ทำไมผมถึงเขียนบล็อกเกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์

เรื่องเก่าเล่าใหม่วันนี้เป็นเรื่องที่มาและที่ไปของการกำเนิดบล็อกวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์แห่งนี้
ผมเขียนบล็อกเรื่องนี้ตั้งแต่ตอนอยู่ที่ projectlib.wordpress.com เรื่อยมาจนถึง projectlib.in.th และ libraryhub.in.th

10-reason-i-write-blog-library

เหตุผลที่ผมเขียนไม่ได้มาจากการที่ถูกองค์กรบังคับแต่อย่างใด
เพราะจริงๆ แล้ว Projectlib และ Libraryhub ก็ไม่ได้มีสังกัดเหมือนกับบล็อกห้องสมุดที่อื่นๆ

คำถามที่ผมเจอมาบ่อย คือ ?ทำไมถึงเขียนบล็อกห้องสมุด ในเมื่อมีเรื่องที่น่าเขียนอย่างอื่นเยอะกว่า?

นั่นสิเนอะ “ทำไม” เอาเป็นว่าไปดูเหตุผลของผมเลยดีกว่า

1. อยากเห็นวงการบรรณารักษ์ และห้องสมุดในประเทศไทยพัฒนาและปรับปรุงตนเองมากกว่านี้

2. ห้องสมุดถือเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ของคนในสังคม ไม่ว่าจะยากดีมีจน ห้องสมุดในชุมชนก็บริการฟรีนะครับ

3. อยากให้เพื่อนๆ รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้กับวิชาชีพของตัวเอง ซึ่งในบางครั้งเราอาจจะคาดไม่ถึงกับเรื่องบางเรื่อง เช่น การนำ MSN มาใช้ในงานตอบคำถามออนไลน์ ฯลฯ

4. การอ่านมากๆ ทำให้สมองของเราแข็งแรง พัฒนาความรู้ และต่อยอดได้เยอะขึ้น

5. ลบภาพบรรณารักษ์ยุคเก่า และสร้างภาพบรรณารักษ์ยุคใหม่ (จำไว้นะครับบรรณารักษ์ไม่ได้มีแต่ผู้หญิง อิอิ)

6. งานด้านบรรณารักษ์ และห้องสมุดสามารถนำไปต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพอื่นๆ ได้ด้วย

7. อยากบอกว่าข่าววงการบรรณารักษ์ทั่วโลกมีมากมาย แต่ในประเทศไทยไม่ค่อยมีใครนำเสนอเลย

8. งานห้องสมุดมีมากกว่าแค่นั่งเฝ้าหนังสือก็แล้วกัน

9. ห้องสมุดก็มีเรื่องสนุกๆ มากมาย ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนที่หลายๆ คนคิดนะครับ

10. สำคัญที่สุดแล้วคือ ผมรักวิชาชีพนี้มาก และเป็นความใฝ่ฝันตั้งแต่เด็ก(ขอบอกว่าเกิดมาเพื่อบรรณารักษ์จะมีใครว่าหรือปล่าว)

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเหตุผลดังกล่าว ชัดเจนกันมากขึ้นมั้ยครับ
คำตำหนิ หรือฉายาที่ตั้งให้ผมเรื่อง ?บรรณารักษ์แหกคอก? ผมก็ขอรับไว้ด้วยใจครับ
ไม่ว่าจะถูกด่าว่า ?โง่หรือปล่าวที่เขียนบล็อกแล้วไม่ได้อะไรตอบแทน? หรือ ?เขียนไปแล้วจะมีใครมาอ่านกัน?

เอาเป็นว่าวันนี้ผมก็ยังคงอยู่กับเพื่อนๆ ร่วมวงการไปแบบนี้แหละครับ
ยังไงก็ขอให้ช่วยกันติดตามบล็อกนี้กันต่อไปด้วยนะครับ

ปล. ช่วงนี้อัพเดทบล็อกไม่บ่อยต้องขออภัยด้วยนะครับ เนื่องจากภาระงานประจำเยอะไปหน่อย

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

11 Comments

  1. เป็นกำลังใจให้น้องเขียนต่อไปนะ

    เพราะวงการเรา ยากที่จะหาคนทำอะไรแบบนี้ ส่วนใหญ่จะเห่อกันเป็นพักๆ (เช่นตัวพี่เอง)

    ปล. พี่ชอบข้อ 10 ของน้องมากๆ เลย อยากให้มีคนคิดแบบนี้กันเยอะๆ
    วิชาชีพอย่างเราคงมีคนอยากเป็นนอีกเยอะแยะเลย

  2. ขอบคุณครับพี่ชะอม
    ข้อ 10 ผมถึงต้องย้ำว่าสำคัญมากๆ
    เพราะถ้าเราไม่รักในงานแล้ว เราจะไม่สนุกกับงานแน่นอนครับ

  3. ขอบคุณที่แบ่งปันความรุ้มากมาย และทำให้หลาย ๆ คนเข้าใจและเห็นความสำคัญในวิชาชีพนี้มากขึ้นค่ะ

  4. บ่อยครั้งที่ถูกถามว่า งานห้องสมุด สนุกอย่างไร ทำไมต้องมานั่งเฝ้าห้องสมุด หรือว่างานสบายจังนะที่จริงมันมีอะไรที่น่าทำเยอะแยะไปหมดในงานห้องสมุด เวลาที่ผู้ใช้บริการต้องการอะไรที่มากในห้องสมุด เช่น สืบค้นอย่างไร บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะทำอย่างไร ยังงัยบรรณารักษ์ก็ยังทำหน้าที่นี้ รักงานห้องสมุดมาก

  5. ดีแล้วค่ะ บรรณารักษ์อย่างพวกเราจะได้มีที่พูดคุยกันเพิ่มขึ้น หนูทำงานที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง….ห้องสมุดกำลังปรับปรุงสุดชีวิต….มีแต่คนบอกว่าเมื่อไหร่จะเสร็จ…จะได้ใช้บริการ….ทำคนเดียวจะเสร็จได้ยังไง(ก็เพราะไม่มีใครเข้าใจว่ามันต้องทำอะไร มีแต่พวกเราเองที่เข้าใจว่ามันไม่ได้จะทำเสร็จได้ในพริบตา)

    อย่างนัอยก็ได้รับข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ บ้างค่ะ

  6. เป็นอาชีพที่ต้องใช้ความสามารถในการจัดทำงน แต่ทำไมเงินเดือนน้อยมาก คนที่อยู่หอสุดแห่งชาติ เงินเดือน แค่ 5000 บาทเท่านั้นเอง ห้องสมุดของสิงคโปร ญี่ปุ่น เค้าพัฒนาไปถึงไหน ๆ กันแล้ว ของไทย ไม่เห็นจะก้าวหน้าไปไหนเลย

  7. เป็นกำลังใจให้ค่ะ
    และรู้สึกยินดีมากที่ได้พบบล็อกนี้ค่ะ

  8. เคยเรียนด้านบรรณารักษ์นะคะแต่ว่าเรียนไม่จบแต่เพื่อนๆที่เรียนจบบ้างคนก็ไม่ได้ทำงานตามสายที่เรียนมาส่วนใหญ่จะบอกว่าเหมือนคุณป้าเฝ้าหนังสือกัน แต่ด้วยตัวเราต้องบังเอิญๆๆจิงๆๆต้องมาทำงานทางด้านนี้ต้องนำรายชื่อหนังสือมาลงโปรแกรมก่อนพอทำๆไปก็รู้สึกชอบนะคะ แต่ยังไงก็อยากได้ความรู้เพิ่มเติมกว่านี้ยังไงก็แนะนำด้วยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*