สุขสันต์วันเกิด LISNews.org ปีที่ 11

ไม่ได้เข้าไปอ่านข่าวห้องสมุดและบรรณารักษ์หลายวัน วันนี้ได้ฤกษ์เข้า Lisnews.org
ก็เจอสิ่งแปลกๆ นิดหน่อยนั่น คือ “LISNews : This Site Goes To 11

เว็บไซต์ที่รวบรวมข่าวสารของวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แถมด้วยบล็อกที่มีบรรณารักษ์ร่วมกันเขียนเยอะที่สุดในโลก
อย่าง LISNews ครบรอบ 11 ปีแล้ว

ผมอาจจะมาอวยพรช้ากว่าชาวบ้านนิดนึง แต่ก็อยากอวยพรให้
LISNews จงอยู่คู่กับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ของโลกไปนานนาน

สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่รู้จัก LISNews.com ผมก็ขอแนะนำอย่างยิ่งครับ
เพราะเขามีเรื่องใหม่ๆ ในวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มาให้อ่านทุกวัน
แถมเรื่องที่ลงในเว็บนี้มาจากการร่วมกันเขียนของเหล่าบรรณารักษ์จากทั่วโลกด้วย

สำหรับคนที่เข้ามาที่เว็บนี้อยู่แล้ว ก็เข้ามาอ่านได้เรื่อยๆ นะครับ
ผมชอบที่เว็บนี้มี podcast ให้ฟังด้วย ลองเข้าไปดูได้ที่ http://lisnews.org/topic/lisnews_podcast

สำหรับวันนี้ผมต้องขอตัวก่อนนะครับ

เว็บไซต์ Lisnews.org = http://lisnews.org/

โฆษณาอินเทลยังใช้ Lucy Liu กับ ห้องสมุดเลย

วันนี้ผมเจอโฆษณาตัวนึงน่าสนใจดีเลยเอามาฝาก เป็นใบโฆษณาของบริษัท intel
ซึ่งในใบโฆษณานี้ใช้นางแบบชื่อดังและห้องสมุด (เป็นไงครับเกี่ยวกับห้องสมุดแล้ว) อิอิ

ที่มาของรูปจาก http://www.flickr.com/photos/megancohen/61472927/

นักแสดงคนนี้ที่ผมชอบมากครับ เธอคือ 1 ในนางฟ้าชาร์ลี ไงครับ เธอคือ? Lucy Liu
วันนี้มาในรูปลักษณ์ของผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ต้องการความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ
ฉากในรูปดูคุ้นตา ประกอบกับกลิ่นไอของหนังสือ บ่งบอกสถานที่ชัดเจนว่า ฉากนี้คือ ห้องสมุด

นักแสดงคนนี้ ผมตามดูหนังที่เธอแสดงหลายๆ เรื่อง เช่น Shanghai Noon, Charlie?s Angels, Kill Bill และผลงานอีกหลายๆ เรื่องที่ผมยังไม่ได้ดู

เอาเป็นว่าผมประทับใจกับภาพโฆษณานี้
และ
ถ้าห้องสมุดหลายๆ ที่ดึงดารามาเป็นนางแบบ คงจะดีไม่น้อยเลย เพื่อนๆ คิดอย่างผมหรือปล่าว

สำหรับใครที่อยากรู้ประวัติและผลงานของเธอเพิ่มเติม ดูได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Lucy_Liu

พาชมนิทรรศการ ?เครื่องรางของขลัง? ณ มิวเซียมสยาม

วันนี้มีโอกาสมาดูงานนิทรรศการที่มิวเซียมสยาม ผมจึงไม่พลาดที่จะต้องรายงานให้เพื่อนๆ ได้ติดตามด้วย
งานนิทรรศการที่จัดขึ้นที่มิวเซียมสยามนี้ เป็นนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่อง “เครื่องรางของขลัง” ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยอยู่

ภายในนิทรรศการประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับความเชื่อ ของขลัง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย
ซึ่้งผมจะขอเล่าเรื่องตั้งแต่เดินเข้าไปในห้องนิทรรศการจนออกจากห้องนิทรรศการ

ในส่วนแรกจะพบกับเรื่อง “ทำไมต้องสร้างเครื่องราง” ซึ่งจะมีส่วนแสดงที่น่าสนใจ คือ เรื่องราวของพระเครื่อง นางกวัก และพวงมาลัยที่แขวนหน้ารถ (ในส่วนนี้เป็นการเกริ่นก่อนเข้าเรื่องราวของของขลัง)

ภายในห้องนิทรรศการจะมีข้อมูลต่างๆ นำเสนอ พร้อมกับ display ที่จัดไว้ค่อนข้างดี มีบรรยากาศมืดๆ ชวนขนลุกมาก ข้อมูลที่นำเสนอ เช่น สิ่งของบางอย่างที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติคนเราก็สามารถนำมาเป็นของขลังได้ เช่น เหล็กไหล คดต่างๆ เขากวาง เขี้ยวหมู ฯลฯ และป้ายข้อมูลความรู้ต่างๆ เช่น
– สิ่งเร้นลับกับมนุษย์
– ความกลังของคน
– ลัทธิผีและศาสนา
– ความเชื่อ
– ผีกับพราหมณ์
– ผีกับวิทยาศาสตร์
– ของขลังของผี
– พรจากเทพ
– เทศกาลขอพร
– ชุมนุมเทพเจ้า
– พิธีกรรมคู่ชีวิต
– กำเนิดพระพิมพ์และวัตถุมงคล
– ยุคแห่งพระเครื่อง
– ผีกับพุทธ
– ผลผลิตของลัทธิผี
– ไสยศาสตร์ ไสยดำ ไสยขาว
– ความเชื่อ : ไม่เชื่ออย่าลบหลู่
– ธุรกิจศรัทธา
– ยิ่งขลัง ยิ่ง (ราคา) สูง

หลังจากที่เดินผ่านห้องแสดงความรู้ต่างๆ มาแล้ว ก็จะพบกับห้องที่แสดงของขลัง โดยจัดวางของขลังในตู้กระจก แบบแยกเป็นกลุ่มต่างๆ ซึ่งเข้าไปห้องนี้ ผมเองก็รู้สึกขนลุกอย่างบอกไม่ถูกเลย เพราะมันขลังจนดูน่ากลัวไปเลยจริงๆ ของต่างๆ ที่แสดงเป็นของจริงๆ ไม่ใช่ของที่ทำขึ้นเพื่อโชว์นะครับ

เอาเป็นว่างานนี้ก็น่าสนใจมากๆ ครับ ใครว่างๆ ผมก็แนะนำให้เข้ามาชมงานนิทรรศการนี้นะครับ
งานนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายด้วย ชมฟรีตลอดงาน แถมได้ความรู้และไอเดียดีๆ ในการทำนิทรรศการ เผื่อเอาไปใช้กับห้องสมุดก็ได้นะ

บรรณารักษ์ระดับ 3, 4, 5, 6, 7 แตกต่างกันตรงไหน

เพื่อนๆ นอกวิชาชีพหลายๆ คนสงสัยและถามผมมาว่า บรรณารักษ์ 3 ที่สอบในราชการนี่คืออะไร
แล้วมันยังมีตำแหน่งบรรณารักษ์ระดับอื่นๆ อีกหรือไม่ วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องตำแหน่งบรรณารักษ์ในระดับต่างๆ

สายงานบรรณารักษ์ในวงการราชการก็มีระดับของตำแหน่งเหมือนวิชาชีพอื่นๆ แหละครับ
นอกจากบรรณารักษ์ 3 แล้ว ในวงการราชการอาจจะพบคำว่า บรรณารักษ์ 4,5,6,7 อีก
ซึ่งตำแหน่งต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามานี้มาจากการสอบซึ่งดูที่ความสามารถและประสบการณ์ทำงานเช่นกัน

เรามาดูความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ระดับต่างๆ กันดีกว่า

บรรณารักษ์ระดับ 3
1. มีความรู้ในวิชาการบรรณารักษ์ศาสตร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าในในกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล


บรรณารักษ์ระดับ 4 (ทำงานระดับ 3 แล้ว 2 ปี)

1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำและ เสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน

บรรณารักษ์ระดับ 5 (ทำงานระดับ 4 แล้ว 2 ปี, ทำงานระดับ 3 แล้ว 4 ปี, ปริญญาเอกบรรณารักษ์)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 6 (ทำงานระดับ 5 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 7 (ทำงานระดับ 6 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์

จะสังเกตได้ว่า ในบรรณารักษ์ระดับที่ 6 กับ 7 จะคล้ายๆ กัน แต่การที่จะวัดระดับชั้นกันนั้นอยู่ที่ประสบการณ์ทำงานต่างหาก
และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าทุกๆ 2 ปี จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นก็ทำงานเก็บประสบการณ์กันไปเรื่อยๆ นะครับ

อ๋อเรื่องตำแหน่งที่สูงขึ้น แน่นอนครับเงินก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ผมคงไม่ทราบหรอกนะครับว่าตำแหน่งไหนได้เงินเท่าไหร่
ใครรู้ก็ช่วยนำมาแชร์ให้ผมรู้บ้างนะครับ จะขอบคุณมากๆ อิอิ วันนี้ก็อ่านเล่นๆ กันดูนะครับ อย่างน้อยก็เพื่อพัฒนาตัวเอง

ห้องสมุดควรจัดเก็บสถิติอะไรบ้าง (มาวัดผลห้องสมุดกันเถอะ)

เพื่อนๆ หลายคนส่งเมล์มาถามผมว่า “เปิดห้องสมุดมาได้สักพักแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเก็บข้อมูลห้องสมุดอย่างไร
วันนี้ผมจึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลขต่าง ๆที่อยู่ในห้องสมุด เพื่อให้เพื่อนๆ ใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล

ตัวเลขต่างๆ ที่จัดเก็บในห้องสมุด หรือข้อมูลสถิติต่างๆ ที่เก็บในห้องสมุดเป็นตัวเลขที่แสดงให้เราเห็นว่าห้องสมุดมีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มีประโยชน์ในแง่ของการเขียนรายงานประจำเดือน ประจำปี เพื่อให้เราเป็นความต้องการของผู้ใช้บริการในห้องสมุด รวมถึงนำเสนอผู้บริหารให้ทราบถึงการดำเนินการต่างๆ ของห้องสมุด

ตัวเลขอะไรบ้างหล่ะที่น่าสนใจต่อการเก็บข้อมูล

– จำนวนสื่อสารสนเทศในห้องสมุด เช่น หนังสือ สื่อมัลติมีเดีย วารสาร ….
– จำนวนผู้เข้าใช้บริการในห้องสมุดในแต่ละวัน (แบบบุคคลและกลุ่มบุคคล)
– จำนวนผู้ที่มาสมัครสมาชิกกับห้องสมุด
– จำนวนการยืมคืนในแต่ละวัน
– จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่าน
– จำนวนครั้งที่มีการแสดงนิทรรศการ หรือ จัดบอร์ด
– จำนวนครั้งในการให้บริการตอบคำถาม
– จำนวนครั้งในการใช้บริการอุปกรณ์ต่างๆ ที่ห้องสมุดจัดเตรียม เช่น คอมพิวเตอร์ สื่อการเรียนการสอน
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่มีการแยกหมวดหมู่
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่สูญหาย
– จำนวนสื่อสารสนเทศที่ได้รับการอภินันทนาการ
– จำนวนวารสารเย็บเล่ม
– จำนวนอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยงานห้องสมุด
– จำนวนในการสร้างความร่วมมือระหว่างห้องสมุดกับหน่วยงานภายนอก
– ปริมาณค่าใช้จ่ายและรายรับต่างๆ ของห้องสมุด

เอาเป็นว่านี่ก็คือตัวอย่างการจัดเก็บจำนวนตัวเลขต่างๆ แบบคร่าวๆ นะครับ
และตัวเลขเหล่านี้ผมว่าไม่ยากเกินไปถ้าเพื่อนๆ จะนำไปจัดเก็บบ้าง
จริงๆ แล้วขอเสนอว่าถ้ามีแบบฟอร์มในการบันทึกรายการต่างๆ ก็จะดีมากด้วยครับ

ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดจากการจัดเก็บข้อมูลสถิติ
– เข้าใจและรู้จักความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น หนังสือหมวดไหนที่คนชอบอ่าน
– จัดสรรงบประมาณเพื่อเสริมความต้องการให้ผู้ใช้บริการ
– ขอเสนองบประมาณในการพัฒนาห้องสมุด

ซึ่งเอาเป็นว่าเมื่อเข้าใจถึงตัวเลขต่างๆ เหล่านี้แล้ว ผมก็อยากให้ทุกคนทำความรู้จักและรู้จักการนำตัวเลขเหล่านี้มาใช้ประโยชน์มากที่สุด ไม่ใช่ว่าเอาตัวเลขมาดูเพียงเพราะว่ามันเป็นแค่ตัวเลขเท่านั้นนะครับ

ปล. เดี๋ยววันละหลังจะมาเขียนเรื่องการประยุกต์ในการเก็บสถิติเพื่อสร้างความน่าสนใจในห้องสมุดนะครับ

คำคมจาก 3 ผู้นำด้านระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

วันนี้ผมขอนำเสนอบทความที่ผมเคยเขียนไปแล้ว ใน projectlib แต่พอย้อนกลับไปอ่านผมก็รู้สึกว่า
คำคมต่างๆ เหล่านี้ยังคงอญุ่ในใจของใครหลายๆ คนอยู่ เลยเอามาให้อ่านอีกรอบครับ
ที่มาของคำคมนี้ผมอ่านเจอจาก “Great quotes from Bill Gates, Steve Jobs and Linus Torvalds

หากคุณไม่รู้จักชื่อของบุคคลทั้งสามนี้ ผมว่าคุณคงจะตกยุคจากคอมพิวเตอร์ไปซะแล้ว
เพราะว่าบุคคลทั้งสามเป็นบุคคลตัวแทนแห่งระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Operating System ? OS)

Bill Gates ? Microsoft
Steve Jobs ? Apple
Linus Torvalds ? Linux

เรื่องที่ผมนำมาเสนอ ก็คือการนำตัวอย่างประโยคสุดเด็ดของทั้งสามคนมาลงให้อ่านครับ เริ่มจาก

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Bill Gates ? Microsoft

– 1993 : The Internet? We are not interested in it. (ตอนนั้นคงไม่มีคนพูดเรื่องอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง)

– 2001 : Microsoft has had clear competitors in the past. It?s a good thing we have museums to document that. (ทำห้องสมุดให้ด้วยนะ)

– 2004 : Spam will be a thing of the past in two years? time. (สแปมมากๆ ก็ไม่ดีนะ)

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Steve Jobs ? Apple

– 1991 : What a computer is to me is the most remarkable tool that we have ever come up with. It?s the equivalent of a bicycle for our minds. (เทคโนโลยี คือ อนาคต)

– 1997 : The products suck! There?s no sex in them anymore! (เหอๆๆๆๆ)

– 2006 : Our friends up north spend over five billion dollars on research and development and all they seem to do is copy Google and Apple. (จริงดิ โฮ)

??????????????????????-

ประโยคสุดเด็ด จาก? Linus Torvalds ? Linux

– 1991 : I?m doing a (free) operating system (just a hobby, won?t be big and professional like gnu) for 386(486) AT clones. (นี่แหละอำนาจแห่งการแบ่งปัน)

– 1998 : My name is Linus Torvalds and I am your god. (มีงี้ด้วย)

– 2007 : I have an ego the size of a small planet. (ครับต้องทำภายใต้โลกใบนี้ด้วย)

??????????????????????-

เป็นไงบ้างครับ ขั้นเทพจริงๆ เลยปล่าว แต่ที่ผมนำมาให้อ่านแค่ตัวอย่างเท่านั้นเองนะครับ
ถ้าใครอยากอ่านแบบเต็มๆ ก็เข้าไปดูได้ที่ http://royal.pingdom.com/?p=325

Sources:
Images from Wikimedia Commons: Bill Gates, Steve Jobs, Linus Torvalds.
Quotes found on Wikiquote.org.

นำเสนอประวัติโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha แบบ Visualization

วันนี้ผมขอนำตัวอย่าง “การใช้ Visualization เพื่อนำเสนองานด้านห้องสมุด” มาให้เพื่อนๆ ดูกันนะครับ
การนำเสนอแบบ Visualization กำลังเป็นที่นิยมในวงการไอที ดังนั้นห้องสมุดเราก็ไม่ยอมน้อยหน้าเช่นกัน

คำอธิบายเรื่อง Visualization แบบสั้นๆ ง่ายๆ คือ การแปลงข้อมูลจำนวนตัวอักษรให้กลายเป็นรูปภาพเพื่อให้การนำเสนอดูง่ายและน่าสนใจยื่งขึ้น (เอาไว้ผมจะเขียนบล็อกเรื่องนี้วันหลังครับ)

ตัวอย่างที่ผมจะนำมาให้ดูนี้เป็น Visualization แสดงความเป็นมาของการพัฒนาโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha
ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติแบบรหัสเปิด หรือเรียกง่ายๆ ว่า Opensource

หากให้เพื่อนๆ ไปนั่งอ่านประวัติของ Koha เพื่อนๆ ก็คงอ่านได้ไม่จบหรอกครับ
เพราะว่าโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha เริ่มโครงการในปี 1999 (ปีนี้เป็นปีที่ 11 แล้ว)
โดยเพื่อนๆ สามารถอ่านได้จาก http://en.wikipedia.org/wiki/Koha_%28software%29 หรือ http://koha-community.org/

ในงาน kohacon (KOHA Conference) ที่ผ่านมา http://www.kohacon10.org.nz/
ได้มีการฉายคลิปวีดีโอ “Koha Library Software History Visualization” ทำเอาเป็นที่ฮือฮามาก
เพราะเป็นการใช้ Visualization ในการนำเสนอประวัติการพัฒนาของโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Koha

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=Tl1a2VN_pec[/youtube]

ในคลิปวีดีโอนี้เริ่มจากข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรม KOHA ในเดือนธันวาคม 2000 – ตุลาคม 2010
ดูภาพแล้วก็อ่านคำอธิบายที่โผล่มาเป็นระยะๆ ดูแล้วก็เพลินดีครับ เพลงก็ไปเรื่อยๆ

ถามว่าถ้าให้อ่าน paper ประวัติที่มีแต่ตัวอักษร กับ Visualization นี้
ผมคงเลือกดู Visualization เพราะผมแค่อยากรู้ว่าช่วงไหนทำอะไร ไม่ได้อยากทำรายงานนะครับ

เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ก็ค่อยๆ ดูไปนะครับ ผมว่าเพลินดี
วันนี้ก็ขอแนะนำเพียงเท่านี้ก่อนนะครับ สุขสันต์วันหยุดครับ

เว็บไซต์ชุมชนผู้พัฒนา KOHA – http://koha-community.org/

เทศบาลเมืองลำพูนรับสมัครผู้ช่วยบรรณารักษ์

วันนี้มีงานบรรณารักษ์มาแนะนำอีกแล้วครับ งานนี้สำหรับคนที่อยากทำงานต่างจังหวัดนะครับ
ซึ่งงานในวันนี้เป็นงาน “ผู้ช่วยบรรณารักษ์” ที่ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน

รายละเอียดงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : ผู้ช่วยบรรณารักษ์
ลักษณะงาน : สัญญาจ้าง 1 ปี
จำนวน : 1 อัตรา
เงินเดือน : 7940 บาท
สถานที่ : ห้องสมุดเทศบาลเมืองลำพูน

อย่างที่บอกอ่ะครับว่าสำหรับคนที่อยากทำงานที่จังหวัดลำพูนนะครับ และที่สำคัญคือไม่ใช่งานประจำนะครับ เป็นแค่สัญญาจ้าง 1 ปี ดังนั้นคิดให้ดีๆ ก้อนการสมัครนะครับ เอาเป็นว่าใครสนใจก็อ่านต่อได้เลยครับ

หน้าที่และความรับผิดชอบของตำแหน่งนี้
ปฏิบัติงานในหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหา และคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด วิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ ทำบัตรรายการ ทำบรรณานุกรม ทำดรรชนี ทำสารสังเขป จัดทำคู่มือการศึกษาค้นคว้าหนังสือในห้องสมุด ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ศึกษา ค้นคว้าการจัดระบบงานที่เหมาะสมของห้องสมุด และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ที่ต้องการสมัคร ขอแค่จบปริญญาตรีเอกบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องก็พอ อายุไม่เกิน 60 ก็พอแล้วครับ

เกณฑ์ในการรับ ไม่มีการสอบข้อเขียน แต่กรรมการจะพิจารณาจากประวัติของผู้สมัครและการสัมภาษณ์เป็นหลักครับ

ตำแหน่งงานนี้รับสมัครถึงวันที่ 3 – 19 พฤศจิกายน 2553 และสมัครได้ที่
งานการเจ้าหน้าที่ สำนักปลัด เทศบาลเมืองลำพูน เบอร์โทรติดต่อ 0-5356-1524

เอาเป็นว่าใครสนใจก็เข้ามาดูรายละเอียดได้ที่
http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/Attachments/348/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A.pdf

ขอให้เพื่อนๆ โชคดีนะครับ

อ่านรายละเอียดของงานได้ที่
http://www.nmt.or.th/lamphun/mueanglamphun/Lists/List2/DispForm.aspx?ID=348&Source=http%3A%2F%2Fwww.nmt.or.th%2Flamphun%2Fmueanglamphun%2FLists%2FList2%2Fview1.aspx%3FSortField%3DModified%26SortDir%3DDesc%26View%3D%257b621EDFA8%252d7D84%252d4295%252d87BF%252d8FA28C14D278%257d

กระทรวงการต่างประเทศรับบรรณารักษ์จ้างเหมาบริการ 6 อัตรา

ช่วงนี้มีหลายคนกำลังหางานบรรณารักษ์อยู่ ผมก็เลยขอเน้นเรื่องหางานสักสองสามวันนะครับ
วันนี้เป็นงานบรรณารักษ์แบบจ้างเหมาบริการ (ไม่ใช่งานประจำหรือได้บรรจุนะครับ)

รายละเอียดของงานเบื้องต้น
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ลักษณะงาน : จ้างเหมาบริการ
จำนวน : 6 อัตรา
เงินเดือน : 10,600 บาท
สถานที่ : กระทรวงการต่างประเทศ

ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ : จ้างเหมากระทรวงต่างประเทศ นอกจากไม่มีโอกาสบรรจุแล้ว ยังไม่มีสวัสดิการใดๆ ด้วยนะครับ

คุณสมบัติของผู้ที่จะสมัคร
– จบปริญญาตรีด้านบรรณารักษ์หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
– ผ่านรายวิชาการวิเคราะห์หมวดหมู่ (Catalog)
– สามารถใช้งาน microsoft office ได้ดี
– ใช้ภาษาอังกฤษได้ดี
– อายุไม่เกิน 35 ปี

ลักษณะงานโดยทั่วไป (แก้ไข ได้ข้อมูลมาเพิ่ม)
– งานห้องสมุดทั่วไป
– งานจัดเก็บเอกสารกลาง
– งาน e-library (ใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน)

ตำแหน่งงานนี้รับสมัครถึงวันที่ 10 พฤศจิกายนนะครับ ซึ่งจะตัดสินกันด้วยการทดสอบ 3 หัวข้อหลัก คือ
– ระบบการจัดเก็บเอกสารของกระทรวงการต่างประเทศ
– ความรู้ทั่วไปด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
– แปลข่าวภาษาอังกฤษ

เอาเป็นว่าใครสนใจก็ลองติดต่อไปที่
กองบรรณสารและห้องสมุด ชั้น 3 กระทรวงการต่างประเทศ อาคารศรีอยุธยา
หรือ ฝ่ายบรรณสาร กระทรวงการต่างประเทศ อาคารกรมการกงศุล ถนนแจ้งวัฒนะ
หรือโทรศัพท์ 02-643-5000 ต่อ 23902-23905 ในวันและเวลาราชการนะครับ

ใครที่อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็เข้ามาโหลดเอกสารรายละเอียดงานได้ที่
http://www.mfa.go.th/internet/news/37339.pdf

ห้องสมุดโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยรับบรรณารักษ์ (รับไปแล้วนะ)

บรรณารักษ์ช่วยหางานมาพบกับเพื่อนๆ อีกครั้งแล้วนะครับ ในวันนี้ผมมีงานบรรณารักษ์มานำเสนอ
งานบรรณารักษ์ในวันนี้มาจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แนวนอนครับ “บรรณารักษ์โรงเรียน”

รายละเอียดทั่วไปของตำแหน่งงาน
ชื่อตำแหน่ง : บรรณารักษ์
ห้องสมุด : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

หน้าที่โดยทั่วไปของตำแหน่งนี้ คือ การปฏิบัติงานในห้องสมุด ให้บริการยืมคืน catalog และช่วยสอนนักเรียนในเรื่องของการสืบค้นและการเข้าใช้ห้องสมุด เอาเป็นว่างานผมว่าก็ไม่ได้ยากเกินไปหรอกนะครับ บรรณารักษ์ทุกคนต้องทำได้อยู่แล้ว

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสมัคร
1.? ชาย / หญิง? อายุไม่เกิน 40 ปี
2. วุฒิ ป.ตรี / โท? สาขาบรรณารักษ์ศาสตร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
3. มีใจรักการบริการ ซื่อสัตย์ ขยัน
4. มีประสบการณ์และใบประกอบวิชาชีพครูจะพิจารณาเป็นพิเศษ

ปล. รับไปแล้วนะครับ