มาดูตัวอย่างการออกแบบห้องสมุดขั้นเทพกันเถอะ

วันนี้ขอเล่าเรื่องการออกแบบอาคารห้องสมุดกันหน่อยดีกว่า
เพราะว่าเรื่องของสภาพทางกายภาพก็มีส่วนในการดึงดูดให้ผู้ใช้ให้ความสนใจห้องสมุดเหมือนกัน
(เพียงแต่ในเมืองไทย บรรณารักษ์อย่างเราไม่ค่อยมีบทบาทในการช่วยสถาปนิกออกแบบ)

หลังจากที่ผมได้คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสถาปัตย์ก็พอจะรู้ว่า
คนกลุ่มนี้พยายามจะศึกษาเรื่องการออกแบบห้องสมุดกันมากมาย
เช่น บางคนเอาเรื่องการออกแบบห้องสมุดไปทำเป็นโปรเจ๊คซ์เรียนจบเลยก็ว่าได้

ถามว่าการออกแบบห้องสมุดต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง (นอกจากเรื่องของเงิน)
– ต้องมีรูปแบบใหม่ ?
– ต้องทันสมัย ?
– ต้องหรูหรา ?

เอาเป็นว่าสิ่งที่กล่าวมา ผมมองว่าไม่ได้ถูกต้องเสมอไปหรอกนะครับ

สิ่งสำคัญที่ทำให้อาคารห้องสมุดมีความสมบูรณ์ คือ
ต้องออกแบบเพื่อรองรับกับงานบริการผู้ใช้ และการทำงานของบรรณารักษ์ไปพร้อมๆ กันด้วย

ตัวอย่างเรื่องหลายๆ เรื่องที่ต้องลงรายละเอียดในการออกแบบอาคารห้องสมุด
– การออกแบบชั้นหนังสือในห้องสมุด เช่น การจัดเรียงหนังสือ ความสูงของชั้นหนังสือ ฯลฯ
– การจัดพื้นที่ในการให้บริการต่างๆ เช่น โซนที่ต้องการความเงียบ โซนเด็ก โซนมัลติมีเดีย ฯลฯ
– สภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ๆ อาคารห้องสมุด เช่น ติดถนนมีเสียงดังหรือปล่าว????

แต่ขอบอกก่อนนะครับว่ารูปที่ผมจะนำมาให้ดูนี้ เป็นเพียงแค่ตัวอย่างโครงสร้างอาคารห้องสมุดแบบสวยๆ เท่านั้น
แต่การใช้งานจริงด้านในผมก็ยังไม่เคยไปนะครับ เอาเป็นว่าไม่ขอวิจารณ์ฟังค์ชั่นการทำงานด้านในแล้วกัน

(ดูให้เห็นว่าสวยนะ อิอิ)

งั้นเราไปดูตัวอย่างการออกแบบกันสักนิดนะครับ

ภาพแรก โครงสร้างและการออกแบบ The Seattle Public Library


ภาพที่สอง โครงสร้างและการออกแบบ Woodschool


ภาพที่สาม โครงสร้างและการออกแบบ The Consortium Library (University of Alaska Anchorage)


ภาพที่สี่ โครงสร้างและการออกแบบ Philadelphia?s Parkway Central Library

เป็นยังไงกันบ้างครับกับตัวอย่างการออกแบบโครงสร้างห้องสมุดทั้ง 4 ที่
หากเพื่อนๆ ยังไม่จุใจในการดู เพื่อนๆ สามารถเข้าไปอ่านเรื่องการอ่านออกแบบห้องสมุดได้จากเรื่อง
Brilliantly Bookish: 15 Dazzling Library Designs

สุดท้ายนี้หวังว่าสถาปนิกเมืองไทยคงจะมีแนวทางในการออกแบบห้องสมุดแบบสวยๆ กันบ้างนะครับ
สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้นั่นก็คือ ไม่ว่าห้องสมุดจะหน้าตาแบบใด
การบริการของบรรณารักษ์ก็ยังคงต้อง service mind ต่อไปนะครับ

ที่มาของรูป และที่มาของแรงบันดาลใจในการเขียน
http://www.weburbanist.com

Exit mobile version