LibCampUbon#2 : วิชาสารสนเทศท้องถิ่นเรียนอะไร – สำคัญหรือไม่

session ที่สี่ของงาน LibcampUbon#2 (การศึกษาในวิชาสารสนเทศท้องถิ่น)
เรื่อง “การเรียนการสอนในวิชาสารสนเทศท้องถิ่นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร
โดยวิทยากร อาจารย์วิมานพร รูปใหญ่ อาจารย์สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ม.ราชภัฎอุบลฯ

การบรรยายเริ่มจากเรื่องของการศึกษาวิชาสารสนเทศท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
ซึ่งวิชานี้ ถือว่าเป็นวิชาเอกบังคับของนิสิตภาคบรรณฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีเลยก็ว่าได้

ทำไมถึงต้องเป็นวิชาเอกบังคับ (เด็กเอกบรรณฯ ต้องเรียน)
– เกิดจากการปรับเปลี่ยนหลักสูตรของภาควิชาและจุดเน้นของคณะที่ต้องการผลิตบัณฑิตที่เข้าใจและสามารถจัดการข้อมูลท้องถิ่นได้ นอกจากนี้ทางภาควิชาได้คาดหวังในเรื่องของการค้นคว้าหาข้อมูลที่อยู่ในท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ และรักษาประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนในพื้นที่ด้วย

ประวัติความเป็นมาของวิชานี้ ภาคบรรณฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีเปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 (นานใช่มั้ยหล่ะครับ)  และแต่เดิมวิชานี้ถือว่าเป็นวิชาเลือกของเอกบรรณฯ เท่านั้น แต่พอมีการปรับหลักสูตรใหม่ในปี พ.ศ. 2551 จึงเห็นควรให้วิชานี้เปลี่ยนสถานะเป็นวิชาเอกบังคับ โดยเพิ่มเริ่มเรียนเป็นวิชาเอกบังคับครั้งแรกเมื่อเทอมที่แล้วนี้เอง (ปล. ประวัติของภาควิชานี้อ่านได้จาก http://www.libis.ubru.ac.th/history.php)

หลักสูตรการเรียนการสอนในวิชานี้เทอมนึงก็จะมี 16 สัปดาห์ โดยนักศึกษาจะได้เรียนในหัวข้อต่างๆ เช่น
– พื้นฐานความรู้ของเรื่องสารสนเทศท้องถิ่น (ค้นได้จากไหนบ้าง มีที่มาอย่างไร)
– แหล่งสารสนเทศท้องถิ่น (เน้นที่ข้อมูลจากตัวบุคคล)
– การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น
– การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น
– โจทย์งานศึกษาข้อมูลในท้องถิ่นของตนเอง (2-3 สัปดาห์)
– นำเสนอผลงานสารสนเทศท้องถิ่นที่ได้ไปค้นคว้า
– การเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่น

เพื่อให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จ อาจารย์จึงได้อธิบายเกี่ยวกับเรื่องการทำฐานข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นด้วย การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการ รวบรวม และค้นหาทำให้สารสนเทศท้องถิ่นมีการพัฒนาต่ออย่างยั่งยืน

อีกเรื่องที่นักศึกษาจะต้องเข้าใจและเรียนรู้ คือ การทำเครือข่ายสารสนเทศท้องถิ่น (ใครมีดีอะไรเราต้องรู้จัดนำมาใช้)

หลังจากที่บรรยายเรื่องการศึกษาไปส่วนหนึ่งแล้ว วิทยากรทั้งสองจึงขอเปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการสารสนเทศท้องถิ่นในชุมชน ซึ่งสรุปข้อมูลได้ว่า
– มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวกับอุบลฯ ค่อนข้างน้อย
– ชาวบ้านไม่ค่อยให้ความร่วมมือในเรื่องการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นเนื่องจากกลัวคนอื่น copy ผลงาน
– ในแง่คิดของรัฐเราอยากให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ในแง่คิดของชาวบ้านกลัวคนลอกเลียนแบบ
– ภูมิปัญญาบางอย่างมันคงอยู่ในชีวิตประจำวันจนทำให้ชาวบ้านลืมเก็บสั่งสมองค์ความรู้
– กศน มีโครงงานที่เกี่ยวกับอาชีพในท้องถิ่นมากมาย น่าจะนำมาทำเป็นคลังความรู้ได้

ทำไมต้องเรียน
– สร้างความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง
– แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายและคงอยู่กับคนในชุมชน

เอาเป็นว่านี่ก็เป็นเรื่องแบบคร่าวๆ ของเรื่องการศึกษาข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นเท่านั้นนะครับ
(กรณีตัวอย่างจาก สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ม.ราชภัฏอุบลฯ)

สำหรับเพื่อนๆ ที่สนใจข้อมูลในภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ม.ราชภัฏอุบลฯ
ก็สามารถดูได้ที่ http://www.libis.ubru.ac.th/

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

4 Comments

  1. พี่ขอส่งเรื่องนี้ต่อให้อาจารย์ท่านอื่นนะคะ พอดีมีอาจารย์สอนวิชานี้อยู่จ้า

  2. ขอเพิ่มเติมจากที่ได้แลกเปลียนเรียนรู้ในLibCampนะค่ะ เผื่อว่าจะได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อค่ะ นอกจากหัวข้อที่นักศึกษาต้องเรียนข้างต้นแล้ว เรื่องการให้บริการ การเผยแพร่สารสนเทศท้องถิ่น ก็มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากผู้ใช้จะได้รับความรู้ หรือสิ่งที่ต้องการจากที่ที่ให้บริการ และยังส่งผลให้มีการเผยแพร่สารสนเทศได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
    และทำไมต้องเรียนเกี่ยวกับสารสนเทศท้องถิ่น นอกจากสร้างความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง
    และแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายและคงอยู่กับคนในชุมชนแล้ว ยังสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันของสังคมที่มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ ทำให้คนสามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจระหว่างกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*