เมื่อดิวอี้ปะทะแอลซี (DDC VS LC)

วันนี้ผมขอยกเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ให้เพื่อนๆ อ่านอีกสักรอบนะครับ
วันนี้ขอนำเสนอเรื่องที่เกี่ยวกับงานเทคนิคของบรรณารักษ์บ้าง
นั่นก็คือ งานวิเคราะห์หมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ นั่นเอง

catalog

การจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้ (DDC – Dewey Decimal Classification)
ก็คือการจัดหมวดหมู่ด้วยตัวเลข 000-900 ครับ ช่น 000 – หมวดทั่วไป , 100 – หมวดปรัชญาและจิตวิทยา ?

การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา (LC – Library of Congress Classification)
ก็คือ การจัดหมวดหมู่ด้วยตัวอักษร A-Z เช่น A – หมวดทั่วไป, B – ปรัชญาและศาสนา

การจัดหมวดหมู่ทั้งสองแบบนี้เป็นที่นิยมในหมู่ห้องสมุดทั่วไปครับ
แต่ในวงการของห้องสมุดเฉพาะก็อาจจะมีการจัดหมวดหมู่แบบอื่นๆ อีก
เช่น การจัดหมู่แบบ NLM – การจัดหมวดหมู่หนังสือด้านการแพทย์
การจัดหมวดหมู่แบบ NDC – การจัดหมวดหมู่แบบเลขทศนิยมญี่ปุ่น

เอาเป็นว่าวันนี้ผมขอเขียนถึงการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้กับการจัดหมวดหมู่แบบแอลซีก่อนนะครับ

ห้องสมุดที่เปิดใหม่หลายๆ ที่คงอยากรู้ว่าจะนำการจัดหมวดหมู่แบบไหนมาใช้
วันนี้ผมจะเอาแง่คิดที่ได้จากที่ทำงานเก่ามาเล่าให้ฟังนะครับ

จากประสบการณ์จริงที่ประสบก็คือ ห้องสมุดที่ผมเคยทำงานอยู่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ก็คือ
– หนังสือของเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
– หนังสือใหม่ที่ซื้อมาตอนที่กำลังจะเปลี่ยนระบบ ซึ่งใช้ระบบการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

สำหรับผมเองจริงๆ ก็อยากจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้มากกว่าเพราะว่าง่ายกว่า
และที่สำคัญผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคุ้นกับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้อยู่แล้ว (เนื่องจากของเก่าใช้ดิวอี้)
และด้วยเหตุที่ห้องสมุดมีหนังสือจำนวนที่น้อยอยู่ ผมจึงคิดว่าใช้แบบดิวอี้ย่อมน่าจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ใช้ได้ดีกว่า

ซึ่งจากการสังเกตผู้ใช้หนังสือในมุมที่เป็นหนังสือใหม่ซึ่งใช้การจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา
ผู้ใช้ได้เดินมาบ่นให้ฟังว่าค้นหาหนังสือยากจัง แล้วทำไมหนังสือบางหมวดถึงต้องแยกออกจากกันด้วย

ตัวอย่างเช่น หนังสือที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ถ้าเป็นแบบดิวอี้เพื่อนๆ คงคิดเลยว่าอยู่ในกลุ่ม 000 แน่ๆ เวลาหาก็มุ่งไปส่วนนั้นได้เลย
แต่สำหรับแอลซีไม่ใช่อ่ะครับ เพราะว่าเพื่อนๆ ต้องดูอีกว่า คอมพิวเตอร์ทางด้านไหนอีก
เพราะในแอลซีส่วนที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีหลายส่วนด้วยกัน
เช่น คอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ก็จะอยู่ QA
คอมพิวเตอร์ด้านเครือข่ายจะอยู่ TK
คอมพิวเตอร์กราฟฟิคจะอยู่ TR
รวมถึงโปรแกรมพวกออฟฟิตก็จะอยู่ใน HF

แค่นี้ผู้ใช้ก็ตาลายแล้วครับ

แต่ผมก็ไม่ได้บอกนะครับว่า LC ไม่มีข้อดี เพราะจริงๆ แล้ว การให้หมวดหมู่แบบ LC มันก็ละเอียดไปอีกแบบนึง เหมือนกัน
แต่น่าจะเหมาะกับห้องสมุดที่มีหนังสือจำนวนมากจริงๆ และห้องสมุดนั้นควรมีจุดสืบค้นให้กับผู้ใช้อย่างเพียงพอด้วย
เพื่อผู้ใช้จะได้หาหนังสือได้อย่างรวดเร็ว

เอาเป็นว่ารายละเอียดว่าแต่ละหมวดหมู่มีเนื้อหาอะไร ผมคงไม่อธิบายหรอกนะครับ
หวังว่าเพื่อนๆ คงจะรู้กันหมดแล้ว หรือถ้าอยากรู้แบบละเอียดๆ ก็ลองดูลิ้งก์ด้านล่างแล้วกันนะครับ

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบดิวอี้
http://www.tnrdlib.bc.ca/dewey.html

สำหรับการจัดหมวดหมู่แบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกา

http://people.wcsu.edu/reitzj/res/lcclass.html

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

3 Comments

  1. ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของห้องสมุดนั้นๆ เลขหมู่เป็นเพียงตัวแทนของหนังสือว่าอยู่ที่ไหน บางครั้ง ยังมีคนจัดหนังสือชื่อเรื่องเดียวกันอยู่คนละหมวดเลยก็มี แต่ก็สามารถหาเจอ เพราะมีสัญญลักษณ์แทนหนังสือบอกอยู่ แต่ก็จะทำให้ผู้ใช้งงได้ คือ หนังสือชื่อเรื่องเหมือนกันดันไปอยู่คนละที (อธิบายไปๆมาๆ เดี๋ยวจะงงเอง) หุหุ

  2. ขอบคุณที่ให้ข้อมูลค่ะ เป็นประโยชน์มากเลย ^__^

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*