ห้องสมุดยุคใหม่ : การแบ่งพื้นที่ภายในห้องสมุดประชาชนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ห้องสมุด ไม่ใช่ “ห้องเก็บหนังสือ” หรือ “โกดังหนังสือ” หรือ “ห้องอ่านหนังสือ” เพียงอย่างเดียวอีกแล้ว หนึ่งในภารกิจของห้องสมุดที่เราปฏิเสธไม่ได้ คือ “การเป็นแหล่งเรียนรู้” ซึ่งการเรียนรู้ก็ไม่ได้มีเฉพาะแค่เรื่องการอ่านเพียงอย่างเดียว

ศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา

ประโยคยอดฮิตของผม คือ “ความรู้สำคัญกว่าสถานที่”
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบสถานที่ของห้องสมุดเพื่อให้ตอบโจทย์นี้

ห้องสมุดที่ประสบความสำเร็จ (ห้องสมุดที่ได้รับรางวัลระดับโลก) ต่างก็มีมุมมองเรื่องนี้เช่นกัน
และแนวคิดหนึ่ง/งานวิจัยหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงมาก คือ

“A new model for the public library in the knowledge and experience society”
ดาวน์โหลดได้ที่ https://static-curis.ku.dk/portal/files/173562136/A_new_model_for_the_public_library.pdf

แนวคิดในการแบ่งพื้นที่ของห้องสมุดออกเป็น 4 ส่วน คือ

  1. Learning Space = พื้นที่ที่ใช้ในการเรียนรู้ (พื้นที่เดิมของห้องสมุด)
  2. Meeting Space = พื้นที่ที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน พื้นที่ประชุม
  3. Performative Space = พื้นที่ที่ใช้ในการแสดงความสามารถ
  4. Inspirative Space = พื้นที่ที่ใช้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ / นิทรรศการ

จากองค์ประกอบทั้ง 4 ส่วน เราจะได้ Keyword ที่น่าสนใจของแต่ละพื้นที่ เช่น

นอกจาก Keyword แล้ว หากเราดูส่วนผสมระหว่างพื้นที่ต่างๆ เราจะได้คำเพิ่มอีก เช่น

แค่แผนภาพนี้เพียงภาพเดียวทำให้เราคิดได้บรรเจิดมากๆ ลองนึกภาพโมเดลใหม่นี้ในห้องสมุดของเราดูครับว่า เรามีครบหรือไม่ เช่น

ตัวอย่างห้องสมุดที่นำแนวคิดนี้มาใช้ จริงๆ ก็มีมากมายนะครับ
เช่น Oslo Public Library (น่าจะเปิดปีหน้า), Oodi Helsinki Central Library (เพิ่งได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่นแห่งปี 2019)

เอาเป็นว่านอกจากงานวิจัยต้นฉบับแล้ว ผมบังเอิญไปเจอคนที่เขียนถึงเรื่องนี้ในประเทศไทยด้วย
ลองอ่าน เรื่อง “พื้นที่่การเรียนรู้สําหรับผู้เรียนยุคดิจิทัลในห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา
https://www.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/view/152965/152330

Exit mobile version