อ่านอะไรดี : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต

หนังสือน่าอ่านวันนี้ที่ผมอยากแนะนำ คือ หนังสือ “ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต” จากชุด TK ชวนอ่าน นั่นเอง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ให้ข้อคิดและประสบการณ์ในการส่งเสริมการอ่านจากประเทศอังกฤษ เขียนโดย เกรซ เคมสเตอร์

ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
ชื่อเรื่อง : ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต
ชื่อผู้แต่ง : คุณเกรซ เคมสเตอร์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้
ISBN : 9789748284262
จำนวนหน้า : 92 หน้า
ราคา : 80 บาท

หลายๆ คนคงอาจจะสงสัยว่า คุณเกรซ เคมสเตอร์ คือใคร
คุณเกรซ เคมสเตอร์ อดีตผู้อำนวยการด้านงานบริการข้อมูล ของบริติชเคาน์ซิล ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของสถาบัน Read On Write Away (สถาบันเพื่อบริการชุมชนด้านการอ่านออกเขียนได้และทักษะขั้นพื้นฐาน)

หนังสือเล่มนี้ที่เจาะเรื่องของประเทศอังกฤษเพราะว่า ประเทศอังกฤษเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการศึกษาและการเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก และยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการอ่านมากมายด้วย

ในหนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 4 บท ดังนี้
บทที่ 1 – เหตุใดการอ่านจึงสำคัญกับชีวิต
บทที่ 2 – 11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน
บทที่ 3 – ปรับนิดเปลี่ยนหน่อย
บทที่ 4 – ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต

สรุปใจความสำคัญของหนังสือเล่มนี้
11 ข้อคิดเสริมสร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน มีดังนี้
1. พลังของการแนะนำหนังสือแบบปากต่อปาก (ดูตัวอย่างได้จาก www.whichbook.net)
2. อ่านเพราะคุณอยากอ่าน ไม่ใช่เพราะคุณจำต้องอ่าน (เห็นด้วยครับอ่านด้วยใจดีกว่าถูกบังคับให้อ่าน)
3. ลองสังเกตว่าผู้อ่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ (แต่ละคนมีเหตุผลในการอ่านไม่เหมือนกัน บางคนชอบอ่าน บางคนก็ไม่ชอบอ่าน)
4. ดูความต้องการของผู้อ่านว่าต้องการหนังสือหรือคอมพิวเตอร์ (การอ่านมีหลายวิธีไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นหนังสือแบบเดียวก็ได้)
5. ให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านหนังสือเด็ก (การปลูกฝังการอ่านตั้งแต่เด็กจะได้ผลที่ดีที่สุด)
6. มันเป็นแค่เทคโนโลยี (อย่าไปกลัวเรื่องการให้เด็กเรียนรู้เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น vdo conference เด็กๆ อาจจะใช้เครื่องมือเหล่านี้เรียนรู้ก็ได้)
7. เยี่ยมๆ มองๆ กับการอ่านออกเขียนได้
8. คนเราตายได้แต่จากความรู้ไม่ได้
9. ทางเลือกอันมากล้น (การเรียนรู้ การอ่าน มีหลายหลายวิธี ขึ้นอยู่กับว่าผู้อ่านต้องการอะไรมากกว่ากันก็เท่านั้น)
10. การเลือกอย่างรอบคอบ
11. การอ่านโดยการจัดเวลาไว้โดยเฉพาะและเหมาะสม

ปรับนิดเปลี่ยนหน่อย – กิจกรรมที่สามารถนำมาใช้กับห้องสมุด ได้แก่
– การจัดกำแพงนักอ่าน (ใช้เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นเรื่องการอ่านหนังสือ)
– การเขียนวิจารณ์หนังสือแล้วปะไว้บนหน้าปกหนังสือ
– จัดวาดภาพที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังสือสักเล่มที่อ่าน หรือเรื่องราวที่สนใจ
– การนำหนังสือออกมาแสดงบนเคาน์เตอร์
– การนำคำพูดของผู้ใช้บริการมาเผยแพร่
– เปลี่ยนเสียงรอสายโทรศัพท์จากเสียงเพลงเป็นเสียงเล่าเรื่องราวต่างๆ จากหนังสือ
– การแลกเปลี่ยนหนังสือ
– การจัดกิจกรรมสำหรับคนวัยต่างๆ
– การตั้งกลุ่มนักอ่าน
– การทำเว็บไซต์เพื่อแนะนำการอ่าน เช่น www.4ureaders.net, www.whatareyouuptotonight.com
– การจัดกิจกรรมโครงการที่กระตุ้นความสนใจแก่นักอ่าน


ไขปริศนาความสำเร็จห้องสมุดมีชีวิต – หัวข้อที่น่าสนใจในบทนี้ (เนื้อหาไปอ่านต่อกันเองนะครับ)

– การวางแผนงานห้องสมุด
– การตลาดกับห้องสมุด
– การใส่ใจผู้ใช้บริการว่าต้องการอะไร
– สร้างมุมมองใหม่ในนิยามของบรรณารักษ์
– อย่าลืมบอกคนอื่นในสิ่งที่เราทำ
– การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและการสร้างพันธมิตร
– การปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี
– บทบาทที่เปลี่ยนไปของบุคลากร
– การหาผู้ร่วมสนับสนุน

ประโยคเด็ดที่ผมชอบเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้
– หนังสือทำให้เราหัวเราะ ร้องไห้ สุข ทุกข์ ทำให้เราตั้งคำถามถึงชีวิต และประสบการณ์ของเราเอง
– ถ้าเราไม่เคยดื่มด่ำกับการอ่าน จนรู้สึกว่าเราได้เข้าไปมีชีวิตอยู่ในเรื่องที่เรากำลังอ่านเหมือนกับเป็นตัวละครนั้น เราจะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจคนอื่นได้อย่างไร
– บางสถานที่เรารักด้วยหัวใจ บางสถานที่เรารักด้วยสมอง ที่ๆ เรารักด้วยสิ่งทั้งสอง เรียกว่า “ห้องสมุด”
– หนังสือเป็นโลกที่เคลื่อนที่อย่างแรกที่ครอบครองได้
– แม้แต่เด็กที่เกเรที่สุด หากแม้นมีโอกาสได้สัมผัสกับความล้ำค่าแห่งห้องสมุดแล้ว ยังสามารถกุมปัญญาแห่งปฐพี และไขกุญแจสู่โลกทั้งมวล

เอาเป็นว่าผมใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมงกว่าๆ ในการอ่านหนังสือเล่มนี้
คอนเฟิมครับอ่านไม่ยากเลย และได้เทคนิคดีๆ ไปปรับใช้กับการให้บริการในห้องสมุดได้
ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกับผมนะครับ ลองอ่านดู ขอแนะนำ

อ๋อ ลืมบอก หนังสือเล่มนี้หาซื้อได้ในร้านซีเอ็ด หรือไม่ก็มายืมอ่านได้ที่ทีเคพาร์คนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

2 Comments

  1. ปิดเทอมว่างๆอย่างนี้ต้องไปหามาอ่านซะหน่อยแล้ว

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*