1 ปีที่ผ่านมากับตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด

สวัสดีปีใหม่ 2553 นะครับทุกคน วันนี้ก็เป็นวันแห่งการเริ่มต้นใหม่ในปีใหม่ๆ
หากย้อนกลับไปเมื่อปีที่แล้ว (2552) ปีนี้ผมก็เริ่มทำงานใหม่เช่นเดียวกัน
ในตำแหน่งนักพัฒนาระบบห้องสมุด ให้กับโครงการศูนย์ความรู้กินได้

library-system-development

วันนี้ผมขอประมวลเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปี 2552 ให้เพื่อนๆ อ่านกันนะครับ

ชื่อตำแหน่งที่ได้รับ “นักพัฒนาระบบห้องสมุดโครงการศูนย์ความรู้กินได้
ภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า OKMD นั่นเอง

ตำแหน่งนี้หากมองแบบผ่านๆ ก็อาจจะคิดว่าเกี่ยวกับ “บรรณารักษ์ด้านไอทีที่ดูแลเรื่องระบบห้องสมุด
แต่ความเป็นจริงแล้ว คำว่าระบบห้องสมุดในชื่อตำแหน่งของผมก็คือ ระบบการทำงานภายในห้องสมุดทั้งหมดต่างหาก

ตั้งแต่งานด้านบริหารห้องสมุด งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ
งานเทคโนโลยีต่างๆ ด้านห้องสมุด การออกแบบการทำงานให้กับบรรณารักษ์และห้องสมุด
รวมไปถึงการคิดและสร้างบริการใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ในห้องสมุดด้วย

หากพูดว่า “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” เพื่อนๆ อาจจะงงว่าคือนี่คือโครงการห้องสมุดอะไร
โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ โครงการที่จะพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้มีบาบาททางสังคมมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาห้องสมุดต้นแบบอยู่ คือ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี

งานที่ผมได้ทำมาในปีที่ผ่านมา เช่น
– การจัดการเรื่องการประเมินคุณค่าหนังสือเดิมที่มีอยู่ในห้องสมุด
– การสำรวจและสรุปผลหนังสือที่มีอยู่เดิมในห้องสมุด (Inventory)
– การออกแบบรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ในห้องสมุดประชาชน
– การกำหนดคุณสมบัติระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วไปสำหรับห้องสมุดประชาชน
– การกำหนดคุณสมบัติระบบเว็บไซตของห้องสมุดเพื่อการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ
– การออกแบบและจัดสถานที่เพื่อให้การทำงานห้องสมุดเป็นไปอย่างราบรื่นและผู้ใช้บริการสามารถใช้งานได้เต็มที่
– การกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกสื่อความรู้ที่มีประโยชน์เข้าห้องสมุด

บริการใหม่ๆ และนวัตกรรมใหม่ๆ ในห้องสมุด เช่น
– การจัดมุมให้บริการสำหรับผู้สูงอายุในห้องสมุด
– การสร้าง Path Finder เพื่อบอกขอบเขตของเนื้อหาต่างๆ ในห้องสมุด
– การสร้างกล่องความรู้กินได้ เพื่อบริการองค์ความรู้แบบ one stop sevice

เอาเป็นว่านี่เป็นเพียงตัวอย่างคร่าวๆ ของงาน ที่ผมกำลังทำนั่นเองครับ
และภายในเดือนเมษายน 2553 เพื่อนๆ จะได้พบกับห้องสมุดแห่งนี้ได้ที่จังหวัดอุบลราชธานีครับ

เพราะห้องสมุด กำลังจะเปลี่ยนไป……

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

5 Comments

  1. คีย์ข้อมูลศูนย์ความรู้กินได้แล้ววถึงมาเจอบล็อกนี้นะคะ อยากทราบว่าขณะนี้มันมีจริงแล้วหรือยังคะศูนย์ที่ว่านี้ แล้วก็ทำไมต้องไปอยู่กับห้องสมุดประชาชนด้วยคะ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการาจัดการอิสระทั้งในแง่สถานที่หรือระบบต่างๆ (ถ้าถามแล้วดูโง่ๆก็อย่าว่ากันนะ)คือตอนนี้กำลังรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อทำวิทยานิพนธ์ แล้วศูนย์นี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งแต่ยังไม่เห็นความเป็นรูปธรรมค่ะ

    • ทำไมต้องเป็นห้องสมุดประชาชน???
      เนื่องจากโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำโครงการพัฒนาห้องสมุดประชาชนเพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างห้องสมุดประชาชนเพื่อให้ตอบโจทย์เรื่องการทำมาหากินให้กับชุมชนครับ ห้องสมุดแห่งนี้จะเสร็จในเดือนมีนาคมและเปิดให้บริการในเดือนเมษายน ตอนนี้อยู่ในระหว่างการรื้อถอนและปรับปรุงโครงสร้างอาคารครับ

  2. อ่านแล้วมีกำลังใจเรียนต่อป.โทบรรณารักษ์ค่ะ อยากพัฒนาห้องสมุดประชาชนให้เป็นแหล่งความรูที่ใช้ประโยชน์ได้จริงของชุมชนเหมือนกัน

  3. ยินดีด้วยกับงานที่ทำผ่านไปแล้ว ยังงัยก็น่าจะเผยเพร่ให้รู้ขั้นตอนด้วยก็ดีนะ ทั้งเรื่องที่ผ่านมาแล้ว และนววัตกรรมใหม่ ยังงัยก็ขอใช้ไอเดียด้วยคนสิจะได้เผยแพร่ให้ได้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*