ประสบการณ์ทำงานห้องสมุดเล็กใหญ่ไม่สำคัญ

คนที่ทำงานในห้องสมุดใหญ่ หรือ คนที่ทำงานในห้องสมุดเล็ก
ไม่ว่าจะที่ไหนก็คือห้องสมุดเหมือนกัน และเป็นบรรณารักษ์เหมือนกัน
ดังนั้นกรุณาอย่าแตกแยกครับ บรรณารักษ์ต้องสามัคคีกัน (มาแนวรักชาติ)

librarian-in-library

ทำไมผมต้องเขียนเรื่องนี้หรอครับ สาเหตุมาจากมีน้องคนนึงมาอ่านบล็อกผมแล้วส่งเมล์มาถาม
เกี่ยวกับเรื่องการทำงานในห้องสมุดและสมัครงานในห้องสมุดนั่นเอง

ประมาณว่าน้องเขาถามว่า
“ผมทำงานในห้องสมุดเล็กๆ แห่งหนึ่ง ทำงานทุกอย่างคนเดียวในห้องสมุด
ทีนี้ผมอยากจะออกมาสมัครงานในห้องสมุดแบบใหญ่ๆ บ้าง
ขอถามว่าผมจะเสียเปรียบบรรณารักษ์คนที่เคยทำงานในห้องสมุดใหญ่ๆ บ้างหรือปล่าว”

ประเด็นนี้ผมมานั่งคิดๆ ดูแล้ว มันก็ตอบยากนะครับ เพราะว่าในแง่ของการให้บริการในห้องสมุดมันก็คล้ายๆ กันนะครับ
คือพูดง่ายๆ ว่า บรรณารักษ์ยังไงเราก็ต้องให้บริการผู้ใช้ในห้องสมุดอยู่แล้ว

จะบอกว่าห้องสมุดใหญ่ต้องให้บริการดีกว่าห้องสมุดเล็ก มันก็คงไม่ใช่ สรุปง่ายๆ ว่างานด้านบริการผมว่าเท่าๆ กัน
แต่ในแง่ของอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกหรืองบประมาณอันนี้ผมคงต้องถามต่อไปอีกว่า

“ห้องสมุดของเรา บริการให้ผู้ใช้บริการได้เต็มที่แล้วหรือยัง”

ห้องสมุดในบางแห่งมีงบประมาณมากมาย อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาก แต่บรรณารักษ์กลับไม่สนใจในการให้บริการ
ดังนั้นการจะเปรียบเทียบห้องสมุดผมจึงไม่ขอเอาเรื่องความใหญ่โตของห้องสมุดมาเทียบนะครับ
ถ้าจะเทียบผมขอเทียบในแง่ของการให้บริการดีกว่า ถึงแม้ว่าจะวัดผลในการให้บริการยากก็ตาม

ในแง่ของผู้ใช้บริการที่ต้องเข้ามาใช้บริการในห้องสมุด
จุดประสงค์ก็คงจะไม่พ้นเพื่อค้นหาข้อมูล เพื่อหาความรู้ อ่านหนังสือ ฯลฯ
ซึ่งโดยหลักการแล้วห้องสมุดไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ต้องมีบริการพื้นฐานเหล่านี้

ในเรื่องของการทำงานด้านบรรณารักษ์ในห้องสมุด อันนี้ผมคงต้องตอบว่าขึ้นอยู่กับการเรียนรู้งานของเพื่อนๆ นั่นแหละ
ซึ่งโดยปกติที่ผมเห็นคือถ้าเป็นห้องสมุดใหญ่ๆ บรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะมีการแบ่งงานอย่างชัดเจน
ซึ่งแน่นอนว่าคนเดียวอาจจะไม่ต้องทำทุกงานในห้องสมุดก็ได้ ดังนั้นบรรณารักษ์ก็จะได้ความชำนาญเฉพาะด้านไปใช้

แต่ถ้าหากมองไปที่ห้องสมุดขนาดเล็กซึ่งบางแห่งมีบรรณารักษ์คนเดียว
และทำงานทุกอย่างในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นงานบริหารไปจนถึงการจัดชั้นหนังสือ
แน่นอนครับ บรรณารักษ์ในกลุ่มนี้จะเข้าใจในกระบวนการทำงานของห้องสมุดแบบภาพรวมได้อย่างชัดเจน
รู้กระบวนการต่างๆ ในห้องสมุด ขั้นตอน แผนงาน และการดำเนินการต่างๆ อย่างเป็นระบบ

เอาเป็นว่าขอสรุปนิดนึง
ห้องสมุดใหญ่ –> บรรณารักษ์ชำนาญเฉพาะด้าน
ห้องสมุดขนาดเล็ก –> บรรณารักษ์เข้าใจภาพรวมของห้องสมุด

เวลาไปสมัครงานไม่ว่าจะมาจากห้องสมุดเล็ก หรือ ห้องสมุดใหญ่
ผมว่าต่างคนก็ต่างได้เปรียบในแต่ละเรื่องอยู่แล้ว ดังนั้นเรื่องการสมัครงานคงไม่มีผลกระทบเช่นกัน

ยังไงซะไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็ตาม ทุกคนก็ยังคงได้ชื่อว่าเป็นบรรณารักษ์อยู่ดี
ดังนั้นก็ขอให้เพื่อนๆ ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

7 Comments

  1. สวัสดีครับ คุณเมฆินทร์

    ผมติตามอ่านบทความของคุณมาหลายเรื่องแล้ว ขอชมว่ามีสาระดีเป็นประโยชน์สำหรับผู้ทำงานเป็นบรรณารักษ์ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องเหล่านี้

  2. ผมเป็นบรรณารักษ์ ห้องสมุดขนาดเล็กครับ
    พี่วาย กล่าวเช่นนั้น เห็นชอบแล้วครับ

  3. ในความคิดเห็นส่วนตัวนะคะ (คือมันอาจจะใช้ได้กับคนที่ทำงานห้องสมุดในหน่อยงานของรัฐซะส่วนใหญ่)
    ห้องสมุดใหญ่ กับ ห้องสมุดเล็ก
    ประสบการณ์ที่ได้น่าจะแตกต่างตรงที่ ระบบการจัดเรียง คือ ระบบหอสมุดรัฐสภาฯ และ ระบบดิวอี้
    การทำงานในห้องสมุดใหญ่มักจะเป็นแบบ หอสมุดรัฐฯ เพราะหนังสือแยะมักพบในสภานศึกษาระดับอุดมศึกษา
    ระบบนี้ ไม่ค่อยเหนื่อย มีพนักงานคอยจัดเก็บหนังสือที่บรรณารักษืมักจะไม่ได้ทำตรงนี้ให้เหนื่อย แต่ทำส่วนบริการอื่นๆ เช่น การให้บริการยืมคืน การจัดทำดรรชนี กฤตภาค ฯลฯ และไม่ถูกก้าวก่ายให้ไปสอนเด็กเหมือนห้องสมุดเล็กตามโรงเรียนประถม
    ส่วนดิวอี้ มักพบในห้องสมุดประชาชนตจว. คนทำงานคือ บรรณารักษ์มักจะล้วนๆ เลย คนเดียวเต็มๆก็ว่าได้ ห้องสมุดโรงเรียนประถม หรือมัธยมบางที ช่วงนี้จะ “เน้น” ให้เรามีวุฒิครู เอาไว้สอน เรียกว่าทำห้องสมุดไม่พอ ต้องสอนด้วย เหนื่อยมากมาย

    ส่วนเรื่องเทคโนโลยี หรือ อะไรใหม่ๆ “ห้องสมุดในบางแห่งมีงบประมาณมากมาย อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมาก”
    อันนี้ห้องสมุดเล็กอาจสู้ไม่ได้ แต่บรรณารักษ์ หรือนักสารสนเทศ มีคุณสมบัติในการแสวงหาความรู้อยู่ในตัวทุกคน เชื่อว่า เราเรียนรู้กันได้

    ส่วนประสบการณ์การทำงานที่อยากจะนำไปทำงานที่ใหม่ๆนั้น คิดว่าไม่มีผลนะคะ

    แค่เรามีใจรักในงาน “บรรณารักษ์” อยู่ที่ไหนก็ยังคงเป็น “บรรณารักษ์” เหมือนกันค่ะ ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการทำงานนะคะ

  4. ไม่ได้เป็นบรรณารักษ์ แต่ก้อทำงานอยู่ในห้องสมุดมา 10 กว่าปีแล้ว ซึมซับทุกอย่างที่บรรณารักษ์จักทำได้

  5. เป้นบรรณารักษ์มา 10 ปีแล้วค่ะทำงานอยู่คนเดียวในห้องสมุด ไม่เคยเบื่องานเลยค่ะเต็มใจและรักกับอาชีพบรรณารักษ์ค่ะ

  6. ขออนุญาตแชร์สู่เรื่องเล่าดี ดี เรื่องนี้ด้วยนะ

  7. ขอบคุณมากนะค่ะ กำลังท้อเรื่องนี้พอดี ห้องไม่พอสำหรับนักเรียนอยากจะหางบเพิ่ม เพียงแค่คิดได้ แต่ทำไม่ได้

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*