บอกเล่าเก้าสิบ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้”

วันนี้ผมขอแนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” นะครับ
เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ผมทำงานอยู่ด้วยก็เลยอยากให้เพื่อนๆ รู้ และเข้าใจว่าผมกำลังทำอะไร

ก่อนที่จะเล่าเรื่องของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ให้ฟัง ผมอาจจะต้องเกริ่นข้อมูลทั่วๆ ไปก่อนนะครับว่า

สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 หลายๆ คงได้เรียกสถานการณ์นี้ว่า ?เศรษฐกิจเผาจริง?
จำนวนคนตกงานกว่า 2 ล้านคน นักศึกษาจบใหม่ กว่า 7 แสนคนไม่มีงานทำ
ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวคนก็จะกลับสู่ต่างจังหวัดบ้านเกิด

อ่านมาแล้วเพื่อนๆ คงจะงง ว่า มันเกี่ยวอะไรกับ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ใช่มั้ยครับ
ผมก็เลยต้องขอตอบว่า “เกี่ยวสิครับ” เพราะว่าบทบาทของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ

กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยการเสนอ และสนับสนุนองค์ความรู้ที่คัดสรรตามความจำเป็น
และความต้องการของกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่บนแนวความคิด “เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative economy)”

แล้วเพื่อนๆ ลองคิดต่อนะครับว่า เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีคุณภาพ ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ (คนมีงานทำ)
พอคนมีงานทำก็จะเกิดการจับจ่ายเพื่อการบริโภค และทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ไม่หดตัว

โดยสโลแกนของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ที่ผมชอบมากๆ ก็คือ
?เพราะความรู้ ใช้ทำมาหากินได้?

ต่อมาเรามาดูบทบาท ประโยชน์ และสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในห้องสมุดดีกว่าครับ

บทบาทหลักของโครงการศูนย์ความรู้กินได้

เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ และให้บริการองค์ความรู้ตามความต้องการของหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และภาระกิจของหน่วยงานต่างๆ

เป็นส่วน ?เติม? มุมมองใหม่ๆ ผ่านทางการจัดนิทรรศการ สัมมนา สร้างต้นแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรู้ และปัญญาผลิตวิธีการ และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อหลุดพ้นจากบริบท หรือกรอบแนวความคิดแบบเดิมๆ

รวบรวมข้อมูล + องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์จากหลายๆ หน่วยงานหลากหลายพื้นที่มาบริหารจัดการให้เกิดการรับรู้ได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ความรู้ได้ถูกนำไปใช้ + ต่อยอดเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เชื่อมโยงออกไปจากระดับจังหวัดไปสู่ระดับประเทศ

ประโยชน์ของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพได้ในต้นทุนที่ต่ำ
2. การบริหารจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพของศูนย์ควมรู้กินได้ เป็นการแบ่งเบภาระของผู้ประกอบการในการดูแลบุคลากรท้องถิ่น
3. หน่วยงานในพื้นที่ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่จำเป็นและหลากหลายมากขึ้น

จากสิ่งที่ผมเกริ่น บทบาทของโครงการฯ สโลแกนของโครงการฯ ประโยชน์ของโครงการฯ
เพื่อนๆ คงเกิดคำถามว่า แล้วโครงการนี้ต้องทำอย่างไร ผมก็ขอกล่าวต่อเลยนะครับ

แนวทางในการปฏิบัติของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. นำเสนอเนื้อหา และรูปแบบความรู้ที่จำเป็นตามความต้องการของพื้นที่
2. สร้างภาพลักษณ์ให้กับอาคารห้องสมุดประชาชนในรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ ในการบริการความรู้ตามที่ได้รับการศึกษาวิจัย
3. เปลี่ยนบทบาทของบรรณารักษ์ให้กลายเป็นผู้ที่ให้บริการความรู้ได้ทุกรูปแบบ
4. นำเสนอนิทรรศการ ?ทำมาหากิน(ได้)? เพื่อแสดงตัวอย่างของความคิด วิธีทำ อุปสรรค และการแก้ปัญหา
5. จัดอบรมสัมมนาเพื่อ ?ทำมาหากิน?
6. ถอดบทเรียน ?ทำมาหากิน? เพื่อเปลี่ยน Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge

นี่คือข้อมูลทั่วไปของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้
หวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจในจุดประสงค์ และหลักการของโครงการนี้มากขึ้นนะครับ

Exit mobile version