems
– Law Librarianship
– School Library Media
– Services for Children and Youth

เป็นยังไงกันบ้างครับ อ่านแล้วรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพบรรณารักษ์บ้างหรือปล่าว
ถึงแม้ว่าเรื่องบางเรื่องอาจจะไม่จริงสำหรับเมืองไทย (รายได้ของบรรณารักษ์)
แต่ผมเชื่อว่าการบริการของเราเป็นสิ่งที่ทำให้วิชาชีพเราได้ใจคนทุกคน

แนะนำหนังสือเรื่อง การจัดการห้องสมุด

เปลี่ยนบรรยากาศการเล่าเรื่องมาเป็นการแนะนำหนังสือบ้างดีกว่า
หนังสือที่ผมจะขอแนะนำในวันนี้เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้บริหารห้องสมุด

library-management

Read more

ห้องสมุดสีเขียว(Green Library) คือ…

แนวโน้มของการพัฒนาห้องสมุดนอกเหนือจากเรื่องเทคโนโลยีแล้ว
จริงๆ ยังมีอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือ เรื่องของการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น ศัพท์ในวงการห้องสมุดจึงมีการนิยามของคำว่า Green Library ด้วย

green-library

ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library) เป็นยังไง

Green Library ในภาษาไทยมีคนให้ความหมายที่หลากหลายมากๆ
เช่น ?ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม? ?ห้องสมุดสีเขียว?

นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจกันในหลายรูปแบบด้วย เช่น
– ห้องสมุดที่มีต้นไม้เยอะๆ จะได้รู้สึกว่าเป็นสีเขียว
– ห้องสมุดที่มีการอนุรักษ์พลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ?.
– ห้องสมุดที่ใส่ใจกับการอนุรักษ์พลังงาน เช่น ประหยัดไฟฟ้า?.
– ห้องสมุดที่เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

ต่างคนต่างก็มีนิยาม และการจัดการของห้องสมุดสีเขียวที่ไม่เหมือนกัน
แต่โดยทั่วไป ผมว่า มันก็เข้ากับคำว่า Green library ทั้งหมด นั่นแหละ

green-library1

แต่ก็อย่างที่บอกหล่ะครับ ว่า มีหลายที่ให้คำจำกัดความกับการจัดรูปแบบที่หลากหลาย
ผมจะไม่บอกว่าที่ไหนถูก หรือ ผิด หรอกนะครับ เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดก็ถูกหมดนั่นแหละ

ในต่างประเทศ คำว่า green library มีแนวคิด และหลักปฏิบัติมาตั้งแต่เมื่อ 5-6 ปีที่แล้วด้วยซ้ำ

การก่อสร้างห้องสมุดโดยอาศัยปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมช่วย เช่น
– การติดตั้งแผงกระจกในทิศทางที่เหมาะสมเพื่อใช้แสงอาทิตย์ในการให้ความสว่างในอาคารอย่างทั่วถึง
– การติดตั้งหน้าต่างเมื่อให้อากาศถ่ายเทได้อย่างสะดวก และเพียงพอต่อสถานที่
– การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคารห้องสมุด เพื่อให้ผู้เข้าใจรู้สึกผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ
– การประหยัดพลังงานโดยอาศัยพลังงานบริสุทธิ์ต่างๆ เช่น แสงอาทิตย์ ลม ฯลฯ

เป็นยังไงกันบ้างครับที่กล่าวมา พอเป็นแนวความคิดในการปรับปรุงห้องสมุดบ้างขึ้นหรือปล่าว
เอางี้งั้นขอนำข่าวมาเล่าให้ฟังอีกสักเรื่องดีกว่า
เกี่ยวกับ ?ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)?

emerald-city-300x195

ในอเมริกาตอนนี้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง
ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library) มาก
ถึงขนาดว่า องค์กรที่ชื่อว่า Sustainable Living Library
ลงทุนไปสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องนี้ใน Second Life
โดยศูนย์นี้จะเป็นแหล่งข้อมูลแก่อาจารย์ นักศึกษา ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับห้องสมุด และผู้ที่สนใจ
ให้ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)

หากเพื่อนๆ สนใจเรื่องนี้ ผมก็ขอแนะนำให้อ่านรายละเอียดต่อได้ที่

http://www.schoollibraryjournal.com/article/CA6624892.html?nid=3269 (ภาษาอังกฤษ)

http://rezlibris.com/librarianship/16-librarianship/184-satori (ภาษาอังกฤษ)

http://forums.thaisecondlife.net/index.php/topic,633.msg5618.html#msg5618 (ภาษาไทย)

โลกร้อน อากาศเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาของอาชีพใดอาชีพหนึ่ง
หากแต่เพียงทุกๆ คนต้องช่วยกัน รักษาสิ่งแวดล้อม พยายามปรับสมดุลย์ของโลกให้กลับมา
เท่านี้ผมว่าโลกก็คงน่าอยู่กว่าปัจจุบันนี้อย่างแน่นอนครับ

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับแนวความคิดเรื่อง ห้องสมุดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Library)
เอาเป็นว่าในประเทศไทยเราคงต้องค่อยๆ เริ่มกันไป แล้วสักวันห้องสมุดของเราจะช่วยโลกได้บ้าง

ห้องสมุดอนุญาติให้นำของกินเข้ามาได้นะ แต่…

บางห้องสมุดก็อนุญาติให้นำของกินเข้ามากินในห้องสมุดได้
แต่ต้องขอบอกนะครับว่า ไม่ได้อนุญาติทุกอย่าง
ของกินบางอย่างห้องสมุดก็โอเครับได้ แต่บางอย่างห้องสมุดก็ไม่โอเคนะครับ

food-in-library

จากรูปด้านบนนี้ เป็นไอเดียจากห้องสมุดมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (University of Queensland)
ซึ่งในรูปนี้ได้แบ่งประเภทของอาหารและเครื่องดื่มที่อนุญาติ และไม่อนุญาติให้นำเข้ามาในห้องสมุด

จากในรูปผมขอสรุปออกมาเป็น

อาหารและเครื่องดื่มที่อนุญาติในนำมากินในห้องสมุด
– แซนวิส (Sandwiches)
– ซูชิ (Sushi)
– เค้ก (Cake)
– เครื่องดื่มที่มีฝาปิด (Covered drink)


อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่อนุญาติในนำมากินในห้องสมุด

– แฮมเบอร์เกอร์ มันฝรั่ง(Burger and Chips)
– พิชซ่า (Pizza)
– ก๋วยเตี๋ยว (Noodles)
– เครื่องดื่มแบบเปิด (Open drink)

ในรูปนี้ยังบอกพวกเราอีกว่า
?You may consume cold food and covered drinks?

นั่นก็หมายความว่าอาหารที่สามารถกินแบบเย็นๆ ได้ และเครื่องดื่มที่มีฝาปิดไม่ให้กลิ่นรบกวน
สามารถนำเข้ามารับประทานในห้องสมุดแห่งนี้ได้ทั้งหมด

ด้านล่างของรูปยังบอกอีกว่า
“but Please put all rubbish in the bins provided”
“กินเสร็จแล้วก็กรุณาทิ้งลงในถังที่ทางเราจัดเตรียมไว้ด้วยนะครับ”

สำหรับผม มองในเรื่องของการนำของกินมากินในห้องสมุดว่า
– ขนมคบเคี้ยวผมว่าก็น่าจะนำเข้าห้องสมุดได้
– ลูกอม หมากฝรั่ง ช็อกโกแลต น่าจะเอามาได้ด้วย
– ถ้าไม่ใช่อาหารหนักมากๆ ก็น่าจะเอาเข้ามาทานได้
– เครื่องดื่มน่าจะได้ (แบบที่มีฝาปิดเหมือนที่เขาบอก)

สำหรับผมเพียงเท่านี้ก็ทำให้ผู้ใช้พอใจได้ในระดับหนึ่งครับ

แต่สิ่งที่ต้องระวัง และต้องควบคุมให้ดี คือ
– ถ้าผู้ใช้กินแล้วไม่รักษาความสะอาด เช่น ทำน้ำหวานหยด เศษขนมตกตามทาง
– กินขนมแล้วเคี้ยวเสียงดัง
– กินแล้วไม่ทิ้งลงถัง

ซึ่งจากสิ่งที่ต้องคำนึงเหล่านี้ ทำให้บรรณารักษ์หรือห้องสมุดหลายแห่งตัดไฟตั้งแต่ต้นลม คือ
?ไม่ให้นำอะไรก็ตามเข้ามากินในห้องสมุด (รวมถึงน้ำเปล่าด้วย)?

สุดท้ายนี้ก็คงต้องฝากเพื่อนๆ ให้ช่วยกันคิดเรื่องการนำของกินเข้ามาในห้องสมุดนะครับ ว่า
ของกินแบบไหนที่นำเข้ามากินในห้องสมุดได้ และ ของกินแบบไหนที่นำเข้ามากินในห้องสมุดไม่ได้
นอกจากนี้ยังต้องคิดถึงเรื่องที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ขยะ กลิ่น เสียง และรบกวนผู้ใช้หรือไม่

ฝากไว้ให้คิดแต่เพียงเท่านี้นะครับ

ตัวอักษร A-Z กับวงการห้องสมุด

A B C D E F G ….. X Y Z ท่องกันไว้เลยนะครับ
เพราะวันนี้ผมจะนำตัวอักษรเหล่านี้มาเชื่อมกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ให้เพื่อนๆ อ่าน

atoz-in-the-library

ตัวอักษรตั้งแต่ A-Z เพื่อนๆ คิดว่า
แต่ละตัวสามารถใช้แทนคำศัพท์อะไรที่เกี่ยวกับห้องสมุดหรือบรรณารักษ์ได้บ้าง

สำหรับผม ผมนึกถึงคำศัพท์ ดังต่อไปนี้

A ? AACR2 (มาตรฐานการลงรายการในบัตรรายการ)

B ? BOOK(หนังสือ แน่นอนถ้าในห้องสมุดไม่มีหนังสือก็คงไม่ใช่ห้องสมุด)

C ? Circulation (บริการยืมคืน)

D ? DDC (Dewey Decimal Classification) (การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้)

E ? Encyclopedia (สารานุกรม ในห้องสมุดก็มีรวบรวมไว้เช่นกัน)

F ? Free everything (ฟรีทุกอย่าง (ยกเว้นบางห้องสมุด))

G ? Green Library (ห้องสมุดสีเขียว หรือห้องสมุดเพื่อสิ่งแวดล้อม แนวโน้มที่กำลังมาแรง)

H ? Help desk (มุมให้ความช่วยเหลือด้านสารสนเทศ)

I ? IFLA (International Federation of Library Associations) (สหพันธ์ระหว่างประเทศว่าด้วยสมาคมและสถาบันห้องสมุด)

J ? Journal (วารสารวิชาการ)

K ? Knowledge Center (ศูนย์รวมความรู้)

L ? LC (ชื่อหอสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นชื่อเรียกการจัดหมวดหมู่แบบรัฐสภาอเมริกัน)

M ? MARC Format (มาตรฐานการลงรายการแบบ MARC21)

N ? NLM (National Library of Medicine) (การจัดหมวดหมู่หนังสือทางการแพทย์)

O ? OPAC (Online Public Access Catalog) (ระบบสืบค้นสารสนเทศออนไลน์)

P ? Projectlib (บล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ออนไลน์)

Q ? Question and Answer Service (บริการตอบคำถาม)

R ? Reference Service (บริการรวบรวมรายการบรรณานุกรม และบริการอ้างอิง)

S ? Service mind (การบริการด้วยใจเป็นหัวใจของคนทำงานห้องสมุด)

T ? Thesaurus (ธีซอรัส หรือ คำศัพท์สัมพันธ์)

U ? Union Catalog (ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม)

V ? VTLS (ชื่อระบบห้องสมุดอัตโนมัติอย่างหนึ่ง ถือว่าเป็นระบบที่ใหญ่อันดับต้นๆ)

W ? World Cat (หน่วยงานที่อยู่ภายใต้ OCLC และมีข้อมูลรายการหนังสือเยอะที่สุดในโลก)

X ? XXX (ตัวอักษรของสื่อที่ไม่มีในห้องสมุด)

Y ? Y (วาย ชื่อผมเอง อิอิ บรรณารักษ์ในโลกออนไลน์)

Z ? Z39.50 (Protocol ที่ใช้ในการสืบค้นรายการฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม หรือ Union catalog)

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างคำศัพท์ห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ผมนึกถึงนะครับ
เพื่อนๆ ว่า ตัวอักษร A-Z ตัวไหนที่เพื่อนๆ ยังอยากเปลี่ยน ก็บอกผมมาได้เลยนะครับ อิอิ

อัพเดทข่าวสารห้องสมุดจากเว็บหนังสือพิมพ์

ข่าวสารของห้องสมุดจริงๆ แล้วก็มีให้อ่านมากมายเลยนะครับ
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอและสรุปข่าววงการห้องสมุดที่อยู่ในหนังสือพิมพ์ให้เพื่อนๆ ได้อ่านบ้างนะครับ

newspaper-library

วันนี้มีโอกาสได้เปิดดูเว็บไซต์ข่าวหนังสือพิมพ์มากมาย
เลยขอถือโอกาสค้นข่าวและบทความที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดขึ้นมาอ่านดูบ้าง
บางข่าวและบทความเพื่อนๆ คงอ่านแล้ว แต่บางข่าวและบทความก็อาจจะเป็นเรื่องที่ใหม่ก็ได้
ยังไงก็ลองอ่านๆ ดูกันนะครับ เก็บเป็นไอเดียรวมๆ กัน คงจะมีอะไรให้คิดเล่นๆ ดู

ผมขอนำเสนอข่าวและบทความห้องสมุดสัก 5 ข่าวนะครับ

1. “ทน.ขอนแก่น”สร้างสังคมแห่งการอ่าน ส่งความรู้เดลิเวอรี่กับโครงการบุ๊กไบค์
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลนครขอนแก่น จัดทำโครงการนำหนังสือสู่มือน้อง (Book Bike) โดยให้สมาคมไทสร้างสรรค์เป็นผู้ดำเนินการ
– เป็นโครงการที่ต่อยอดมาจากการโครงการ “รถนิทาน” ที่จัดทำในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน
– วิธีการ คือ เตรียมรถจักรยานยนต์บุ๊กไบค์ มาให้ 2 คันเพื่อให้เจ้าหน้าที่นำหนังสือไปแจกในชุมชน
– เป็นโครงการที่ส่งเสริมการรักการอ่านให้กับเยาวชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

2. ศธ.ปั้นห้องสมุด3ดีชูหนังสือ-บรรยากาศ-บรรณารักษ์เจ๋ง
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– โครงการห้องสมุด 3ดี ได้แก่ ห้องสมุดที่มีหนังสือดี บรรยากาศดีส่งเสริมการอ่าน และต้องมีบรรณารักษ์ดี
– ให้ความสำคัญกับห้องสมุดในสถานศึกษา
– หนังสือดี = เน้นในการจัดหาหนังสือที่ดีให้กับเยาวชนมากๆ
– บรรยากาศดี = ปรับปรุงให้มีบรรยากาศเหมาะกับการอ่านหนังสือ
– บรรณารักษ์ดี = บรรณารักษ์ที่ให้คำแนะนำดีๆ กับผู้ใช้บริการ

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

3. “อยากเห็นห้องสมุดมีชีวิต”ความห่วงใยในสมเด็จพระเทพฯ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– การมีนิตยสารสารคดีต่างๆ จะทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความรู้มากมาย
– การมีห้องสมุด บรรณารักษ์จะต้องพยายามผลักดันให้ผู้ใช้มาใช้บริการมากๆ
– อย่าทำให้ห้องสมุดเป็นเพียงแค่ที่เก็บหนังสือเพียงอย่างเดียว

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

4. ห้องสมุดคือปัญญาดั่งยาแสนวิเศษ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– นอกจากห้องสมุดประชาชนจะต้องมีหนังสือบริการแล้ว ข้อมูลท้องถิ่นก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่ใช่น้อยเลยนะครับ
– ห้องสมุดประชาชน เปรียบเสมือนเป็นศูนย์การเรียนรู้นอกห้องเรียนอีกทางเลือกหนึ่ง
– ความรู้ท้องถิ่นจะต้องถูกสั่งสม และเรียนรู้โดยคนในท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน
– ห้องสมุดควรสนับสนุนกิจกรรม และสร้างนิสัยการรักการอ่านให้กับประชาชน

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

5. “อุทยานการเรียนรู้” เมืองอ่างทอง แหล่งศึกษาเรียนรู้ชุมชนตลอดชีพ
สรุปประเด็นที่ได้จากการอ่าน
– เทศบาลเมืองอ่างทอง จัดสร้าง “อุทยานการเรียนรู้” เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นภายในชุมชน
– “ความรู้” ถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมยุคปัจจุบัน
– มนุษย์ยิ่งอ่านมากยิ่งรู้มาก ยิ่งทำมากก็ยิ่งมีประสบการณ์มาก เมื่ออ่านและทำตลอดเวลาก็จะมีความรู้และประสบการณ์ตลอดชีวิต
– อุทยานเรียนรู้ = ตลาดวิชา + ตลาดอาชีพ + ตลาดปัญญา

อ่านข่าวแบบต้นฉบับ

นี่ก็เป็นเพียงตัวอย่างข่าวและบทความห้องสมุดที่ผมได้ยกมาให้อ่านนะครับ
หากเพื่อนๆ มีเวลาเปิดอ่านเรื่องแบบต้นฉบับ
ผมว่ามันก็จะยิ่งเพิ่มความเข้าใจในเรื่องการจัดทำ และการให้บริการในห้องสมุดมากขึ้นด้วย

เอาเป็นว่าผมขอตัวไปอ่านข่าวและบทความเหล่านี้ก่อนนะครับ
แล้วว่างๆ ผมจะกลับมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟังอีกที

ปล. ข่าวต่างๆ ที่ผมค้นมา มีที่มาจากเว็บไซต์ของ หนังสือพิมพ์ คอม ชัด ลึก นะครับ
เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวและบทความที่เกี่ยวกับห้องสมุด ในหนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ต่อได้ที่
http://www.komchadluek.net/search.php?search=%CB%E9%CD%A7%CA%C1%D8%B4

เรื่องของเรื่อง “บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ”

หลังจากที่อ่านบทความ “บรรณารักษ์แนวใหม่ กว่าจะได้ต้องใช้เวลาอีกกี่ชาติ” แล้ว
ผมรู้สึกว่า ผมมีความเห็นที่แย้งกับบทความนี้ และยังมองต่างมุมกับบทความนี้อยู่
เลยจำเป็นต้องเขียนถึงเรื่องนี้หน่อยนึง

? Read more

เกณฑ์การเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

มีคนขอคำปรึกษาเรื่องเกณฑ์ในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติมากมาย
วันนี้ผมเลยขอนำเรื่องนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ หลายๆ คนฟัง

ils-for-library

จากประสบการณ์ที่เคยทำงานด้านนี้มา ผมจึงขอเล่าเรื่องนี้ให้ฟังแบบคร่าวๆ นะครับ
การตั้งเกณฑ์ของการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ต้องดูองค์ประกอบหลายๆ เรื่องนะครับ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ฟังค์ชั่นการใช้งาน และส่วนเสริมต่างๆ

ด้านฟังค์ชั่นการใช้งาน ผมเคยเขียนเกณฑ์แบบคร่าวๆ ดังนี้
(เวอร์ชั่นนี้อาจจะต้องปรับปรุบเยอะหน่อยนะครับ เพราะว่าเป็นสเปคที่เขียนไว้เมื่อสามปีที่แล้ว)

library-automation

1. ระบบงานจัดหา (Acquisition)
1.1 สามารถจัดการด้านงบประมาณและการจัดซื้อ ทวงถามศูนย์หนังสือได้
1.2 จัดการ ควบคุมรายการและติดต่อสื่อสารผู้จำหน่ายร้านค้า
1.3 สามารถตรวจสอบรายการสั่งซื้อโดยการแก้ไขได้ก่อนการสั่งซื้อ
1.4 จัดการเกี่ยวกับอัตราการแลกเปลี่ยนเงิน
1.5 สามารถสร้างระบบความปลอดภัยในโมดูลได้
1.6 กำหนดสิทธิ์และอนุญาตให้เฉพาะบุคคลได้


2. ระบบงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการ (Cataloging)

2.1 บันทึกรายการบรรณานุกรมได้ในรูป MARC และ Non- MARC
2.2 สามารถเพิ่ม ลด แก้ไข Tag, Subfield ใน MARC ได้
2.3 เชื่อมต่อกับระบบ Thesauri ได้จากหน้าจอ Catalog
2.4 สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปแบบ MARC มาตรฐานได้
2.5 จัดเก็บรายละเอียดสารสนเทศฉบับสมบูรณ์ให้อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ฯ
2.6 สามารถป้อนข้อมูลจากสื่อต่าง/สื่ออิเล็คทรอนิกส์มาอยู่ในรูปแบบ MARC
2.7 มีระบบ Authority Control ตรวจสอบรายการผู้แต่ง หัวเรื่องให้เป็นมาตรฐาน


3. ระบบงานบริการยืม-คืน (Circulation)

3.1 สามารถกำหนดระเบียบการยืม-คืนวัสดุห้องสมุดได้ตามประเภทสมาชิก
3.2 สามารถกำหนดเวลาการยืมวัสดุแต่ละประเภทได้
3.3 สามารถเก็บประวัติรายละเอียดการยืมของสมาชิกแต่ละคนได้
3.4 สามารถดูรายการยืมและรายการจองของตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต
3.5 สามารถกำหนดปฎิทิน เพื่อจัดการเรื่องกำหนดวันส่งได้
3.6 สามารถจัดการเกี่ยวกับค่าปรับ
3.7 สามารถจัดการเกี่ยวกับการยืมวัสดุห้องสมุดในช่วงเวลาสั้นได้
3.8 สามารถจัดการเกี่ยวกับการยืม-คืนวารสารในลักษณะ In-House-Use
3.9 สามารถพิมพ์รายงานและสถิติได้ตามความต้องการ
คุณลักษณะของระบบงานบริการยืม-คืน (Circulation)

1) กลุ่มผู้ใช้เป็นทั้งแบบ National และ Local
2) สามารถทำการยืม-คืน โดยใช้ระบบบาร์โค้ดหรือเลข ID ของสมาชิกห้องสมุด
3) สามารถแสดงข้อมูลรายละเอียดของผู้ใช้บริการได้
4) สามารถทำการคำนวณเงินค่าปรับได้โดยอัตโนมัติ

4. ระบบงานวารสารและเอกสาร (Serial Control)
4.1 สามารถใช้ข้อมูล Vendor ร่วมกัน
4.2 สามารถสร้างรายการ Holding วารสารและให้แสดงผลที่ OPAC
4.3 สามารถตรวจสอบสถานะของวารสารแต่ละรายชื่ออยู่ในสถานะใด
4.4 สามารถจัดระบบควบคุมและคำนวณค่าใช้จ่าย ค่าบอกรับวารสาร ทำบัญชีวารสาร
4.5 สามารถออกจดหมายทวงวารสาร ไปยังผู้จัดจำหน่ายหรือตัวแทนได้

5. ระบบงานสืบค้นรายการทรัพยากร (Online Public Access Catalog)
5.1 สนับสนุนการทำงานแบบ Internet Web Clients
5.2 สามารถสืบค้นข้อมูลได้หลายรูปแบบ โดยค้นจากชื่อผู้แต่ง นิติบุคคล ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เลขเรียกหนังสือและคำสำคัญ
5.3 สามารถสืบค้นแบบเทคนิคตรรกบูลีน
5.4 สามารถสืบค้นภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเรียง ลำดับอักษรตามพจนานุกรม
5.5 สนับสนุนการสืบค้นผ่านมาตรฐานโปรโตคอล Z39.50

ที่กล่าวมานี่ก็เป็นเพียงการทำงานเบื้องต้นของระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ควรจะเป็นเท่านั้นนะครับ
ส่วนที่เป็นองค์ประกอบเสริมก็มีอีก เช่น การรองรับข้อมูลในอนาคต ฐานข้อมูลที่ใช้ ระบบเครือข่าย ฯลฯ

นอกจากนี้ผมได้ลองมานั่งคิดๆ ดู และลองจัดกลุ่มดู
ระบบห้องสมุดอัตโนมัติควรจะต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรอีกบ้าง
– มาตรฐาน ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรจะรองรับเรื่องมาตรฐานอีกมากมาย
เช่น MARC21, ISO2709, Z39.50 ฯลฯ

– ออนไลน์ ระบบห้องสมุดอัตโนมัตที่ดีควรทำงานได้ในระบบออนไลน์ ทั้งในแง่ผู้ใช้บริการและบรรณารักษ์
เช่น สืบค้นออนไลน์ จองหนังสือผ่านระบบออนไลน์ ต่ออายุการยืมออนไลน์

– บริหารจัดการระบบที่ดี ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรมีระบบที่สามารถบริหารจัดการข้อมูลภายในได้ที
ทั้งในเง่ของการนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ได้ เช่น สถิติการใช้งาน รายงานการใช้งาน และเก็บข้อมูลการเข้าใช้งาน

– การแลกเปลี่ยนข้อมูล ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรมีฟังค์ชั่นที่รองรับในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับห้องสมุดอื่นๆ

– อนาคต ระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ดีควรคำนึงถึงการเติบโตทางด้านเทคโนโลยีในอนาคตด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ขอเกริ่นเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
แล้ววันหลังผมจะลองนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่มีอยู่ในท้องตลาดมาวิจารณ์ให้อ่านแล้วกัน

ปล. หากเพื่อนๆ มีข้อเสนอแนะเรื่องระบบห้องสมุดอัตโนมัติมากกว่านี้
สามารถเสนอความคิดเห็นได้ด้านล่างนี้เลยนะครับ