บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

วันนี้ผมได้เข้าไปค้นข้อมูลเรื่องบรรณารักษ์จากเว็บไซต์ wikipedia
ซึ่งด้านในมีเนื้อหาที่พูดถึงบรรณารักษ์มากมาย แต่ที่ดูน่าสนใจเห็นจะเป็นเรื่อง
Librarian roles and duties – บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

ผมจึงขออนุญาตแปลมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านแล้วกัน
แต่นอกเหนือจากการแปลตรงตัวตัวของผมแล้ว
ผมจะขอแทรกแนวความคิดไว้ในบทความนี้ด้วยแล้วกัน

เอาเป็นว่าลองไปดูกันเลยดีกว่า

Librarian roles and duties
บทบาทและหน้าที่ของบรรณารักษ์

1. Public service librarians

บรรณารักษ์ที่ให้บริการทั่วไปในห้องสมุด เช่น บรรณารักษ์บริเวณจุดยืม คืน
บรรณารักษ์ที่คอยจัดเก็บหนังสือ สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้บริการโดยทั่วๆ ไปของห้องสมุด


2. Reference or research librarians

บรรณารักษ์ที่ช่วยการค้นคว้าและอ้างอิง บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะคอยนั่งในจุดบริการสอบถามข้อมูลต่างๆ
รวมถึงช่วยในการสืบค้นข้อมูล และรวบรวมบรรณานุกรม
ให้กับผู้ที่ต้องการทำงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ หรือศึกษาข้อมูลที่ตนเองสนใจ
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสืบค้น และสอบถามข้อมูล


3. Technical service librarians

บรรณารักษ์ที่ให้บริการด้านเทคนิค จริงๆ แล้วผมอยากจะเรียกว่า ?บรรณารักษ์เบื้องหลัง?
เนื่องจากบรรณารักษ์กลุ่มนี้จะทำงานด้านเทคนิดอย่างเดียว
เช่น การจัดหมวดหมู่หนังสือ (Catalog) หรือให้หัวเรื่องหนังสือเล่มต่างๆ
นอกจากนี้ยังรวมถึงการซ่อมแซมหนังสือหรือทรัพยากรสารสนเทศที่ชำรุดด้วย
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ด้านงานเทคนิค


4. Collections development librarians

บรรณารักษ์ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ หรือเราเรียกง่ายๆ ว่าบรรณารักษ์ฝ่ายจัดหา
มีหน้าที่คัดสรรทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ที่น่าสนใจและตรงกับนโยบายของห้องสมุดเข้าห้องสมุด
บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะรู้จักหนังสือใหม่ๆ มากมาย รวมไปถึงการขอรับบริจาคทรัพยากรสารสนเทศจากที่อื่นด้วย
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่นำหนังสือเข้าห้องสมุด


5. Archivists

นักจดหมายเหตุ เป็นบรรณารักษ์เฉพาะทางมีความรู้ และเข้าใจในเหตุการณ์และเอกสารฉบับเก่าแก่
และเน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศที่หายากของท้องถิ่นนั้นๆ หรือชุมชนนั้นๆ เป็นหลัก
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่คุมเรื่องเอกสารหายากและเก่าแก่


6. Systems Librarians

บรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ บรรณารักษ์กลุ่มนี้มีหน้าที่ดูแลระบบห้องสมุด
ไม่ว่าจะเป็นฐานข้อมูลห้องสมุด ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมสมาชิก
บรรณารักษ์กลุ่มนี้จะดูแลเรื่องเครื่องมือไฮเทคของห้องสมุด สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ไอที

7. Electronic Resources Librarians
บรรณารักษ์ที่ควบคุมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์จะคล้ายๆ กับบรรณารักษ์ผู้ดูแลระบบ
แต่จะยุ่งกับเรื่องสารสนเทศอย่างเดียว ไม่ยุ่งกับโปรแกรม
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่ดูแลข้อมูลในเว็บ หรือในฐานข้อมูล


8. School Librarians, Teacher

บรรณารักษ์ด้านการศึกษา อันนี้แบ่งได้เยอะแยะ
เช่น อาจารย์ด้านบรรณารักษ์ นักวิจัยบรรณารักษ์ ฯลฯ
สรุปง่ายๆ ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่อยู่สายวิชาการ

หากมองกันจริงๆ แล้วการแบ่งหน้าที่และบทบาทต่างๆ ดังกล่าว
อาจจะดูเหมือนการแบ่งประเภทงานของบรรณารักษ์เลยก็ว่าได้

บางห้องสมุดอาจจะใช้บรรณารักษ์ 1 คน ต่อ 1 งาน
แต่บางที่ผมก็สังเกตว่า บรรณารักษ์ 1 คน ต่อหลายงาน ก็เป็นได้
แต่ไม่ว่าจะแบ่งกันทำงานกี่อย่าง ทุกคนก็คงได้ชื่อว่าเป็น บรรณารักษ์ อยู่ดี

เอาเป็นว่าที่แยกให้ดูวันนี้ ผมไม่ได้หมายความว่าห้องสมุดจะต้องจัดคนตามนี้นะครับ
แต่เรื่องการจัดคนตามตำแหน่ง อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของห้องสมุดนั้นๆ ต่อไป

สำหรับใครที่ต้องการอ่านบทความต้นฉบับก็สามารถอ่านได้ที่
http://en.wikipedia.org/wiki/Librarian#Librarian_roles_and_duties

Exit mobile version