Licensing สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ (ควรมีหรือไม่)

มีเพื่อนๆ หลายคนถามผมว่า “วิชาชีพห้องสมุด” และ “วิชาชีพบรรณารักษ์
ควรมีการสอบวัดความสามารถและออกใบรับรองผลกันบ้างหรือไม่

วันนี้ผมจึงขอหยิบเรื่องการสอบใบประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์มาเขียน
เผื่อว่ามันอาจจะช่วยให้เราคิดและผลักดันวิชาชีพของเราให้มีการตื่นตัวกันมากขึ้น

เพื่อนๆ เคยทราบมั้ยครับว่า ประเทศนึงในกลุ่มอาเซียน
ให้ความสำคัญกับวิชาชีพบรรณารักษ์มาก นั่นคือ ประเทศฟิลิปปินส์

มากจนถึงขั้นว่าต้องมีการสอบ “ใบประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์” กันเลย
ใบนี้สำคัญแค่ไหน —> เอาเป็นว่า ถ้าไม่มีใบนี้คุณไม่สามารถทำงานบรรณารักษ์ได้
แล้วถ้าทำงานด้านนี้โดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพหล่ะ แน่นอนครับก็ต้องมีบทลงโทษเช่นกัน

ปีหนึ่งมีการสอบเพียงครั้งเดียว พลาดแล้วต้องรอปีหน้า
วัดผลกันแบบว่าต้องให้ผ่านเท่านั้น “ไม่ใช่แค่ไปสอบก็ผ่าน

ผมขอสรุปผลการสอบในปีที่ผ่านมาให้เพื่อนๆ อ่านกันหน่อยดีกว่า
โดยปีที่ผ่านมาเขาสอบกันไปวันที่ 23-24 เมษายน 2557 ครับ

ปี 2014 มีคนผ่านเพียงแค่ 28% (สอบ 533 คน ผ่าน 149 คน)
นับเป็นปีที่มีคนผ่านน้อยกว่าปี 2012(47%) และ 2013(46%)

สอบอะไรบ้าง และ คิดคะแนนยังไง
จัดสอบโดย Professional Regulation Commission

– Organization, management and maintenance of multimedia based library or information service, laws, trends and pratices affecting the profession (20%)
– Reference, Bibliography and information services (20%)
– Selection and Acquisition of multimedia source of information (15%)
– Cataloguing and Classification (20%)
– Indexing and Abstracting (15%)
– Information Technology (10%)

เอาเป็นว่าแค่เห็นไกด์ในการสอบแล้ว ผมก็อึ้งแบบเล็กๆ
หน่วยงานที่จัดได้รับการรับรอง การสอบได้มาตรฐาน และที่สำคัญมีผลบังคับใช้

เพื่อนๆ อาจมองว่าต้องเป็นคนฟิลิปปินส์อย่างเดียวหรือเปล่าที่ต้องสอบ
เปล่าครับ ถึงแม้คนต่างชาติที่ต้องไปทำงานด้านนี้ก็ต้องสอบด้วยเช่นเดียวกัน
ไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น

เมื่อรวมเป็นประชาคมอาเซียนเผื่อมีคนสนใจไปทำงานที่นั่น
ก็อย่าลืมไปสมัครสอบด้วยนะครับ ไม่งั้นนอกจากจะไม่ได้ทำงานแล้ว
อาจโดนลงโทษทางกฎหมายก็ได้นะ

เอกสารชุดนี้เอามาให้ดู เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับการสอบเมื่อเดือนเมษายน 2014
http://www.prc.gov.ph/uploaded/documents/LIB0414bp_022414.pdf

เพื่อนๆ ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ผมเคยเขียนไว้ที่ 
“ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบรรณารักษ์ (LIBRARIANS’ LICENSURE)”

Exit mobile version