บรรณารักษ์ระดับ 3, 4, 5, 6, 7 แตกต่างกันตรงไหน

เพื่อนๆ นอกวิชาชีพหลายๆ คนสงสัยและถามผมมาว่า บรรณารักษ์ 3 ที่สอบในราชการนี่คืออะไร
แล้วมันยังมีตำแหน่งบรรณารักษ์ระดับอื่นๆ อีกหรือไม่ วันนี้ผมจึงขอเขียนเรื่องตำแหน่งบรรณารักษ์ในระดับต่างๆ

สายงานบรรณารักษ์ในวงการราชการก็มีระดับของตำแหน่งเหมือนวิชาชีพอื่นๆ แหละครับ
นอกจากบรรณารักษ์ 3 แล้ว ในวงการราชการอาจจะพบคำว่า บรรณารักษ์ 4,5,6,7 อีก
ซึ่งตำแหน่งต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามานี้มาจากการสอบซึ่งดูที่ความสามารถและประสบการณ์ทำงานเช่นกัน

เรามาดูความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ระดับต่างๆ กันดีกว่า

บรรณารักษ์ระดับ 3
1. มีความรู้ในวิชาการบรรณารักษ์ศาสตร์อย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
2. มีความรู้ความเข้าในในกฎหมายสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล และกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับอื่นที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยเฉพาะ อย่างยิ่งของประเทศไทย
4. มีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอย่างเหมาะสมแก่การปฏิบัติงานในหน้าที่
5. มีความสามารถในการศึกษาหาข้อมูล วิเคราะห์ปัญหา และสรุปเหตุผล


บรรณารักษ์ระดับ 4 (ทำงานระดับ 3 แล้ว 2 ปี)

1. มีความรู้ความเข้าใจในนโยบายและแผนงานต่าง ๆ ของส่วนราชการที่สังกัด
2. มีความสามารถในการจัดทำแผนงาน ควบคุม ตรวจสอบ ให้คำปรึกษาแนะนำและ เสนอแนะวิธีการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. มีความสามารถในการปกครองบังคับบัญชา
4. มีความสามารถในการติดต่อประสานงาน

บรรณารักษ์ระดับ 5 (ทำงานระดับ 4 แล้ว 2 ปี, ทำงานระดับ 3 แล้ว 4 ปี, ปริญญาเอกบรรณารักษ์)
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารงานบุคคล
2. มีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 6 (ทำงานระดับ 5 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์


บรรณารักษ์ระดับ 7 (ทำงานระดับ 6 แล้ว 2 ปี)

1. มีความสามารถในการบริหารงานและจัดระบบงาน
2. มีความสามารถในการริเริ่ม ปรับปรุงนโยบายและแผนงาน
3. มีความรู้ความสามารถในการใช้งานคอมพิวเตอร์

จะสังเกตได้ว่า ในบรรณารักษ์ระดับที่ 6 กับ 7 จะคล้ายๆ กัน แต่การที่จะวัดระดับชั้นกันนั้นอยู่ที่ประสบการณ์ทำงานต่างหาก
และถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าทุกๆ 2 ปี จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งขึ้นนั่นเอง ดังนั้นก็ทำงานเก็บประสบการณ์กันไปเรื่อยๆ นะครับ

อ๋อเรื่องตำแหน่งที่สูงขึ้น แน่นอนครับเงินก็ต้องเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่ผมคงไม่ทราบหรอกนะครับว่าตำแหน่งไหนได้เงินเท่าไหร่
ใครรู้ก็ช่วยนำมาแชร์ให้ผมรู้บ้างนะครับ จะขอบคุณมากๆ อิอิ วันนี้ก็อ่านเล่นๆ กันดูนะครับ อย่างน้อยก็เพื่อพัฒนาตัวเอง

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

8 Comments

  1. น้องวาย พี่สงสัยอยู่อย่างว่า ถ้าตำแหน่งบรรณารักษ์เนี่ย จำเป็นต้องเรียนถึงปริญญาเอกไหม
    ส่วนใหญ่ถ้าเรียน ป.เอกจบ ก็จะไปเป็นอาจารย์กันเสียหมด และถ้าเป็นความคิดเห็นของวาย
    น้องเห็นว่าอย่างไรบ้าง ถ้าจะมี บร. จบ ป.เอก มาปฏิบัติงานในห้องสมุด
    คิดว่าจำเป็นไหม

    • อาจเป็นได้ครับ จริงๆ แล้วถามว่าการเรียน ป เอกมาทำงานห้องสมุดในสายบริหารจริงๆ ผมคิดว่าดีมากๆ เลย เพียงแต่เรื่องเงินเดือนสายอาจารย์อาจจะดีกว่าคนเลยหันไปทางสายอาจารย์อ่ะครับ จริงๆ และบรรณารักษ์ถ้าจบ ป เอก แล้วรับงานที่ปรึกษาผมว่าเงินคงสูงมากๆ (ในเมืองนอกนะ)

  2. เด๊ยวนี้มี บรรณารักษ์ ระดับ 8แล้วนะ (ชำนาญการพิเศษ) ก็คือเปลี่ยนไปเป็นระบบแท่ง ระดับ 3-5 เปลี่ยนเป็นปฏิบัติการ ระดับ 6-7 เปลี่ยนเป็นชำนาญการ ระดับ 8 เปลี่ยนเป็นชำนาญการพิเศษ…..ซึ่งระดับชำนาญการพิเศษเนี่ย มีไม่กี่ที่ๆมี เช่น กศน.และที่ไหนอีกใครรู้บอกด้วย จ้า แต่รายละเอียดยังไม่ค่อยทราบเท่าไหร่..อิอิ

  3. อยากถามว่าทำงานเกี่ยวกับห้องสมุดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดแต่ไม่ได้จบบรรณารักษ์และพอมีความรู้เกี่ยวกับระบบห้องสมุดบ้างแล้วจะสามารถสอบเป็นบรรณารักษ์ได้มั้ยค่ะ

    • อันนี้น่าจะยากอ่ะครับ มันจะติดที่วุฒิการศึกษาอ่าาาาา แล้วตอนสอบก็อาจจะเจอปัญหาเช่นเดียวกัน คือ การสอบบรรณารักษ์ภาค ก ข้อสอบออกแบบทฤษฎีจ๋ามากกกกกก

  4. อารายจะดีใจขนาดนั้น นาย วาย หรืออยากจะโอนย้ายมาล่ะครับ…กศน.ยินดีต้อนรับนะ…แล้วจะรู้ว่าชีวิตมีคุณค่าขนาดไหน เห๊อะๆๆๆๆ….ส่วนระดับชำนาญพิเศษ อีกที่ จะเป็นสำนักงานศาลปกครองนะ แต่ต้องอยู่ในแท่งอำนวยการ หรือบริหารเนี่ยแหละ จำไม่ได้แล้ว ส่วนในแท่งวิชาการกรอบอัตรากำลังไม่แน่ใจว่าจะได้หรือเปล่า(ที่นั่นเขาเรียกว่าเจ้าหน้าที่ศาลปกครองปฏิบัติการ, ชำนาญการ…ตำแหน่งบรรณารักษ์) **ถ้าไม่ถูกต้องทักท้วงได้จ้า** ส่วนครายอยากมาเป็นบรรณารักษ์ กศน.เตรียมตัวปีหน้า คิดว่าน่าจะเปิดสอบ เพราะบัญชีเก่าหมดเดือน กพ 54 (ที่นี่ก็โอนไปเป็นครูได้นะ ผู้บริหารของอำเภอและจังหวัด ผู้บริหารระดับสูงก็มาจากบรรณารักษ์หลายคน)…..เข้ามาก็ทำบุญกันเยอะๆๆแล้วกัน..เพราะ…..(สืบค้นเรื่องราวกันเอาเองครับ)

  5. ถ้าจะสอบบรรณารักษ์ 3 ต้องดูที่ประกาศรับสมัครว่ารับวุฒิอะไร แต่ส่วนใหญ่ ป.ตรี ต้องเป็น บรรณารักษศาสตร์, บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, สารสนเทศศาสตร์, บรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ประมาณนี้นะเท่าที่อ่านจากมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*