สรุปประเด็นในกลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook สัปดาห์ที่ 3/2554

เข้าสู่กลางเดือนมกราคมแล้วนะครับ กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน Facebook ยังคงสดใสเช่นเดิม
เรื่องราววงการห้องสมุดและบรรณารักษ์มีประเด็นที่น่าสนใจเยอะขึ้น วันนี้เลยต้องสรุปให้อ่าน

สมาชิกของกลุ่มเราก็เกิน 400 คนแล้วนะครับ แบบว่าประทับใจในความร่วมมือของเพื่อนๆมาก
กลุ่มบรรณารักษ์ไทยใน facebook มีเรื่องเด็ดๆ ทุกวันเลย แม้แต่เสาร์อาทิตย์ก็ยังมีเรื่องให้อ่าน
เอาเป็นว่าสัปดาห์ที่ 3 (วันที่ 15 ? 21 มกราคม 2554) เรื่องราวมากมายมีอะไรบ้างไปติดตามกันเลยดีกว่า

– “สายงานบรรณารักษ์สมัยนี้เปิดสอบบรรจุน้อยจัง” ผลสรุปมีดังนี้
– ถ้าเป็นในระบบราชการ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการชลอการเพิ่มกรอบอัตราข้าราชการ หากมีความจำเป็นหน่วยงานต้องบรรจุอัตราจ้างเอง
– การสอบบรรจุตามระบบมักเป็นอัตราข้าราชการ ซึ่งมีน้อย แต่ถ้าเป็นอัตราจ้างจะมีมากและมักไม่ประกาศสอบบรรจุเป็นทางการ

– “อยากรู้จังว่ามีสภาวิชาชีพบรรณารักษ์ หรือเปล่าอ่ะครับ”? ผลสรุปมีดังนี้
– คงต้องกำหนดขอบเขตและคำจำกัดความอีกเยอะแยะเลยล่ะ

– “อยากทราบว่าบรรณารักษ์เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ครับ”? ผลสรุปมีดังนี้

– ราชการก็น้อยหน่อยสำหรับเริ่มต้น เอกชนก็น่าจะเก้าพันถึงหมื่นนิดๆ
– สำหรับบ.เอกชนข้ามชาติ หรือโรงเรียนนานาชาติ น่าจะเริ่มต้นหมื่นกลางๆ
– ถ้าเงินเดือนสำหรับหน่วยงานราชการบางที่ให้ 7940 บาทครับ แต่ในหลายที่ ถ้าเป็นลักษณะของพนักงานจ้างเหมา(สัญญาปีต่อปี) ก็แล้วแต่หน่วยงานจะประเมินหน้าที่และภาระงานที่มีตั้งมาให้ มีตั้งแต่ 7940 8500 9000 9500 11000 12000 และที่เคยเห็นองค์กรหนึ่งจ้างให้ 15000 ทั้งหมดที่ว่ามาคือ ป.ตรี

– Link : ความเป็นไปได้ของ “บรรณารักษ์สภา” = http://atomdekzaa.exteen.com/20110116/entry

– “ทำไมคนไทยถึงไม่ให้ความสำคัญกับอาชีพบรรณารักษ์”? ผลสรุปมีดังนี้
– ในต่างจังหวัดหรือบางพื้นที่ยังไม่รู้จักอาชีพบรรณารักษ์เลย
– ผู้บริหารสถาบันการศึกษาหลายแห่งก้อไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่ แต่จะมานึกถึงอีกทีตอนที่ประกันคุณภาพเข้ามาตรวจ

– Link : Conference Participation Grants = http://conference.ifla.org/ifla77/conference-participation-grants

– Link : จัดห้องสมุดเป็นของขวัญวันเด็ก =
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=651&contentID=115785

– “อยากรู้จังว่ามีวันสำคัญที่เกี่ยวกับห้องสมุดบ้างไหมคะ”? ผลสรุปมีดังนี้
– วันรักการอ่าน 2 เมษายนของทุกปี
– สัปดาห์ห้องสมุด ต้นเดือนสิงหาคมของทุกปี
– วันก่อตั้งห้องสมุด วันเปิดห้องสมุด …..


– “ใครใช้ Zotero แล้วบ้าง ขอข้อมูลด้วยค่ะ ลง version ไหนดีค่ะ”? ผลสรุปมีดังนี้

– แนะนำให้อ่านใน link : http://stks.or.th/wiki/doku.php?id=zotero%3Astart
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ไม่มีปัญหาใดๆ
– ใช้เวอร์ชั่น 2.0.9 ร่วมกับ winword integration 3.0b1


– ประเด็นสำหรับวันที่ 18 มกราคม 2554 “เรื่องการแต่งกายเข้าห้องสมุดโดยเฉพาะสถานศึกษา / มหาวิทยาลัย มีเกณฑ์ในการวัดความสุภาพอย่างไร เช่น กรณีกระโปรงสั้นๆ กับ กางเกงใส่ถึงเข่า —-> แล้วห้องสมุดประชาชนมีกฎระเบียบแบบนั้นหรือปล่าว” ผลสรุปมีดังนี้

– จากการสำรวจสาเหตุในการไม่เข้าห้องสมุดพบว่ามาจากเงื่อนไขเรื่องการแต่งกาย ซึ่งพบมากในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย
– ทำไมนิสิตที่ใส่กระโปรงสั้นถึงเข้าห้องสมุดได้ แต่กลับไม่ให้คนใส่กางเกงขาสั้นเข้าไป บางทีกระโปรงสั้นกว่ากางเกงด้วยซ้ำ แล้วกางเกงขาสั้นบางทีก้อประมาณเข่าแต่เข้าไม่ได้
– วิธีแก้ไขแต่ละห้องสมุดก็มีวิธีของตัวเอง เช่น นำภาพมาประกอบการอธิบาย หรือ การตักเตือนในช่วงแรกๆ หรือ หาตัวอย่างมาประกอบ
– เรื่องการแต่งกายให้สุภาพไม่ใช่เรื่องยากเลยนะครับ ถ้าจะตั้งกฏแต่ละที่ก็ควรให้ชัดเจน
– เป็นปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับทุกห้องสมุดนะคะ เพราะนโยบายและการให้บริการของห้องสมุดบางทีก็ขัดกับนโยบายมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้นักศึกษาแต่งชุดนักศึกษาเมื่อมามหาวิทยาลัย ฯ แต่ห้องสมุดต้องการเปิดกว้างให้แก่ผู้ใช้ ต้องการให้มีผู้มาใช้ห้องสมุดเยอะ ๆ บวกกับนักศึกษาไม่ชอบอยู่ในกฎระเบียบอีก
– เป็นเรื่องที่น่าปวดหัวพอสมควรนะคะ สำหรับคำว่าแต่งกายสุภาพ เพราะวุฒิภาวะต่างกัน การวัดความสุภาพไม่เหมือนกัน
– รู้จักถึงความเหมาะสมครับ กระโปรงต้องไม่สั้นจนมันจะเปิดหวอ เสื้อต้องไม่รัดจนกระดุมทำงานหนัก ใส่แล้วแต่งแล้วเดินไปหมาไม่เห่าก้พอ
– พยายามหาและระดมความคิดเห็นจากหลายๆฝ่ายเพื่อหา ข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งก็ยากทีเดียวค่ะ

– “ปัจจุบันนี้การทำกฤตภาค(การตัดข่าวหรือบทความที่น่าสนใจ)ยังมีสอนบรรณารักษ์ในมหาวิทยาลัยอยู่ไหมคะ และกฤตภาคนี่ลดความสำคัญลงไปมากตั้งแต่มีการใช้ internet ห้องสมุดยังควรต้องมี(บรรณารักษ์ควรต้องทำ)กฤตภาคอยู่ไหมคะ” ผลสรุปมีดังนี้
– ตัดเก็บเฉพาะเหตุการณ์สำคัญๆ
– ในแง่การสอน ไม่ได้สอนให้ทำในรูปแบบเดิมแล้วค่ะ แต่ให้เขาเห็นและใช้บริการทั้งแบบเดิมและแบบใหม่
– สำหรับห้องสมุดเฉพาะ เช่น ที่แบงก์ชาติ กฤตภาคยังจำเป็น แต่ต้องปรับรูปแบบให้ทันสมัย ใช้ง่าย รวดเร็ว ประหยัดเวลาผู้บริหารขององค์กร อาจจะทำเองหรือจ้างคนอื่นทำ หรือบอกรับฐานข้อมูลก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าแบบไหนสนองความต้องการได้มากที่สุด


– “ห้องสมุดบางแห่งนำไอทีเข้ามาใช้แต่แทนที่จะทำงานได้เร็วขึ้นกลับกลายเป็นว่าทำงานช้ากว่าเดิมหรือทำในรูปแบบเดิม” ผลสรุปมีดังนี้

– ควรไปดูงานห้องสมุดม.มหิดล, STKS, ศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาฯ ที่นำเทคโนโลยีที่จำเป็นเข้ามาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็น

– Link : เมื่อคนช่วยกันยืมหนังสือจนหมดห้องสมุด ประชดทางการ!!! (ที่จะปิดห้องสมุด) = http://www.newyorker.com/online/blogs/books/2011/01/the-run-on-stony-stratford.html

– Link : all Magazine แจกฟรี ! ให้ห้องสมุดทุกสถาบันการศึกษา = http://www.facebook.com/note.php?note_id=179905882043428&id=141179349231903

– Link : ยืมหนังสือเกลี้ยง! ประท้วงแผนปิดห้องสมุด = http://hilight.kapook.com/view/55420

– “คำศัพท์ของห้องสมุด(Eng->Thai)ไม่ทราบหาจากที่ไหน” ผลสรุปมีดังนี้
– วิทยานุกรมบรรณารักษศาสตร์ = A cyclopedia of librarianship / โดย จารุวรรณ สินธุโสภณ
– ศัพท์บัญญัติวิชาบรรณารักษศาสตร์ / คณะอนุกรรมการบัญญัติศัพท์วิชาบรรณรักษศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ
http://stks.or.th/thaiglossary/


– “ไอเดียการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนมัธยม” ผลสรุปมีดังนี้

– น่าจะมีรางวัลคนขยันอ่าน — ประกวดเรียงความ ฉันรักหนังสือ — เล่าเรื่องจากนิยายสนุก ๆ –เชิดหุ่น — โต้วาที — วันรักการอ่าน(ประกอบด้วยเกม-สอยดาว-นิทรรศการ-ห้องสมุดแรลลี่ — เกมค้นหาเพื่อตอบคำถามชิงรางวัล ฯ)
– กิจกรรมวางทุกงานอ่านทุกคน
– โครงการอ่านวันละนิด จิตแจ่มใส ของสำนักพิมพ์แจ่มใส
– กิจกรรมในลักษณะเกมต่างๆ ก็จะช่วยปลุกเร้าได้ดีค่ะ รูปแบบของเกมหาได้ตามหนังสือประเภทคู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทั่วไป
– แฟนพันธุ์แท้ห้องสมุด
– reading rally ก็ดีค่ะ จัดเป็นฐาน จัดค่ายรักการอ่านก็ได้
– กิจกรรมคนศรีห้องสมุดสุดยอดนักอ่าน / กิจกรรม นักอ่านข่าวรุ่นเยาว์ / กิจกรรม เสียงตามสาย เกี่ยวกับสารานุกรมไทย / ตอบปัญหาสารสนุกรมไทย


– “สิ่งที่ควรคำนึงถึงในเรื่องการคัดหนังสือหรือการจำหน่ายหนังสือออกจากห้องสมุด” ผลสรุปมีดังนี้

– คัดเลือกหนังสือที่สอดคล้องกับองค์กร, หนังสือเก่าแต่มีคุณค่ามี 2 วิธีดำเนินการคือ อนุรักษ์ เช่น ส่งซ่อมทำปกใหม่ ทำความสะอาด ได้คุณค่าหนังสือเก่า หรือควรจะซื้อเล่มนั้นใหม่ (มีจัดพิมพ์ใหม่หาซื้อได้) แล้วจึงส่งไปอนุรักษ์
– แนะนำ Link น่าอ่านดังนี้ http://www.md.kku.ac.th/library/main/newsletter/new07-53.php , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/policy.pdf , http://librarykm.stou.ac.th/ODI/KM/pdf/manul.pdf
– เรื่องของเนื้อหาด้วย เพราะเนื้อหาในแต่ละกลุ่มมีความเฉพาะอีก เช่น หนังสือประวัติศาสตร์ยิ่งเก่ายิ่งควรเก็บ หนังสือคอมล่าสมัยเร็ว

– “มีห้องสมุดธรรมะที่ไหนน่าฝึกงานบ้าง” ผลสรุปมีดังนี้
– เหล่าบรรณารักษืแนะนำ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยสงฆ์, มหามกุฎ กับ มหาจุฬา, หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ, ห้องสมุดนาลันทา ยุวพุทธิกสมาคมฯ

– ไอเดียที่น่าสนใจ : “เด็กแข่งกันสืบค้นข้อมูลผ่านทาง Search Engine ผมคิดว่าทางห้องสมุดสามารถนำไปประยุกต์จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์และการใช้ห้องสมุดได้”

– ประชาสัมพันธ์ : “สมัครสมาชิกและต่ออายุ TKpark ฟรี 21-23 มกราคม นี้เท่านั้น บัตรใหม่มีให้เลือก 5 ลาย รีบๆ มาสมัครกันได้ เลย”

นอกจากประเด็นที่สรุปลงมาในนี้แล้ว บางอันผมไม่ขอเอาลงนะครับ เช่น น้องๆ เอกบรรณปี 2 จากสถาบันต่างๆ เข้ามาแนะนำตัวกันเยอะมาก และประเด็นเรื่องที่ไม่มีคนตอบ ก็ขอละเอาไว้ไม่สรุปแล้วกัน อีกส่วนคือมีคอมเม้นต์แต่ผิดประเด็นกับคำถามที่ตั้ง เช่น เรื่อง xml technology แต่กลายเป็นว่าคำตอบออกไปเรื่องฝึกงาน ก็ไม่ได้นำมาลงแล้วกัน

สุดท้ายนี้ก็ขอให้เพื่อนๆ ช่วยกันผลักดันกลุ่มเครือข่ายของเรากันต่อไป
นี่แหละครับพลังขับเคลื่อนวิชาชีพและวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*