การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)

วันนี้ผมมานั่งฟังบรรยาย เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom)
ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO
ดังนั้นผมคงไม่พลาดที่จะสรุปเนื้อหาให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน

แต่ก่อนจะอ่านเรื่องที่ผมสรุปนั้น ผมขอพูดถึงงานสัมมนาครั้งนี้ให้เพื่อนๆ ฟังก่อน
งานสัมมนาครั้งนี้ จัด 2 วัน คือ วันที่ 18 – 19 กุมภาพันธ์ 2552
ชื่อของการจัดสัมมนา
– การสัมมนานานาชาติ เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) (18/2/52)
– การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่น (19/2/52)

สถานที่ในการจัดงาน
– อาคารสัมมนา 1 ห้อง 5209 (18/2/52)
– อาคารสัมมนา 2 ห้อง 233 (19/2/52)

งานสัมมนาครั้งนี้ จัดโดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย และ IFLA RSCAO

หัวข้องานสัมมนาในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552 ที่น่าสนใจ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdom : Best Practices
โดย Prof. Gary Gorman และ Dr. Dan Dorner

สถานการณ์ปัจจุบัน
– การเพิ่มจำนวนของการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีมากขึ้น
– ความเร็วในการเชื่อมต่อเครือข่ายมีสูงขึ้น
– การติดต่อสื่อสารข้ามประเทศสะดวกขึ้น
– ข้อมูลออนไลน์มีมากขึ้น
– มีองค์ประกอบภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้เพิ่มมากขึ้น

Digital Preservation คือ กระบวนการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล และทำให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้าถึงได้
Digital Preservation = (manage,collect + care,preserve)

การทำ Digitization คือการทำข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล (ถือว่าเป็นการจัดเก็บและรวบรวมเท่านั้น)
ดังนั้นไม่ถือว่าเป็นการทำ Digital Preservation ทั้งหมด (เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำ)

การทำ Digital Preservation ต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้
– พื้นที่ของการจัดเก็บข้อมูล (Storage medium)
– คนที่จะมาดูแลการทำ (Staff)
– นโยบายขององค์กร (Policies)
– การวางแผนในการทำ (Planning)

หลักสำคัญของการทำ Digital Preservation คือ
– การเข้าถึง และการใช้งาน (Access and Use)
– เนื้อหาที่จะทำ (Content)
– การออกแบบระบบ (System Design)

(Access) สาเหตุที่คนไม่เข้ามาใช้งานระบบ (ประยุกต์เป็นการใช้งานเว็บไซต์ห้องสมุด)
– ไม่มีเครื่องมือที่ใช้ในการใช้งาน เช่น ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเทอร์เน็ต
– สารสนเทศที่มีไม่เป็นที่ต้องการ หรือ ข้อมูลยังไม่ลึกพอ

(Content) วิธีการเลือกเนื้อหาในการจัดทำ
– คุณต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนในเรื่องเนื้อหา เช่น เนื้อหาอะไร และจะทำอย่างไร
– เนื้อหาที่สถาบันมี หรือสังคมมี
– เนื้อหาที่สนับสนุนการทำงานขององค์กร

(System Design) การออกแบบต้องดูทั้งในเรื่อง Software และ hardware
– Software เช่น ระบบการค้นคืนสารสนเทศ (Information Retrieval), Metadata
– Hardware ต้องสอดคล้องกับการใช้งาน และต้องมีการปรับปรุงเสมอๆ

กรณีศึกษา National Digital Heritage Archive (NDHA)
ปี 2000 สมาคมห้องสมุดแห่งนิวซีแลนด์ศึกษาและพัฒนากลยุทธ์
ปี 2003 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ปฏิบัติตามแผน
ปี 2004 ห้องสมุดแห่งชาตินิวซีแลนด์ได้รับเงินมาพัฒนา และเริ่มต้นความร่วมมือกับบริษัท Libris
ปี 2005 ออกกลยุทธ์การทำข้อมูลดิจิตอลของนิวซีแลนด์
ปี 2008 ทดสอบ NDHA

??????????????????-

Using Open Source Systems to Develop Local repositories
โดย Assoc.Prof. Diljit Singh

แนะนำข้อมูล Asia-Oceania ว่ามีขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทั้งในแง่ภาษา วัฒนธรรม ฯลฯ ดังนั้นจึงควรมีการรวบรวม และจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ เช่นคำว่า water มีการเรียกที่แต่ต่างกัน ประเทศไทยเรียกว่า น้ำ ประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า มิซุ ฯลฯ

ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) คือ ความรู้ที่เกิดจากการค้นพบ และสืบทอดกันมาของคนในพื้นที่นั้นๆ อาจจะนำเสนอในรูปแบบ คำพูด บันทึก ประสบการณ์ ฯลฯ

ทำไมภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) จึงสูญหาย
– ไม่มีการทำบันทึกแบบเป็นเรื่องเป็นราว
– เป็นความรู้ที่เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น พอไม่มีคนสืบทอดความรู้ก็สูญหายไป

ห้องสมุดควรมีบทบาทต่อการ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Preservation of Local Wisdom) ด้วย เพราะโดยทั่วไป ห้องสมุดก็มีหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูล และเป็นแหล่งที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้

แนวความคิดในการสร้าง Local repositories
– ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงแหล่งจัดเก็บข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหา การอ่าน หรือการนำไปใช้
– รูปแบบของข้อมูลสามารถเป็นได้ทั้ง รูป เสียง ข้อความ วีดีโอ ที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิจิตอล

ทำไมต้องเลือกใช้ Open Source Systems
– ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก และลดต้นทุนการใช้โปรแกรมได้
– การขอใช้งานไม่ต้องผ่านตัวกลาง เราสามารถนำมาใช้ได้ทันที
– มีความยืดหยุ่นสูง เพราะสามารถปรับแต่ง sourcecode ตามที่เราต้องการได้

Open Source software ที่แนะนำในงานนี้ คือ Dspace, Fedora, Greenstone

??????????????????-

From LIS to ICS, a Curriculum Reform
โดย Assoc.Prof. Chihfeng P. Lin

หลักสูตรด้านบรรณารักษศาสตร์และ สารสนเทศศาสตร์กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบของเนื้อหาวิชาใหม่ เพราะว่าการเรียนบรรณารักษ์อย่างเดียวจะทำให้เราตามโลกไม่ทัน

รูปแบบการปรับเปลี่ยนของสาขาวิชา
Library and Information -> Information -> Information Communication

ไอซีทีในด้านห้องสมุด เช่น
– ระบบคอมพิวเตอร์ในห้องสมุด (Computerizing)
– ระบบอัตโนมัติ (Automation)
– ระบบเครือข่าย (Networking)
– ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
– ระบบข้อมูลดิจิตอล (Digitization)

ใน Information Communication Science ควรเรียนอะไรบ้าง
– Planning and practice of digitization
– Digitized information services and marketing
– Knowledge management
– Stores and management of electronic forms
ฯลฯ

??????????????????-

Preservation of Local Wisdoms in Thailand
โดย Ms.Naiyana Yamsaka

ภูมิปัญญาท้องถิ่น = ภูมิปัญญาของชาติ = มรดกทางปัญญาของชาติ

การเก็บรักษาวัสดุทางภูมิปัญญาของชาติในประเทศไทยมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เช่น
– อากาศร้อนชื้น
– สัตว์รบกวน เช่น มด มอด แมลงสาบ หนู

หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลและอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย เช่น
– สำนักโบราณคดี
– พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
– หอสมุดแห่งชาติ
– หอจดหมายเหตุ

การสงวนรักษาหนังสือในหอสมุดแห่งชาติ

การสงวนรักษาเอกสารในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

แนะนำบริการสืบค้นข้อมูลเอกสารจดหมายเหตุ
– www.net.go.th
– www.narama.go.th

??????????????????-

ทั้งหมดนี้ก็เป็นการสรุปเนื้อหาการบรรยายของวันแรกเท่านั้นนะครับ

Exit mobile version