นักศึกษาภาคค่ำก็ต้องการใช้ห้องสมุดเหมือนกัน

วันนี้ผมขอเขียนถึงเรื่องการให้บริการห้องสมุดในช่วงกลางคืนบ้างนะครับ และเข้าใจว่าหลายๆ ห้องสมุดก็ให้บริการซึ่งดีอยู่แล้ว
แต่ห้องสมุดบางแห่งกลับละเลยเกี่ยวกับการให้บริการผู้ใช้เฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะ “นักศึกษาภาคค่ำ” หรือ “นักเรียนภาคค่ำ
ซึ่งวันนี้ผมจะเขียนแสดงความคิดเห็นในฐานะของผู้ใช้บริการห้องสมุดและผู้ให้บริการห้องสมุดให้เพื่อนๆ อ่านกัน

libraryinnight

เมื่อสถาบันการศึกษาเปิดรับนักเรียนหรือนักศึกษาภาคค่ำแล้ว (โดยเฉพาะโรงเรียนอาชีวะ โรงเรียนพาณิชย์ ฯลฯ)
การบริการสนับสนุนด้านการศึกษา เช่น ห้องสมุด จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักเรียน หรือ นักศึกษาดังกล่าว
เนื่องจากนักเรียนและนักศึกษาเหล่านี้ก็ต้องจ่ายค่าเทอมและค่าบริการต่างๆ ให้กับสถาบันการศึกษา เช่น ค่าบำรุงห้องสมุด ฯลฯ

หลายๆ สถาบันการศึกษาก็มีการบริการห้องสมุดให้นักศึกษาภาคค่ำด้วยโดยจะเปิดให้บริการดึกขึ้น
แต่ประเด็นตรงนั้นผมจะไม่พูดถึง แต่จะขอกล่าวถึงบางสถาบันการศึกษาเท่านั้น
ที่มีการเปิดการเรียนการสอนภาคค่ำแต่ไม่จัดบริการพื้นฐานดังกล่าว
โดยเหตุการณ์นี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในฐานะที่ผมเป็นทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

มุมมองของผมในฐานะผู้ใช้บริการ (นักศึกษาปริญญาโทภาคค่ำ) ต่อห้องสมุดคณะ
ผมเรียนปริญญาโทในภาคค่ำ ซึ่งเรียนเวลา 18.00 – 21.00 น. แต่ห้องสมุดของสถาบันที่ผมเรียนปิดเวลา 21.00 น.
ซึ่งทำให้ผมไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ห้องสมุดในวันที่ผมเรียน เนื่องจากพอเรียนเสร็จห้องสมุดก็ปิดไปแล้ว
และข้อจำกัดของคนที่เรียนปริญญาโทภาคค่ำ คือ เป็นคนที่ทำงานประจำอยู่แล้ว พอมาถึงที่เรียนก็มักจะถึงเวลาเข้าเรียนพอดี
ดังนั้นหากพิจารณาจากเหตุการณ์ต่างๆ จะรู้ว่านักศึกษาเหล่านี้แทบไม่ได้ใช้ห้องสมุดเลยในช่วงกันธรรมดา


มุมมองของผมในฐานะบรรณารักษ์ของสถานศึกษาที่มีการเปิดหลักสูตรภาคค่ำ

นโยบายของผู้บริหารมีการกำหนดช่วงเวลาการเปิดปิดห้องสมุดอย่างชัดเจน คือ ให้บริการในช่วงเวลา 8.00 – 18.00 น.
ซึ่งทางบรรณารักษ์ได้ยื่นเรื่องขอขยายเวลาในการเปิดให้บริการห้องสมุดไปจนถึงเวลา 22.00 น.
แต่ผู้บริหารปฏิเสธในการขยายเวลาเนื่องจากมองในเรื่องของการใช้ทรัพยากรและความคุ้มค่าของการให้บริการเป็นหลัก
(ได้แก่ ค่าน้ำ ค่าไฟ เครื่องปรับอากาศ ค่าจ้างพนักงานล่วงเวลา ฯลฯ)

อ่านแล้วเข้าใจภาพรวมกันบ้างหรือยังครับ จริงๆ แล้วเรื่องนี้สำหรับผมเองในฐานะที่เป็นบรรณารักษ์
ผมก็อยากให้บริการห้องสมุดกับนักศึกษาภาคค่ำด้วยเช่นกันนะครับ ผมใช้หลักการเอาใจเขามาใส่ใจเรานะครับ
ลองมองย้อนว่าถ้าคุณเป็นนักศึกษาเหล่านี้ คุณเองอยากจะใช้ห้องสมุดบ้างหรือปล่าว

แนวทางที่ผมจะเสนอจะทำได้หรือไม่ได้อันนี้เพื่อนๆ ก็ลองพิจารณากันดูนะครับ
ผมขอเสนอให้ห้องสมุดปิดหลังจากหมดการเรียนการสอนของนักศึกษาภาคค่ำสัก 1 ชั่วโมงครับ
เช่น ถ้านักศึกษาภาคค่ำเลิกเรียน 21.00 น. ห้องสมุดก็ควรปิดสักประมาณ 22.00 น.

ทั้งนี้ก็เพื่อให้บริการในการยืมคืนกับนักศึกษาภาคค่ำบ้าง

สุดท้ายก็ขอฝากว่า “การบริการเราต้องยึดผู้ใช้เป็นหลัก ไม่ใช่ยึดความสบายของบรรณารักษ์เป็นหลัก”
อย่างน้อยนักศึกษาภาคค่ำจะได้ไม่ต้องมาบ่นว่า ?เสียเงินจ่ายค่าห้องสมุดไปแล้วไม่เห็นได้ใช้เลย?

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

3 Comments

  1. เคยมีผู้ใช้บริการมาถามว่า เมื่อไหร่ ห้องสมุดจะเปิด 24 ชั่วโมง แบบ 7 eleven
    เพราะว่า จะยืมไปอ่านที่บ้าน มันก้ไม่ได้บรรยากาส อ่านที่ห้องสมุดนี่ มันมีเสน่ห์ดี

    เราก้ยิ้ม ให้เขา เป็นคำตอบสุดท้าย
    ในใจก็นึก โห …. (ภาวนาให้เขาพูดเล่น)

  2. เออ จริง ตูต้องกลับมา search ใน กูเกิ้ล สถานเดียว เพราะ “อ๋อ ห้องสมุด ปิดแล้วค่ะ”

  3. ขอแชร์ด้วยคนนะคะ
    จริงๆ แล้วนิสิตเีรียนภาคค่ำมีเวลาว่างตอนกลางวันกันค่ะ นิสิตสามารถมาห้องสมุดช่วงนั้นก็ได้ แต่นิสิตไม่มา เพราะอะไร…บางห้องสมุดเปิดถึง 2 ทุ่ม 6 โมงเย็น นิิสิตก็เริ่มไม่มีแล้ว ร้องขอให้ห้องสมุดเปิด 4 ทุ่ม ก็มีนิสิตไม่กี่คนบางวันไม่ถึง 20 คน…เลิกเรียน 3 ทุ่มก็รีบไปหาอะไรกินกันแล้วก็เีที่ยวกันแล้วล่ะค่ะ…และอีกอย่างทุกวันนี้ห้องสมุดเริ่มมีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สามารถสืบค้นออนไลน์ โดยไม่ต้องพึ่ง Google อย่างเดียวแล้วนะคะ…..

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*