วารสารห้องสมุด IFLA Journal ฉบับเดือนตุลาคม 2010

วารสาร IFLA Journal ประจำเดือนตุลาคม 2010 ออกแล้วครับ
เลยต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ เข้าไปอ่านกัน (ดาวน์โหลดได้ฟรีๆ เลยครับ)

โดยปกติ วารสาร IFLA Journal จะออกทุกๆ 3 เดือนนะครับ
ซึ่งจะออกมาในรูปแบบ pdf ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและสั่งพิมพ์ออกมาอ่านได้ครับ

วารสาร IFLA Journal ฉบับนี้มีเรื่องน่าสนใจอะไรบ้างไปดูกันก่อนเลยครับ
– Bringing the benefits of information technology to underserved populations: An introduction to ICTD for the library community
– Symbiotic partnerships: The global library community and the ICTD stakeholders
– Main factors affecting the preservation of Chinese paper documents: A review and recommendations
– Arab online book clubs: A survey
– System migration from Horizon to Symphony at King Fahd University of Petroleum and Minerals

เป็นไงกันบ้างครับน่าสนใจมากๆ เลยใช่มั้ยครับ
งั้นไปดาวน์โหลดกันเลยครับที่ “IFLA Journal Volume 36 Number 3 October 2010

สำหรับเล่มเก่าๆ ก็ลองเข้าไปดูได้ที่ http://www.ifla.org/en/ifla-publications นะครับ

งานประชุมวิชาการ “ห้องสมุดดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต” (แก้ไข)

ช่วงนี้กระแสของห้องสมุดดิจิตอลกำลังมาแรง และถูกไถ่ถามหนาหูขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วการเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลทำได้สะดวกขึ้น
วันนี้ผมจึงขอแนะนำงานประชุมวิชาการงานหนึ่งที่น่าสนใจ และพูดถึงทิศทางของห้องสมุดดิจิตอล

รายละเอียดงานประชุมวิชาการเบื้องต้น
ชื่อการประชุมวิชาการ : ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
จัดวันที่ : 5 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุมชั้น 7 ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จัดโดย : ชมรมบรรณารักษ์สถาบันอุดมศึกษา สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย

ชื่องานนี้ก็นับว่าน่าสนใจอยู่เหมือนกันนะครับ ประมาณว่าให้ข้อมูลปัจจุบันและทิศทางในอนาคต
แต่ประเด็นที่ผมจับตาดูอยู่คือ เป็นงานของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
ซึ่งแน่นอนครับว่ามีศักยภาพในการจัดทำและพัฒนาระบบห้องสมุดดิจิตอล

เอาเป็นว่าไปดูหัวข้อที่น่าสนใจในงานนี้ก่อนดีกว่าครับ

– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : ปัจจุบันและอนาคต
– IT สำหรับห้องสมุดระบบดิจิตอล
– มาตรฐานการแปลงภาพเป็นดิจิตอล
– ห้องสมุดระบบดิจิตอล : แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์

เอาเป็นว่าหัวข้อก็น่าสนใจดีครับ แต่การเข้าฟังต้องมีค่าใช้จ่ายสักหน่อยนะครับ
คือถ้าเป็นสมาชิกของสมาคมห้องสมุดก็ 300 บาท แต่ถ้าไม่ได้เป็นก็ 350 บาท
ซึ่งผมว่าก็คุ้มค่าในการเข้าฟังนะครับ ยังไงก็สมัครเข้าไปฟังกันดู

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมก็เข้าไปดูที่เอกสารที่นี่เลยครับ “เอกสารประชาสัมพันธ์งานนี้

ประชาสัมพันธ์โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้

วันนี้มีข่าวสารมาประชาสัมพันธ์ครับ ข่าวนี้ผมนำมาจาก facebook ประมาณว่ามีคนมาช่วยให้ผมเข้าร่วม
พอเข้าไปอ่านแล้วผมว่ามันน่าสนใจดี โครงการนี้ชื่อว่า “โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้”

ชื่อกิจกรรมนี้ คือ โครงการเปลี่ยนหนังสือสื่อรักประสานความรู้
จัดโดย ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน

แนวคิดและหลักการของกิจกรรมนี้
คือ ให้ทุกคนนำหนังสือที่ตนเองชอบอ่าน หรือหนังสือโปรดเข้าร่วมโครงการฯ
ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการห้องสมุดได้อ่านหนังสือดีๆ และถือว่าเป็นการแบ่งปันความรู้สู่ชุมชนด้วย
โดยบรรณารักษ์จะนำหนังสือที่ได้รับมาจัดเข้าสู่ระบบยืม-คืนหนังสือให้เอง

เพื่อนๆ ลองคิดกันดูนะครับว่า 1 คน 1 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 100 คน ก็จะมี 100 เล่ม ถ้ามีคนเข้าร่วม 1000 คน ก็จะมี 1000 เล่ม
หนังสือ 1 เล่มของเราอาจจะเป็นที่ต้องการของคนอื่น
และเช่นกันเราเองก็อยากอ่านหนังสือของคนอื่นๆ เช่นกัน
โครงการนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ แลกเปลี่ยนหนังสือกันได้ ทำให้ไม่ต้องไปเสียเงินซื้อหนังสือเพิ่มด้วย

เอาเป็นว่าโครงการนี้ก็มีประโยชน์มากมายนะ และเป็นไอเดียของห้องสมุดประชาชนที่ดีเลย
ห้องสมุดประชาชนอื่นๆ สามารถนำไปประยุกต์และจัดกิจกรรมคล้ายๆ กันได้นะครับ

เพื่อนๆ สามารถสมัครและส่งหนังสือเข้าร่วมโครงการได้ที่
ห้องสมุดประชาชน ?เฉลิมราชกุมารี? จังหวัดลำพูน
ถนนสันป่ายาง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 053-562608

หรือเว็บไซต์ห้องสมุด http://lpn.nfe.go.th/lib_muang/
หรือทาง Facebook ห้องสมุด http://www.facebook.com/lib.lamphun

วันนี้ก็ขอฝากไว้เพียงเท่านี้นะครับ ผมเองก็จะส่งหนังสือที่ผมชอบไปให้ที่นี่เช่นกัน
แต่เดี๋ยวต้องกลับไปเลือกก่อนนะ แล้วจะมาอัพเดทว่าผมส่งเรื่องอะไรไปให้นะ

นายห้องสมุดกับการแนะนำหนังสือน่าอ่านแบบง่ายๆ (How to…)

วันนี้ใครที่เขามาที่ Libraryhub แล้วเห็นกรอบด้านล่างขวาเพิ่มก็ขอว่าอย่าตกใจนะครับ
เพราะนั้นคือกล่องสำหรับแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ หรือ กล่อง Bookrc ของผมนั้นเอง

แล้ว Bookrc มาจากไหน –> คำตอบคือมันมาจาก Book Recommend นั่นเอง
ผมตั้งใจว่าเวลาไปร้านหนังสือแล้วเจอหนังสือดีๆ ผมก็อยากจะนำเสนอให้เพื่อนๆ รู้จักเช่นกัน

แล้วข้อมูลในกล่อง Bookrc มาจากไหน???
คำตอบ คือ ผมคิด Tag #bookrc เวลาที่ผมอยากจะแนะนำหนังสือสักเล่มให้เพื่อนๆ
เช่น “รวม 7 สุดยอดวิชาหาเงินผ่านเน็ตพร้อมเคล็ดลับทำเงินที่ได้ผลจริง “ผม รวยออนไลน์ได้ยังไง” 195 บาท #bookrc http://twitpic.com/30g1rj

หลักการง่ายๆ ครับ
1. พิมพ์ข้อความแนะนำแบบสั้นๆ
2. พิมพ์ชื่อหนังสือ
3. พิมพ์ราคา (แล้วแต่นะครับ)
4. ถ่ายรูปหนังสือ (อันนี้ก็แล้วแต่นะครับ)
5. อันนี้ห้ามลืมครับ
#bookrc

หนังสือที่ผมแนะนำจริงๆ แล้วมันคละกันไปใน Timeline ของผมแหละ
แต่ผมเน้นแนะนำหนังสือบางกลุ่มเท่านั้นนะครับ ได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มธุรกิจ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่ม textbook

ทำไมต้องแนะนำหนังสือเฉพาะกลุ่ม

– กลุ่มท่องเที่ยว เป็นหนังสือที่หลายๆ คนให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องแนะนำการท่องเที่ยว ที่กิน ที่พัก และกิจกรรมในการท่องเที่ยว ซึ่งในกลุ่มนี้ผมยังแถมเรื่องของวัฒนธรรมพื้นเมืองด้วย เช่น วัฒนธรรมของสิงคโปร์ วัฒนธรรมท้องถิ่นสุโขทัย ฯลฯ

– กลุ่มธุรกิจ เป็นหนังสือที่น่าสนใจอีกกลุ่มหนึ่งเช่นกัน โดยเฉพาะอาชีพแนวใหม่ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือธุรกิจออนไลน์ที่กำลังเป็นกระแสในสังคม ซึ่งผมแนะนำหนังสือในกลุ่มเหล่านี้เพื่อให้ผู้ที่อยากทำธุรกิจใช้เป็นแนวทางในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

– กลุ่มคอมพิวเตอร์ อันนี้เป็นความสนใจส่วนตัวจึงต้องแนะนำว่าผมชอบอ่านแนวไหน คอมพิวเตอร์ระดับไหนที่ผมต้องการอ่าน ซึ่งโดยรวมแล้วผมไม่อ่านคอมพิวเตอร์ขั้นสูงมาก เช่น การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์หรอกนะครับ

– กลุ่ม text book หลายๆ คนคิดว่า text book ราคาแพงมาก ซึ่งผมอยากจะบอกว่าหนังสือ text book หลายๆ เล่มที่ผมแนะนำนี้ไม่ได้แพงเกินไปเลย ราคาผมจะพยายามไม่ให้เกิน 1000 บาท ผมคิดว่าการอ่านหนังสือ text book จะช่วยฝึกให้เราเก่งด้านภาษาด้วย

รูปหนังสือที่ผมแนะนำสามารถดูได้จาก http://twitpic.com/search#q=#bookrc&type=recent&page=1

เอาเป็นว่าใครที่กำลังหาหนังสืออ่าน ก็สามารถแวะเข้ามาดู กล่อง Bookrc ของผมได้นะครับ
ส่วนใครที่สนใจอยากจะร่วมแนะนำหนังสือ ก็อย่าลืมใส่ tag #bookrc (ใน twitter only) นะครับ
สำหรับวันนี้ผมคงแนะนำเท่านี้ก่อนนะครับ แล้ววันหลังผมจะหาวิธีแนะนำหนังสือแบบแปลกมาให้เพื่อนอีกนะครับ

นายห้องสมุดพาเดินงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ 2553 (งานสัปดาห์หนังสือ)

วันนี้ผมแวะไปงานมหกรรมหนังสือระดับชาติมา เลยไม่ลืมแวะมาเล่าเรื่องราวให้เพื่อนๆ อ่าน
นอกจากนี้ผมยังถ่ายรูปบรรยากาศในงานมาพอสมควรเลยเอามาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ดูเช่นกันครับ

งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ หรือ ที่หลายๆ คนก็ยังเรียติดปากว่า “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”
(จริงๆ แล้วงานที่จัดตอนต้นปีต่างหากครับที่เรียกว่างาน “สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ”)
แต่เอาเหอะครับยังไงก็ คือ “งานหนังสือ” เหมือนๆ กันนั่นแหละครับ

ปีนี้จัดดีเหมือนกับทุกๆ ปีแหละครับ บรรยากาศโดยรวมเกือบทุกบูทเต็มไปด้วยผู้คนมากมาย
เดินไปทางไหนก็มีแต่ฝูงชนที่สนใจในเรื่องของการอ่าน (หนอนหนังสือ) เต็มไปหมด

กิจกรรมในงานโดยภาพรวมนอกจากการจำหน่ายหนังสือแล้ว
ยังมีส่วนที่แสดงนิทรรศการหนังสือน่าอ่าน และกิจกรรมสัมมนาต่างๆ มากมาย

สิ่งที่วันนี้ผมประทับใจในงานสัปดาห์หนังสือ

– ตุ๊กตามาสค็อตในงานนี้มีมากมายเลย ดึงดูดให้เด็กๆ อยากอ่านหนังสือ
– ยังคงมีบริการส่งหนังสือถึงบ้านโดยไปรษณีย์ไทย
– ป้ายเตือนเรื่อง ระวังกระเป๋า หรือ ระวังทรัพย์สิน มีจำนวนมากขึ้น เพื่อเตือนผู้เข้าร่วมงาน
– ร้านหนังสือกระหน่ำลดราคากันเพียบเลย
– กิจกรรมแนะนำหนังสือขายดี 10 อันดับของแต่ละร้าน
– ผู้ปกครองพาบุตรหลานมางานหนังสือเพียบเลย ดีจังเด็กๆ จะได้ฝึกการอ่านตั้งแต่เด็ก
– ผู้เข้าร่วมงานมหกรรมหนังสือมีจำนวนมากเหมือนทุกๆ ปี
– กิจกรรมในห้องสัมมนาต่างๆ ได้รับความนิยมและมีผู้เข้าร่วมเหมือนเยอะขึ้น
– หนังสือออกใหม่มีจำนวนมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นนวนิยายเสียมาก แต่หนังสือแปลก็ได้รับความนิยมเช่นกัน
– พื้นที่แสดงหนังสือที่น่าสนใจของส่วนกลางเป็นระเบียบเรียบร้อย
– ให้พิมพ์หนังสือส่วนตัวฟรีไม่เกิน 200 หน้า
– รับบริจาคหนังสือเพื่อห้องสมุดที่ขาดแคลนหนังสือ รวมถึงห้องสมุดที่โดนน้ำท่วม
– ระบบการสืบค้นหนังสือดีขึ้นเยอะเลย ค้นแล้วเจอบอกว่าอยู่บูทไหนด้วย

เอาเป็นว่าวันนี้ขอสรุปแค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ แล้วเดี๋ยวภายในอาทิตย์นี้ผมคงได้ไปอีกรอบ
แล้วจะเอามาเล่าเพิ่มเติมนะครับ ยังไงก็อย่าลืมติดตามดูกันได้ที่นี่นะครับ
วันนี้นายห้องสมุดต้องขอตัวก่อน

ชมภาพบรรยากาศในงานได้เลยครับ

[nggallery id=29]

สัมมนาวิชาการ “จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม”

วันนี้มีข่าวงานสัมมนาวิชาการที่น่าสนใจมาฝากเพื่อนๆ วงการบรรณารักษ์และห้องสมุดนะครับ
การสัมมนานี้เป็นการนำเสนอผลงานของอาจารย์และนักศึกษาปริญญาเอกด้านสารสนเทศศาสตร์ของ มสธ. ครับ

รายละเอียดงานสัมมนาเบื้องต้น
ชื่องานสัมมนา(ภาษาไทย) : จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม
ชื่องานสัมมนา(ภาษาอังกฤษ) : From Information to Innovation
วันที่จัดงาน : 12 พฤศจิกายน 2553
สถานที่จัดงาน : ห้องประชุม 5209 อาคารสัมมนา 1 มสธ.

ในงานนี้เป็นงานที่อาจารย์และนักศึกษา ป.เอกของภาคสารสนเทศศาสตร์ มสธ
นำผลงานและนวัตกรรมของตัวเองมานำเสนอ ซึ่งความน่าสนใจมีมากมาย

ตัวอย่างหัวข้อที่บรรยายในงานนี้ เช่น
– จากสารสนเทศสู่นวัตกรรม : กรณีศึกษาประเทศฟินแลนด์
– การพัฒนาต้นแบบคลังข้อมูลเพื่อการวางแผนลดอัตราการออกกลางคัน : กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี มสธ.
– การประเมินโครงการอบรมและประกวดห้องสมุดมีชีวิต สอร.
– การติดตามผลมหาบัณฑิตสารสนเทศศาสตร์ มสธ.
– เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับงานพัฒนาประเทศ : การเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขันยุคเศรษฐกิจฐานความรู้
– การวิเคราะห์เนื้อหาในงานวิจัยทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ระดับนานาชาติ
– นวัตกรรมห้องสมุด : โปรแกรมโอเพนซอร์ส Senayan
– การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
– การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดซื้อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลภาครัฐในจังหวัดนนทบุรี
– การพัฒนาบทเรียนทางเว็บเรื่อง การค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา
– การใช้สารสนเทศเพื่อการศึกษาค้นคว้าและการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เอาเป็นว่าแต่ละหัวข้อก็น่าสนใจมากๆ ครับ แนะนำว่าถ้าใครว่างๆ ไม่ควรพลาดงานนี้เลยครับ
นอกจากจะได้รับความรู้แล้วยังอาจจะได้ไอเดียไปทำงานในห้องสมุดก็ได้นะ

งานนี้ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากสนใจจะเข้าร่วมก็สามารถแจ้งความจำนงมาได้ที่ รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน (nwipawin@gmail.com)ได้นะครับ

ซูเปอร์บรรณารักษ์ (Super librarian) มาปฏิบัติภาระกิจแล้ว

วันนี้วันเสาร์วันชิวๆ ไม่อยากเอาเรื่องหนักๆ มาเขียน เลยขอนำคลิปวีดีโอมาให้ดูแทนก็แล้วกัน
คลิปวีดีโอวันนี้เป็นคลิปวีดีโอที่แสดงให้เห็นว่าวันๆ นึงบรรณารักษืมีงานเยอะแค่ไหน
แต่บรรณารักษ์ไม่เคยย่อท้อแถมต้องทำงานแบบกระฉับกระเฉง
เหมือนเป็น ซูเปอร์บรรณารักษ์

คลิปนี้เป็นคลิปที่จัดทำขึ้นเพื่อโปรโมทห้องสมุดแห่งหนึ่ง
ผมชอบในแนวความคิดที่นำเสนอ คือ การนำภาระงานของบรรณารักษ์มาแสดง
เนื่องจากทุกวันนี้หลายคนยังคงเข้าใจผิดนึกว่าบรรณารักษ์มีงานแค่นั่งเฝ้าหนังสือ
แต่จริงๆ แล้วงานบรรณารักษ์เยอะกว่านี้อีก เช่น
– เปิดไฟ เปิดคอม
– catalog หนังสือ
– จัดชั้นหนังสือ
– ช่วยผู้ใช้บริการค้นหาหนังสือ

…..ยังมีอีกมากมาย

ไปดูวีดีโอนี้กันเลยดีกว่า

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g[/youtube]

บรรณารักษ์ต้องทำงานอย่างมีความสุข ถ้าบรรณารักษ์หลายๆ คนคิดแบบนี้แล้ว
ผมเชื่อว่าบรรณารักษ์ที่อยู่ในคลิปวีดีโอนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถเป็น ซุเปอร์บรรณารักษ์ได้ทุกคน

ปล.ที่มาของคลิปวีดีโอนี้คือ http://www.youtube.com/watch?v=Bu-TijjVs_g

Nanmeebooks Family Day : อ่านหนังสือทุกวันได้ไหมเนี่ย

วันนี้มีข่าวประชาสัมพันธ์มาฝากนะครับ สำหรับคนที่จะไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
นานมีบุ๊คส์ เขาได้จัดกิจกรรม Nanmeebooks Family Day ตอน “อ่านหนังสือทุกวันได้ไหมเนี่ย
กิจกรรมนี้จัดในวันที่ 23 ตุลาคม 2553 ณ Meeting Room 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

กิจกรรม Nanmeebooks Family Day ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยๆ ที่น่าสนใจมากมาย เช่น
1. Adult Zone อ่านสนุกครบทุกรส
2. หนังสือภาษา บันเทิงเริงร่า เก่งภาษา ง่ายนิดเดียว
3. หนังสือเสริมความรู้ ฉลาดอ่าน ฉลาดคิด พิชิตความสำเร็จ
4. วรรณกรรมเยาวชน เชิญมาท่องคาถา ฝ่ากระจกวิเศษ สู่ดินแดนวรรณกรรมที่สนุกสุดยอด
5. หนังสือสำหรับเด็กอายุ 0-8 ปี นานมีบุ๊คส์คิดดี้ สร้างเด็กดี มีจินตนาการ
6. การ์ตูนความรู้ ค้นหาความรู้ที่สนุกที่สุดกับเกมปริศนาท้าพลังสมอง

นับว่าเป็นกิจกรรมที่ดีเลย การที่ครอบครัวมางานหนังสือแล้วได้เข้าร่วมนี้
ผมเชื่อว่าจะทำให้บุตรหลานของท่านมีความใฝ่รู้และอาจจะเริ่มทำให้เขาอยากอ่านหนังสือก็ได้
แต่เสียดายที่จัดแค่วันเดียว คือวันที่ 23 ตุลาคม 2553

แต่ไม่เป็นไรครับแค่พาบุตรหลานของท่านมางานหนังสือ
ผมเชื่อครับว่าอย่างน้อยก็ทำให้เขาได้รับแรงบันดาลใจในการอ่านแล้ว
เพราะในงานมีหนังสือมากมายและคงต้องมีสักเล่มที่เขาอยากอ่าน

กิจกรรมของ นานมีบุ๊คส์ ยังมีอีก เช่น
22/10/53 – อบรมครูบรรณารักษ์ หัวข้อ ส่งเสริมการอ่านเพื่อปลูกฝังนักเรียนให้เป็นคนดี คิดเป็น และมีคุณธรรม
23/10/53 – งาน Nanmeebook Family Day
23/10/53 – งานเปิดตัวหนังสือ “กระจกวารี”
24/10/53 – งานเปิดตัวหนังสือ “ยอดเขาแห่งความสุข หุบเขาแห่งอุปสรรค”
28/10/53 – งานเปิดตัวหนังสือ “ลูกของลูกสาว”
29/10/53 – อบรมครูวิทยาศาสตร์ หัวข้อ การสื่อความหมายทางวิทยาศาสตร์

เอาเป็นว่าก็มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย หัวข้อในวันที่ 22 ตุลาคม 2553
เรื่องเกี่ยวกับบรรณารักษ์ มีถึงตอนเย็นเลยนะครับ ดังนั้นยังพอมีเวลาในช่วงบ่าย
เพื่อนๆ สามารถเข้าร่วมฟังได้นะครับ
เอาเป็นว่าผมขอตัวไปเยี่ยมชมงานก่อนนะ

อ๋อ หากอยากพบนักเขียนของบู๊ทนานมีบุ๊คส์?เพื่อนๆ สามารถดูตารางเวลาได้ที่ www.nanmeebooks.com

เพื่อนสามารถดาวน์โหลดบัตรเชิญได้ที่ “บัตรเชิญเข้าร่วมงาน Nanmeebook Family Day

บรรณารักษ์ผู้ชายไม่จำเป็นต้องเป็นเกย์นะ

เรื่องนี้เขียนแล้ว เขียนอีก และเขียนหลายครั้งแล้วด้วย ไม่เข้าใจว่าทำไมยังคงได้ยินอยู่เรื่อยๆ
ประเด็นมันคือเรื่อง ?ปัญหาการมองบรรณารักษ์เพศชายว่าต้องเป็นเกย์หรือกระเทยเท่านั้น?

เรื่องนี้ผมเขียนไปปีที่แล้วนะครับ แต่วันนี้ก็ยังคงมีคน MSN มาถามผมอีกว่า “เป็นผู้ชายแท้หรือปล่าว
เอิ่ม การเป็นผู้ชายแล้วชอบเรื่องห้องสมุดหรือบรรณารักษ์จำเป็นต้องไม่ใช่ชายแท้ด้วยหรอครับ

ไม่รู้ว่าจะต้องให้ผมพูดย้ำกันอีกสักกี่ครั้งว่า…
ทุกๆ อาชีพในปัจจุบันเขาก็เท่าเทียมกันหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตาม
ดูอย่างทหาร หรือตำรวจสิ ยังมีผู้หญิงเป็นเลย แล้วคนเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นทอมด้วยซ้ำ
แต่พอผู้ชายทำอาชีพบรรณารักษ์ทำไมต้องมองว่าเป็นชายไม่แท้ เป็นเกย์ หรือเป็นกระเทยด้วยหรอ
เฮ้อออออ!!!! อยากจะจับไอ้พวกเข้าใจผิดเรื่องแบบนี้ มานั่งฟังอบรมจิงๆ มันน่านัก?

บทความที่ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องบรรณารักษ์กับผู้ชาย เขาคงไม่เคยอ่านมั้งครับ
งั้นแนะนำให้ไปอ่านเรื่อง “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?”

แล้วก็ขออธิบายอีกสักเรื่องด้วยว่า การที่คนเหล่านั้นมีอยากเป็นเพศอื่น
เช่น เป็นเกย์ กระเทย ทอม ดี้ ตุ๊ด แต๋ว หรือจะเรียกอะไรก็เรียก
พวกเขาก็ไม่ได้มีความผิดอะไรหรอก เขาก็เป็นคนเหมือนกัน

ทุกคนก็ มีมือ มีเท้า มีจิตใจ มีสมองทำงานได้ก็เหมือนทุกคนนั่นแหละ
ดังนั้นอย่าพยายามไปกีดกั้นสิทธิเสรีภาพของพวกเขาเลยครับ
บางทีเราต้องให้เขาพิสูจน์ในความสามารถในการทำงานน่าจะดีกว่า

เอาเป็นว่าเรื่องมันไม่เป็นเรื่องเลยนะครับ….

ปล. เรื่องบรรณารักษ์กับเพศชายผมเคยเขียนไปแล้ว ลองอ่านได้ที่ “ผู้ชายก็เป็นบรรณารักษ์ได้นะ?” ดูนะครับ
แล้วจะรู้ว่าไม่ว่าจะเพศอะไรก็สามารถทำงานบรรณารักษ์หรือห้องสมุดได้แหละ

เมื่อโลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา (Iconscrabble)

วันนี้เจอของเล่นแปลกๆ แต่น่าสนใจก็เลยขอนำมาแนะนำสักนิดนึง
เว็บไซต์นี้จะช่วยสร้างไอคอนโดยนำโลโก้จากเว็บต่างๆ มาเรียงเป็นชื่อคุณ

เว็บไซต์นี้ ชื่อว่า “Iconscrabble” – http://iconscrabble.com
แนวคิดของเว็บไซต์นี้คือ พิมพ์ ค้นหา แชร์ (Type. Discover. Share)
ง่ายๆ ครับ แค่กรอกชื่อที่ต้องการลงในช่อง (ไม่เกิน 18 ตัวอักษร) แล้วกด scrabble

คุณก็จะได้โลโก้เว็บไซต์ชื่อดังมาอยู่บนชื่อของเรา ตัวอย่างเช่น
– Maykin

– Projectlib

– Libraryhub

และตัวสุดท้ายนี้แด่ Social Media