5 ห้องสมุดในสิงคโปร์ที่ต้องไปเยี่ยมชมปี 2016

5 Libraries in Singapore to visit in 2016

นานแล้วที่ไม่ได้เขียนบล็อก Libraryhub วันนี้ D-Day ขอเขียนสักเรื่องเพื่อให้หายคิดถึง
วันนี้ได้เข้าไปอ่านเว็บไซต์ของกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศ (Ministry of Communications and Information-MCI)
ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลห้องสมุดทั่วประเทศของสิงคโปร์

singapore libraries

เขาไปมีบทความแนะนำ “5 ห้องสมุดในสิงคโปร์ที่ต้องไปเยี่ยมชมปี 2016”
(5 Libraries in Singapore to visit in 2016)
ปล. หากใครรู้จักผมดีจะรู้ว่าผมชอบไปเที่ยวที่สิงคโปร์บ่อยมากๆ

5 Libraries in Singapore to visit in 2016

จึงขอนำบทความนี้มาเล่าให้เพื่อนๆ ได้อ่านครับ

5 ห้องสมุดในสิงคโปร์ที่ต้องไปเยี่ยมชมปี 2016 มีที่ไหนกันบ้าง

1. Pasir Ris Public Library (เพิ่งกลับมาเปิดเมื่อ 28 พ.ย. ปีที่แล้ว – หลังปิดปรับปรุงไป 9 เดือน)

(Photo credits: NLB Singapore)
(Photo credits: NLB Singapore)

2. Jurong Regional Library (ห้องสมุดที่มี LAB ด้าน Technology เพิ่งมีการจัดงานไปเมื่อ พ.ย. ปีที่แล้วเช่นกัน)

Lib_4a
(Photo credits: NLB Singapore)

3. library@orchard (ห้องสมุดที่ปิดไปนานมากและเพิ่งเปิดเมื่อ ต.ค. 2014 – ห้องสมุดที่ได้รับรางวัลด้านการออกแบบ)

(Photo credits: NLB Singapore)
(Photo credits: NLB Singapore)

4. LLiBrary (หรือห้องสมุดที่เน้นให้คนใช้ความรู้ในการทำมาหากิน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทำงาน ตั้งโดย Workforce Development Agency)

(Photo credits: NLB Singapore)
(Photo credits: NLB Singapore)

5. library@chinatown (ห้องสมุดที่ดำเนินการโดยการใช้อาสาสมัคร – ไม่มีพนักงานประจำ)

(Photo credits: NLB Singapore)
(Photo credits: NLB Singapore)

แต่ละห้องสมุดจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เอาเป็นว่าถ้าผมได้ไปในปีนี้จะไม่พลาดห้องสมุดทั้ง 5 นี้ครับ
แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบล็อคหน้า ว่าแต่จะเป็นเรื่องอะไรต้องติดตามอีกทีครับ

ที่มา : ข้อมูลและภาพ – http://www.mci.gov.sg/web/department/libraries/features/libraryspaces

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

3 Comments

  1. ประเทศเล็กๆแต่จำนวนห้องสมุดมากจังค่ะ แม้ดูจากภาพก็ดูเป็นห้องสมุดใหญ่ ทันสมัยและดูพัฒนา อยากรู้ค่ะว่าจะเปิดห้องสมุดมีเงื่อนไข ขั้นตอนอย่างไรบ้างคะและห้องสมุดมีรายได้จากไหนมาบริหารจัดการหนังสือคะ อยู่กรุงเทพมีห้องสมุดมากกว่าต่างจังหวัดค่ะ ห้องสมุดที่ต่างจังหวัด เช่น ห้องสมุดประชาชนคนก็เข้าน้อย หนังสือเก่าทั้งสภาพและเนื้อหา(แต่เด็กๆยอมรับค่ะว่าชอบเข้าห้องสมุดประชาชนมาก หนังสือบทสนทนา แสลงภาษาอังกฤษได้จากห้องสมุดประชาชน แต่เหลียวมองไปรอบๆมีหนังสือที่น่าสนใจสำหรับตนเองในวัยนั้นน้อยมาก) ห้องสมุดตามสถานศึกษาก็มีข้อจำกัดเยอะค่ะ ติดตามอ่านเรื่องบรรณารักษ์และห้องสมุดมาพอสมควร จู่ๆก็มีคำถามนี้ขึ้นมาค่ะ

    • ต้องดูจากต้นสังกัดครับ เมืองไทยห้องสมุดแต่ละประเภทสังกัดคนละหน่วยงาน ดังนั้นจะคาดหวังเรื่องห้องสมุดคงต้องรอการตั้งหน่วยงานกลางขึ้นมาเพื่อดูแลภาพรวมและควบคุมคุณภาพครับ

  2. อยากทราบว่าคุณ Libraryhub ได้ไปห้องสมุดเหล่านี้มาบ้างหรือยังคะ สนใจติดตามค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*