การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)

วันนี้บังเอิญเจอเรื่องที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นยังไม่ค่อยมีใครรู้จักผมมากมายเหมือนตอนนี้
บทความนี้พออ่านแล้วผมว่าก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของบล็อกผม (Projectlib & Libraryhub) อยู่นั่นแหละ
นั่นคือ เรื่อง การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power) นั่นเอง

อยากให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่านกันมากๆ (อ่านแล้วนำไปปฏิบัติด้วยนะ) ไปอ่านกันเลยครับ

ในอดีตมีคนกล่าวไว้เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของสิ่งต่างๆ เช่น
– man is power
– money is power
– technology is power
– data is power
– information is power
– knowledge is power

และ ยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง

สิ่งต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมานี้ ผมยอมรับในความยิ่งใหญ่ของมันเช่นกัน
แต่ละยุค แต่ละสมัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้ามามีอิทธิพล รวมถึงบทบาทในการกำหนดความเป็นไปของมนุษย์
แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเชื่อในความมีอำนาจ และความยิ่งใหญ่ของการ แบ่งปัน (Sharing)

การแบ่งปันที่ผมจะกล่าวนี้ ผมจะเน้นการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ต่างๆ เช่น
– การแบ่งปันข้อมูล (Share data)
– การแบ่งปันข่าวสาร (Share news)
– การแบ่งปันสารสนเทศ (Share information)
– การแบ่งปันความรู้ (Share knowledge)
– การแบ่งปันความคิด (Share idea)

เพราะว่าในสมัยก่อนข้อมูล ความรู้ต่างๆ ถูกเก็บไว้ที่ตัวบุคคลมากเกินไป
จนเมื่อบุคคลๆ นั้นตายไปข้อมูลและความรู้ที่เก็บอยู่ก็สูญหายไปด้วย
ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งคือ การทำงานในสำนักงาน หรือหน่วยงานทั่วไป
บุคคลที่เชียวชาญในการทำงานต่างๆ ถ้าไม่ถูกถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นๆ เมื่อบุคคลผู้นั้นลาออก
ก็จะไม่มีใครที่เข้ามาทำงานแทนคนผู้นั้นได้ (ทำงานได้ แต่ความเชียวชาญและเทคนิคอาจจะต่างกัน)

ดังนั้นการแบ่งปัน หรือการถ่ายทอดความรู้ ผมจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ

ยกตัวอย่างอีกกรณีก็แล้วกัน

หากเมืองๆ หนึ่งประกอบด้วยคนที่มีอำนาจต่างๆ ทั้งการเงิน เทคโนโลยี ข้อมูล ความรู้ แต่คนเหล่านั้นเก็บสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้กับตัวเอง ไม่มีการแบ่งปันให้ผู้อื่นเมืองๆ นั้นก็อาจจะอยู่ได้ไม่นาน คือ พอคนเหล่านี้เสียชีวิตไปความรู้ หรือทรัพย์สินต่างๆ ก็สูญหายไป

และเทียบกับ

อีกเมืองหนึ่งซึ่งสร้างชุมชนแห่งการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ความรู้ต่างๆ ถูกถ่ายทอดกันในสังคม ใครมีเทคนิคในการทำงานใหม่ๆ ก็ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ลองใช้ด้วย ผมเชื่อว่าเมืองๆ นี้ถึงแม้ว่าคนเก่าแก่จะตายไป แต่เมืองนี้ยังคงมีความเจริญต่อไปอย่างแน่นอน เพราะทุกคนต่างแบ่งปันความรู้ ความคิดและเทคนิคในสิ่งต่างๆ

ย้อนกลับมาถามอีกข้อ เพื่อนๆ คิดว่าถ้าเกิดสงครามระหว่างเมืองที่ 1 กับเมืองที่ 2 เมืองไหนจะชนะ

หนทางในการแบ่งปันความรู้มีหลายวิธี เช่น

1. การสร้างวัฒนธรรมในองค์กรใหม่ ให้รู้จักการแบ่งปันความรู้ หรือพูดง่ายๆ คือ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)

2. การนำหลักการของ การจัดการองค์ความรู้มาใช้ในองค์กร หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า Knowledge management

3. การถ่ายทอดความรู้ หรือประสบการณ์ส่วนตัวด้วยเว็บไซต์ หรือบล็อก จริงๆ ก็คล้ายๆ กับสิ่งที่ผมทำอยู่นะ อิอิ

4. หัดรับฟังความคิดเห็นของคนในองค์กร เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการคิดให้กับทุกๆ คน

5. ในแง่การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ครู อาจารย์ควรรับฟังแง่คิดของเด็กๆ นักเรียน นักศึกษาบ้าง บ่อยให้เด็กๆ คิดอะไรก็ได้ ไม่ใช่ว่าจำกัดกรอบความคิดเพียงแค่ในตำราเรียน

เอาเป็นว่าอ่านแล้วก็เอามาคิดกันนะครับ และขอย้ำขั้นสุดท้ายว่าหากเราไม่รู้จักแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่น เราก็จะไม่ได้ความรู้หรือความคิดดีๆ จากคนอื่นๆ เช่นกัน ในฐานะบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ผมขอสนับสนุนการแบ่งปัน idea

ปล. การแบ่งปันความรู้ กับ การ copy เรื่องของคนอื่นไปโพสไม่เหมือนกันนะ? บางครั้งเอาไอเดียกันไปแล้วรู้จักการอ้างอิงมันจะดีมากๆ และถือว่าเป็นการให้กำลังใจผู้คิดไอเดียด้วยครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

1 Comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*