แนวทางในการปรับเปลี่ยน ห้องสมุดโรงเรียน ให้เข้ากับการศึกษาในยุคปัจจุบัน

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังไม่จบ (ผ่านมาเกือบจะ 2 ปีแล้ว) ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเรา และสิ่งหนึ่งที่ผมอยากบอก คือ สถานกาณ์นี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ เรื่อง และไม่มีวันที่จะกลับไปสู่ความปกติแบบเดิม

วันนี้ผมได้เข้าไปอ่านบล็อก เรื่อง “Six Ways that School Libraries Have Changed (and One that Will Always Be the Same)” แล้วรู้สึกว่าเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “เพื่อนครูบรรณารักษ์” หรือ ผู้ที่สนใจและทำงานในห้องสมุดโรงเรียน

ปัจจุบันนี้ โรงเรียนหรือสถานศึกษา ยังไม่สามารถกลับมาสอนเด็กๆ แบบปกติได้ และเกือบทั้งหมดเน้นการเรียนการสอนผ่าน Remote Classroom แล้วแบบนี้ ห้องสมุดโรงเรียนจะให้บริการเด็กๆ ได้อย่างไร

6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยน มีอะไรบ้างหล่ะ ไปดูกันเลย

1) Flexible, Collaborative Learning Environments.
ความยืดหยุ่น และสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน

2) Maker Spaces, Creation Stations and Engagement.
พื้นที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ พื้นที่ประดิษฐ์โครงงาน สิ่งของ

3) More Technology.
เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ห้องสมุดทันสมัย น่าตื่นเต้น และดึงดูดใจ

4) The Comfort Factor.
สร้างความสะดวกสบายในการใช้งาน และการเรียนรู้

5) Team Teaching, Multi-tasking, Twenty-first Century Librarians.
บูรณาการ (ศัพท์แบบไทยๆ) คุณครูและบรรณารักษ์ต้องร่วมมือกันสอนเด็กๆ

6) Noise.
หมดยุคห้องสมุดที่ต้องเงียบแล้วครับ เพราะการเรียนรู้ที่ต้องเรียนร่วมกันจำเป็นที่ต้องมีการพูดคุย

จาก 6 สิ่งที่ห้องสมุดโรงเรียนต้องปรับเปลี่ยนข้างต้นแล้ว ในบทความมีทิ้งท้ายสิ่งที่สำคัญและไม่มีวันเปลี่ยนแปลงห้องสมุดโรงเรียนได้ คือ การส่งเสริมเรื่องนิสัยรักการอ่าน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสร้างการตระหนักรู้ในทุกเรื่อง (Literacy)

เอาเป็นว่าไปสำรวจห้องสมุดโรงเรียนของเพื่อนๆ ดูว่าตอนนี้ สามารถปรับเปลี่ยนห้องสมุดโรงเรียนให้เข้ากับ การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากน้อยเพียงใด

ผมเป็นกำลังใจให้นะครับ…

บทความต้นฉบับ : https://action.everylibrary.org/six_ways_that_school_libraries_have_changed_and_one_that_will_always_be_the_same

Exit mobile version